วิจารณ์ Alexander
-
TT
(ไม่ได้เป็นสมาชิก)
เมื่อ 8 ธ.ค. 47 20:49
เซ็ง เสียดายตัง เสียดายเวลา หนังเกย์
-
V = Vaytal
(ไม่ได้เป็นสมาชิก)
เมื่อ 8 ธ.ค. 47 12:49
การวิวาทะกับคุณ ML. Hist ได้ความรู้ดี ชอบครับ อาจจะใช้วาจาก่อกวนไปบ้าง ต้องขออภัยแต่ไม่มีเจตนาลบหลู่ แต่จะชอบแหย่ให้พูด
ต้องขอแสดงความนับถือในภูมิรู้ของคุณและขอคารวะในอาวุโส(คาดว่าครับ) ผมคงต้องรอหนังเรื่องใหม่จนกว่าจะได้มาเล่นกับคุณ ML. Hist อีก
แล้วผมจะห้อยหัวคอยใต้ต้นมะเดื่อ หากนานไปจะเมล์ไปเล่านิทานถามปริศนาคงไม่ว่านะครับ
สุดท้ายขอฝากคำถาม ...หลักฐานทางประวัติศาสตร์ชิ้นไหนจริง/เท็จ ....อะไรคือความจริง...เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีตเป็นความจริง?...ความสมของเหตุผลคือความจริง?......หนังเป็นความจริง?...
ความจริงคนซื้อตั๋วเข้าโรงต้องการอะไร?...ความจริงคนทำหนังต้องการอะไร?.... (คำตอบ. เงิน 5555)..... -
M.L.Hist ตอบคุณ v ก่อนจาก
(ไม่ได้เป็นสมาชิก)
เมื่อ 7 ธ.ค. 47 19:29
ขอบคุณ คุณ v อีกครั้ง ครั้งนี้ผมอาจจะอธิบายเป็นครั้งสุดท้ายในการวิจารณ์ภาพยนตร์อิงประวัติศาสตร์เรื่อง อเล็กซานเดอร์ มหาราชชาตินักรบ ผมเห็นประเด็นว่าผมอาจใช้ถ้อยคำไม่กระจ่างพอที่จะแสดงถึงข้อความจริงที่ผมต้องการสื่อสารได้เหมือนดังการใช้ภาษาพูด เพราะผมตั้งใจอธิบายในประเด็นหนึ่งแต่การสื่อภาษาของผมอาจสามารถตีความไปในอีกประเด็นหนึ่งได้ โดยที่ผมไม่เจตนาให้เข้าใจเช่นนั้น ( ผมเข้าใจในคำถามและข้อสงสัยของคุณ v และพยายามอธิบายด้วยภาษาเขียน แต่อย่างว่าการเขียนคงสื่อความหมายได้ไม่ดี ไม่ทันท่วงที และไม่สามารถยกภาพการอธิบายในสิ่งที่ต้องการได้เหมือนการพูด ถ้าผมมีโอกาสได้คุยกับคุณผมอธิบายเพียงนิดเดียวคุณ v จะเข้าใจที่ผมต้องการสื่อทันที แต่การอธิบายด้วยการเขียนนั้นต้องใช้ถ้อยคำมาก และอาจตีความไม่แตกจึงเข้าใจคนละอย่าง อย่างที่โบราณว่าการอ่านหนังสือต้องมีความแตกฉาน ในนิรุกติศาสตร์ คืออ่านภาษาออก อ่านความหมายได้เข้าใจ สื่อความหมายที่ผู้พูดต้องการจะบอกได้อย่างถูกต้อง เข้าใจในประเด็นที่ต้องการจะบอกให้ทราบ แต่ไม่ใช่คำตอบที่อธิบายให้รู้ ที่ผมอธิบายไม่ได้ต้องการให้เชื่อตามหรือเห็นจริงตามนั้น แต่บอกว่าคุณลองคิดดูดีๆ ซิ ประเด็นที่ผมอยากจะบอกที่สุดเกี่ยวกับเรื่องนี้ คือตรงนี้ต่างหาก เรื่องที่ผมอธิบายมันเป็นกระพี้ ไม่ใช่แก่น สิ่งที่เป็นแก่นคือนัยที่ผมอธิบายแล้วอธิบายอีก ซ้ำไปมา หลายหน ถ้าใช้ภาษาพูด พูดนิดเดียวเข้าใจเลย แต่ถ้าภาษาเขียนต้องอ่านสิบครั้ง บางทียังไม่เข้าใจเลยก็มี เหมือนสมัยที่คุณๆ เรียนหนังสือกันแล้วอาจารย์ให้อ่านบทความ คุณอาจเจอประโยคที่อ่านรู้เรื่องแต่แปลความไม่ออก แล้วต้องไปหาอาจารย์พออาจารย์อธิบายให้คุณฟัง คุณก็ร้องอ๋อ ว่าอพิโถ อ่านตั้งนาน ไม่เข้าใจ พออาจารย์พูดนิดเดียวก็เข้าใจ อย่างนี้แหละผมถึงว่าภาษาพูดเข้าใจง่ายกว่าภาษาเขียน เขาถึงมีรางวัลเขียนดีเกิดขึ้นเพราะเขียนแล้วอ่านง่าย อ่านเข้าใจ) แต่นั่นไม่ใช่สิ่งสำคัญ ที่สำคัญคือการได้รับมุมมองความรู้จากแหล่งข้อมูลและทัศนคติของบุคคลทั่วไปเพื่อใช้เป็นแนวทางในการตอบปัญหาอื่นต่อไป
