1. สยามโซน
  2. ภาพยนตร์
  3. ข่าววงการภาพยนตร์

รายชื่อผู้เข้าชิงรางวัลออสการ์ ครั้งที่ 74

รายชื่อผู้เข้าชิงรางวัลออสการ์ ครั้งที่ 74

สถาบันศิลปะและวิทยาศาสตร์การภาพยนตร์แห่งอเมริกา ผู้แจกรางวัล อคาเดมี อวอร์ดส์ หรือออสการ์ ครั้งที่ 74 ประกาศรายชื่อผู้เข้าชิงรางวัลสำคัญที่สุดในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ออกมาแล้วเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2002 ที่ผ่านมา ปรากฏว่าหนังมหากาพย์แฟนตาซี The Lord of the Rings นำโด่ง 13 สาขาเน้นในสายเทคนิค ตามติดด้วย Moulin Rouge และ A Beautiful Mind ซึ่งมาแรงในสายการแสดงและบท

The Lord of the Rings : The Fellowship of the Ring ได้รับการเสนอเข้าชิงรางวัลมากที่สุดถึง 13 สาขา ด้วยกันได้แก่ ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ผู้กำกับการแสดงยอดเยี่ยม ดาราสมทบชาย กำกับศิลป์ กำกับภาพเครื่องแต่งกาย กำกับการแสดง ตัดต่อภาพ แต่งหน้ายอดเยี่ยม ดนตรีประกอบ เพลงประกอบ กำกับเสียงยอดเยี่ยมและบทดัด แปลงยอดเยี่ยม หนังมหากาพย์ภาคแรกในชุดไตรภาคของผู้กำกับ ปีเตอร์ แจ็คสัน ชาวนิวซีแลนด์ ซึ่งเป็นรองแค่ Titanic (1997) และ All About Eve (1950) ที่ยังครองแชมป์ภาพยนตร์ที่ถูกเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์มากที่สุด 14 รางวัล

ภาพยนตร์ที่ได้เข้าชิงรางวัลมากในอันดับรองลงมา ได้แก่ A Beautiful Mind ภาพยนตร์ชีวประวัติของ จอห์น ฟอร์บส์ แนช จูเนียร์ นักคณิตศาสตร์จิตเสื่อมที่ได้รับรางวัลโนเบลด้านเศรษฐศาสตร์ และ Moulin Rouge ภาพยนตร์เพลงของผู้กำกับ บาซ เลอห์มาน ต่างก็ถูกเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์ครั้งนี้เรื่องละ 8 รางวัล

สำหรับแฟนภาพยนตร์ Harry Potter and the Sorcerer's Stone ก็มีลุ้นเช่นกัน เพราะเวทีออสการ์ไม่เมินภาพยนตร์เรื่องนี้ เหมือนอย่างที่เวทีลูกโลกทองคำไม่แล โดยได้เข้าชิงไปทั้งสิ้น 3 สาขาด้วยกัน ได้แก่ ดนตรีประกอบยอดเยี่ยม (Original score) กำกับศิลป์ยอดเยี่ยม และ เครื่องแต่งกายยอดเยี่ยม

ในสาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยมซึ่งมี A Beautiful Mind, Gosford Park, In the Bedroom มาในแนวดรามาทั้งหมด ประชันกับ The Lord of the Rings: The Fellowship of the Ring แนวมหากาพย์แฟนตาซี และ Moulin Rouge หนังเพลง ซึ่ง A Beautiful Mind ดูจะมีภาษีดีกว่าจากเวทีลูกโลกทองคำ และที่สำคัญเป็นหนังแนวชีวประวัติบุคคล ซึ่งเป็นแนวทางหนังที่เป็นขวัญใจอันดับหนึ่งของกรรมการออสการ์ในประวัติศาสตร์ 73 ครั้งที่ผ่านมา

ส่วนรางวัลผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยมผู้กำกับ ริดลีย์ สก็อตต์ จาก Black Hawk Down และ เดวิด ลินช์ จาก Mullholland Drive, รอน ฮาวเวิร์ด จาก A Beautiful Mind, โรเบิร์ต อัลท์แมน จาก Gosford Park และ ปีเตอร์ แจ็คสัน จาก The Lord of The Rings แต่น่าแปลกใจที่ไม่มีรายชื่อ บาซ เลอห์มาน ผู้กำกับ Moulin Rouge ติดโผผู้กำกับยอดเยี่ยมครั้งนี้ด้วย แต่ฝ่าย บาซ เลอห์มาน ก็ไม่ได้แสดงอาการเสียใจแต่อย่างใด เพราะหนังของเขาก็ยังมีโอกาสชิงรางวัลออสการ์อีกหลายรางวัลด้วยกัน รวมทั้งภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ซึ่งบาซกล่าวว่า เขาก็เป็นหนึ่งในทีมผู้อำนวยการสร้าง เพียงแค่นั้นเขาก็พอใจมากแล้ว

