วิจารณ์ Alexander

วิจารณ์ภาพยนตร์
  • เมื่อ 4 ธ.ค. 47 09:09

    จริงๆแล้วหนังเรื่องนี้ส่วนตัวแล้วคิดว่าก็OKนะเพราะในบางเรื่องที่เราไม่เคยรู้เลยก็ทำให้เราได้รู้ในทางที่ขัดแย้งตามหนังสือประวัติศาสตร์หลายๆเล่มที่เคยได้ศึกษามา อย่างเรื่องสาเหตุการสวรรคตของท่านหนังสือหลายเล่มก็บอกว่าเป็นเพราะป่วยโรคพิษสุราเรื้อรัง เป็นไข้หวัดบ้าง ไทร์ฟรยบ้าง แต่ใครจะไปรู้ละว่าหนังเรื่องนี้จะกล้านำเสนอออกมาในแนวนี้ สำหรับเรื่องอื่นๆก็ดีนะไม่ว่าจะเป็นฉากหรือการแต่งกายของตัวละครก็สวยดี และส่วนที่ยังไม่ถึงอารมณ์ก็มีเหมือนกันนะมันก็แล้วแต่เราจะจินตนาการไปกับมัน แต่เราเชื่ออีกอย่างว่า Alexander ตัวตนที่แท้จริงคงไม่ได้เป็นอย่างที่หนังหรือประวัติศาสตร์ได้บันทึกไว้เสียทุกอย่างหรอก ลองลดทิฐิลงสักนิดนะเผื่อจะมองอะไรได้สวยงามกว่านี้

  • เมื่อ 3 ธ.ค. 47 23:58

    เอ่อ Alexander ไม่ใช่เกย์นะคะ ขอย้ำ เขาเป็นไบต่างหาก

  • เมื่อ 3 ธ.ค. 47 15:17

    จริงๆ แล้วหนังเรื่องนี้ ไม่น่าจะเน้นเรื่อง ความรักระหว่างพระเจ้า Alexander กับ เหล่าชาย มากขนาดนี้เลย โดยความเห็นส่วนตัวแล้ว..น่าจะมุ่งจุดสำคัญของเรื่องไปที่ ความสามารถในด้านการปกครองคน หรือ ทำไม Alexander ถึงถูกเรียกว่า The great มากกว่าที่จะตีแผ่ เรื่องความรักระหว่างชายด้วยกัน
    ตามประวัติศาสตร์ กรีก โรมัน เป็นเรื่องธรรมดาที่ ชายจะรักชาย เพราะสมัยก่อน ผู้คนส่วนใหญ่เป็นนักรบ เมื่อถึงคราออกรบ ครั้นจะหาผู้หญิงมาทำให้ตัวเองพอใจก็เป็นเรื่องยาก..จึงไม่แปลกที่ผู้ชายในยุคนั้น จะมีความต้องการทางเพศ แม้กับผู้ชายด้วยกันเอง แล้วเนื่องจากว่า.. ยุคนั้น ไม่มีการบัญญํติคำว่า เกย์ หรือ โฮโม ขึ้นมา การที่ชายรักชาย จึงไม่ต่างอะไรกับ ชายรักหญิง ซึ่งนั่น เป็นเรื่องที่ไม่ผิดปกติแต่อย่างใดสำหรับหนังประวัติศาสตร์เรื่องนี้
    การนำเสนอที่ถูกจุด การดำเนินเรื่อง ตลอดจน ถ้ามีการปรับปรุงเปลือ่นแปลงซักเล็กน้อย หนังเรื่องนี้คงมีคความน่าสนใจมากขึ้นอีกเป็นกอง
    ปล. ช่วง 1 ชั่วโมงสุดท้ายของหนัง เป็นช่วงที่อยากออกจากโรงภาพยนตร์มากที่สุด (อาจเกิดจากความคาดหวังว่าหนังจะออกมาดี เหมือนที่ Trailer ที่โฆษณาไว้ แต่เมื่อมันไม่เป็นอย่างนั้น ก็เลย.....)

