เกร็ดน่ารู้จาก 13-04-2022 สึนามิ วันโลกสังหาร

เกร็ดน่ารู้
  • หนึ่งในแรงบันดาลใจในการสร้างภาพยนตร์เรื่องนี้คือเหตุการณ์ภัยพิบัติสึนามิ ซึ่งเกิดขึ้นที่ 6 จังหวัดภาคใต้ของประเทศไทย เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2004 (พ.ศ.2547) มีประชาชนมากกว่า 300,000 คนเสียชีวิต และกว่า 1,000,000 คน สูญเสียที่อยู่อาศัยและต้องได้รับการเยียวยาทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ
  • ผู้กำกับ ทรนง ศรีเชื้อ ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับภัยสึนามิจากผู้เชี่ยวชาญหลายคน ได้แก่ ดร. สมิทธ ธรรมสโรช ซึ่งยืนยันว่าจะเกิดน้ำท่วมกรุงเทพฯ ขึ้นในอนาคต แต่อาจเกิดจากสึนามิหรือไม่ก็ได้ และ ดร.ปลอดประสพ สุรัสวดี ที่กล่าวถึงภูเขาไฟใต้น้ำที่แหลมยวน ซึ่งหากระเบิดจะเกิดสึนามิที่กรุงเทพฯ แต่ยังมีความเป็นไปได้น้อย และอีกคนคือ ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา ที่เดินทางไปอภิปรายเรื่องนี้ตามที่ต่างๆ
  • เนื่องจากผู้คนจดจำความน่ากลัวของสึนามิในปี 2004 ได้เป็นอย่างดีแล้ว ผู้กำกับ ทรนง ศรีเชื้อ จึงไม่ให้ภาพยนตร์เรื่องนี้เกี่ยวข้องกับสึนามิที่เกิดขึ้นจริงในตอนนั้น แต่ให้เป็นสึนามิที่เป็นเรื่องแต่ง เกิดขึ้นในอนาคตคือปี 2011 ซึ่งรุนแรงและน่ากลัวยิ่งกว่าเดิม เพื่อกระตุ้นให้ผู้คน โดยเฉพาะคนในเมือง ตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมโลก เขาจึงให้เหตุการณ์เกิดขึ้นในเมืองใหญ่คือกรุงเทพฯ
  • ผู้กำกับ ทรนง ศรีเชื้อ ใช้เวลาในการเขียนบทภาพยนตร์เรื่องนี้ประมาณ 1 ปี ใช้เวลาเตรียมงานอยู่ประมาณครึ่งปี และใช้เวลาถ่ายทำยาวนานถึง 2 ปี เนื่องจากต้องรอทั้งฤดูกาลที่เหมาะสมกับบทภาพยนตร์ และใช้เวลาในการพังฉากให้เสียหายแล้วสร้างขึ้นใหม่ อีกทั้งเขายังสร้างโรงถ่ายภาพยนตร์ ทรนงสตูดิโอ ควบคู่กันไปด้วย
  • ถ่ายทำใน ทรนงสตูดิโอ ของผู้กำกับ ทรนง ศรีเชื้อ ซึ่งมีพื้นที่กว่า 35,000 ไร่ อยู่ในอำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี นับเป็นโรงถ่ายทำภาพยนตร์ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียที่มีมูลค่านับพันล้านบาท ทรนง พัฒนาการสร้างโรงถ่ายนี้มาอย่างต่อเนื่องนานหลายปี เนื่องจากเขาต้องการสร้างภาพยนตร์ตามใจตัวเองอย่างแท้จริง โดยไม่ต้องต่อรองกับนายทุนจากที่อื่น
  • ฉากศูนย์เตือนภัยนับเป็นฉากที่ใช้เงินลงทุนสูงที่สุด มากถึงหลักล้านบาท แต่หลังจากถ่ายทำเสร็จก็ไม่มีอยู่แล้ว เนื่องจากฉากค่อยๆ พังเสียหายลงมาเรื่อยๆ ขณะถ่ายทำ จนในที่สุดก็พังทลายไปจนหมด
  • ผู้สร้างเคยพยายามไปถ่ายฉากดำน้ำที่ทะเลแต่ไม่ค่อยพอใจกับผลงานที่ได้นัก พวกเขาจึงสร้างฉากทะเลขึ้นโดยสร้างสระน้ำขนาดใหญ่ ลึก 7 เมตร จากนั้นแผนกศิลป์ก็นำปะการังเทียมรวมมูลค่าเป็นหลักล้านบาทมาใส่ลงไปเต็มสระ แล้วใส่น้ำประปาลงไปแทนน้ำทะเล
