1. สยามโซน
  2. ภาพยนตร์
  3. ข่าววงการภาพยนตร์

เบื้องหลัง กองทัพโคลนส์จู่โจม Star Wars: Episode II

เบื้องหลัง กองทัพโคลนส์จู่โจม Star Wars: Episode II

วันนี้ แฟนๆ สตาร์วอร์สก็คงได้ชื่นชมขวัญใจโลดแล่นบนจอเงินอีกครั้ง นับจากปี 1999 ได้ชื่นชมเรื่องราวเริ่มต้นของตำนานเจไดเรื่องนี้จากสถิติรายได้ของ Star Wars เรื่องแรกที่ออกฉายปี 1977 ซึ่ง อยู่ในอันดับรองแชมป์หนังทำเงินสูงสุดตลอดกาลจนกระทั่งปัจจุบัน ในขณะที่ Episode I อยู่ที่อันดับ 4 ด้วยรายได้ 431.1 ล้านเหรียญสหรัฐ และยังไม่แน่ว่าอาจจะโดนภาคล่าสุด Star Wars Episode II- Attack of the Clones แย่งตำแหน่งทำเงินไปก็ได้

แต่ทว่าในสภาวะที่มนุษย์แมงมุม Spider-Man กำลังสร้างสถิติถล่มทลายอยู่ในขณะนี้ คงต้องรอดูต่อไปว่า Episode II จะเฟื่องหรือจะฟุบ สำหรับสาวกเจได ก่อนจะเข้าโรงดูหนัง เรามีเรื่องราวเบื้องหลังมาเล่าสู่กันฟัง หรือใครที่ไม่ได้เป็นแฟนรู้ไว็ก็ไม่เสียหลายอย่างน้อยก็ไม่ตกกระแส