ส่วนผู้เข้าชิงดารานำชายนั้นก็สร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่เช่นกัน เพราะปีนี้มีผิวสีถึง 2 คนที่ได้เข้าชิง รางวัลดารานำชายยอดเยี่ยม คือ เดนเซล วอชิงตัน ในบทตำรวจพี่เลี้ยงผู้ทำผิดกฎหมายเสียเองจากเรื่อง Training Day และ วิล สมิธ จากหนังชีวประวัติของ มูฮัมหมัด อาลี เรื่อง Ali รัสเซล โครว์เจ้าของรางวัลออสการ์ปีสาขาดารานำชาย เมื่อปีที่แล้วจากเรื่อง Gladiator เข้าชิงซ้ำอีกในปีนี้จากเรื่อง A Beautiful Mind ในบทจอห์น ฟอร์บส แนช จูเนียร์ อัจฉริยะจิตเสื่อม, ฌอน เพนน์ ในบทพ่อผู้มีความบกพร่องทางสติปัญญาในเรื่อง I Am Sam และสุดท้าย ทอม วิลคินสัน ในบทพ่ออารมณ์ร้ายจาก In The Bedroom

ปีนี้เป็นปีแรกที่มีนักแสดงผิวสีหรือที่เรียกกันว่าแอฟริกัน- อเมริกันถึง 3 คนเข้าชิงรางวัลออสการ์ใน สาขาดารานำหญิงและชายในปีเดียวกัน นับตั้งแต่ปี 1972 เป็นต้นมา นอกจากสองดาราชายแล้ว ยังมี ฮัลล์ เบอร์รี่ ในบทแม่ติดเหล้าที่ถูกทอดทิ้งให้เลี้ยงลูกตามลำพัง เพราะสามีถูกฆ่าตายในเรื่อง Monster's Ball นำขบวนลุ้น รางวัลดารานำหญิงยอดเยี่ยม เบียดกับกับ จูดี้ เดนช์ จาก Iris นิโคล คิดแมนในบทหลากหลายอารมณ์ จาก Moulin Rouge ไม่ใช่บทบีบคั้นเค้นอารมณ์จาก The Others อย่างที่หลายคนเคยคาดการณ์ไว้ ซิสซี่ สปาเช็คในบทแม่จากเรื่อง In the Bedroom และ เรเน่ เซลเวเกอร์ ในบทสาวโสดวัย 30 กับไดอารี่ของเธอ จาก Bridget Jones's Diary

ในส่วนของดาราสมทบยอดเยี่ยมฝ่ายชาย ได้แก่ จิม บรอดเบนท์ จากภาพยนตร์ Iris อีธาน ฮอว์ก ในบทตำรวจหน้าใหม่ใน Training Day เบน คิงสลีย์ จาก Sexy Beast เอียน แม็คเคนเลน ในบทพ่อมดแกนดัล์ฟใน The Lord of the Rings: The Fellowship of the Ring และ จอน วอยห์ ดารารุ่นเดอะ จาก Ali ฝ่าย หญิงได้แก่ เจนนิเฟอร์ คอนเนลลี่ ในบทภรรยาผู้แสนดีของ จอห์น แนช ใน A Beautiful Mind ที่เธอได้รับรางวัล ลูกโลกทองคำ ในสาขาเดียวกันเมื่อต้นปี นอกจากนี้ยังมี เฮเลน มีร์เรน และ แม็กกี้ สมิธ จาก Gosford Park มาริสา โทเม จากเรื่อง In the Bedroom และสุดท้าย เคท วินสเล็ต จาก Iris

สาขาภาพยนตร์ภาษาต่างประเทศยอดเยี่ยม ได้แก่ Amelie จาก ฝรั่งเศส Elling จาก นอร์เวย์ Lagaan จากอินเดีย No Man's Land จากบอสเนีย ซึ่งได้รับรางวัลภาพยนตร์ภาษาต่างประเทศยอดเยี่ยมในเวทีลูกโลก ทองคำปีนี้ และ Son of the Bride อาร์เจนติน่า