  • เมื่อ 3 ธ.ค. 47 11:45

    นึกสนุกอยากวิวาทะกับคุณM.L.Hist ซึ่งผมอ่านคำวิจารณ์แล้วก็ยังไม่สามารถล้างข้อสงสัยออกจากหัวของผมได้ว่า
    -- หนังไม่ได้สื่อถึง ๑ปัจจัยอะไรที่ทำให้ Alexander กำอำนาจไว้ตลอดช่วงเวลานั้น และ๒ปัจจัยอะไรที่ทำให้กองทัพเขารบชนะชนชาติอื่นๆ หนังจึงขาดความสมเหตุผล ถ้าเปรียบเทียบก็เหมือนกับ เอาหนูไปไล่ตบหัวแมวโดยไม่ได้ปูเรื่องมาว่าหนูตัวนี้มาจากดาวคลิปตัน
    -- คนทำหนังมีสิทธิเต็มที่ในการตีความประวัติศาสตร์ / ในการสร้างทุกประการ คนโบราณจะเอาลอดช่องไปทำผัดซีอิ้วผมก็ไม่ว่า ขอเพียงแต่ออกมาอร่อยเท่านั้น และผมก็เห็นด้วยว่า ความชอบไม่ชอบ รู้สึกคิดเห็น เรื่องอารมณ์เป็นเรื่องปัจจัยส่วนบุคคล แต่รสนิยมสากลมันมี ถ้าทำหนังออกมาแล้วมันไม่สากลนิยม (เมื่อเทียบกับ ทรอย) ก็ไม่ควรปัดว่าเป็นรสนิยมเฉพาะคนไป คนทำหนังทำตามชอบ คนดูก็มีสิทธิ์วิจารณ์ ดูเสร็จแล้วรู้สึกไม่ได้อารมณ์ก็วิจารณ์กันไป และเป็นเรื่องปกติที่คนที่มาตรฐานสูง จะหาความสุขสนุกได้ยากกว่าคนทั่วไป
    ผมไม่ได้มองหนังเรื่องนี้ว่าแย่ โดยส่วนตัวให้ 7 (ปัจจุบัน 80 โหวตได้ 6.8) เพียงแต่ติสองจุดที่บอกเท่านั้น
    ยังไงๆ ผมก็ชอบใจในการวิจารณ์ของคุณM.L.Hist มากขึ้นไปจนอยากรู้จักครับ

  • เมื่อ 3 ธ.ค. 47 01:39

    เห็นด้วยกับคุณ M.L.Hist ในแง่ของการวิจารณ์ถึง Alexander เนื่องจากระบบแนวความคิดในสมัยก่อนกับสมัยนี้ต่างกันมาก อะไรที่เห็นว่าดีงามในสังคมตอนนี้ ก็ไม่เป็นที่จะต้องเป็นสิ่งดีงามในสมัยนั้น และนอกจากนั้นแนวความคิดของตะวันตกก็ไม่เหมือนเรา แม้กระทั่งในสมัยนี้ก็ตาม และอีกอย่างคือเรื่องความเป็นเกย์ของ Alexander ที่เห็นทุกคนพูดถึง นั้นก็เป็นสิ่งที่ผู้กำกับตีความเองด้วย แถมพ่วงความเป็นตลาดอีกต่างหาก แต่ส่วนตัวก็บอกไม่ได้เหมือนกันว่า Alexander เป็นเกย์หรือไม่เป็น เพราะกรอบความคิดสมัยนี้ตัดสินสมัยนู้น ก็ค้องบอกว่า Alexander จัดเป็นชายรักชาย จากที่ลองอ่านบทความดู ความรักระหว่างชาย-ชาย ในกรีก ก่อนคริสตกาล 600-300 ปี สมัยก่อนจะเหมือนแบบผู้ใหญ่สอนเด็กหนุ่มเพื่อให้เกิดความสมบูรณ์ในชีวิต (เหมือนกับแนวคิดที่ชายไทยต้องบวชเรียน เป็นทหาร ก่อนที่จะมีครอบครัวนั่นแหละ)และจะเกิดกับชายที่สูงอายุกว่ากับเด็กหนุ่ม เป็นส่วนใหญ่ และเด็กหนุ่มเหล่านี้เมื่อโตขึ้นสู่ความเป็นผู้ใหญ่ ก็จะต้องมีครอบครัวแต่งงานกับผู้หญิงตาม norm ของสังคม ที่เห็นในหนังก็มีบางส่วนเหมือนสมัยนี้แหละที่ผู้ชายเที่ยวอ่าง สมัยก่อนเขาก็มีทั้งแบบที่เป็นเด็กหนุ่มบริการ และผู้หญิงบริการ อย่างไรก็ดีเพราะหนังเรื่องนี้ทำให้อยากรู้ประวัติของกษัตริย์องค์นี้มากขึ้นถึงแม้ว่าการดำเนินเรื่องจะไม่เนียนเหมือนที่หลายๆคนว่า แต่โปรดักชันโดยรวมก็สวยดี ว่าแต่ว่าฉากรบตอนปลายๆ อย่างกับเรื่องสุริโยทัยแน่ะ

