1. สยามโซน
  2. ภาพยนตร์
  3. ข่าววงการภาพยนตร์

เกร็ดน่ารู้สำหรับรางวัล ออสการ์ ครั้งที่ 89

เกร็ดน่ารู้สำหรับรางวัล ออสการ์ ครั้งที่ 89

นับเวลาถอยหลังตามปฏิทินไปไม่ถึงหนึ่งเดือนเต็มดีที่งานประกาศรางวัล อคาเดมี อวอร์ดส์ (Academy Awards) หรือ ออสการ์ (Oscar) อันจะเฉลิมฉลองให้ผู้ทำงานเบื้องหน้าและเบื้องหลังภาพยนตร์น้ำดีของปี 2016 จะมาถึง แต่ก่อนที่จะพากันกระโดดข้ามไปลุ้นผลรางวัลกันในวันงานที่จะมีขึ้นช่วงเช้าวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ตามเวลาในประเทศไทย ก็อยากจะขอเชิญชวนคอภาพยนตร์มาดูกันสักนิด ว่าเหล่าผู้เข้าชิงรางวัลครั้งที่ 89 นี้มีอะไรน่าสนใจบ้าง

  • "La La Land" ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงทั้งหมด 14 สาขา กลายเป็นภาพยนตร์ที่ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงมากที่สุดตลอดกาล เทียบเท่า "All about Eve" (1950) และ "Titanic" (1997)

  • ปีนี้ "ดีดี้ การ์ดเนอร์" (Dede Gardner) และ "เจเรมี คลีเนอร์" (Jeremy Kleiner) ได้เข้าชิงรางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยมจาก "Moonlight" ทำให้ทั้งคู่เป็นผู้ควบคุมงานสร้างสองคนแรกที่ได้เข้าชิงรางวัลนี้ติดต่อกันเป็นปีที่ 4 เรื่องก่อนหน้านี้ ได้แก่ "12 Years a Slave" (2013) "Selma" (2014) และ "The Big Short" (2015) ซึ่งทั้งคู่เคยชนะรางวัลนี้มาแล้วจาก "12 Years a Slave" (2013) นอกจากนี้ ดีดี้ ยังเคยเข้าชิงสาขานี้จาก "The Tree of Life" (2011) ด้วย

  • "La La Land" เป็นภาพยนตร์เพลงที่มีเพลงและเนื้อเรื่องดั้งเดิมเรื่องแรก ที่ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยมนับตั้งแต่ "All That Jazz" (1979) และเป็นเรื่องที่สองนับตั้งแต่ "Anchors Aweigh" (1945)

  • ปีนี้ "แมตต์ เดมอน" (Matt Damon) ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยมจากงานควบคุมงานสร้าง "Manchester by the Sea" ทำให้เขาเป็นคนที่ 3 ที่เคยได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงในสาขาการแสดง เขียนบท และภาพยนตร์ยอดเยี่ยม โดย 2 คนก่อนหน้านี้ คือ "วอร์เรน บีตตี" (Warren Beatty) และ "จอร์จ คลูนีย์" (George Clooney)

  • "เดนเซล วอชิงตัน" (Denzel Washington) เข้าชิงรางวัลนักแสดงนำชายยอดเยี่ยมและภาพยนตร์ยอดเยี่ยมจาก "Fences" ทำให้เขาเป็นคนที่ 7 ที่ได้เข้าชิงทั้ง 2 สาขาจากภาพยนตร์เรื่องเดียวกัน ซึ่ง 6 คน ก่อนหน้านี้ ได้แก่ "วอร์เรน บีตตี" (Warren Beatty) "เควิน คอสต์เนอร์" (Kevin Costner) "คลินต์ อีสต์วูด" (Clint Eastwood) "แบรด พิตต์" (Brad Pitt) "ลีโอนาร์โด ดิคาพริโอ" (Leonardo DiCaprio) และ "แบรดลีย์ คูเปอร์" (Bradley Cooper)

  • นักแสดงทั้งหมด 7 คน ที่ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงครั้งแรก ได้แก่ "แอนดรูว์ การ์ฟิลด์" (Andrew Garfield) จาก "Hacksaw Ridge" "ลูคัส เฮดเจส" (Lucas Hedges) จาก "Manchester by the Sea" "เดฟ พาเทล" (Dev Patel) จาก "Lion" "อิซาเบลล์ อูแปรต์" (Isabelle Huppert) จาก "Elle" "รูธ เนกกา" (Ruth Negga) จาก "Loving" "มาเฮอร์ชาลา อาลี" (Mahershala Ali) และ "นาโอมิ แฮร์ริส" (Naomie Harris) จาก "Moonlight"

