ฝูงชนคือคนที่รวมกลุ่มกัน
ดังนั้นลักษณะของฝูงชนย่อมต่างกันไปเพราะคุณภาพจิตใจของคน
เช่น หากนำคนที่มีสติมีปัญญาและมีเมตตามารวมตัวกัน ฝูงชนนั้นก็จะมองโลก พูดจาและปฏิบัติต่อกันด้วยปัญญา ด้วยสติและด้วยความเข้าใจ
หรือ หากนำคนที่มีจิตสำนึกที่พัฒนาพอสมควรมารวมกัน สิ่งที่ได้ทั้งหมดก็จะได้ผลลัพธ์ที่ต่างกัน คือ ฝูงชนนั้นก็จะมองโลก พูดจาและปฏิบัติต่อกันด้วย ความมีสติบ้าง ขาดสติบ้าง ความมีปัญญาบ้าง ความโง่เขลาบ้าง ความเข้าใจบ้าง และความไม่เข้าใจบ้าง ที่เป็นเช่นนั้นเพราะฝูงชนนี้รวมเอาคนที่จิตสำนึกพัฒนาพอสมควรมารวมเข้าไว้
หรือ หากนำคนที่จิตสำนึกยังไม่พัฒนาเลยมารวมกัน แน่นอนว่ามันย่อมตรงข้ามกันสุดขั้ว ฝูงชนนี้ จะมองโลก พูดจา และปฏิบัติต่อกันด้วยความโง่เขลา โดยทึกทักว่าตนเป็นผู้ฉลาด การตัดสินมากกว่าที่จะทำความเข้าใจ เป็นความธรรมดาของฝูงชนนี้
เราทุกคนก็ต่างเป็นส่วนหนึ่งของฝูงชน แต่ฝูงของเราก็ปรับเปลี่ยนไปตามความมีสติของเราเช่นกัน ซึ่งทุกฝูงชนก็มีบรรยกาศของตน
มันเป็นเรื่องของเหตุและผล ที่สิ่งเหมือนกันย่อมดึงดูดกัน เมื่อเราไม่ชื่นชอบบรรยากาศของบางฝูงชน เราก็แค่ถอนตัวออกมา คือ เห็นก็ไม่เอา ได้ยินก็ไม่สน ชวนคุยก็ไม่ตอบ รักษาใจไว้ไม่ให้ลงต่ำตามกระแสที่ไม่เกี่ยวข้องกับชีวิตของตน