ในประเด็นนี้ ที่คุณ v ว่า เสนอคุณ M.L.Hist
1.1 การไม่ทำลายบ้านเมือง และให้เกียรติผู้ปกครองเดิม เป็นยุทธิวิธีที่ใช้ทั่วไป (ตัวอย่างหนัง สุริโยทัย และสามก๊ก) ไม่ได้เป็น key success factor เพราะส่วนมากถ้าไม่วางหมากไว้ก็มักจะโดนตลบหลัง
ตรงนี้ต้องตอบจากใจจริงว่าคุณ v ไม่เข้าใจที่ผมบอก ในประเด็นหนังเรื่องนี้คุณควรเทียบหนังเรื่องนี้กับเรื่องในยุคเดียวกัน เช่นพ่อของอเล็กซานเดอร์ กษัตริย์ฟิลลิปส์ทำลายบ้านเมืองต่างๆตามบันทึกทางประวัติศาสตร์ หนังอ้างอิงตรงนี้ได้ แต่สำหรับอเล็กซานเดอร์ หนังทำไม่ได้เพราะไม่มีหลักฐานที่เชื่อได้ว่าเขาได้ทำอย่างพ่อ หนังทำตามเอกสารที่มี เอกสารที่เราพบและใช้อ้างอิงทางประวัติศาสตร์ย้ำตรงการ การไม่ทำลายบ้านเมือง และให้เกียรติผู้ปกครองเดิม นั่นคือเอกลักษณ์เฉพาะของอเล็กซานเดอร์ มันจึงเป็นประเด็นสำคัญของเขาที่มีการยอมรับตามหลักฐาน หนังเรื่องนี้ทำตามหลักฐานที่ค้นพบและอ้างอิงได้ตามประวัติศาสตร์ที่มีการศึกษากัน หนังชี้แจงไม่ได้เด่นชัดตามที่คุณบอกว่าควรจะเป็นเมื่อเทียบกับหนังเรื่องอื่นเพราะมันไม่มีหลักฐานรองรับ เดิม เป็นยุทธิวิธีที่ใช้ทั่วไป(ตัวอย่างหนัง สุริโยทัย และสามก๊ก) ไม่ได้เป็น key success factor เพราะส่วนมากถ้าไม่วางหมากไว้ก็มักจะโดนตลบหลังประโยคนี้ถ้าตามความจริงแล้วคุณวัดไม่ได้เพราะหนังเรื่อง สุริโยทัย ไม่อ้างตามพงศาวดาร ในพงศาวดารที่เชื่อถือได้ตามหลักทางประวัติศาสตร์ไม่มี หนังทำไปตามใจของผู้สร้างที่ไม่อ้างอิงตามระบบทางประวัติศาสตร์หนังจึงสื่อได้ทุอย่างที่คุณคิดว่ามันน่าจะมี หนังเหล่านี้จึงเข้าใจง่าย เรื่องเด่นชัด เห็นตั้งแต่ต้นยันจบคลี่คลายทุกอย่าง แต่ไม่ตรงกับหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่อ้างอิงได้เลย แต่หนังเรื่องอเล็กซานเดอร์ ตัวหนังไม่กระจ่าง เรื่องไม่ราบเรียบคนดูดูแล้วงง ต้องมาหาความรู้เพิ่ม แต่เนื้อหาตรงกับหลักฐานที่ใช้เรียนกันอยู่บนโลกมนุษย์ หนังเรื่องนี้แสดงบทบาทได้เต็มที่ในสิ่งที่มันมีทรัพยากรข้อมูลอยู่ ผมจึงบอว่าหนังเรื่องนี้มันทำได้อย่างเต็มที่ที่จะบอกให้คนดูรู้ได้เท่าที่หลักฐานและข้อมูลที่นำมาใช้ทำหนังจะอำนวยให้ (ถ้าคุณเคยเห็นภาพ Darias ท้ารบกับอเล็กซานเดอร์ คุณจะรู้ว่าหนังเรื่องนี้ลอกแบบภาพการแสดงบทบาทมาจากภาพเขียนนั้นเลย จึงขอย้ำว่าหนังเรื่องนี้ทำตามหลักฐานและทรัพยากรความรู้ที่เกี่ยวกับอเล็กซานเดอร์ อย่างเต็มที่แล้ว ถ้ามากว่านี้ หรือชัดเจนกว่านี้นั่นคือการบิดเบือนจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ใช้ประกอบการสร้างภาพยนตร์)