  • มีนักแสดง 6 คน ที่ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงในปีนี้เคยชนะรางวัลสาขานักแสดงมาแล้ว ได้แก่ "เดนเซล วอชิงตัน" (Denzel Washington) จาก "Fences" "เจฟฟ์ บริดเจส" (Jeff Bridges) จาก "Hell or High Water" "นาตาลี พอร์ตแมน" (Natalie Portman) จาก "Jackie" "เมอรีล สตรีป" (Meryl Streep) จาก "Florence Foster Jenkins" "นิโคล คิดแมน" (Nicole Kidman) จาก "Lion" และ "อ็อกเทเวีย สเปนเซอร์" (Octavia Spencer) จาก "Hidden Figures"

  • ปีนี้ "เมอรีล สตรีป" (Meryl Streep) ได้เข้าชิงสาขาการแสดงเป็นครั้งที่ 20 แล้ว ด้วยการเข้าชิงรางวัลนักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยมจาก "Florence Foster Jenkins" โดย 19 เรื่องก่อนหน้านี้ ได้แก่ "The Deer Hunter" (1978) "Kramer vs. Kramer" (1979) "The French Lieutenant's Woman" (1981) "Sophie's Choice" (1982) "Silkwood" (1983) "Out of Africa" (1985) "Ironweed" (1987) "Evil Angels" (1988) "Postcards from the Edge" (1990) "The Bridges of Madison County" (1995) "One True Thing" (1998) "Music of the Heart" (1999) "Adaptation. " (2002) "The Devil Wears Prada" (2006) "Doubt" (2008) "Julie & Julia" (2009) "The Iron Lady" (2011) "August: Osage County" (2013) และ "Into the Woods" (2014)

  • มีนักแสดงที่เข้าชิงรางวัลทั้งหมด 7 คน เคยได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงสาขานักแสดงมาก่อน แต่ยังไม่เคยชนะรางวัล ได้แก่ "เคซีย์ เอฟเฟล็ก" (Casey Affleck) และ "มิเชลล์ วิลเลียมส์" (Michelle Williams) จาก "Manchester by the Sea" "ไรอัน กอสลิง" (Ryan Gosling) และ "เอ็มมา สโตน" (Emma Stone) จาก "La La Land" "วิกโก มอร์เทนเซน" (Viggo Mortensen) จาก "Captain Fantastic" "ไมเคิล แชนนอน" (Michael Shannon) จาก "Nocturnal Animals" และ "วิโอลา เดวิส" (Viola Davis) จาก "Fences"

  • เป็นครั้งแรกที่ "นิโคล คิดแมน" (Nicole Kidman) ได้เข้าชิงสาขานักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยมจากภาพยนตร์เรื่อง "Lion" ซึ่ง 3 ครั้งก่อนหน้านี้ที่เธอเคยเข้าชิงล้วนเป็นรางวัลสาขานักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม มาจากบทบาทในภาพยนตร์เรื่อง "Moulin Rouge" (2001) "The Hours" (2002) "Rabbit Hole" (2010) โดย นิโคล ชนะรางวัลออสการ์จาก "The Hours" (2002)

  • การเข้าชิงรางวัลนักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยมจาก "La La Land" ของ "เอ็มมา สโตน" (Emma Stone) เป็นการเข้าชิงครั้งที่ 2 ครั้งแรกเธอเข้าชิงสาขานักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยมจาก "Birdman" (2014) ขณะที่ "ไรอัน กอสลิง" (Ryan Gosling) ที่ได้เข้าชิงครั้งที่ 2 เช่นกันจากการเข้าชิงรางวัลสาขานักแสดงนำชายยอดเยี่ยมจากภาพยนตร์เรื่องเดียวกัน โดยครั้งแรก ไรอัน ก็เข้าชิงสาขานี้จาก "Half Nelson" (2006)

  • แม้ "เดเมียน แชเซลล์" (Damien Chazelle) จะได้เข้าชิงสาขาผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยมเป็นครั้งแรกจาก "La La Land" แต่ปีนี้เป็นปีที่ 2 ที่ เดเมียน เข้าชิงสาขาบทภาพยนตร์ โดยเข้าชิงบทภาพยนตร์ดั้งเดิมยอดเยี่ยมในปีนี้ และเคยเข้าชิงรางวัลบทภาพยนตร์ดัดแปลงยอดเยี่ยมจาก "Whiplash" (2014)

  • "เมล กิบสัน" (Mel Gibson) ผู้กำกับจาก "Hacksaw Ridge" เป็นเพียงคนเดียวที่เคยเข้าชิงสาขาผู้กำกับยอดเยี่ยมมาแล้ว โดยครั้งแรกเขาเข้าชิงและชนะรางวัลจาก "Braveheart" (1995)