  • เมื่อ 2 ธ.ค. 47 20:47

    ...เพิ่งรู้ว่า Alexender is เกย์

  • เมื่อ 1 ธ.ค. 47 19:53

    น่าตั้งชื่อไทยว่า ไอ้เล็กสั้นด้วน เดอะ เกย์

  • เมื่อ 1 ธ.ค. 47 19:51

    Alexander ก็คล้ายๆกับ อโศกมหาราชนั่นแหละ เป็นกษัตริย์ชาตินักรบเหมือนกัน พุ่งรบมาเกือบครึ่งค่อนโลก แต่ต่างกันตรงที่บทสรุปต่างกันเท่านั้นเอง คนหนึ่งได้รู้จักสัจจธรรมของชีวิต แต่อีกคนหนึ่งกลับไม่ได้อะไรเลย ลองเอามาเทียบกันแล้ว Alexanderดูน่าเห็นใจมากที่สุด

  • เมื่อ 1 ธ.ค. 47 14:47

    ไม่สนุกเลย เหมือนดู Discovery ยังไงยังงั้น หนังไม่มีความสนุก และความตื่นเต้นเลย ฉากรบที่มีแค่สองฉากเท่านั้นยังทำได้ห่วยแตกเลย เรื่องนี้ผมว่าไม่ต้องไปพิสูจน์ให้เสียเวลาหรอก แล้วคุณจะเสียใจ ขนาดผมไม่ได้คาดหวังอะไรมากเพราะเพื่อนที่ไปดูมาก็บอกว่าไม่หนุก ยังผิดหวังกว่าที่คิดอีก หนังอะไรน่าเบื่อชะมัดยาดเลย

