อาจารย์ที่น่าเคารพและศิษย์ที่ติดตาม
ทั้งคณะเดินทางมาถึงยอดเขาและถูกดึงความสนใจไปที่ชายชราที่กำลังร้องเพลงอย่างรื่นรมย์
อาจารย์ที่น่าเคารพไม่รีรอที่จะถามหาต้นเหตุของความ
รื่นรมย์ “ท่านมีความสุขกับสิ่งใด ความเบิกบานของท่านเปล่งประกายจนเราทั้งคณะสนใจใคร่รู้”
ชายชราหัวเราะยกใหญ่ก่อนพูดไปยิ้มไป
“ข้าเกิดมานานกว่า80ปี ผ่านอะไรมานับไม่ไหว บางคนรวยกว่าข้าแต่บัดนี้ได้ตายไปแล้ว บางคนเด็กกว่าข้าก็จากไปโดยแทบไม่ได้รับประสบการณ์บนโลก ดูข้านี้สิ ข้ายังอยู่ทั้งๆที่คนมากมายดูเหมือนจะโชคดีกว่าข้าแต่พวกเขาได้ตายไปแล้ว ฮ่าฮ่าฮ่า”
อาจารย์ที่น่าเคารพได้ยินเช่นนั้นก็หันไปสอนศิษย์
“จงดูไว้เถิด ชายผู้นี้รู้จักความสุขที่แท้จริง ความสุขของการดำรงอยู่”
เรื่องราวไม่จบแต่เพียงเท่านี้
ลูกศิษย์ทั้งหลายเมื่อถึงเวลาก็ต้องแยกย้ายจากอาจารย์ที่น่าเคารพ
พวกเขายังคงจำคำสอนของอาจารย์ไว้ขึ้นใจ
จนกระทั่งวันหนึ่ง พวกเขาได้มาพบอาจารย์อีกท่านหนึ่ง
อาจารย์ท่านนี้มีฉายาว่าเป็นอาจารย์ที่เรียบง่าย
ศิษย์ทั้งหลายต่างชื่นชมอาจารย์ที่น่าเคารพให้กับอาจารย์ผู้เรียบง่ายฟังแต่เมื่อได้ฟังเรื่องราวทั้งหมด
ท่านกลับพึมพำว่า “ช่างตื้นเขิน”
เหล่าศิษย์เมื่อได้ยินเช่นนั้นก็ขุ่นใจ ถามกลับไปว่า”ตื้นเขินเช่นไรเล่า“
อาจารย์ผู้เรียบง่ายกล่าวบอกอย่างเยือกเย็น
“อาจารย์ของเจ้า ประเมินชายชราว่าเป็นผู้จักหาความสุขจากการมีชีวิตอยู่ โดยชายชรานั้นเปรียบเทียบตัวเองกับคนที่ตายไปแล้ว และนั่นเป็นความตื้นเขิน คนเรานี้หากได้ยึดติดกับความสุขที่มีต้นเหตุจากเปรียบเทียบเสียแล้ว เมื่อวันหนึ่งไม่มีสิ่งใดให้เปรียบเทียบก็จะกลับกลายเป็นมีความทุกข์ ความสุขที่แท้จริงไม่เกี่ยวข้องอะไรกับการเปรียบเทียบ หากชายชราคนนั้นมีจิตใจที่ปล่อยวางการเปรียบเทียบลง เขาจะพบความสุขที่ปราณีตขึ้นไป มันเหมือนความต่างของคนสองคน คนหนึ่งต้องถือของสิ่งหนึ่งไว้เพื่อที่จะมีความสุข ส่วนอีกคนไม่ต้องถืออะไรอะไรไว้ความสุขและความเบาใจก็อยู่ตรงนั้น อาจารย์ของพวกเจ้ารู้จักแต่ความสุขแบบที่ต้องยึดถือ นี่จึงเป็นเหตุที่ข้าบอกว่าตื้นเขิน“
มันเป็นความต่างของ
ความสุขของนักคิดร่วมสมัย
และความสุขของผู้อยู่เหนือกาลเวลา