เกร็ดน่ารู้จาก Megamind
เกร็ดน่ารู้
- ขณะที่ภาพยนตร์เรื่องนี้มีตัวละครผู้ร้ายเป็นตัวเอก ผู้กำกับ ทอม แม็กกราธ ยอมรับว่าตนชอบตัวละครผู้ร้ายมาตั้งแต่เด็กแล้ว เช่น ตัวละครอย่าง ดาร์ธ เวเดอร์ ใน Star Wars หรือ กัปตันฮุก ใน Peter Pan เพราะพวกเขามีเสน่ห์ และมีบุคลิก เสื้อผ้า อุปกรณ์ และประโยคติดปากที่น่าสนใจ
- ตอนที่ภาพยนตร์เรื่องนี้ยังอยู่ระหว่างพัฒนาที่บริษัท เรด เอาร์ ฟิล์มส์ ของ เบน สติลเลอร์ และ สจวร์ต คอร์นเฟลด์ พวกเขาคิดจะสร้างออกมาเป็นภาพยนตร์ที่ใช้คนแสดง แต่หลายคนเชื่อว่ามันควรเป็นแอนิเมชันมากกว่า ภายหลังพวกเขาจึงนำงานนี้ไปเสนอให้บริษัท ดรีมเวิร์คส์ แอนิเมชัน รับช่วงต่อ
- เดิมผู้สร้างออกแบบให้ เมกะมายด์ ที่พากย์เสียงโดย วิล ฟาเรลล์ มีรูปลักษณ์เหมือนมนุษย์ต่างดาวมากกว่านี้ คือเป็นผู้ชายหัวโตและร่างสูง แต่พวกเขาต้องการให้รูปลักษณ์ของตัวละครเหมาะสมกับเรื่องราวที่จะเล่าด้วย ทั้งในแง่การเป็นตัวละครที่ตลกและเป็นตัวละครที่มีความรัก พวกเขาจึงปรับให้ เมกะมายด์ ดูเหมือนมนุษย์มากขึ้น
- เดิมผู้สร้างออกแบบตัวละคร มิเนียน ที่พากย์เสียงโดย เดวิด ครอสส์ ให้ดูเหมือนกอริลลาที่ไม่มีหัว แต่ภายหลังเปลี่ยนมาเป็นร่างกายแบบหุ่นยนต์กอริลลา ที่มีหัวเป็นปลาในโหล และมีแขนที่ยืดได้ ถือเป็นตัวละครที่มีระบบริกที่ซับซ้อนมาก
- ผู้กำกับศิลป์ ทิม แลมบ์ ออกแบบตัวละครประกอบที่เป็นชาวเมืองจำนวนมากให้แต่ละคนมีเอกลักษณ์ต่างกันไป โดยไม่ต้องใช้เวลามากมาย ด้วยการใช้โปรแกรมอัตโนมัติในการสร้างลำตัวที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นสูง ผอม อ้วน เพรียว แก่ หนุ่ม จากนั้นก็นำมารวมกับศีรษะแบบต่างๆ โดยสุ่มสลับกันไปให้ดูหลากหลาย
- จำนวนพาเนลสตอรีบอร์ดทั้งหมดในภาพยนตร์เรื่องนี้คือ 99,590 พาเนล เป็นของซีเควนซ์ 1300 เดตติง/เทรนนิง ถึง 7,534 พาเนล และในซีเควนซ์นี้มีร่างบทภาพยนตร์มากถึง 103 ฉบับ
- เมกะมายด์ ที่พากย์เสียงโดย วิล ฟาเรลล์ ใช้ปืน 3 กระบอกในภาพยนตร์เรื่องนี้ ได้แก่ ปืนร้อน ปืนผสมดีเอ็นเอ และปืนร้อนขนาดยักษ์ที่ติดอยู่กับสไปเดอร์บ็อต
- ทีมงานสร้างแบบจำลองตึกรามบ้านช่องทั้งหลายในฉากเมือง เมโทร ซิตี ขึ้นมา จากนั้นพวกเขาใช้ซอฟต์แวร์พิเศษที่ชื่อ ซิตี ซิสเต็ม ในการเติมเต็มภาพตึกที่ไม่สำคัญอื่นๆ นอกจากนี้พวกเขายังออกแบบให้ เมโทร ซิตี มีระบบทางหลวงที่ใช้การได้จริงอีกด้วย