  • สงครามกองทัพโคลนส์ที่เป็นชื่อเรื่องนี้ โอบี-วัน (แสดงโดย อเล็ค กินเนสส์) เคยเอ่ยถึงใน Star Wars (1977) โดยเล่าว่าเป็นสงครามที่เขาและอนาคิน สกายวอล์คเกอร์ เคยออกรบเคียงบ่าเคียงไหล่กัน
  • Star Wars สร้างมาแล้ว 5 ภาค และมีคนรับผิดชอบบทของ อนาคิน สกายวอล์คเกอร์ ถึง 5 คนด้วยกัน ได้แก่ เจค ลอยด์ สวมบทเจ้าหนูอนาคินใน Episode I เฮย์เดน คริสเตนเซ่น สวมบทอนาคินช่วงวัยรุ่นในภาคล่าสุด เจมส์ เอิร์ล โจนส์ เป็นผู้พากษ์เสียงที่หายใจฟืดฟาดราวท่อก๊าซรั่วใน Star Wars ไตรภาคชุดแรก เดวิด พราวส์ สวมชุดหน้ากากดำเป็นดาร์ธเวเดอร์ใน Episodes IV - The New Hope และ เซบาสเตียน ชอว์ เล่นเป็นดาร์ธเวเดอร์ที่กลับใจในลมหายใจเฮือกสุดท้ายใน Return of the Jedi
  • นักแสดงที่มาทดสอบบทอนาคิน ช่วงวัยรุ่นมีทั้ง ไรอัน ฟิลิปเป้ จาก Cruel Intentions พอล วอล์คเกอร์ จาก The Fast and Furious และ โคลิน แฮงค์ ลูกชายของทอม แฮงค์
  • ใน Episode II โยดาถูกสร้างด้วยโปรแกรมกราฟิกในคอมพิวเตอร์ล้วนๆ เป็นครั้งแรก แฟรงค์ ออซ นักแสดงที่เคยสวมหุ่นโยดาในภาคก่อนๆ มาช่วยพากย์เสียงเท่านั้นเอง
  • ใน Attack of the Clones อนาคินจะได้กลับไปเยือนดาวแทตทูอินบ้านเกิดของเขาอีกครั้ง ซึ่งลูคัสยกกองถ่ายกลับไปที่ ช็อตต์ เลอ เชริด ในตูนิเซีย ซึ่งเป็นโรงถ่ายกลางแจ้งในฉากที่ ลุค สกายวอล์คเกอร์ ยังอาศัยอยู่กับลุงและป้าบนดาวแทตทูอิน เมื่อ 27 ปีที่แล้ว เมื่อทีมงานกลับไปใช้ฉากนี้อีกครั้งในปี 2000 จึงได้อารมณ์หวนอดีตร่วมกับตัวละครด้วย โดยเฉพาะจอร์จ ลูคัส
  • ใน Episode I ลูคัสสร้างตัวละครดิจิตอลที่ชื่อ จาร์ จาร์ บิงค์ ขึ้นมาเป็นสีสันใหม่ แต่ได้รับเสียงตอบรับในแง่ลบและถูกล้อเลียนว่าเป็นตัวละครที่รุ่มร่ามไม่เข้าท่า ใน Episode II เขาลดทอนบทของจาร์ จาร์ บิงเหลือเพียงไม่กี่ฉาก ตัวละคร (ประหลาด) ที่สร้างใหม่สำหรับภาคนี้คือ เด็กซ์เตอร์ เจตสเตอร์ แห่งดาวคามิโน ผู้เป็นเอเย่นต์สร้างกองทัพนักรบโคลนส์ เด็กซเตอร์ เจ็ตสเตอร์ ที่ปรากฏในหนังสร้างด้วยคอมพิวเตอร์กราฟฟิกล้วนๆเช่นกัน โดยอาศัยต้นแบบมาจาก ตัวละครในหนังแนวนักสืบยุค 40
  • นักรบโคลนส์ที่ปรากฏในภาคนี้ จะกลายเป็นเดอะสตรอมทรูปเปอร์ กองทัพของดาร์ธเวเดอร์ในไตรภาคชุดแรกนั่นเอง
  • ในฉากแข่งยานอวกาศ เพื่อไถ่ตัวอนาคินจากนายทาสในแทตทูอินของ Episode I ถือเป็นเวอร์ชั่นดิจิตอลของฉากแข่งม้าอันลือลั่นจาก Ben-Hur และใน Attack of the Clones ลูคัสยังคงใช้ฉากในกรุงโรมเป็นทั้งฉากพระราชวังบนดาวนาบูในช่วงโรแมนติกของอนาคินและพัดเม่ และมีฉากสู้สิงโตในโคลอสเซี่ยมเหมือนที่ปรากฏใน Gladiator ยกเว้นมันเป็นเวอร์ชั่นดิจิตอลและสิงโตก็เปลี่ยนรูปร่างเป็นสัตว์ประหลาดตัวมหึมา
  • ลูคัสใช้กล้องวิดีโอดิจิตอลรุ่นไฮ เดฟฟินิชั่น 24 เฟรม เทคโนโลยีล่าสุดของโซนี่และบริษัท พานาวิชั่น ถ่ายทำทั้งเรื่อง กล้องรุ่นนี้สามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ แม้ในภาวะความร้อนสูงถึง 125 องศาฟาเรนไฮต์
  • Attack of the Clones ถ่ายทำด้วยกล้องดิจิตอลทั้งเรื่อง ผู้กำกับจึงใช้เวลาส่วนใหญ่กับการตั้งแคมป์อยู่หลังจอแบนขนาดมหึมา ทำงานร่วมกับ ร็อบ โคลแมน ผู้กำกับงานส่วนอนิเมชั่น อย่างใกล้ชิด เพื่อควบคุมการแสดงของนักแสดงและตัวละครที่สร้างจากคอมพิวเตอร์ให้ดูสมจริงลงตัวมากที่สุด เฮย์เดน คริสเตนเซ่น ให้สัมภาษณ์ว่าลูคัสทำหน้าที่เป็นผู้ต่อชิ้นส่วนเลโก้ ซึ่งต้องอาศัยความแม่นยำมาก และในส่วนของนักแสดงแล้วต้องทำงานด้วยความเชื่อมั่นว่าผลลัพธ์ขั้นสุดท้ายในมือผู้กำกับนั้นต้องออกมาดีแน่นอน
  • ลูคัสตั้งเงื่อนไขให้เปิดฉายเฉพาะในโรงภาพยนตร์ ที่ติดตั้งอุปกรณ์ถ่ายทอดสัญญานดิจิตอลทั้งภาพและเสียงเท่านั้น ส่งผลให้จำนวนโรงฉายของ Episode II น้อยกว่าคู่แข่งอย่าง Spider-Man ถึง 2,000 แห่ง ปัจจุบันมนุษย์แมงมุมมีโรงฉาย 7,500 แห่งทั่วโลก

ความคิดเห็น

ภาพยนตร์ที่เกี่ยวข้อง

วันนี้ในอดีต

เกร็ดภาพยนตร์

  • The Last Five Years - ใช้เวลา 21 วันในการถ่ายทำ และถ่ายทำฉากเพลง Goodbye Until Tomorrow ในวันสุดท้าย อ่านต่อ»
  • Mad Max: Fury Road - ฉากเทคนิคพิเศษประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ ไม่ได้ใช้คอมพิวเตอร์ช่วย แต่เป็นของจริงโดยใช้นักแสดงแทน ฉาก และการแต่งหน้าช่วย ส่วนที่ใช้คอมพิวเตอร์ก็ใช้เพียงลบเชือก ตกแต่งพื้นที่ทะเลทรายนามิบ และสร้างแขนปลอมข้างซ้ายของ ชาร์ลีซ เธอรอน ผู้รับบท ฟิวริโอซา เท่านั้น อ่านต่อ»
เกร็ดจากภาพยนตร์สามารถดูได้ในหน้าข้อมูลภาพยนตร์แต่ละเรื่อง

เปิดกรุภาพยนตร์

เรื่องราวเน้นที่การทุจริตในระบบการศึกษาของประเทศ แนวคิดของการใช้เงินเพื่อซื้ออนาคตไม่ว่าจะเป็นการศึกษา งาน และรายได้ แม...อ่านต่อ»