และถ้าคุณจะเทียบคุณต้องเทียบจากบริบทยุคเดียวกัน แนวความคิดเดียวกัน ไม่ใช่เอายุทธวิธีของสุริโยทัย และ สามก๊กที่คุณเข้าใจ ไปเทียบการยุทธวิธีของอเล็กซานเดอร์ ซึ่งวิธีที่เขาทำในยุคนั้นยังไม่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ใดบอกว่าใครได้ทำอย่างเขา แม้แต่แม่ทัพเอกที่แบ่งแยกดินแดนของอเล็กซานเดอร์เป็นสามส่วน ยังไม่ใช้ยุทธวิธี การไม่ทำลายบ้านเมือง และให้เกียรติผู้ปกครองเดิมที่คุณ v ว่านี้เลย ตามหลักฐานที่อ้างอิงทางประวัติศาสตร์ที่ใช้กันอยู่ปัจจุบัน ผมถึงบอกว่าประเด็นสำคัญที่ผมตอบคุณ v ว่าทำไม อเล็กซานเดอร์กุมใจคนไว้ได้จึงเป็นกุศโลบายนี้ เพราะหลักฐานทางประวัติศาสตร์ไม่ได้ชี้ว่าบุคคลในยุคนั้นนอกเหนือจากอเล็กซานเดอร์ทำ แม้แต่พ่อเขายังไม่ทำเลย หนังยังบอกว่ากษัตริย์ฟิลลิปส์ โหดเหี้ยม ไร้ความปราณี จึงกุมอำนาจได้ แต่อเล็กซานเดอร์มีความปราณีต่อบุคคลอื่นๆ จึงกุมใจคนได้ ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่อ้างอิงได้ และหนังก็ทำตามหลักฐานที่อ้างได้เท่านั้น เกินกว่านี้ไม่ได้เพราะไม่มีข้อมูลยืนยัน เหมือนว่ากษัตริย์ฟิลลิปส์ในเรื่องจะไม่โหดร้ายไปกว่านั้นอีกแล้ว เพราะหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ใช้อ้างอิงในการสร้างหนังนั้น บันทึกว่ามีความโหดร้ายเท่านั้น โหดกว่านี้ไม่ได้ เพราะไม่มีข้อมูลรองรับ อเล็กซานเดอร์ก็ดุจเดียวกัน ตรงนี้ผมไม่รู้ว่าคุณ v จะเข้าใจอย่างที่ผมต้องการบอกหรือเปล่า อาจไม่ตรงคำถามของคุณ แต่นี่คือสิ่งที่ผมอยากบอกให้คุณทราบว่าศักยภาพของหนังเรื่องนี้เป็นไปตวามฐานข้อมูลที่อ้างอิงได้ หนังดี หรือไม่ดี ไม่ใช่ประเด็นของผมเลย อเล็กซานเดอร์จะเป็นไบ เป็นเกย์ ผมไม่เคยกล่าวถึง ยังมีประเด็นอื่นอีกมากที่ผมไม่ต้องการจะสื่อ ผมเพียงอยากสื่อว่าคนที่ดูหนังเรื่องนี้ และจำเป็นต้องดูภาพยนตร์อิงประวัติศาสตร์เรื่องต่อๆไปพึงไตร่ตรองด้วยวิจารณว่าภาพยนตร์อิงประวัติศาสตร์เป็นแง่มุมหนึ่งของประวัติศาสตร์แต่มิใช่ประวัติศาสตร์ จงอย่าพึงนำความเข้าใจเหล่านั้นมาบอกแก่ใจตัวเองว่านั่นคือประวัติศาสตร์ที่เราพึงเข้าใจ เพราะอย่างไรก็ตาม มนุษย์ไม่ว่าในอดีต ปัจจุบันหรืออนาคต ตกอยู่ในห้วงปรัชญาที่ว่า มนุษย์เป็นทาสของภาษาเสมอ และ
"การศึกษาประวัติศาสตร์นั้นศึกษาเพื่อให้รู้ว่าอะไรได้เกิดขึ้นแล้วในอดีต แต่สิ่งสำคัญยิ่งกว่า คือการศึกษาว่าสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นในอดีตนั้นต้องการให้เรารู้อะไร" หนังเรื่องนี้ทำได้เท่าที่มันทำแล้วและเราๆ ท่านก็ได้ประจักษ์และอาจระลึกได้ว่าเราเคยดูหนังเรื่องหนึ่ง หรือเคยมีหนังเรื่องหนึ่งสร้างภาพหนึ่งให้เราเห็นมันอาจสร้างความสุขใจ ความสงสัย ความใคร่รู้ ข้อเปรียบเทียบ มุมมอง ทัศนวิจารณ์ในสังคมยุคหนึ่ง และเป็นความทรงจำครั้งหนึ่งของคุณที่เคยรู้จักอเล็กซานเดอร์ผู้หลับไหล และ M.L.Hist ผู้กำลังจากไป จนกว่าภาพยนตร์อิงประวัติศาสตร์เรื่องใหม่ที่มีคุณค่าน่าสัมผัสจะยั่วยวนใจให้ M.L.Hist กลับมาร่วมในทัศนวิจารณ์กับคุณ v ที่น่ารักและเปรื่องปัญญา หามุมมองที่น่าคลี่คลาย ประหนึ่งการแสดงทัศนในภูมิปัญญาของเวตาลและพระวิกรมาทิตย์ แห่งเวตาลปัญจวีสติ (นิทานยี่สิบห้าเรื่องของเวตาล) คุณ v เลือกเอาว่าจะเป็นเวตาลหรือพระวิกรมาทิตย์ดี ผมอาจจะต้องเป็นเวตาลไปตลอดห้วงชีวิตเพื่อสร้างมุมมองทางประวัติศาสตร์ให้แก่เด็กยุคใหม่ที่ต้องอยู่ในสังคมอุดมปัญญาที่คนในยุคเราต่างวาดฝันกันไว้ M.L ย่อมาจาก ม.ล. Hist มาจาก History ก็ตามนั้นครับ จาก M.L.Hist ml_hist@msn.com -