  • เมื่อ 1 ธ.ค. 47 11:54

    ขอบคุณคุณ v ที่ได้อ่านและเห็นมุมมองบางประการที่ผมเสนอ
    ประการหนึ่งที่ผมต้องบอกก็คือว่าการวิจารณ์ภาพยนตร์อิงประวัติศาสตร์ในแง่มุมต่างๆนั้นเราต้องคำนึงถึงในกรณี
    1. ความเป็นภาพยนตร์ในมุมมองของการแสดง ว่าการแสดงเป็นเพียงการสื่อสารด้านวัจนภาษาและอวัจนภาษาซึ่งบุคคลผู้ได้รับการถ่ายทอดข้อมูลนั้นจะอาศัยการตีความจากความรับรู้ประสบการณ์ พื้นฐานความคิด ความรู้พื้นฐานต่างๆ ฯลฯ จนเกิดกระบวนการเข้าใจโดยมูลเหตุของข้อมูลนั้น การดูหนังจึงให้เนื้อหา อารมณ์ ความรู้สึกของแต่ละคนต่างกันไป ในกรณีอเล็กซานเดอร์ที่เราเห็นในหนังนั้น แน่นอนมีประเด็นชัดเจนอย่างที่คุณ v ว่าคือเกิดปัญหาในปม Odipus Complex (ขั้นตอนในการสร้างภาวะทางเพศ ในระยะ 3-6 ปี) ตามทฤษฎีของซิกมันด์ ฟรอยด์ (นักจิตวิเคราะห์เชื้อสายยิวคนสำคัญของโลก ให้กำเนิดทฤษฎี จิตวิเคราะห์) อเล็กซานเดอร์จึงมีแม่เป็นแบบในใจ มีพ่อเป็นแบบเช่นกันแต่ไม่สามารถเป็นหลักในใจได้อย่างแท้จริงเป็นเพียงชั่ววูบหนึ่ง ในแต่ละครั้งของความทรงจำและคอยผลักดันในสภาวะอารมณ์ในหลายตอน นอกจากนี้ยังมีแนวคิด ความเชื่อ การอบรมสั่งสอน ระบบคิดจากอาจารย์ (ในกรณีการสร้างชาติ ความรักในบางแง่มุม ซึ่งหลายคนที่ดูหนังตีความเป็นเรื่องของ Homosexual ) รวมทั้งวรรณกรรมและบรรดาวีรบุรุษ ทวยเทพ ในยุคเทวนิยมของกรีกโบราณ (อภิปรัชญาเหล่านี้สร้างอารยธรรมโลกมากมายและเด่นชัด แต่คนปัจจุบันกลับละเลยที่จะเข้าใจว่าปรัชญาและอภิปรัชญาเป็นแนวทางการสร้างโลกในยุคต้นอารยธรรมมนุษย์ และมองว่าเรื่องเหล่านั้นเป็นสิ่งเพ้อฝัน ทั้งที่เราเห็นมหาวิหารพาร์เธนอนบนเทือกเขาอะโครโพลิส [สร้างเพื่อบูชาเทพ] เราเห็นนครวัด นครธม ในเขมรที่สร้างเพื่อบูชาเทพ ในแนวคิดไศวนิกาย [แนวคิดปรัชญาตะวันออก เชื่อในพระศิวะ] ) ทั้งหมดนี้เป็นเพียงส่วนที่สร้างบุคคลที่เราเชื่อว่าเขาคืออเล็กซานเดอร์มหาราชที่เรารู้จัก และเห็นในภาพยนตร์ ซึ่งผมคงไม่สรุปว่านั่นคือตัวของอเล็กซานเดอร์ที่แท้จริงย่างที่คนปัจจุบันพึงจะเข้าใจ พยายามเข้าใจ และไขว่คว้าที่จะเข้าใจ
    ในส่วนอารมณ์และเนื้อหาของภาพยนตร์ที่จะตรึงใจคนดู ยืดเยื้อ สั้นเกินไป
    ยาวเกินไปนั้น เป็นสิ่งที่เราไม่สามารถควบคุมได้ ผู้สร้างมีมุมมองในการนำเสนออย่างที่เขาต้องการและไม่สามารถวัดคุณค่าโดยหลักการวัดแบบมิเตอร์ที่เรานิยมใช้กันในปัจจุบัน มาวัดความชอบ ความพึงพอใจ ของผู้ชมทุกคนได้ก่อนที่จะดูหนัง ดังนั้นคนดูหนังรู้สึกได้ในทุกอารมณ์ตามที่เป็นอันเนื่องมาจากผัสสะ (การสัมผัสรู้) ของแต่ละคน