Amelie ของฌอง ปิแอร์ เชอเน่ต์ จากเมืองน้ำหอมนั้นได้เข้าชิงถึง 5 สาขา รวมถึงบทยอดเยี่ยมและ บันทึกเสียงยอดเยี่ยม น่าจะเป็นตัวเต็งขับเคี่ยวกับหนังบอสเนีย No Man's Land เจ้าของลูกโลกทองคำในสขาหนัง ต่างประเทศปีนี้

รางวัลใหม่แกะกล่องที่เพิ่งเริ่มแจกเป็นปีแรก คือ ภาพยนตร์อนิเมชั่นยอดเยี่ยม สำหรับหนังการ์ตูนเรื่องยาวไม่ต่ำกว่า 70 นาที ซึ่งมีเงื่อนไขว่านับจากปีนี้ไป รางวัลนี้จะถูกบรรจุใน อคาเดมี อวอร์ดส์ แต่ไม่จำเป็นต้องแจกทุกปี หากปีใดมีหนังการ์ตูนเข้าฉายตามโรงภาพยนตร์ต่ำกว่า 8 เรื่อง รางวัลนี้ก็จะงดไปโดยปริยาย สำหรับปีนี้ ซึ่งการ์ตูนหลายค่ายออกมาโกยเงิน รวมทั้งอยู่ในระดับคุณภาพที่ยกระดับจากความบันเทิงเฉพาะผู้ชมวัยเด็กไปสู่ วงกว้าง มีคู่แข่งเข้าชิงออสการ์สาขาใหม่นี้ 3 เรื่อง ได้แก่ Jimmy Neutron: Boy Genius จากค่ายพาราเมาท์, Monsters, Inc. จากบัวนาวิสต้าในเครือดิสนีย์ และ Shrek จากค่ายดรีมเวิร์คส์

รางวัล อคาเดมี อวอร์ด หรือออสการ์ ตัดสินโดยการลงคะแนนเสียงลับของสมาชิกสถาบันศิลปะและวิทยาศาสตร์การภาพยนตร์แห่งอเมริกา จำนวนกว่า 6,000 คน ซึ่งล้วนเป็นบุคคลที่ประสบความสำเร็จในสายงานต่างของอุตสาหกรรมภาพยนตร์ การประกาศผลรางวัลออสการ์จะจัดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 มีนาคม 2002 ที่โกดัก เธียเตอร์ในฮอลลีวู้ด พิธีกรประจำงานปีนี้ คือ วูปี้ โกลด์เบิร์ก

รายชื่อผู้เข้าชิงในสาขาต่างๆ มีดังนี้

ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม

  • A Beautiful Mind
  • Gosford Park
  • In the Bedroom
  • The Lord of the Rings: The Fellowship of the Ring
  • Moulin Rouge

ผู้กำกับการแสดงยอดเยี่ยม

  • A Beautiful Mind รอน ฮาวเวิร์ด
  • Black Hawk Down ริดลีย์ สกอตต์
  • Gosford Park โรเบิร์ต อัลท์แมน
  • The Lord of the Rings: The Fellowship of the Ring ปีเตอร์ แจ็คสัน
  • Mulholland Drive เดวิด ลินช์

บทภาพยนตร์ดัดแปลงยอดเยี่ยม

  • A Beautiful Mind อาคิว่า โกลด์สแมน
  • Ghost World แดเนียล โคลว์ส และ เทอร์รี่ ซวิกอฟฟ์
  • In the Bedroom ร็อบ เฟสทิงเกอร์ และ ท็อด ฟิลด์
  • The Lord of the Rings: The Fellowship of the Ring ฟราน วอลช์, ฟิลลิปปา โบเยนส์ และ ปีเตอร์ แจ็คสัน
  • Shrek เท็ด เอลเลียต และ เทอร์รี่ รอสสิโอ

บทภาพยนตร์ดั้งเดิมยอดเยี่ยม

  • Amelie กิโยม โลรองต์ และ ฌอง ปิแอร์ เฌอเน่ต์
  • Gosford Park จูเลียน เฟลโลว์ส
  • Memento คริสโตเฟอร์ โนแลน
  • Monster's Ball ไมโล แอดดิกา และ วิล โรกอส
  • The Royal Tenenbaums เวส แอนเดอสัน และโอเวน วิลสัน