วีจัง แห่งหมู่บ้านเพนกวิน
(ไม่ได้เป็นสมาชิก)
เมื่อ 7 ธ.ค. 47 13:27
เสนอคุณ M.L.Hist
1.1 การไม่ทำลายบ้านเมือง และให้เกียรติผู้ปกครองเดิม เป็นยุทธิวิธีที่ใช้ทั่วไป(ตัวอย่างหนัง สุริโยทัย และสามก๊ก) ไม่ได้เป็น key success factor เพราะส่วนมากถ้าไม่วางหมากไว้ก็มักจะโดนตลบหลัง
1.2 การแต่งงานกับชนพื้นเมือง ข้อนี้ยอมรับ แต่ 1) ไม่ได้แต่งกับทุกเมือง 2) หนังน่าจะบอกว่า อะไรทำให้เชื้อพระวงศ์บาบิโลนยอมขนาดนั้น เพราะอเล็กซานเดอร์ ยกทัพมาจึงทำให้พระเจ้า Darius สิ้น ซึ่ง อเล็กซานเดอร์ มีส่วนไม่มากก็น้อย
- ผมไม่ได้สงสัย ประเด็นมองอดีตในสายตาคนปัจจุบันเลยสักนิด และไม่ได้สงสัยเรื่อง มนุษย์เป็นทาสของภาษาเสมอ แต่มองว่า หนังมีหน้าที่ สื่อสารเนื้อหา(จุดนี้ผมเห็นต่างจากคุณM.L.Hist )เพื่อสร้างอารมณ์บันเทิงและความสนุก แต่หนังเรื่องนี้ไม่ได้สื่อสารเพียงพอถึงเหตุผลที่คุณM.L.Hist อธิบาย (ถ้าอธิบายเพียงพอ ผู้ชม(ส่วนใหญ่)ควรเข้าใจ ไม่ต้องตั้งคำถามหรือกลับมาอ่านตำราอ้างอิง) ตัวอย่างเช่น predator เอาอเล็กซานเดอร์มายังโลกให้ปกครองโลก (จุดนี้ผมไม่ว่า แล้วแต่ใครจะผูกเรื่อง หรือ ตีความประวัติศาสตร์) สุดท้ายอเล็กซานเดอร์โดนเด็กเอาอุนจิเขวี้ยงตาย โดยหนังไม่ได้บอกว่า เด็กคนนั้นคือ อาราเล่แห่งหมู่บ้านเพนกวินที่ชกทีโลกแตก (ผมติตรงจุดที่หนังไม่ได้บอกนี้ต่างหาก)
สรุป ประเด็นในข้อที่หนึ่งคือ หนังนำเสนอเหตุผลไม่ชัดเจน จนคนดูเกิด Cognitive Dissonance เกิดความไม่ราบเรียบมาขัดอารมณ์ความบันเทิง
หนุกดีอะคับ คุณ M.L.Hist มาตอบกันอีกนะครับ (ขอตีปริศนานิดนึงนะครับ M.L. = ม.ล. และ Hist = History แม่นบ่ครับ) -
Azura
(ไม่ได้เป็นสมาชิก)
เมื่อ 6 ธ.ค. 47 22:39
เพื่อนที่ดูด้วยกันยังไม่คิดนะว่าหนังนำเสนอให้ Alexander เป็นเกย์(อย่างน้อยก็ไบฯ) ... แต่หนังก็ดีนะ มีอะไรคม ๆ ให้เก็บบ้างเหมือนกัน แต่เหมือนกับว่ามันไม่ค่อยกระชับเท่าไร แล้วการขยายความในบางช่วงก็ดูน้อยเกินไปหน่อย แบบว่าดูแล้วต้องถามตัวเองว่าใช่มั๊ย ... -_-"
มุมมองใหม่ที่อาจเคยเกิดขึ้นจริง ๆ ก็ได้ ... เพราะมันคืออิงประวัติศาสตร์ ... -
น้องอูดี้
(ไม่ได้เป็นสมาชิก)
เมื่อ 5 ธ.ค. 47 19:54
มีคนบอกว่าประวัติศาสตร์เป็นเรื่องทีเชื่อไม่คอยได้(มีข้อยกเว้นสำหรับบางเรื่อง) เพราะว่าผู้ชนะจะเป็นผู้เขียนประวัติศาสตร์ เรายังไม่รู้แน่ชัดว่าอเล็กซานเดอร์นั้นเป็นเกย์จริงหรือไม่ แต่ในการทำหนังเรื่องนี้ไม่ดีอยู่ 1 อย่าง คือเน้นบทเรื่องความรักของอเล็กซานเดอร์กับชายด้วยกันมากเกินไป แต่ก็๋จริงที่บอกว่าสมัยนั้นการทีชายรักชายนั้นไม่ใช่เรื่องแปลกก็จริง
สุดท้ายขอบอกว่าสนุกมากๆเลยคะสำหรับหนังเรื่องนี้ -
Isby
(ไม่ได้เป็นสมาชิก)
เมื่อ 4 ธ.ค. 47 23:58