- ผู้สร้างออกแบบให้กล้ามเนื้อไบเซ็ปของซูเปอร์ฮีโร เมโทรแมน ที่พากย์เสียงโดย แบรด พิตต์ มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 25 นิ้ว ซึ่งใหญ่กว่าของนักแสดงบู๊ อาร์โนลด์ ชวาร์เซเนกเกอร์ ในช่วงที่รุ่งสุดๆ เสียอีก
- หุ่นยักษ์ในเรื่องมีส่วนสูงถึง 46 ฟุตครึ่ง
- ผู้สร้างแบ่งคนและสิ่งของในภาพยนตร์ออกเป็น 4 กลุ่มใหญ่คือ คน นก รถ และเบรนบ็อต โดยรวมแล้วมีจำนวนตัวละครมากถึงหลักล้านเลยทีเดียว ในฉากแหล่งการค้ามีจำนวนคนกว่า 58,000 คน มีรถ 120,000 คันขับวนเวียนอยู่ทั่วเมือง โดยรถจะหนาแน่นมากในย่านที่พักและในเมือง และจะหนาแน่นน้อยลงในเขตอุตสาหกรรม
- ผู้สร้างออกแบบการเคลื่อนไหวของตัวละครกลุ่มเบรนบ็อตโดยเลียนแบบการเคลื่อนไหวของแมงกะพรุน
- มีการสร้างของประกอบฉากประเภทผ้าขึ้นมากกว่า 10,000 ชิ้น ประกอบไปด้วยผ้าคลุม 726 ชิ้น และเสื้อผ้าของคนกว่า 5,500 คน รวม 320 ชุด แบ่งออกเป็น 44 ชุดสำหรับตัวละครเอก 39 ชุดสำหรับตัวละครอื่นๆ และอีก 237 ชุดสำหรับใช้ทั่วๆ ไป
- มีฉากตัวละครถูกกระแทกหน้า 12 ครั้งในภาพยนตร์ ส่วนมากเป็นการกระแทกกับกระจก
- การทำคอมโพสิตเอฟเฟกต์สำหรับภาพยนตร์เรื่องนี้ต้องใช้เวลาทั้งหมด 1,317 สัปดาห์แรงงาน ซึ่งถ้าใช้คนคนเดียวทำ ก็จะต้องใช้เวลานานกว่า 25 ปี หรือ 6,585 วัน เฉพาะงานส่วนผนังนั้น ใช้ลวดสลิงเสมือน 979 เส้น และใช้กระดาษเสมือน 6,625 แผ่น
- ผ้าม่านที่ถูกสร้างขึ้นมาในภาพยนตร์เรื่องนี้มีขนาดใหญ่มาก ตั้งแต่ขนาดสูง 58 ฟุต 81 ฟุต ไปจนถึง 405 ฟุต
- ต้นแบบของทอร์นาโดน้ำในงานเฉลิมฉลอง เมโทรแมน ส่วนหนึ่งมาจากการแสดงน้ำพุในลาสเวกัส ประเทศสหรัฐอเมริกา
- หัว เมกะมายด์ เบรนบ็อตยักษ์ในฉากสุดท้ายสร้างขึ้นจากเบรนบ็อตเกือบ 100,000 ตัว
- ทีมงาน 7 คนใช้เวลาเกือบ 4 เดือนในการสร้างฉากระเบิดหอดูดาวครั้งใหญ่
- ฉากฝนตกหนักเกิดขึ้นจากการสร้างน้ำฝนเกือบ 700,000 เม็ด
- ในฉากที่ตำรวจล้อมศาลากลางเมืองนั้น ผู้สร้างใช้ฉากภายนอกจากภาพยนตร์ Die Hard (1988) มาเป็นข้อมูลอ้างอิงเรื่องแสง
- การสร้างภาพสุดท้ายของ มิเนียน ที่พากย์เสียงโดย เดวิด ครอสส์ ต้องอาศัยองค์ประกอบจากเลเยอร์ต่างๆ ถึง 7 ชั้น
- ฉากที่ ไททัน ที่พากย์เสียงโดย โจนาห์ ฮิลล์ พา ร็อกแซนน์ ริตชี ที่พากย์เสียงโดย ทีนา เฟย์ เหาะเหินเหนือเมืองนั้น ถือเป็นฉากที่ซับซ้อนมาก เฉพาะช็อตที่ ร็อกแซนน์ ถูกเหวี่ยงข้ามตึกนั้นต้องใช้เลเยอร์แสงกว่า 3,500 ชั้น
- ข้อมูลของเมือง เมโทร ซิตี มีปริมาณมากถึง 1 เทราไบต์ เพราะมีภาพตึกและถนนมากถึง 90,000 แห่ง
- หอคอยเมโทรในเรื่องนั้นสูง 3,172 ฟุต ซึ่งสูงกว่าอาคารที่สูงที่สุดในโลกอย่าง เบิร์จ คาลิฟา ในดูไบถึง 455 ฟุต
