ผลรางวัล สตาร์ เอ็นเตอร์เทนเม้นต์ อวอร์ด ประจำปี 2545
งานประกาศรางวัล ผลงานบันเทิงดีเด่น หรือ สตาร์ เอ็นเตอร์เทนเม้นต์ อวอร์ด ครั้งที่ 1 ประจำปี 2545 โดยสมาคมนักข่าวบันเทิง ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งแรกในคืนวันพฤหัสบดีที่ 18 เม.ย. ณ ห้องบางกอก คอนเวนเชั่น เซ็นเตอร์ เซ็นทรัลพลาซ่า ลาดพร้าว ถ่ายทอดสดโดยสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 เวลา 22.20 น. โดยมีตัวแทนพระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์ คือ ดร.พิทักษ์ ศิริวงศ์ เป็นประธานในงาน
สําหรับรางวัล ผลงานบันเทิงดีเด่น 2544 มีจํานวนทั้งสิ้น 54 รางวัล แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ รางวัลผลงานด้านภาพยนตร์ 13 รางวัล ผลงานด้านโทรทัศน์ 23 รางวัล และผลงานด้านเพลง18 รางวัล บรรยากาศในงานคราครํ่าไปด้วยดารา นักแสดง และศิลปินนักร้องจากหลายค่าย รวมทั้งบุคคลในวงการบันเทิงที่มีชื่อเสียงเดินทางมาร่วมงานกันอย่างคับคั่ง เนื่องจากงานประกาศผลรางวัลครั้งนี้จัดขึ้นการความร่วมมือของนักข่าวบันเทิงครั้งแรก โดยรวบรวมเอาผลงานบันเทิงจากทุกสาขามารวมไว้ในงานคืนนี้
ผลรางวัลทางด้านภาพยนตร์ ได้แก่
รางวัลแรกรางวัลบทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ได้แก่ เสกสรรค์ ประเสริฐกุล และ บัณฑิต ฤทธิ์ถกล จากเรื่อง 14 ตุลา สงครามประชาชน รางวัลถ่ายภาพยอดเยี่ยม ได้แก่ วิเชียร เริองวิชญกุล จากภาพยนตร์เรื่อง บางระจัน รางวัลออกแบบฉากยอดเยี่ยม ได้แก่ บุญถิ่น ทวยแก้ว จากภาพยนตร์เรื่อง บางระจัน จากนั้นมาถึงรางวัลลำดับภาพยอดเยี่ยม ได้แก่ สุนิตย์ อัศวินิกุล และธานินทร์ เทียนแก้ว จากภาพยนตร์เรื่อง จันดารา รางวัลดนตรียอดเยี่ยม ได้แก่ จํารัส เศวตาภร จากภาพยนตร์เรื่อง ข้างหลังภาพ รางวัลบันทึกเสียงยอดเยี่ยม ได้แก่ ชาย คงศิลวัต และ สุนิต อัศวินิกุล จากภาพยนตร์เรื่อง บางระจัน
จากนั้นเป็นรางวัลผู้แสดงสมทบชายยอดเยี่ยม ได้แก่ โกวิท วัฒนกุล จากภาพยนตร์เรื่อง โกลคลับ เกมล้มโต๊ะ รางวัลผู้แสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม ได้แก่ สุนทรี ใหม่ละออ จากภาพยนตร์เรื่อง บางระจัน ส่วนรางวัลผู ้แสดงนำฝ่ายชายยอดเยี่ยม ได้แก่ อู - ภาณุ สุวรรณโณ จากภาพยนตร์เรื่อง 14 ตุลา สงครามประชาชน รางวัลผู้แสดงนำฝ่ายหญิงยอดเยี่ยม ได้แก่ คาร่า พลสิทธิ์ จากภาพยนตร์เรื่อง ข้างหลังภาพ รางวัลผู ้กำกับการแสดงยอดเยี่ยม ได้แก่ ธนิตย์ จิตนุกูล จากภาพยนตร์เรื่อง บางระจัน ด้านรางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ได้แก่ ภาพยนตร์เรื่อง บางระจัน จากบริษัท ฟิล์มบางกอก และปิดท้ายรางวัลด้านภาพยนตร์กับรางวัลพิเศษ ภาพยนตร์เกียรติยศ ได้แก่ ภาพยนตร์เรื่อง สุริโยไท จากบริษัท สหมงคลฟิล์ม
