1. สยามโซน
  2. ภาพยนตร์
  3. ข่าววงการภาพยนตร์

ผลออสการ์ ครั้งที่ 82 รางวัลทางภาพยนตร์สุดยิ่งใหญ่

ผลออสการ์ ครั้งที่ 82 รางวัลทางภาพยนตร์สุดยิ่งใหญ่

งานมอบรางวัลที่ทั่วโลกรอคอย "อคาเดมี อวอร์ดส์" (Academy Awards) หรือ "ออสการ์" (Oscar) ประจำปีนี้ จัดขึ้นในวันที่ 7 มีนาคม 2010 ตามเวลาท้องถิ่นของสถานที่จัดงาน โกดัก เธียเตอร์ ในฮอลลีวูด ประเทศสหรัฐอเมริกา หรือตรงกับวันนี้ตามเวลาประเทศไทย ในงานครั้งที่ 82 นี้พิเศษไปจากทุกครั้งตรงที่มีพิธีกรประจำงาน 2 คน คือ "สตีฟ มาร์ติน" และ "อเล็ก บอลดวิน" คอยช่วยกันสร้างเสียงหัวเราะให้แก่ผู้ชม

นักแสดง "ทอม แฮงก์ส" เป็นผู้เปิดซองจดหมายแล้วประกาศว่า "The Hurt Locker" คือภาพยนตร์ยอดเยี่ยม เอาชนะคู่แข่งอีก 9 เรื่องไปได้สำเร็จ ทำให้ภาพยนตร์ว่าด้วยการกู้ระเบิดเรื่องนี้กลายเป็นผู้ชนะที่กวาดรางวัลไปได้มากที่สุดเป็นจำนวน 6 รางวัล ซึ่งนั่นรวมถึงรางวัลบทภาพยนตร์ดั้งเดิมยอดเยี่ยมจากปลายปากกาของ "มาร์ก โบล" และการที่ "แคธริน บิเกอโลว์" กลายเป็นผู้หญิงคนแรกที่คว้าตำแหน่งผู้กำกับยอดเยี่ยมของออสการ์

ขณะรับรางวัลผู้กำกับยอดเยี่ยม แคธริน ขอบคุณผู้ร่วมงาน ซึ่งเธอถือเป็นกุญแจหลักสู่ความสำเร็จ แล้วปิดท้ายว่า "ฉันอยากอุทิศรางวัลให้ทั้งหญิงชายในกองทัพที่เสี่ยงชีวิตทำหน้าที่ประจำวันในอิรักและอัฟกานิสถานและทั่วโลก ขอให้พวกเขากลับบ้านโดยปลอดภัย ขอบคุณค่ะ" ส่วนรางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยมนั้น หนึ่งในผู้อำนวยการสร้าง "นิโคลาส์ ชาร์ทิเยร์" ไม่ได้อยู่บนเวทีกับพรรคพวก แต่รอฟังผลอยู่ในงานฉลองที่มาลิบู ประเทศสหรัฐอเมริกา เนื่องจากเขาทำผิดกฎของสถาบัน ด้วยการใช้อีเมลโฆษณาภาพยนตร์ของตนโดยพาดพิงผลงานของคู่แข่ง จึงถูกลงโทษโดยห้ามไม่ให้มาร่วมงาน

ผู้ชนะสาขาการแสดงทั้ง 4 คนล้วนไม่เคยสัมผัสตุ๊กตาทองมาก่อน "โมนิก" จาก "Precious: Based on the Novel Push by Sapphire" และ "คริสตอฟ วอลต์ซ" จาก "Inglourious Basterds" ที่พากันตะลุยกวาดรางวัลนักแสดงสมทบยอดเยี่ยมจากสถาบันต่างๆ มาตลอดทางแบบไม่เกรงใจใคร ก็เข้ามาคว้ารางวัลดังกล่าวในงานนี้ไปแบบไม่พลิกโผ คริสตอฟ กล่าวขณะรับรางวัลว่า "นี่คืออ้อมกอดที่เปี่ยมด้วยความยินดีของพวกคุณ ไม่มีทางไหนที่ผมจะขอบคุณได้เพียงพอ แต่ผมก็จะเริ่มทำเสียเดี๋ยวนี้ ขอบคุณครับ"