ภาพยนตร์ภาษาต่างประเทศยอดเยี่ยม

  • Amelie / ฝรั่งเศส
  • Elling / นอร์เวย์
  • Lagaan / อินเดีย
  • No Man's Land / บอสเนีย
  • Son of the Bride / อาร์เจนติน่า

ดารานำชายยอดเยี่ยม

  • รัสเซล โครว์ / A Beautiful Mind
  • ฌอน เพนน์ / I Am Sam
  • วิล สมิธ / Ali
  • เดนเซล วอชิงตัน /Training Day
  • ทอม วิลคินสัน / In the Bedroom

ดาราสมทบชายยอดเยี่ยม

  • จิม บรอดเบนท์ / Iris
  • อีธาน ฮอว์ก / Training Day
  • เบน คิงสลีย์ / Sexy Beast
  • เอียน แม็คเคนเลน / The Lord of the Rings: The Fellowship of the Ring
  • จอน วอยห์ / Ali

ดารานำหญิงยอดเยี่ยม

  • ฮัลล์ เบอร์รี่ / Monster's Ball
  • จูดี้ เดนช์ / Iris
  • นิโคล คิดแมน / Moulin Rouge
  • ซิสซี่ สปาเช็ค / In the Bedroom
  • เรเน่ เซลเวเกอร์ / Bridget Jones's Diary

ดาราสมทบหญิงยอดเยี่ยม

  • เจนนิเฟอร์ คอนเนลลี่ / A Beautiful Mind
  • เฮเลน มีร์เรน / Gosford Park
  • แม็กกี้ สมิธ / Gosford Park
  • มาริสา โทเม / In the Bedroom
  • เคท วินสเล็ต / Iris

ดนตรีประกอบยอดเยี่ยม (Original score)

  • A.I. Artificial Intelligence จอห์น วิลเลี่ยมส์
  • A Beautiful Mind เจมส์ ฮอร์เนอร์
  • Harry Potter and the Sorcerer's Stone จอห์น วิลเลียมส์
  • The Lord of the Rings: The Fellowship of the Ring ฮาวเวิร์ด ชอร์
  • Monsters, Inc. แรนดี้ นิวแมน

เพลงประกอบยอดเยี่ยม (Original song)

  • If I Didn't Have You จากเรื่อง Monsters, Inc.
  • May It Be จากเรื่อง The Lord of the Rings: The Fellowship of the Ring โดย เอนย่า
  • There You'll Be จากเรื่อง Pearl Harbor โดย เฟธ ฮิลล์
  • Until จากเรื่อง Kate & Leopold โดย สติง
  • Vanilla Sky จากเรื่อง Vanilla Sky โดย พอล แมคคาร์ทนีย์

ภาพยนตร์อนิเมชั่นยอดเยี่ยม

  • Jimmy Neutron: Boy Genius
  • Monsters, Inc.
  • Shrek.

กำกับศิลป์ยอดเยี่ยม

  • Amelie
  • Gosford Park
  • Harry Potter and the Sorcerer's Stone
  • The Lord of the Rings: The Fellowship of the Ring
  • Moulin Rouge

ถ่ายภาพยอดเยี่ยม

  • Amelie
  • Black Hawk Down
  • The Lord of the Rings: The Fellowship of the Ring
  • The Man Who Wasn't There
  • Moulin Rouge

บันทึกเสียงยอดเยี่ยม

  • Amelie
  • Black Hawk Down
  • The Lord of the Rings: The Fellowship of the Ring
  • Moulin Rouge
  • Pearl Harbor

ตัดต่อเสียงยอดเยี่ยม

  • Monsters, Inc.
  • Pearl Harbor

เครื่องแต่งกายยอดเยี่ยม

  • The Affair of the Necklace
  • Gosford Park
  • Harry Potter and the Sorcerer's Stone
  • The Lord of the Rings:The Fellowship of the Ring
  • Moulin Rouge

ตัดต่อยอดเยี่ยม

  • A Beautiful Mind
  • Black Hawk Down
  • The Lord of the Rings: The Fellowship of the Ring
  • Memento
  • Moulin Rouge

เทคนิคด้านภาพยอดเยี่ยม (Visual effect)

  • A.I. Artificial Intelligence
  • The Lord of the Rings: The Fellowship of the Ring
  • Pearl Harbor