    2. ในกรณีที่คุณ v กล่าวว่า “หนังไม่ได้ชี้ว่าตัวละคร Alexander ในภาพยนตร์มีความสามารถอะไรที่เด่นเหนือคนทั่วไปตรงจุดไหนที่จะกลายเป็นมหาราชได้” ตรงนี้เราอาจเข้าใจได้ว่าการชี้จุดเด่นที่เหนือกว่าบุคคลทั่วไปนั่นคือคนเหนือคน หรืออาจก้าวข้ามไปถึงความเป็นมหาราช(คำซึ่งมหาชนถวายเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระเจ้าแผ่นดิน) ในมุมมองนี้เราเข้าใจมหาราชในแนวตะวันตกและตะวันออกอย่างไร คนหนุ่มอายุ เพียง 30 กว่าสามารถตีแผ่พระราชอำนาจไปเหนือพื้นพิภพในยุคที่ยังไม่มีมนุษย์คนใดล่วงไปถึง มนุษย์ผู้กำอำนาจบังคับบัญชาไพร่พล พสกนิกรกว่าแสนชีวิตไปในทิศทางที่พระองค์ต้องการได้อย่างที่ไม่มีใครเคยทำในโลกยุคนั้น แม้พระไครส์ (เยซู คริสต์) ผู้เกิดในยุคหลังก็พาเพียงผู้คนแหวกทะเลแดงหนีฟาห์โรแห่งอียิปต์จนสำเร็จแต่ก็ไม่เคยจูงผู้คนไปไหนๆ ตามที่ใจต้องการ หรือนโปเลียน โบนาพาร์ตที่พาทหารกล้าเข้าสู่สมรภูมิความตายอันยะเยือกที่ไซบีเรียเมื่อครั้งจะชิงพระราชอำนาจในโลกจากพระเจ้าซาร์แห่งรัสเซีย แม้กระทั้งอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ที่ไม่คำนึงความจริงในประวัตศาสตร์ว่าไซบีเรียนั้นแสนจะเยียบเย็นและมีผู้เอาชีวิตไปทิ้งในดินแดนนั้นมิรู้เท่าไร ก็ยังคงชี้นำทัพเยอรมันให้ไปล้างพระราชอำนาจของซาร์นิโคลัสที่ 2 แห่งรัสเซีย ในสงครามโลกครั้งที่ 2 ทั้งหลายเหล่านี้ก็เป็นเพียงสิ่งบ่งชี้ในเงารางๆ ของความเหนือคนของอเล็กซานเดอร์ในมุมที่เรารู้จัก จะใช่มหาราชอย่างที่คนตะวันออกเข้าใจหรือไม่นั้นก็คงต้องอาศัยภูมิความคิดของแต่ละคน โดยความคิดในมุมความเป็นมหาราชของคนตะวันออกนั้นอิงด้วยระบบคิดอย่างระบบจักรพรรดิราชซึ่งถูกสั่งสมด้วยหลักทางพุทธศาสนา คือต้องร่มเย็น ปกแผ่ด้วยพระบรมโพธิสมภาร เย็นด้วยพระบารมี ซึ่งคนในแถบถิ่นตะวันออกนี้พึงได้รับอย่างสม่ำเสมอโดนเฉพาะราชอณาจักรสยาม ความเป็นจักรพรรดิราชหรือมหาราชนี้ในโลกตะวันออกมีผู้ประสงค์จะเข้าสู่ภาวะนั้นก็หลายท่าน (เว้นแต่องค์สัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เป็นต้นรากแห่งมหาราชนั้นมิได้ถูกเชื้อเชิญจากผู้ใช้ภูมิปัญญาแห่งพระองค์ [ปุถุชนผู้นิยมการขนานนาม] เข้ามาเป็นมหาราช) อาทิพระเจ้าอโศกมหาราช เจงกีสข่าน หรือแม้แต่ พระเจ้าหงสาวดีลิ้นดำบุเรงนอง (ผู้ชนะสิบทิศ) ที่เราคิดว่าเรารู้จักพระองค์ดี แต่กระนั้นอเล็กซานเดอร์ยังอุปการะแม่ทัพเอกนามเมลันเดอร์ไว้ในชมพูทวีปเพื่อสร้างสรรค์อารยธรรมที่พุทธศาสนิกชนพึงกราบไหว้ ระลึก บูชาอยู่มิรู้คลาย การปั้นรูปปฏิมากรรมอย่างกรีก ซึ่งคนตะวันออกยุคนั้นไม่มีใครกล้าจะทำ แต่ชาวตะวันตกทำเป็นสิ่งจรรโลงใจ รูปแบบการปั้นในยุคต้นของศาสนวัตถุแนวคันธาระ คือพระพุทธรูปปางคันธารราษฎร์ที่เรารู้จักบ้าง ไม่รู้จักบ้าง คือสิ่งที่อเล็กซานเดอร์ทิ้งเชื้อไว้ให้คนตะวันออกในยุคที่ภูมิปัญญายังไม่บรรเจิด ถ้าใครเคยรู้จักหรือได้อาจหนังสือมิลินทปัญหาก็คงต้องทราบว่าพระยามิลินทร์นั้นจะเป็นใครไปไม่ได้นอกจากแม่ทัพเอกแห่งอเล็กซานเดอร์นามเมลันเดอร์นั่นเอง ที่กล่าวมาข้างต้นนี้ก้เพื่อให้ลองตรองดูว่าการวัดคุณค่าภาพยนตร์อิงประวัติศาสตร์นั้น เราควรมีวิจารณในแง่ใดบ้าง เพราะคนยุคปัจจุบันพอถูกนำเสนอด้วยวัจจนภาษาและอวัจจนภาษาโดยสื่อต่างๆก็พากันไปในทิศทางอันไม่สามารถจะควบคุมได้ ความสุข ความคลางแคลงใจ ความสงสัย ความบรรเจิดในจินตนาการ เมื่อเราดูหนังจบลงมักเกิดขึ้นเสมอ คงต้องหาเวลาไปไข่วคว้าหาคำตอบกันเอาเอง อย่าลืมว่า “ภาพยนตร์อิงประวัติศาสตร์เป็นแง่มุมหนึ่งของประวัติศาสตร์แต่มิใช่ประวัติศาสตร์ จงอย่าพึงนำความเข้าใจเหล่านั้นมาบอกแก่ใจตัวเองว่านั่นคือประวัติศาสตร์ที่เราพึงเข้าใจ” เพราะอย่างไรก็ตาม มนุษย์ไม่ว่าในอดีต ปัจจุบันหรืออนาคต ตกอยู่ในห้วงปรัชญาที่ว่า “มนุษย์เป็นทาสของภาษาเสมอ”