M.L.Hist ในวันนี้จะเป็นประวัติศาสตร์ในวันข้างหน้า ทำไมเราจึงไม่สามารถที่จะคาดเดาได้ว่าคนในอดีตคิดอย่างไง เพราะคนก็คิดเหมือน ๆ กัน คนมีความต้องการพื้นฐานเหมือนกัน
-
123456789
(ไม่ได้เป็นสมาชิก)
เมื่อ 4 ธ.ค. 47 23:33
เหอะ ๆ ช่วงนี้รู้สึกโคลินจะเล่นบทที่เป็นเกย์เยอะนะ ที่ดูมาตอนนี้ [ที่กำลังฉายอยู่] ก็ 2 เรื่องละ 1.a home at the end of the world 2. alexander
-
คนขวางโลก
(ไม่ได้เป็นสมาชิก)
เมื่อ 4 ธ.ค. 47 17:57
ถึงคุณ Alexandess บางครั้งหนังไม่ได้ได้จำเป็นเสมอไปที่จะต้องดูเอาสนุก การที่จะดูหนังให้สนุกนั้นมีหลายมุมมอง ซึ่งเราคิดว่าคุณคงมองไม่เห็นถึงองค์ประกอบหลายๆสิ่ง ความจริงหนังทุกเรื่องนั้นก็มีทั้งฉากดีและไม่ดี เป็นไปไม่ได้หรอกว่าจะมีหนังเรื่องไหนสร้างออกมาได้ Perfectทุกฉาก บางครั้งการดูหนังถ้าเราหัดคิดให้ลึกๆมองให้กว้างๆ ถึงแม้จะเป็นหนังคุณภาพต่ำขนาดไหนก็อาจดูสนุกได้
-
M.L.Hist ตอบคุณ v ข้อที่ 1
(ไม่ได้เป็นสมาชิก)
เมื่อ 4 ธ.ค. 47 15:04
ขอขอบคุณ คุณ v อีกครั้งหนึ่งในการเข้ามาอ่านประเด็นที่ผมยกเป็นกรณีตัวอย่างต่างๆ ให้ได้เห็นเป็นสังเขป ในการวิจารณ์ภาพยนตร์อิงประวัติศาสตร์ เรื่อง อเล็กซานเดอร์ มหาราชชาตินักรบ
ผมคงต้องขออนุญาตอธิบายมูลเหตุบางประการเพื่อคลี่คลายใน 2 กรณีที่ยังคงเป็นสิ่งค้างคาในระบบคิดของคุณ v อีกคำรบหนึ่ง ส่วนการอธิบายของผมจะสมเหตุ สมผล ประการใดนั้นคงขึ้นอยู่กับวิจารณของบุคคลผู้รับรู้ข้อมูลและไตร่ตรองตามกระบวนวิธีคิดของแต่ละบุคคล
ในกรณีที่คุณ v กล่าวว่า ปัจจัยอะไรที่ทำให้ Alexander กำอำนาจไว้ตลอดช่วงเวลานั้น ผมคงอธิบายตามเนื้อหาของภาพยนตร์ที่แสดงไว้อย่างเด่นชัด ดังนี้
1. เหตุที่ อเล็กซานเดอร์ สามารถมีพระราชอำนาจปกแผ่กับบุคคลในบังคับบัญชาทั่วไปนั้นในภาพยนตร์ได้แสดงอย่างเด่นชัดในกุศโลบายแห่งการขยายอำนาจและทำให้อำนาจนั้นคงอยู่กับพระองค์ในช่วงต้นรัชกาล คือ
1) พระองค์จะไม่ทำลายบ้านเมืองที่พระองค์ไปท้ารบแล้วยอมศิโรราบแต่โดยดี คุณจะเห็นได้จากการอธิบายของหนังว่า แม้ กษัตริย์ Darias ที่ 3 ยอมศิโรราบแก่พระองค์พระองค์ก็จะไว้ชีวิต คุณจะเห็นว่าราชวงศ์บาบิโลน ของ Darias ที่ 3 อยู่กันครบถ้วนโดยเฉพาะพระบรมวงศานุวงศ์ผู้ใหญ่ที่เจ้าหญิงแห่งกุหลาบพันดอกแห่งบาบิโลนทรงขอชีวิตไว้ อเล็กซานเดอร์จะไม่ทำอันตรายต่อบุคคลผู้ยอมสยบแก่พระองค์ ตรงประเด็นนี้ผู้คนที่ดูหนังอาจเข้าไม่ถึง มองเห็นเป็นประเด็นที่ไม่แปลกอะไร แต่ในหลักฐานทางประวัติศาสตร์ได้อธิบายไว้ในสาระสำคัญอันดับต้นเลยทีเดียว ดังนั้นหนังจึงอธิบายไว้อย่างชัดเจน ชัดเจน เสียจนกระทั่ง ขุนศึกในฝ่ายมาซิโดเนียต่างพากันร้อนรุ่ม กลุ้มใจ พาลขัดเคืองกับฝ่ายที่สวามิภักดิ์อเล็กซานเดอร์จนต้องออกมาห้ามทัพกันหลายครั้ง
