1. สยามโซน
  2. ภาพยนตร์
  3. ข่าววงการภาพยนตร์

ผลออสการ์ ครั้งที่ 81 รางวัลทางภาพยนตร์สุดยิ่งใหญ่

ผลออสการ์ ครั้งที่ 81 รางวัลทางภาพยนตร์สุดยิ่งใหญ่

ในที่สุด "อคาเดมี อวอร์ดส์" (Academy Awards) หรือ "ออสการ์" (Oscar) ครั้งที่ 81 ก็ประกาศผลออกมาเรียบร้อยแล้ว ณ โกดัก เธียเตอร์ ในย่านฮอลลีวูด ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อคืนวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2009 หรือตรงกับช่วงเช้าวันที่ 23 กุมภาพันธ์ ตามเวลาประเทศไทย โดย "Slumdog Millionaire" ผงาดขึ้นเป็นดาวเด่นของปีนี้ตามความคาดหมาย หลังจากชนะอย่างท่วมท้น 8 รางวัล รวมทั้งภาพยนตร์ยอดเยี่ยมด้วย

เนื้อหาของ Slumdog Millionaire ที่เล่าถึงชีวิตของเด็กหนุ่มยากจนที่พลิกผันมาเป็นเศรษฐี สะท้อนเส้นทางความสำเร็จของตัวภาพยนตร์ได้เป็นอย่างดี จากผลงานทุนสร้างต่ำที่เกือบจะได้ออกจำหน่ายเพียงในรูปแบบซีดี กลับกลายมาเป็นภาพยนตร์ที่ได้รับเกียรติยศสูงสุด หลังได้รับรางวัลออสการ์เกือบครบ 9 สาขาที่เข้าชิง พลาดไปเพียงรางวัลลำดับเสียงยอดเยี่ยมที่ "The Dark Knight" เบียดเข้ามาคว้าไปเท่านั้น

"แดนนี บอยล์" ที่พาเด็กๆ จากชุมชนแออัดในเมืองมุมไบ ประเทศอินเดีย ในฐานะนักแสดงของเรื่อง มาร่วมฉลองชัยในงานนี้ด้วย กล่าวขณะขึ้นรับรางวัลผู้กำกับยอดเยี่ยมว่า "ผมขอกล่าวถึงมุมไบ ทุกๆ คนที่นั่นที่ช่วยเราสร้างหนังเรื่องนี้ รวมถึงคนที่ไม่ได้สร้างด้วย ขอบคุณมากๆ พวกคุณทำให้แม้แต่คนๆ นี้ก็ยังดูกระจิริดไปเลย" แดนนี หมายถึงตุ๊กตาทองตัวเล็กๆ ในมือของเขานั่นเอง ส่วนรางวัลอื่นๆ ที่ภาพยนตร์เรื่องนี้กวาดไป ได้แก่ รางวัลสาขาบทภาพยนตร์ดัดแปลง กำกับภาพ ตัดต่อภาพ และรางวัลสำหรับแผนกเสียง

หลังจากเฉือนเอาชนะตัวเต็งอย่าง "มิกกี โรร์ก" ในสาขานักแสดงนำชายได้แล้ว "ฌอน เพนน์" ก็ถือโอกาสใช้เวทีออสการ์ต่างเวทีการเมือง สะท้อนบทบาทนักเรียกร้องสิทธิแบบเดียวกับที่เขาถ่ายทอดในเรื่อง "Milk" โดย ฌอน กล่าวว่า "ผมคิดว่าถึงเวลาแล้วที่ผู้คนที่ลงคะแนนเสียงคัดค้านการแต่งงานของคนเพศเดียวกัน จะต้องนั่งลงและครุ่นคิดถึงความน่าละอายอย่างยิ่งของพวกเขา" เช่นเดียวกับ "ดัสติน แลนซ์ แบล็ก" ที่กล่าวให้กำลังใจกลุ่มคนชายขอบเพศที่ 3 ขณะขึ้นรับรางวัลบทภาพยนตร์ดั้งเดิมยอดเยี่ยมจากภาพยนตร์เรื่องนี้