  • "เคนเนธ โลเนอร์แกน" (Kenneth Lonergan) จาก "Manchester by the Sea" "แบร์รี เจนกินส์" (Barry Jenkins) จาก "Moonlight" และ "เดเมียน แชเซลล์" (Damien Chazelle) จาก "La La Land" ไม่เพียงแต่เป็นผู้เข้าชิงรางวัลผู้กำกับยอดเยี่ยมครั้งแรกเหมือนกันเท่านั้น ทั้ง 3 คนยังได้เข้าชิงสาขาบทภาพยนตร์ยอดเยี่ยมด้วย โดย เคนเนธ และ เดเมียน ชิงรางวัลบทภาพยนตร์ดั้งเดิมยอดเยี่ยม ส่วน แบร์รี ชิงรางวัลบทภาพยนตร์ดัดแปลงยอดเยี่ยม

  • เป็นการเข้าชิงรางวัลออสการ์ครั้งแรกของ "เดนนิส วิลล์เนิฟ" (Denis Villeneuve) ที่ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลผู้กำกับยอดเยี่ยมจาก "Arrival"

  • "Kubo and the Two Strings" เป็นภาพยนตร์แอนิเมชันเต็มเรื่องที่สอง ที่ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงสาขาการสร้างภาพพิเศษยอดเยี่ยม ถัดจาก The Nightmare before Christmas (1993)

  • "O.J.: Made in America" ภาพยนตร์ความยาว 7 ชั่วโมง 47 นาที ที่เข้าชิงรางวัลสาขาภาพยนตร์สารคดียอดเยี่ยม เป็นภาพยนตร์ที่มีความยาวมากที่สุดเท่าที่เคยเข้าชิงรางวัลออสการ์มา

  • "โธมัส นิวแมน" (Thomas Newman) ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์เป็นครั้งที่ 14 จาก "Passengers" ในสาขาดนตรีประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ทำให้ครอบครัว นิวแมน ซึ่งสมาชิกประกอบด้วย "อัลเฟรด นิวแมน" (Alfred Newman) "ไลโอเนล นิวแมน" (Lionel Newman) "เอมิล นิวแมน" (Emil Newman) "เดวิด นิวแมน" (David Newman) "แรนดี นิวแมน" (Randy Newman) และ โธมัส ได้เข้าชิงรางวัลรวมแล้วมากถึง 90 ครั้ง เป็นครอบครัวที่ได้เข้าชิงออสการ์มากที่สุด

  • "สจวร์ต เครก" (Stuart Craig) ที่เข้าชิงสาขากำกับศิลป์ยอดเยี่ยม หรือออกแบบงานสร้างยอดเยี่ยมจาก "Fantastic Beasts and Where to Find Them" เป็นบุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่ที่ได้เข้าชิงสาขานี้เยอะที่สุดที่ 11 ครั้ง ขณะที่ผู้ถือสถิติสูงสุดตลอดกาลคือ "เซดริก กิบบอนส์" (Cedric Gibbons) ที่เข้าชิงมาแล้วทั้งหมด 38 ครั้ง

  • "เควิน โอ'คอนเนล" (Kevin O'Connell) และ "แอนดี เนลสัน" (Andy Nelson) ผู้เข้าชิงสาขาผสมเสียงยอดเยี่ยมจาก "Hacksaw Ridge" และ "La La Land" ตามลำดับ ทั้งคู่ต่างเข้าชิงสาขานี้เป็นครั้งที่ 21 เท่ากัน ทำให้ทั้งสองคนถือสถิติผู้เข้าชิงสาขาดังกล่าวมากที่สุดร่วมกัน

  • "คิม แมกนุสสัน" (Kim Magnusson) เข้าชิงภาพยนตร์ขนาดสั้นยอดเยี่ยมเป็นครั้งที่ 6 จาก "Silent Nights" ทำให้เขาเป็นบุคคลผู้มีชีวิตอยู่ที่อำนวยการสร้างภาพยนตร์ขนาดสั้นที่ได้เข้าชิงสาขานี้มากที่สุด

  • เพลง "The Empty Chair" จาก "Jim: The James Foley Story" เป็นเพลงจากภาพยนตร์สารคดีเรื่องที่ 7 ที่ได้เข้าชิงรางวัลเพลงประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม และเป็นเรื่องที่ 5 ในรอบ 5 ปี

  • แม้ "ไมเคิล ดูด็อก ดี วิต" (Michael Dudok de Wit) เข้าชิงสาขาภาพยนตร์แอนิเมชันยอดเยี่ยมเป็นครั้งแรก แต่ก่อนหน้านี้เขาเคยเข้าชิงสาขาภาพยนตร์ขนาดสั้นยอดเยี่ยมมาก่อน 2 ครั้ง จากภาพยนตร์ 2 เรื่อง ได้แก่ "The Monk and the Fish" (1994) และ "Father and Daughter" (2000) ซึ่งเขาชนะรางวัลออสการ์จากภาพยนตร์เรื่องหลังมาแล้วด้วย