2) กุศโลบายสำคัญของอเล็กซานเดอร์ในหลักฐานการบันทึกทางประวัติศาสตร์ที่หนังได้นำมากล่าวจนกระจ่างชัด แต่บุคคลทั่วไปหาได้ทราบในประเด็นนี้ไม่ (ด้วยอาจเป็นเพราะคนส่วนใหญ่ที่ไปดูไม่ได้คาดหวังว่าต้องตีความทางประวัติศาสตร์อะไรมากมาย แต่ถ้าคุณเป็นนักประวัติศาสตร์ คุณจะมีความรู้พื้นฐานที่จะนำไปสู่ความเข้าใจในข้อมูลมากขึ้น ) คือการที่หนังแสดงให้เห็นถึงการที่อเล็กซานเดอร์ต้องแต่งงานกับบุคคลที่ต่างเชื้อชาติพันธุ์ ประเพณี วัฒนธรรม ทั้งๆที่ พระนางโอลิมเปียทรงทัดทานอย่างที่สุด หรือทหารหาญของมาซิโดเนียต่างพากันไม่พอใจในการที่จะต้องถ่ายเทความเป็นอารยของมาซิโเนีย และความรุ่งเรืองของอารยธรรมเฮเลนิสติคไปยังคนป่า คนดง โดยการแต่งงาน พระองค์ไม่ได้แต่งเพียงพระองค์เดียวเท่านั้น แต่ยังจัดการสมรสหมู่ให้แก่ชาวมาซิโดเนียกับชนพื้นเมืองด้วย คุณจะเห็นประเด็นนี้ได้ในตอนที่กองทัพเกิดความแตกแยกในช่วงที่อเล็กซานเดอร์ข้ามฮินดูกูชไปเมืองนิเกียเพื่อท้ารบกับพระเจ้า Porus แห่งอินเดียซึ่งได้ระดมช้างห้าร้อยเชือกมาทำสงคราม ทหารม้าของ อเล็กซานเดอร์มหาราชไม่เคยรบกับช้างจึงสู้ข้างไม่ได้ ทหารหอกยาวนับหมื่นของพระองค์ก็สู้กับกองทัพช้างอย่างเต็มความสามารถ เป็นครั้งแรกตั้งแต่รบมาเป็นเวลากว่า 15 ปีที่กองทหารหอก (phalanx) อันเปี่ยมไปด้วยระเบียบวินัยของพระองค์เจ็บจนบ้าเลือด บุกตะลุยไปทั่ว การรบในวันนั้นต้องสิ้นสุดลงด้วยการหย่าศึก เพราะบาดเจ็บ ล้มตายกันทั้งสองฝ่าย ด้วยช้างก็คะนอง ม้าก็บังคับไม่อยู่ (ทุกคนคงเห็นฉากนี้แล้ว และหลายคนก็วิจารณ์กันอย่างสนุกสนาน) ที่กล่าวมานี้ล้วนเป็นงานการศึกษาประวัติศาสตร์ที่รู้กันมาตั้งโขปี ในวงการประวัติศาสตร์ที่นักประวัติศาสตร์ชั้นต้น ต้องทำความเข้าใจกับอารยธรรมตะวันตกก่อนคริสตกาล อเล็กซานเดอร์กุมใจคนด้วยความอลุ้มอล่วยอย่างที่สุด (ในฉากที่บอกแก่แม่ทัพมาซิโดเนียว่า แม้พวกท่านทั้งหลายไม่ไปกับข้า ข้าก็จะไปกับคนเถื่อนพวกนี้เอง) ในหนังคุณจะเห็นตลอดว่าเชื้อพระวงศ์ของบาบิโลนคอยสนับสนุนพระองค์ตลอดมา รวมทั้งแว่นแคว้น ในหุบเขาที่พระองค์ไปเกี่ยวดองไว้ แม้กระทั่งเจ้าต่างๆในแคว้นแถบชมพูทวีปที่ต้อนรับพระองค์ มีแต่แม่ทัพบางส่วนที่อดรนทนไม่ได้กับการกระทำของพระองค์เยี่ยงนั้นต้องถูกประหาร หรือยืนอยู่คนละด้านกับอเล็กซานเดอร์ แต่คนในเผ่าพันธุ์ และแว่นแคว้นอื่นๆ ในหนัง กลับอยู่ข้างอเล็กซานเดอร์ ตรงนี้เป็นประเด็นสำคัญที่หนังเรื่องนี้ชี้อย่างชัดเจน จนคุณๆทั้งหลายไม่ต้องไปอ่านบันทึกทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับอเล็กซานเดอร์เลย เพราะผู้สร้างแทบจะลอกคำพูดทุกคำมาจากบันทึกของปโตเลมีเลยทีเดียว เพียงแต่คนดูหนังอย่างเราๆ ท่านๆ ไม่เคยแม้จะรู้จัก หรือได้อ่านบันทึกดังกล่าว เพราะว่าท่านทั้งหลายไม่ใช่นักประวัติศาสตร์ที่ต้องพากเพียรหาคำตอบนั้นจาการดูหนังเพียงเรื่องเดียวแล้วต้องคิดไปทั้งชีวิตของท่าน (ดูจะลงทุนเกินไปสำหรับคอหนังแนวนี้ ไว้ผมมีโอกาสอันควรก็อาจนำเกร็ดต่างๆในประวัติศาสตร์ที่พึงจะรู้ได้ นำมาถ่ายทอดเป็นกรณีๆ ไปก็แล้วกัน) ผมถึงบอกไว้ในการตอบครั้งก่อนๆ ว่า คนดูหนังเรื่องนี้พึงเข้าใจว่าเราไม่สามารถตัดสินคนยุคก่อนได้โดยใช้บรรทัดฐานของคนยุคปัจจุบันเพราะเราไม่มีสติปัญญาพอในการรับรู้และเข้าถึง ดังที่นักประวัติศาสตร์ อย่างที่ทราบกันในใจโดยทั่วว่า "การศึกษาประวัติศาสตร์นั้นศึกษาเพื่อให้รู้ว่าอะไรได้เกิดขึ้นแล้วในอดีต แต่สิ่งสำคัญยิ่งกว่า คือการศึกษาว่าสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นในอดีตนั้นต้องการให้เรารู้อะไร"