- หลายๆ ช็อตต้องใช้เวลาเรนเดอร์นานกว่า 24 ชั่วโมง ซึ่งช็อตที่นานที่สุดใช้เวลา 50 ชั่วโมง
- ทีมงานต้องพึ่งกระทิงแดง 5 ลังเพื่อรักษาระดับความคิดสร้างสรรค์ให้คงอยู่ระหว่างการทำงานช่วงเดือนสุดท้าย และพวกเขาสั่งเฝอมารับประทานเป็นอาหารเย็นตลอดช่วงระยะเวลาการทำงาน 11 สัปดาห์
- เดิมผู้สร้างจะตั้งชื่อภาพยนตร์ว่า Master Mind แต่มีเกมกระดานและรายการโทรทัศน์ที่มีมาตั้งแต่ยุค 70 ใช้ชื่อนี้ไปก่อนแล้ว นอกจากนี้พวกเขายังเกือบตั้งชื่อภาพยนตร์ว่า Oobermind ซึ่งเป็นการสะกดผิดมาจาก Uber-mind โดยคำว่า uber นั้นหมายถึงสิ่งที่ใหญ่โต แต่สุดท้ายแล้วก็มาลงตัวที่ชื่อว่า Megamind
- การที่ยานอวกาศของ เมกะมายด์ ที่พากย์เสียงโดย วิล ฟาเรลล์ ตกลงมาในเรือนจำ ที่ซึ่งทำให้เขาเติบโตมากลายเป็นผู้ร้ายนั้น เป็นการอุทิศให้แก่ Red Son หนังสือการ์ตูนที่แตกยอดออกมาจาก Superman ซึ่งเล่าเรื่องยานอวกาศของ คาล-เอล (ชื่อเดิมของ ซูเปอร์แมน) ที่แล่นลงจอดที่โซเวียตรัสเซีย แทนที่จะเป็นที่ แคนซัส เคนต์ ฟาร์ม เหมือนใน Superman ฉบับดั้งเดิม
- การที่ แบรด พิตต์ พากย์เสียงเป็น เมโทรแมน ถือเป็นการหวนกลับมาพากย์เสียงอีกครั้ง หลังจากเขาเคยพากย์เสียงใน Sinbad: Legend of the Seven Seas (2003) ภาพยนตร์ของ ดรีมเวิร์คส์ อีกเรื่องหนึ่ง
- ผู้สร้างทาบทาม เบน สติลเลอร์ และ โรเบิร์ต ดาวนีย์ จูเนียร์ ให้มาพากย์เสียง เมกะมายด์ แต่ทั้งคู่ปฏิเสธเพราะตารางการทำงานไม่ลงตัว อย่างไรก็ตาม เบน ยังได้มาช่วยพากย์เสียงบทเล็กๆ ของตัวละครชื่อ เบอร์นาร์ด
- ยอดมนุษย์ทั้ง 3 คนในเรื่องมีสีสันหลักเป็นของตัวเอง เมกะมายด์ ที่พากย์เสียงโดย วิล ฟาเรลล์ มีสีประจำตัวเป็นสีน้ำเงิน เมโทรแมน ที่พากย์เสียงโดย แบรด พิตต์ เป็นสีขาว และ ไททัน ที่พากย์เสียงโดย โจนาห์ ฮิลล์ เป็นสีแดง
- ฉากพิพิธภัณฑ์ เมโทรแมน ที่สร้างขึ้นเพื่อเชิดชู เมโทรแมน ที่พากย์เสียงโดย แบรด พิตต์ นั้น เป็นการอ้างอิงถึงซูเปอร์ฮีโรของ ดีซี คอมิกส์ ที่ชื่อ แฟลช ซึ่งมีพิพิธภัณฑ์ แฟลช เป็นของตัวเองเช่นกัน
- ผู้กำกับชื่อดัง กีเยอร์โม เดล โทโร เข้ามาช่วยให้คำปรึกษาในการตัดต่อภาพยนตร์เรื่องนี้
- ตัวละครนักข่าวสาว ร็อกแซนน์ ริตชี ที่พากย์เสียงโดย ทีนา เฟย์ นั้น ตั้งชื่อตามตัวละคร ร็อกแซนน์ ซิมป์สัน ซึ่งเป็นนักข่าวในภาพยนตร์ Ghost Rider (2007)