"แซนดรา บุลล็อก" ผู้ซึ่งเพิ่งไปรับรางวัลนักแสดงนำหญิงยอดแย่จาก All About Steve จากงาน แรซซี อวอร์ดส์ มาหมาดๆ ได้รับรางวัลนักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยมจาก "The Blind Side" ในงานนี้ แซนดรา กล่าวถึงสาวๆ คู่แข่งที่พ่ายให้เธอด้วยน้ำเสียงชื่นชม และพูดถึงความรักของคุณแม่ ซึ่งสอดแทรกอยู่ในเนื้อหาภาพยนตร์ "มันคือเรื่องของคุณแม่ที่ดูแลลูกๆ โดยไม่สนใจว่าพวกเขามาจากไหน" จากนั้นเธอกล่าวขอบคุณคุณแม่ตัวจริงของเธอด้วยน้ำตา "ท่านเตือนลูกสาวของท่านว่า ไม่มีเชื้อชาติ ศาสนา ชนชั้น สีผิว หรือเพศใดๆ ที่ทำให้เราดีกว่าใคร ทุกคนสมควรได้รับความรักค่ะ"

ด้านนักแสดงนำยอดเยี่ยมฝ่ายชาย "เจฟฟ์ บริดเจส" จากบทนักดนตรีคันทรีใน "Crazy Heart" ก็กล่าวถึงคุณพ่อคุณแม่ของเขาเช่นกัน แต่ด้วยน้ำเสียงร่าเริง "โอ้! ขอบคุณสมาชิกอคาเดมี คุณแม่คุณพ่อ เย้ ดูสิครับ วู้! ขอบคุณคุณแม่และคุณพ่อที่ทำให้ผมได้มาทำอาชีพเจ๋งๆ แบบนี้" นักแสดงรุ่นใหญ่วัย 60 ปีกล่าว "รางวัลนี้ถือเป็นการยกย่องพวกท่านพอๆ กับผมเลย"

"Avatar" ของผู้กำกับ "เจมส์ คาเมรอน" ที่ได้เข้าชิงสูงสุด 9 สาขาเท่ากับ The Hurt Locker กลับได้ไปเพียง 3 รางวัลเทคนิคเบื้องหลัง นั่นคือรางวัลสำหรับแผนกกำกับศิลป์ กำกับภาพ และการสร้างภาพพิเศษยอดเยี่ยม ส่วนผู้ชนะอีกรายที่น่าสนใจ คือ "Up" ที่มาคว้ารางวัลกลับบ้านไปได้คู่หนึ่ง นั่นคือภาพยนตร์แอนิเมชันยอดเยี่ยมและดนตรีประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม

ส่วนสาขาที่เรียกได้ว่าออกจะพลิกโผอยู่สักหน่อยสำหรับเวทีนี้ อาทิ ภาพยนตร์ภาษาต่างประเทศ ที่ออสการ์เต็มใจมอบให้กับ "The Secret in Their Eyes" ภาพยนตร์จากประเทศอาร์เจนตินา แทนที่จะเป็น "A Prophet" หรือ "The White Ribbon" เหมือนหลายๆ สถาบัน ขณะที่บทภาพยนตร์ดัดแปลงยอดเยี่ยม ก็ตกเป็นของภาพยนตร์ชื่อยาว "Precious: Based on the Novel Push by Sapphire" ทำให้ "Up In the Air" พลาดหวัง ไม่ได้รางวัลใดๆ เลยแม้แต่สาขาเดียว