แต่งหน้ายอดเยี่ยม

  • A Beautiful Mind
  • The Lord of the Rings: The Fellowship of the Ring
  • Moulin Rouge

ภาพยนตร์สารคดียอดเยี่ยม

  • Children Underground
  • LaLee's Kin: The Legacy of Cotton
  • Murder on a Sunday Morning
  • Promises
  • War Photographer

ภาพยนตร์สารคดีสั้นยอดเยี่ยม

  • Artists and Orphans: A True Drama
  • Sing!
  • Thoth

ภาพยนตร์สั้นประเภทอนิเมชั่นยอดเยี่ยม

  • Fifty Percent Grey
  • For the Birds
  • Give Up Yer Aul Sins
  • Strange Invaders

ภาพยนตร์สั้นยอดเยี่ยม

  • The accountant
  • Copy Shop
  • Gregor's Greatest Invention
  • A Man Thing (Meska Sprawa)
  • Speed for Thespians
  • Stubble Trouble

รางวัลเกียรติยศที่ประกาศรายชื่อผู้ได้รับรางวัลประจำปีนี้ไปแล้ว

  1. รางวัล กอร์ดอน อี. ซอว์เยอร์ สำหรับ : บุคคลในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ที่มีคุณูปการในการสร้างสรรค์ทางด้านเทคโนโลยีแก่วงการ ได้แก่ เอ็ดมันด์ เอ็ม ดิ จูลีโอ เหตุผล คือ ดิ จูลีโอ โด่งดังจากการและมีส่วนในงานสร้างและพัฒนากล้อง Steadicam ในการถ่ายทำภาพยนตร์
  2. รางวัลผู้บำเพ็ญประโยชน์ จีน เฮอร์โชลต์ (Jean Hersholt Humanitarian Award) สำหรับบุคคลที่มีผลงานด้านการบำเพ็ญประโยชน์เพื่อเพื่อนมนุษย์โดดเด่นในวงการ ได้แก่ อาเธอร์ ฮิลเลอร์
  3. รางวัลเกียรติยศ (Honorary Awards) สำหรับผู้มีผลงานโดดเด่นในการสร้างภาพยนตร์หรือผู้ที่อุทิศตนดำรงประโยชน์ต่อสถาบันอคาเดมี ได้แก่ ซิดนีย์ ปอยเตียร์ และ โรเบิร์ต เรดฟอร์ด

ความคิดเห็น

วันนี้ในอดีต

  • รักแห่งสยาม
    เข้าฉายปี 2007
    แสดง มาริโอ้ เมาเร่อ, วิชญ์วิสิฐ หิรัญวงษ์กุล, กัญญา รัตนเพชร์
  • Harry Potter and the Chamber of Secrets
    เข้าฉายปี 2002
    แสดง Daniel Radcliffe , Emma Watson , Rupert Grint
  • ตีสาม 3D
    เข้าฉายปี 2012
    แสดง กาญจน์เกล้า ด้วยเศียรเกล้า, โทนี่ รากแก่น, ชาคริต แย้มนาม

เกร็ดภาพยนตร์

  • The Theory of Everything - สตีเฟน ฮอว์คิง พูดว่าภาพยนตร์เรื่องนี้ค่อนข้างเป็นเรื่องจริง จึงอนุญาตให้ใช้เสียงของเขาในตอนจบ และให้ยืมเหรียญแห่งอิสรภาพ กับวิทยานิพนธ์ที่ลงชื่อ สตีเฟน ฮอว์คิง ไปใช้เป็นอุปกรณ์ประกอบฉากด้วย อ่านต่อ»
  • Jupiter Ascending - แชนนิง เททัม ต้องสวมอุปกรณ์บริเวณปากที่ทำให้ลักษณะของขากรรไกรของเขาเปลี่ยนไป เพื่อรับบท เคน อุปกรณ์ชิ้นนั้นทำให้ แชนนิง หุบปากไม่ได้ แถมยังทำให้เขาพูดลำบากอีกด้วย อ่านต่อ»
เกร็ดจากภาพยนตร์สามารถดูได้ในหน้าข้อมูลภาพยนตร์แต่ละเรื่อง

เปิดกรุภาพยนตร์

เรื่องราวของคนแปลกหน้า 6 คนที่พบว่าพวกเขากำลังอยู่ในสถานการณ์ที่อยู่นอกเหนือการควบคุม พวกเขาจะต้องใช้สมองเพื่อค้นหาเบาะ...อ่านต่อ»