ผลรางวัลทางด้านเพลง ได้แก่
รางวัลผลงานเพลงประเภทเพลงไทยสากลเริ่มจาก รางวัลแต่งคำร้องยอดเยี่ยม ได้แก่ เพลง รักเธอทื่สุด คําร้อง สีฟ้า ขับร้องโดย มิ้นท์ อรรถวดี จากอัลบั้ม มิ้นท์ อรรถวดี รางวัลแต่งทำนองยอดเยี่ยม ได้แก่ เพลง คนเก่งของฉัน ทํานอง พิเชษฐ์ เครือวัลย์ ขับร้องโดย อุ๊ หฤทัย จากอัลบั้ม เดอะวอยซ์ รางวัลเรียบเรียงเสียงประสานยอดเยี่ยม ได้แก่ เพลง รักเธอที่สุด ผู้เรียบเรียง ทวี ศรีประดิษฐ์ ขับร้องโดย มิ้นท์ อรรถวดี จากอัลบั้ม มิ้นท์ อรรถวดี ถัดมาเป็นรางวัลนักร้องกลุ่มยอดเยี่ยม ได้แก่ วงพรู จากอัลบั้ม พรู ของเบเกอรี่ มิวสิค ตามด้วยรางวัลนักร้องชายเดี่ยวยอดเยี่ยม ได้แก่ พลพล จากอัลบั้ม รักเอย รางวัลนักร้องหญิงเดี่ยวยอดเยี่ยม ได้แก่ ปาน ธนพร จากอัลบั้ม ขวานผ่าซาก ของอาร์เอส.ฯ รางวัลเพลงยอดเยี่ยม ได้แก่ เพลง รักเธอที่สุด จากอัลบั้ม มิ้นท์ อรรถวดี ของเมกเกอร์เฮด รางวัลเพลงยอดนิยม ได้แก่ เพลง ฝนตกที่หน้าต่าง ขับร้องโดย โลโซ จากอัลบั้ม โลโซ ปกแดง ของมอร์มิวสิค
ประเภทเพลงไทยลูกทุ่ง รางวัลแต่งคำร้องยอดเยี่ยม ได้แก่ เพลง ตํานานบ้านเรา คําร้อง มนัส อาจสกุล ขับร้องโดย ดํารง วงศ์ทอง จากอัลบั้ม จงเก็บใจรอ รางวัลแต่งทำนองยอดเยี่ยม ได้แก่ เพลง แรงใจรายวัน ทํานองโดย สลา คุณวุฒิ ขับร้องโดย ศิริพร อําไพพงษ์ จากอัลบั้ม แรงใจรายวัน ส่วนรางวัลเรียบเรียงเสียงประสานยอดเยี่ยม ได้แก่ เพลง พ่อ ผู้เรียบเรียง นฤพล พานทอง ขับร้องโดย รุ่ง สุริยา จากอัลบั้ม รักคุณดอทคอม ต่อด้วยรางวัลนักร้องชายยอดเยี่ยม ได้แก่ สิทธิพร สุนทรพจน์ เพลง ห้องนอนคนชํ้า จากอัลบั้ม ห้องนอนคนชํ้า รางวัลนักร้องหญิงยอดเยี่ยม ได้แก่ คัทลียา มารศรี เพลง นํ้าตาแก้ปัญหาไม่ได้ จากอัลบั้ม หวานจับใจ รางวัลนักร้องชายยอดนิยม ได้แก่ บุญเชิด พรมประโคน เพลง มอเตอร์ไซด์ฮ่าง จากอัลบั้ม กิ้งกือตกสาง รางวัลนักร้องหญิงยอดนิยม ได้แก่ ลูกนก สุภาพร เพลง คุณลําใย จากอัลบั้ม คุณลําใย รางวัลเพลงสร้างสรรค์ยอดเยี่ยม ได้แก่ เพลง วอนพ่อเลิกยา จากอัลบั้ม คุณแม่ขอร้อง บริษัท หงส์ฟ้าครีเอชั่น ส่วนรางวัลเพลงลูกทุ่งยอดเยี่ยม ได้แก่ เพลง ตํานานบ้านเรา จากอัลบั้ม จงเก็บใจรอ บริษัทชัวร์ออดิโอ และรางวัลเพลงลูกทุ่งยอดนิยม ได้แก่ เพลง คุณลําใย จากอัลบั้ม คุณลําใย บริษัท นพพงศ์ อินเตอร์เนชั่นแนล