- วิล ฟาเรลล์ ผู้พากย์เสียง เมกะมายด์ ประชาสัมพันธ์ภาพยนตร์เรื่องนี้โดยจัดงานรวมตัวเพื่อนๆ และคนรู้จักของเขาถึง 1,580 คน โดยให้ทุกคนสวมชุดซูเปอร์ฮีโร งานนี้ทำสถิติโลก กินเนสส์ เวิลด์ เรกคอร์ด สำหรับการรวมตัวของซูเปอร์ฮีโรจำนวนมากที่สุดในโลก
- เมกะมายด์ ที่พากย์เสียงโดย วิล ฟาเรลล์ เริ่มต้นชีวิตปีแรกๆ บนโลกที่เรือนจำ เมโทร ซิตี สำหรับผู้มีพรสวรรค์ นี่เป็นการอ้างอิงถึงโรงเรียนสำหรับผู้มีพรสวรรค์ของศาสตราจารย์ ซาเวียร์ ใน X-Men (2000)
- ตัวละครตากล้อง ฮาล สจวร์ต อ้างอิงมาจากนักข่าว จิมมี โอลเซน ในการ์ตูนชุด Superman ส่วนชื่อของเขานั้นตั้งตามชื่อจริงของซูเปอร์ฮีโร กรีน แลนเทิร์น ในการ์ตูนชุด Green Lantern ซึ่งมีทั้งชื่อ ฮาล จอร์แดน และ จอห์น สจวร์ต
- รูปลักษณ์ของ มิเนียน ที่พากย์เสียงโดย เดวิด ครอสส์ ถอดแบบมาจากตัวละครใน Robot Monster (1953) ซึ่งเป็นคนสวมชุดกอริลลาและหมวกดำน้ำ
- หอดูดาวในภาพยนตร์นั้นออกแบบตามหอดูดาว กริฟฟิธ นอกย่านฮอลลีวูด ในสหรัฐอเมริกา
- ฉากเมือง เมโทร ซิตี ในเรื่องนั้นตั้งอยู่ในรัฐมิชิแกน ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเห็นได้ชัดในฉากที่ดาวเทียมของ เมกะมายด์ ที่พากย์เสียงโดย วิล ฟาเรลล์ กำลังโคจรอยู่รอบโลก
- ในฉากพิพิธภัณฑ์ เมโทรแมน มีรูปปั้น เมโทรแมน ที่พากย์เสียงโดย แบรด พิตต์ ตอนกำลังจะจับเครื่องบิน ฉากนี้อ้างอิงถึงฉากที่ ซูเปอร์แมน ปรากฏตัวครั้งแรกในหนังสือการ์ตูนชุด Superman ของ จอห์น ไบรน์ ด้วยการจับเครื่องบินไว้เพื่อช่วยชีวิตตัวละคร โลอิส เลน
- ผู้สร้างออกแบบรถยนต์ล่องหนของ เมกะมายด์ ที่พากย์เสียงโดย วิล ฟาเรลล์ โดยอุทิศให้แก่เครื่องบินล่องหนของซูเปอร์ฮีโรหญิง วอนเดอร์ วูแมน ในการ์ตูนชุด Wonder Woman
- ก่อนจะมาพากย์เสียง เมกะมายด์ ในเรื่องนี้ วิล ฟาเรลล์ เคยพากย์เสียงในแอนิเมชันโทรทัศน์ที่เกี่ยวข้องกับซูเปอร์ฮีโรมาก่อน นั่นคือเรื่อง Cow and Chicken ซึ่งล้อเลียนการ์ตูนชุด Superman โดยมีตัวละครหลักเป็นซูเปอร์ฮีโรที่พูดภาษาสเปนชื่อ ซูเปอร์คาว
advertisement
วันนี้ในอดีต
- ความสุขของกะทิเข้าฉายปี 2009 แสดง ภัสสร คงมีสุข, สะอาด เปี่ยมพงษ์สานต์, จารุวรรณ ปัญโญภาส
- Quarantineเข้าฉายปี 2009 แสดง Jennifer Carpenter, Steve Harris, Jay Hernandez
- Bal Ganeshเข้าฉายปี 2009 แสดง Asha Bhonsale, Kailash Kher, Usha Mangeshkar
เกร็ดภาพยนตร์
เปิดกรุภาพยนตร์
Wonder Woman 1984 การกลับมาครั้งนี้จะพา ไดอานา ปรินซ์ (กัล กาด็อต) ไปสู่ช่วงเวลาหลายปีหลังจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในหนังภาคแรกในตอนนี้เจ้า...อ่านต่อ»