  • เป็นครั้งแรกที่ภาพยนตร์จากประเทศออสเตรเลียได้เข้าชิงรางวัลภาพยนตร์ภาษาต่างประเทศยอดเยี่ยมจาก "Tanna"

  • "The Salesman" เป็นภาพยนตร์เรื่องที่ 3 จากประเทศอิหร่านที่ได้เข้าชิงรางวัลภาพยนตร์ภาษาต่างประเทศยอดเยี่ยมถัดจาก "Children of Heaven" (1998) และ "A Separation" (2011) ที่ชนะรางวัลสาขานี้ นอกจากนี้ "A Separation" (2011) ยังกำกับโดย "อัสการ์ ฟาราห์ดี" (Asghar Farhadi) เช่นเดียวกับ "The Salesman" ด้วย

  • "Toni Erdmann" เป็นภาพยนตร์ลำดับที่ 10 ของประเทศเยอรมนีที่ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลภาพยนตร์ภาษาต่างประเทศยอดเยี่ยม 9 เรื่องก่อนหน้านี้ ได้แก่ "The Nasty Girl" (1990) "Schtonk! " (1992) "Beyond Silence" (1997) "Downfall" (2004) "Sophie Scholl - The Final Days" (2005) "The Baader Meinhof Complex" (2008) และ "The White Ribbon" (2009) โดยมี "Nowhere in Africa" (2002) และ "The Lives of Others" (2006) ซึ่งชนะรางวัลออสการ์ โดยก่อนหน้านี้ขณะที่เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีหรือเยอรมันตะวันตก และสาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมนีหรือเยอรมันตะวันออก ก็เคยเข้าชิงมาแล้วรรวมกัน 9 ครั้ง
  • เป็นครั้งที่ 15 แล้วที่ภาพยนตร์จากประเทศสวีเดนได้เข้าชิงรางวัลสาขาภาพยนตร์ภาษาต่างประเทศยอดเยี่ยม โดยปีนี้เข้าชิงจาก "A Man Called Ove" ขณะที่ภาพยนตร์เรื่องก่อนหน้านี้ที่ชนะรางวัลออสการ์สาขานี้ ได้แก่ "The Virgin Spring" (1960) "Through a Glass Darkly" (1961) และ "Fanny & Alexander" (1983) ส่วนเรื่องอื่นๆ คือ "Raven's End" (1964) "Dear John" (1965) "Adalen '31" (1969) "The Emigrants" (1971) "The New Land" (1972) "The Flight of the Eagle" (1982) "The Ox" (1991) "All Things Fair" (1995) "Under the Sun" (1999) "Evil" (2003) และ "As It Is in Heaven" (2004)

  • "Land of Mine" เป็นภาพยนตร์ลำดับที่ 12 จากประเทศเดนมาร์กที่ได้เข้าชิงรางวัลสาขาภาพยนตร์ภาษาต่างประเทศยอดเยี่ยม ภาพยนตร์เรื่องก่อนหน้านี้ที่ชนะรางวัลออสการ์ คือ "Babette's Feast" (1987) "Pelle the Conqueror" (1988) และ "In a Better World" (2010) ส่วนภาพยนตร์ที่ได้เข้าชิงเรื่องอื่นๆ ได้แก่ "Qivitoq" (1956) "Paw" (1959) "Harry and the Butler" (1961) "Waltzing Regitze" (1989) "After the Wedding" (2006) "A Royal Affair" (2012) "The Hunt" (2013) และ "A War" (2015)

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ความคิดเห็น

ภาพยนตร์ที่เกี่ยวข้อง

วันนี้ในอดีต

เกร็ดภาพยนตร์

  • Insurgent - เรื่องนี้เป็นภาคต่อของภาพยนตร์เรื่อง Divergent (2014) อ่านต่อ»
  • 2538 อัลเทอร์มาจีบ - ใบเฟิร์น - พิมพ์ชนก ลือวิเศษไพบูลย์ ผู้รับบท ส้ม จับไมค์ร้องเพลงเป็นครั้งแรก เพลงที่เธอร้องชื่อเพลงว่า สายตา อ่านต่อ»
เกร็ดจากภาพยนตร์สามารถดูได้ในหน้าข้อมูลภาพยนตร์แต่ละเรื่อง

เปิดกรุภาพยนตร์

เรื่องราวของกลุ่มสี่สาววัยร้ายที่ต้องเผชิญกับปัญหาวัยรุ่นที่ว้าวุ่นในโรงเรียนซึ่งทำให้พวกเธอได้โคจรมาพบกันและพวกเธอต้อง...อ่านต่อ»