ในที่สุด "เคต วินสเลต" ก็คว้าออสการ์รางวัลแรกของเธอได้สำเร็จในปีนี้ จากบทนำฝ่ายหญิงในเรื่อง "The Reader" หลังจากพลาดรางวัลมา 5 ครั้ง โดยผ่านด่านนักล่ารางวัลออสการ์อย่าง "เมอรีล สตรีป" จาก "Doubt" ไปได้อย่างน่าประทับใจ "ฉันคงจะโกหกถ้าจะบอกว่าไม่เคยพูดลักษณะนี้มาก่อน ฉันคิดว่าตอนนั้นจะสักอายุประมาณ 8 ขวบ และยืนมองไปที่กระจกห้องน้ำ แล้วนี่ก็คือขวดยาสระผม" เคต กล่าว "แต่ตอนนี้มันไม่ใช่ขวดยาสระผมอีกต่อไปแล้วค่ะ"

ส่วน "เพเนโลเป ครูซ" ได้รางวัลนักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยมจากเรื่องรักหลายเส้าใน "Vicky Cristina Barcelona" ขณะรับรางวัลเธอได้กล่าวขอบคุณ ผู้กำกับ "วูดดี อัลเลน" ที่ไว้ใจให้เธอรับบทนี้ ด้าน "ฮีธ เลดเจอร์" จากบท โจ๊กเกอร์ ในภาพยนตร์มนุษย์ค้างคาว คว้ารางวัลนักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยมไปแบบแทบไม่ต้องลุ้น โดยครอบครัวของเขาขึ้นรับรางวัลในฐานะตัวแทนของ "มาทิลดา โรส เลดเจอร์" ลูกสาววัย 3 ปีของ ฮีธ

"The Curious Case of Benjamin Button" ที่ได้เข้าชิงมากที่สุด 13 สาขา ทำสำเร็จเพียง 3 สาขาเท่านั้น ได้แก่ กำกับศิลป์ยอดเยี่ยม แต่งหน้ายอดเยี่ยม และการสร้างภาพพิเศษยอดเยี่ยม ฟาก "WALL-E" ที่สร้างโดยยักษ์ใหญ่ของวงการแอนิเมชันอย่าง พิกซาร์ เก็บรางวัลภาพยนตร์แอนิเมชันยอดเยี่ยมกลับบ้านได้ตามคาด สำหรับรางวัลภาพยนตร์สารคดียอดเยี่ยมตกเป็นของ "Man on Wire" เช่นเดียวกับอีกหลายเวทีรางวัลที่ผ่านมา

ส่วนที่พลิกโผและเรียกความสนใจได้ไม่น้อย คือสาขาภาพยนตร์ภาษาต่างประเทศยอดเยี่ยม ที่ "Departures" ของผู้กำกับ "โยจิโระ ทาคิตะ" เอาชนะภาพยนตร์ขวัญใจนักวิจารณ์ "Waltz With Bashir" ไปได้อย่างไม่มีใครคาดฝัน นอกจากนี้ ภาพยนตร์แอนิเมชันขนาดสั้นยอดเยี่ยมของปีนี้ "La Maison En Petits Cubes" ก็เป็นผลงานของผู้กำกับชาวญี่ปุ่น "คุนิโอะ คาโตะ" จึงนับเป็นปีทองของผู้สร้างภาพยนตร์แดนอาทิตย์อุทัยอย่างแท้จริง