สรุปผลรางวัล ออสการ์ ครั้งที่ 82

  • ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม: The Hurt Locker
  • ผู้กำกับยอดเยี่ยม: แคธริน บิเกอโลว์ (Kathryn Bigelow) จาก The Hurt Locker
  • นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม: เจฟฟ์ บริดเจส (Jeff Bridges) จาก Crazy Heart
  • นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม: แซนดรา บุลล็อก (Sandra Bullock) จาก The Blind Side
  • นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม: คริสตอฟ วอลต์ซ (Christoph Waltz) จาก Inglourious Basterds
  • นักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม: โมนิก (Mo'Nique) จาก Precious: Based on the Novel Push by Sapphire
  • บทภาพยนตร์ดั้งเดิมยอดเยี่ยม: มาร์ก โบล (Mark Boal) จาก The Hurt Locker
  • บทภาพยนตร์ดัดแปลงยอดเยี่ยม: เจฟฟรีย์ เฟลตเชอร์ (Geoffrey Fletcher) จาก Precious: Based on the Novel Push by Sapphire
  • ภาพยนตร์ภาษาต่างประเทศยอดเยี่ยม: The Secret in Their Eyes จากประเทศอาร์เจนตินา
  • ภาพยนตร์แอนิเมชันยอดเยี่ยม: Up
  • ภาพยนตร์แอนิเมชันขนาดสั้นยอดเยี่ยม: Logorama
  • ภาพยนตร์สารคดียอดเยี่ยม: The Cove
  • ภาพยนตร์สารคดีขนาดสั้นยอดเยี่ยม: Music by Prudence
  • ภาพยนตร์ขนาดสั้นยอดเยี่ยม: The New Tenants
  • กำกับศิลป์ยอดเยี่ยม: ริก คาร์เตอร์ (Rick Carter) โรเบิร์ต สตรอมเบิร์ก (Robert Stromberg) และ คิม ซินแคลร์ (Kim Sinclair) จาก Avatar
  • กำกับภาพยอดเยี่ยม: เมาโร ฟิโอเร (Mauro Fiore) จาก Avatar
  • ออกแบบเครื่องแต่งกายยอดเยี่ยม: แซนดี พาวเวลล์ (Sandy Powell) จาก The Young Victoria
  • ตัดต่อยอดเยี่ยม: บ็อบ มูรอว์สกี (Bob Murawski) และ คริส อินนิส (Chris Innis) จาก The Hurt Locker
  • แต่งหน้ายอดเยี่ยม: บาร์นีย์ เบอร์แมน (Barney Burman) มินดี ฮอลล์ (Mindy Hall) และ โจล ฮาร์โลว์ (Joel Harlow) จาก Star Trek
  • ดนตรีประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม: ไมเคิล จิอาคิโน (Michael Giacchino) จาก Up
  • เพลงประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม: The Weary Kind (Theme from Crazy Heart) จาก Crazy Heart ทำนองและคำร้องโดย ไรอัน บิงแฮม (Ryan Bingham) และ ที โบน เบอร์เนตต์ (T Bone Burnett)
  • ตัดต่อเสียงยอดเยี่ยม: พอล เอ็น. เจ. ออตโตสสัน (Paul N. J. Ottosson) จาก The Hurt Locker
  • ผสมเสียงยอดเยี่ยม: พอล เอ็น. เจ. ออตโตสสัน (Paul N. J. Ottosson) และ เรย์ เบกเกตต์ (Ray Beckett) จาก The Hurt Locker
  • การสร้างภาพพิเศษยอดเยี่ยม: โจ เลเทอรี (Joe Letteri) สตีเวน โรเซนบัม (Stephen Rosenbaum) ริชาร์ด เบนแฮม (Richard Baneham) และ แอนดรูว์ อาร์. โจนส์ (Andrew R. Jones) จาก Avatar