ที่กล่าวมานี้ก็เพื่อจะบอกว่าหนังเรื่องนี้ได้ชี้ประเด็นตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่มีบันทึกและนักประวัติศาสตร์โดยทั่วไปก็ยอมรับเป็นตำราว่าอเล็กซานเดอร์ที่เราดูกันอยู่นี้ได้ปฏิบัตพระองค์เช่นนั้นจึงทรงครองใจคนในยุคนั้นได้โดยดุษฎี แต่เป็นเพราะคนดูอาจเข้าไม่ถึงหรือไม่ได้เตรียมใจที่จะรู้ในสิ่งที่ไม่เคยรู้ และก็ไม่มี Plot เหล่านี้อยู่ในความคิด เพราะหนังไม่จำเป็นต้องมาโพนทนาว่า ดูตรงนี้นะ ข้อนี้ ฉากนี้แหละที่บอกว่า อเล็กซานเดอร์ เรืองอำนาจ หรือว่าฉากนี้นะ อเล็กซานเดอร์เป็น Homosexual แต่หนังได้อ้างตามเอกสารที่เราถือว่าเป็นตำราที่นักประวัติศาสตร์โดยทั่วไปได้ศึกษาและใช้อ้างอิงกันอยู่ คุณๆ ลองไปอ่านงานของ Tarn,William W. Hellenistic civilisation.London : Edward ,1974 หรือ งานของ Renautt,Many.Fire form heaven.London : Longman,1970 ถ้าไม่อยากอ่านภาษาอังกฤษให้ปวดเศียร เวียนประสาท ก็งานของ ศาสตราจารย์ ดร. คุณหญิงสุริยา รัตนกุล. อารยธรรมตะวันตก ภาคที่ 1.กรุงเทพมหานคร : วิทยาลัยศาสนศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล .2543 เอกสารเหล่านี้อาจจะสร้างมุมมองที่ท่านทั้งลายที่ไม่เคยเยี่ยมกรายเข้าสู่ความทรงจำในหน้าประวัติศาสตร์ ให้ได้เห็นโลกทัศน์ และความรู้ในการใช้วิจารณกับการชมภาพยนตร์อิงประวัติศาสตร์เรื่องต่อๆไป
ผมจะยกตัวอย่างเป็นบทสรุปในคำตอบ ข้อที่1 นี้ (ควรใช้วิจารณในการับรู้ข้อมูล) ว่ว คนส่วนใหญ่ที่ดูภาพยนตร์อิงประวัติศาสตร์นั้นมักจะมี Plot หรือภาพร่างในความคิดอย่างคร่าวๆ อยู่ในหัวอยู่แล้ว ไม่ว่าจะรับรู้มาแต่ดั้งเดิม หรือโดยญาณวิถีใด อาทิเคยรู้มาเลาๆว่า อเล็กซานเดอร์เป็น Homosexual หรือทรงเป็นมหาราชนี่นา หรืออคิลลิสในทรอยเป็นวีรบุรุษที่ยิ่งใหญ่ (ทั้งที่เป็นวรรณกรรมในมหากาพย์อีเลียด ที่ใช้เป็นแนวบรรทัดฐานสังคมใยยุคหนึ่ง ประหนึ่งไตรภูมิพระร่วงของสมัยสุโขทัยที่ใช้เป็นแนวทางในพุทธศาสนิกชนยุคนั้น) หรือสุริโยทัยเป็นวีรสตรีที่รบเพื่อชาติ หรือนายจันหวดเขี้ยวเป็นคนกล้าแห่งบางระจัน เป็นต้น Plot เหล่านี้ทำให้คนดูหนังถูกจำกัดด้วยระบบคิดที่เคยรับรู้มาแต่ก่อน การที่จะรับข้อมูลใดเพิ่ม ไม่ว่าเหมือนหรือแตกต่างจากความรู้เดิมที่มี จึงมีกระทบกันในระบบข้อมูล กว่าจะประมวลผลออกมาก็ทำใจหนักเอาการระหว่าง ความจริง ความเชื่อ เหตุผล ประโยชน์ การเมือง อำนาจ ฯลฯ และอีกสารพัด ดังกรณีเรื่องสุริโยทัยที่เราทั้งหลายทราบกันในยุคนี้ (เล่าคร่าวๆ และกัน เล่ายาวไม่ไหว พิมพ์ไม่เก่ง) ว่าเป็นวีรสตรีที่อาจหาญ รบเพื่อชาติ เพื่อแผ่นดิน ดังที่หนังได้ชี้ให้ทุกคนเห็นในยุคนี้ แต่ถ้าคุณลองย้อนไปในความทรงจำที่เคยมีอยู่ในสมัยประถมและมัธยม คุณคงมีข้อมูลที่ว่า สมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรงนำทัพไปประยุทธกับพระเจ้าแปรโดยมีพระสุริโยทัยตามเสด็จด้วย เมื่อช้างศึกปะทะกันช้างของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิเสียที พระสุริโยทัยจึงเข้าขวางช้างพระเจ้าแปร จึงถูกพระแสงของ้าวพระเจ้าแปร สิ้นพระชนม์ขาดคอช้าง (ตรงนี้พูดอย่างชาวบ้านก็ว่าเห็นผัวได้รับอันตรายก็เลยเข้าไปกันด้วยความเป็นห่วง มิได้คิดใดอื่น) แต่ปัจจุบันประวัติศาสตร์เรื่องนี้ถูกพลิกจากการเข้าไปช่วยพระสวามีกลายเป็น รบเพื่อชาติโดยไตร่ตรองไว้ก่อนดังที่หนังได้ดำเนินเนื้อหามาตลอดเรื่อง (จะไม่ขอกล่าวในรายละเอียด ยกเป็นประเด็นเท่านั้น) จนทุกวันนี้ทุกคนในชาติได้รำลึกในพระมหากรุณาธิคุณครั้งนั้น ความแปรเลี่ยนในการตีความประวัติศาสตร์ชั่วระยะ 10 ปี กลับกลายไปอย่างอัศจรรย์ ถามเด็กๆก็รู้ไดว่าสุริโยทัยเป็นวีรกษัตรีแห่งชาติ แต่พอจะอ้างหลักฐานทางประวัติศาสตร์ขึ้มากลับหาไม่เจอว่าอยู่ฉบับไหน (ในฉบับ เยเรเมียส ฟลานฟลีท [วัน วลิต] เป็นคนร่วมสมัยกับเหตุการณ์ก็ไม่ได้บันทึก ) หรือจะพบชื่อพระสุริโยทัยก็ในพงศาวดารฉบับหลาวงประเสริฐอักษรนิติ์ ก็จะมีสัก 5 บรรทัด เรื่องศรีสุดาจันทร์บันทึกไว้ตั้ง 2 หน้า อย่างนี้เราผู้เป็นชนรุ่นหลังจะเชื่อถือในสิ่งใด ระหว่าง ความจริง ความเชื่อ เหตุผล ประโยชน์ การเมือง อำนาจ ฯลฯ นี่แหละผมจึงต้องย้ำอีกว่า ภาพยนตร์อิงประวัติศาสตร์เป็นแง่มุมหนึ่งของประวัติศาสตร์แต่มิใช่ประวัติศาสตร์ จงอย่าพึงนำความเข้าใจเหล่านั้นมาบอกแก่ใจตัวเองว่านั่นคือประวัติศาสตร์ที่เราพึงเข้าใจ เพราะอย่างไรก็ตาม มนุษย์ไม่ว่าในอดีต ปัจจุบันหรืออนาคต ตกอยู่ในห้วงปรัชญาที่ว่า มนุษย์เป็นทาสของภาษาเสมอ และ
"การศึกษาประวัติศาสตร์นั้นศึกษาเพื่อให้รู้ว่าอะไรได้เกิดขึ้นแล้วในอดีต แต่สิ่งสำคัญยิ่งกว่า คือการศึกษาว่าสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นในอดีตนั้นต้องการให้เรารู้อะไร"
ขอตอบข้อ 1 ของคุณ v ไว้แต่เพียงเท่านี้ก่อน ไว้มีโอกาสคงได้ประสบพบกันทางความคิด
เป็นสมาชิกอยู่แล้ว ลงชื่อเข้าใช้ระบบ
ยังไม่ได้เป็นสมาชิก สมัครสมาชิกใหม่
หรือจะลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google+ หรือ Facebook ก็ได้
Facebook | Google+
advertisement
วันนี้ในอดีต
- เก๋า..เก๋าเข้าฉายปี 2006 แสดง อภิสิทธิ์ โอภาสเอี่ยมลิขิต, ปิยะ ศาสตรวาหา, จักรพงศ์ สิริริน
- The Parkเข้าฉายปี 2003 แสดง แมทธิว ดีน, เฌอมาลย์ บุญยศักดิ์, ภูเบศร์ มากะนิตย์
- A Bug's Lifeเข้าฉายปี 1998 แสดง Dave Foley, Kevin Spacey, Julia Louis-Dreyfus
เกร็ดภาพยนตร์
- Avengers: Age of Ultron - สการ์เลตต์ โจแฮนส์สัน นักแสดงบท แบล็ค วิโดว์ ตั้งครรภ์อยู่ตอนที่ถ่ายทำภาพยนตร์เรื่องนี้ จึงต้องถ่ายทำฉากของ สการ์เลตต์ ก่อนจะเห็นครรภ์ของเธอชัดเจน อ่านต่อ»
- Parasyte Part 1 - สร้างจากหนังสือการ์ตูนเรื่อง Parasyte โดยมีชื่อเรื่องภาษาไทยว่า ปรสิต เดรัจฉาน เขียนโดย ฮิโตชิ อิวาอากิ อ่านต่อ»