สรุปผลรางวัล ออสการ์ ครั้งที่ 81

  • ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม: Slumdog Millionaire
  • ผู้กำกับยอดเยี่ยม: แดนนี บอยล์ (Danny Boyle) จาก Slumdog Millionaire
  • นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม: ฌอน เพนน์ (Sean Penn) จาก Milk
  • นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม: เคต วินสเลต (Kate Winslet) จาก The Reader
  • นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม: ฮีธ เลดเจอร์ (Heath Ledger) จาก The Dark Knight
  • นักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม: เพเนโลเป ครูซ (Penelope Cruz) จาก Vicky Cristina Barcelona
  • บทภาพยนตร์ดั้งเดิมยอดเยี่ยม: ดัสติน แลนซ์ แบล็ก (Dustin Lance Black) จาก Milk
  • บทภาพยนตร์ดัดแปลงยอดเยี่ยม: ไซมอน โบฟอย (Simon Beaufoy) จาก Slumdog Millionaire
  • ภาพยนตร์ภาษาต่างประเทศยอดเยี่ยม: Departures จากประเทศญี่ปุ่น
  • ภาพยนตร์แอนิเมชันยอดเยี่ยม: WALL-E
  • ภาพยนตร์แอนิเมชันขนาดสั้นยอดเยี่ยม: La Maison En Petits Cubes
  • ภาพยนตร์สารคดียอดเยี่ยม: Man on Wire
  • ภาพยนตร์สารคดีขนาดสั้นยอดเยี่ยม: Smile Pinki
  • ภาพยนตร์ขนาดสั้นยอดเยี่ยม: Toyland (Spielzeugland)
  • กำกับศิลป์ยอดเยี่ยม: โดนัลด์ เกรแฮม เบิร์ต (Donald Graham Burt) และ วิกเตอร์ เจ. ซอลโฟ (Victor J. Zolfo) จาก The Curious Case of Benjamin Button
  • กำกับภาพยอดเยี่ยม: แอนโธนี ด็อด แมนเทิล (Anthony Dod Mantle) จาก Slumdog Millionaire
  • ออกแบบเครื่องแต่งกายยอดเยี่ยม: ไมเคิล โอ'คอนเนอร์ (Michael O'Connor) จาก The Duchess
  • ตัดต่อยอดเยี่ยม: คริส ดิกเคนส์ (Chris Dickens) จาก Slumdog Millionaire
  • แต่งหน้ายอดเยี่ยม: เกร็ก แคนนอม (Greg Cannom) จาก The Curious Case of Benjamin Button
  • ดนตรีประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม: เอ.อาร์. ราห์แมน (A.R. Rahman) จาก Slumdog Millionaire
  • เพลงประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม: Jai Ho จาก Slumdog Millionaire ทำนองโดย เอ.อาร์. ราห์แมน (A.R. Rahman) คำร้องโดย กุลซาร์ (Gulzar)
  • ตัดต่อเสียงยอดเยี่ยม: ริชาร์ด คิง (Richard King) จาก The Dark Knight
  • ผสมเสียงยอดเยี่ยม: เอียน แทปป์ (Ian Tapp) ริชาร์ด ไพรก์ (Richard Pryke) และ เรซุล ปูคุตตี (Resul Pookutty) จาก Slumdog Millionaire
  • การสร้างภาพพิเศษยอดเยี่ยม: เอริก บาร์บา (Eric Barba) สตีฟ พรีก (Steve Preeg) เบิร์ต ดาลตัน (Burt Dalton) และ เครก บาร์รอน (Craig Barron) จาก The Curious Case of Benjamin Button
  • รางวัล จีน เฮอร์โชลต์ (Jean Hersholt Humanitarian Award): เจอร์รี ลิวอิส (Jerry Lewis)