สงวนลิขสิทธิ์ © ห้ามคัดลอก ตัดต่อ
ดัดแปลงหรือเผยแพร่ในสื่อใดๆ ก่อนได้รับอนุญาต
กดเพื่อดูรูปใหญ่ ปัดซ้าย-ขวาเพื่อดูรูปถัดไป
  • รูปภาพ 1
  • รูปภาพ 2
  • รูปภาพ 3
  • รูปภาพ 4
  • รูปภาพ 5
  • รูปภาพ 6
  • รูปภาพ 7
  • รูปภาพ 8
  • รูปภาพ 9
  • รูปภาพ 10
  • รูปภาพ 11
  • รูปภาพ 12
  • รูปภาพ 13
  • รูปภาพ 14
  • รูปภาพ 15
  • รูปภาพ 16
  • รูปภาพ 17
  • รูปภาพ 18
  • รูปภาพ 19
  • รูปภาพ 20
  • รูปภาพ 21
  • รูปภาพ 22
  • รูปภาพ 23
  • รูปภาพ 24
  • รูปภาพ 25
  • รูปภาพ 26
  • รูปภาพ 27
  • รูปภาพ 28
  • รูปภาพ 29
  • รูปภาพ 30
  • รูปภาพ 31
  • รูปภาพ 32
  • รูปภาพ 33
  • รูปภาพ 34
  • รูปภาพ 35
  • รูปภาพ 36
  • รูปภาพ 37
  • รูปภาพ 38
  • รูปภาพ 39
  • รูปภาพ 40
  • รูปภาพ 41
  • รูปภาพ 42
  • รูปภาพ 43
  • รูปภาพ 44
  • รูปภาพ 45
  • รูปภาพ 46
  • รูปภาพ 47
  • รูปภาพ 48
  • รูปภาพ 49
  • รูปภาพ 50
  • รูปภาพ 51
  • รูปภาพ 52
  • รูปภาพ 53
  • รูปภาพ 54
  • รูปภาพ 55
  • รูปภาพ 56
  • รูปภาพ 57
  • รูปภาพ 58
  • รูปภาพ 59
  • รูปภาพ 60
  • รูปภาพ 61
  • รูปภาพ 62
  • รูปภาพ 63
  • รูปภาพ 64
  • รูปภาพ 65
  • รูปภาพ 66
  • รูปภาพ 67
  • รูปภาพ 68
  • รูปภาพ 69
  • รูปภาพ 70
  • รูปภาพ 71
  • รูปภาพ 72
  • รูปภาพ 73
  • รูปภาพ 74
  • รูปภาพ 75
  • รูปภาพ 76
  • รูปภาพ 77
  • รูปภาพ 78
  • รูปภาพ 79
  • รูปภาพ 80
  • รูปภาพ 81
  • รูปภาพ 82
  • รูปภาพ 83
  • รูปภาพ 84
  • รูปภาพ 85
  • รูปภาพ 86
  • รูปภาพ 87
  • รูปภาพ 88
  • รูปภาพ 89
  • รูปภาพ 90
  • รูปภาพ 91
  • รูปภาพ 92
  • รูปภาพ 93
  • รูปภาพ 94
  • รูปภาพ 95
  • รูปภาพ 96
  • รูปภาพ 97
  • รูปภาพ 98
  • รูปภาพ 99
  • รูปภาพ 100
  • รูปภาพ 101
  • รูปภาพ 102
  • รูปภาพ 103
  • รูปภาพ 104
  • รูปภาพ 105
  • รูปภาพ 106
  • รูปภาพ 107
  • รูปภาพ 108

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ความคิดเห็น

ภาพยนตร์ที่เกี่ยวข้อง

วันนี้ในอดีต

  • รักแห่งสยาม
    เข้าฉายปี 2007
    แสดง มาริโอ้ เมาเร่อ, วิชญ์วิสิฐ หิรัญวงษ์กุล, กัญญา รัตนเพชร์
  • Harry Potter and the Chamber of Secrets
    เข้าฉายปี 2002
    แสดง Daniel Radcliffe , Emma Watson , Rupert Grint
  • ตีสาม 3D
    เข้าฉายปี 2012
    แสดง กาญจน์เกล้า ด้วยเศียรเกล้า, โทนี่ รากแก่น, ชาคริต แย้มนาม

เกร็ดภาพยนตร์

  • The Hobbit: The Battle of Five Armies - นักแสดงหลายคนเก็บอุปกรณ์การแสดงกลับบ้านไปด้วยหลังจากถ่ายทำเสร็จ อาทิ มาร์ติน ฟรีแมน ผู้สวมบท บิลโบ เก็บดาบและหูปลอมของตัวเองกลับไป ริชาร์ด อาร์มิเทจ ผู้รับบท ธอริน นำดาบออร์คริสต์กลับ ส่วน ลี เพซ ผู้รับบท ธรันดูอิล นำดาบเอล์ฟไป อ่านต่อ»
  • Stonehearst Asylum - สร้างจากเรื่องสั้นเมื่อปี 1844 เรื่อง The System of Doctor Tarr and Professor Fether เขียนโดย เอดการ์ แอลลัน โพ อ่านต่อ»
เกร็ดจากภาพยนตร์สามารถดูได้ในหน้าข้อมูลภาพยนตร์แต่ละเรื่อง

เปิดกรุภาพยนตร์

เรื่องราวของ ปาล์ม (ณภัทร เสียงสมบุญ) หนึ่งในคนที่ติดอยู่ในเขตเส้นกั้นของความเป็นเพื่อนกับ กิ๊ง (พิมพ์ชนก ลือวิเศษไพบูล...อ่านต่อ»