มีทั้งหมด 66 วิจารณ์ หน้าที่ 3 [ก่อนหน้า] 1 2 3 4 5 6 7 [ถัดไป]
เขียนวิจารณ์
จะต้องลงชื่อเข้าใช้ระบบก่อน จึงจะเขียนวิจารณ์ได้
เป็นสมาชิกอยู่แล้ว ลงชื่อเข้าใช้ระบบ
ยังไม่ได้เป็นสมาชิก สมัครสมาชิกใหม่
หรือจะลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google+ หรือ Facebook ก็ได้
Facebook | Google+

advertisement

วันนี้ในอดีต

  • เก๋า..เก๋าเก๋า..เก๋าเข้าฉายปี 2006 แสดง อภิสิทธิ์ โอภาสเอี่ยมลิขิต, ปิยะ ศาสตรวาหา, จักรพงศ์ สิริริน
  • The ParkThe Parkเข้าฉายปี 2003 แสดง แมทธิว ดีน, เฌอมาลย์ บุญยศักดิ์, ภูเบศร์ มากะนิตย์
  • A Bug's LifeA Bug's Lifeเข้าฉายปี 1998 แสดง Dave Foley, Kevin Spacey, Julia Louis-Dreyfus

เกร็ดภาพยนตร์

  • Cinderella - ชุดราตรีที่ ซินเดอเรลลา รับบทโดย ลิลี เจมส์ สวมไปงานเต้นรำ ตัดเย็บจากผ้ายาวกว่า 270 หลา ด้ายยาวกว่า 3 ไมล์ และคริสตัลจากสวารอฟสกีกว่า 10,000 เม็ด อ่านต่อ»
  • Everly - เดิมที เคต ฮัดสัน ถูกวางตัวให้แสดงบท เอเวอร์ลี แต่ภาพยนตร์อยู่ในขั้นตอนพัฒนาเรื่องนานจน เคต ถอนตัว และภายหลัง ซัลมา ฮาเยก จึงเข้ามารับบทแทน อ่านต่อ»

เปิดกรุภาพยนตร์

Manikarnika: The Queen of Jhansi Manikarnika: The Queen of Jhansi เรื่องราวของ รานี ลักษมีไพ หนึ่งในบุคคลสำคัญของการก่อกบฏของอินเดียในปี 1857 และการต่อต้านของเธอต่อราชวงศ์อังกฤษ...อ่านต่อ»