สงวนลิขสิทธิ์ © ห้ามคัดลอก ตัดต่อ
ดัดแปลงหรือเผยแพร่ในสื่อใดๆ ก่อนได้รับอนุญาต
กดเพื่อดูรูปใหญ่ ปัดซ้าย-ขวาเพื่อดูรูปถัดไป
  • รูปภาพ 1
  • รูปภาพ 2
  • รูปภาพ 3
  • รูปภาพ 4
  • รูปภาพ 5
  • รูปภาพ 6
  • รูปภาพ 7
  • รูปภาพ 8
  • รูปภาพ 9
  • รูปภาพ 10
  • รูปภาพ 11
  • รูปภาพ 12
  • รูปภาพ 13
  • รูปภาพ 14
  • รูปภาพ 15
  • รูปภาพ 16
  • รูปภาพ 17
  • รูปภาพ 18
  • รูปภาพ 19
  • รูปภาพ 20
  • รูปภาพ 21
  • รูปภาพ 22
  • รูปภาพ 23
  • รูปภาพ 24
  • รูปภาพ 25
  • รูปภาพ 26
  • รูปภาพ 27
  • รูปภาพ 28
  • รูปภาพ 29
  • รูปภาพ 30
  • รูปภาพ 31
  • รูปภาพ 32
  • รูปภาพ 33
  • รูปภาพ 34
  • รูปภาพ 35
  • รูปภาพ 36
  • รูปภาพ 37
  • รูปภาพ 38
  • รูปภาพ 39
  • รูปภาพ 40
  • รูปภาพ 41
  • รูปภาพ 42
  • รูปภาพ 43
  • รูปภาพ 44
  • รูปภาพ 45
  • รูปภาพ 46
  • รูปภาพ 47
  • รูปภาพ 48
  • รูปภาพ 49
  • รูปภาพ 50
  • รูปภาพ 51
  • รูปภาพ 52
  • รูปภาพ 53
  • รูปภาพ 54
  • รูปภาพ 55
  • รูปภาพ 56
  • รูปภาพ 57
  • รูปภาพ 58
  • รูปภาพ 59
  • รูปภาพ 60
  • รูปภาพ 61
  • รูปภาพ 62
  • รูปภาพ 63
  • รูปภาพ 64
  • รูปภาพ 65
  • รูปภาพ 66
  • รูปภาพ 67
  • รูปภาพ 68
  • รูปภาพ 69
  • รูปภาพ 70
  • รูปภาพ 71
  • รูปภาพ 72
  • รูปภาพ 73
  • รูปภาพ 74
  • รูปภาพ 75
  • รูปภาพ 76
  • รูปภาพ 77
  • รูปภาพ 78
  • รูปภาพ 79
  • รูปภาพ 80
  • รูปภาพ 81
  • รูปภาพ 82
  • รูปภาพ 83
  • รูปภาพ 84
  • รูปภาพ 85
  • รูปภาพ 86
  • รูปภาพ 87
  • รูปภาพ 88
  • รูปภาพ 89
  • รูปภาพ 90
  • รูปภาพ 91
  • รูปภาพ 92
  • รูปภาพ 93
  • รูปภาพ 94
  • รูปภาพ 95
  • รูปภาพ 96
  • รูปภาพ 97
  • รูปภาพ 98
  • รูปภาพ 99
  • รูปภาพ 100
  • รูปภาพ 101
  • รูปภาพ 102
  • รูปภาพ 103
  • รูปภาพ 104
  • รูปภาพ 105
  • รูปภาพ 106
  • รูปภาพ 107
  • รูปภาพ 108
  • รูปภาพ 109
  • รูปภาพ 110
  • รูปภาพ 111
  • รูปภาพ 112
  • รูปภาพ 113
  • รูปภาพ 114
  • รูปภาพ 115
  • รูปภาพ 116
  • รูปภาพ 117
  • รูปภาพ 118
  • รูปภาพ 119
  • รูปภาพ 120
  • รูปภาพ 121
  • รูปภาพ 122
  • รูปภาพ 123
  • รูปภาพ 124
  • รูปภาพ 125
  • รูปภาพ 126
  • รูปภาพ 127
  • รูปภาพ 128
  • รูปภาพ 129

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ความคิดเห็น

ภาพยนตร์ที่เกี่ยวข้อง

วันนี้ในอดีต

  • รักแห่งสยาม
    เข้าฉายปี 2007
    แสดง มาริโอ้ เมาเร่อ, วิชญ์วิสิฐ หิรัญวงษ์กุล, กัญญา รัตนเพชร์
  • Harry Potter and the Chamber of Secrets
    เข้าฉายปี 2002
    แสดง Daniel Radcliffe , Emma Watson , Rupert Grint
  • ตีสาม 3D
    เข้าฉายปี 2012
    แสดง กาญจน์เกล้า ด้วยเศียรเกล้า, โทนี่ รากแก่น, ชาคริต แย้มนาม

เกร็ดภาพยนตร์

  • Big Eyes - โดยส่วนใหญ่ผู้กำกับ ทิม เบอร์ตัน จะทำงานร่วมกับนักแสดงที่คุ้นเคยกันดีอยู่แล้ว แต่เรื่องนี้มีแต่นักแสดงที่ ทิม ไม่เคยร่วมงานด้วยมาก่อน โดยภาพยนตร์ที่ทำเช่นนี้ก่อนหน้านี้ คือ Beetlejuice (1988) อ่านต่อ»
  • American Sniper - เดวิด โอ. รัสเซลล์ เคยได้รับการพิจารณาให้มากำกับภาพยนตร์เรื่องนี้ก่อนที่เขาจะขอถอนตัว สตีเวน สปีลเบิร์ก ก็เคยสนใจกำกับภาพยนตร์เรื่องนี้ แต่ก็ถอนตัวออกไปเช่นกัน คลินต์ อีสต์วูด จึงมารับหน้าที่กำกับในที่สุด อ่านต่อ»
เกร็ดจากภาพยนตร์สามารถดูได้ในหน้าข้อมูลภาพยนตร์แต่ละเรื่อง

เปิดกรุภาพยนตร์

เมื่อเราทุกคนต่างมีความเป็นยอดมนุษย์อยู่ในตัวของเรา มันก็แค่ต้องใช้มนตร์วิเศษสักหน่อยเพื่อที่จะดึงมันออกมา ในกรณีของ บิ...อ่านต่อ»