  • ก่อนวันที่ถ่ายทำฉากทะเลประมาณ 2-3 วัน เกิดพายุทอร์นาโดขึ้นที่โรงถ่าย ทรนงสตูดิโอ ในจังหวัดเพชรบุรี น้ำใสในสระที่สร้างไว้ใช้เป็นฉากทะเลจึงกลายเป็นน้ำขุ่น แผนกศิลป์จึงไปซื้อสารส้มมาเต็มคันรถกระบะ นำมาใส่ในสระแล้วกวนน้ำเป็นเวลา 2 วัน น้ำจึงกลับมาใส แต่ก็เป็นอันตรายมาก อาจทำให้หนังลอกหรือตาบอดได้ และสัตว์น้ำไม่สามารถอาศัยอยู่ได้เลย
  • ผู้สร้างขอเช่าเฮลิคอปเตอร์หลายลำจากกองทัพทหารและโรงพยาบาลกรุงเทพ นอกจากนี้ยังมีการสร้างเฮลิคอปเตอร์ปลอม เพื่อใช้ในการถ่ายทำฉากที่นักแสดงจะต้องแสดงต่อหน้ากล้อง
  • เดิมผู้สร้างต้องการขอใช้เรือมหิดล ซึ่งเป็นเรือสำรวจทะเลที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทย แต่สุดท้ายก็มาลงเอยที่เรือ ซีฟเดค ของศูนย์พัฒนาการประมงแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ ซีฟเดค ซึ่งเป็นองค์กรอิสระระหว่างประเทศที่มีคนไทยเป็นกัปตันและเป็นผู้บริหาร ค่าเช่าเรือลำนี้สูงมากถึงวันละหลายแสนบาท
  • ทรนง ศรีเชื้อ สร้างบุคลิกของตัวละคร ดร. สยาม ที่รับบทโดย สุเชาว์ พงษ์วิไล โดยถอดแบบจากบุคลิกของ ดร.สมิทธ ธรรมสโรช เนื่องจากเขาชอบลักษณะการพูดจาโผงผาง จริงจัง และซื่อสัตย์ของ ดร. สมิทธ ซึ่ง ทรนง ได้ขออนุญาต ดร.สมิทธ เป็นการส่วนตัวและได้รับคำอนุญาตแล้ว
  • ผู้กำกับ ทรนง ศรีเชื้อ รู้สึกประทับใจในตัว สุเชาว์ พงษ์วิไล ที่รับบท ดร. สยาม ในฉากที่ สุเชาว์ ต้องดำน้ำในบ่อลึก 7 เมตร ทั้งที่จริงๆ แล้ว สุเชาว์ ว่ายน้ำและดำน้ำไม่เป็น แต่ก็ไม่ยอมบอก ทรนง และพยายามแสดงฉากนั้นอยู่นาน 2 ชั่วโมง
  • ในบรรดาผู้ที่มาทดสอบบทตัวละคร ภูเก็ต นั้น ใหม่ - พิศาล ศรีมั่นคง ไม่ใช่คนที่แสดงได้ดีที่สุด เขาเป็นตัวเลือกลำดับที่ประมาณ 3-4 แต่สาเหตุที่ ใหม่ ได้รับบทนี้เป็นเพราะคณะผู้สร้างคิดว่าเขาดูเป็นธรรมชาติ เมื่อแสดงอะไรเขารู้สึกตามที่แสดงจริงๆ และยังมองประเทศไทยด้วยมุมมองของนักท่องเที่ยว เนื่องจาก ใหม่ เติบโตในต่างประเทศ
  • ผู้กำกับ ทรนง ศรีเชื้อ ใฝ่ฝันมานานแล้วว่าอยากสร้างภาพยนตร์ที่มีนางเอกเป็นนักชีววิทยา ที่แต่งตัวธรรมดาๆ และได้เข้าฉากว่ายน้ำกับปลาโลมา เขาจึงสร้างตัวละคร ซินดี้ ขึ้นในภาพยนตร์เรื่องนี้ และให้ ซินดี้ - สิรินดา เจนเซ่น มารับบทนี้
  • ซินดี้ - สิรินดา เจนเซ่น ที่รับบท ซินดี้ ไม่สามารถอ่านภาษาไทยได้ ผู้สร้างจึงเขียนบทให้เธอเป็นแบบคาราโอเกะภาษาอังกฤษ จากนั้นให้คนมาอธิบายบทให้เธอเข้าใจความหมาย ผู้กำกับ ทรนง ศรีเชื้อ เห็นว่าการใช้ภาษาของ ซินดี้ ไม่เป็นอุปสรรคต่อการถ่ายทำ นอกจากนี้ การที่ ซินดี้ พูดภาษาอังกฤษยังทำ ให้ภาพยนตร์ไทยเรื่องนี้เป็นที่สนใจของต่างชาติอีกด้วย
  • หนึ่งในเหตุผลที่นักแสดงหน้าใหม่ชาวปักษ์ใต้ ควีน - นิชาภา ประกรณ์กิจวัฒนา ได้รับบท พีพี เนื่องจากตอนที่ทดสอบหน้ากล้อง เธอกล่าวถึงความรู้สึกที่มีต่อสึนามิแล้วร้องไห้ฟูมฟายด้วยความเสียใจและกลัวมาก อีกทั้งยืนยันว่าอยากแสดงภาพยนตร์เรื่องนี้อย่างจริงจัง ทำให้แผนกคัดเลือกนักแสดงรู้สึกประทับใจ
  • หนุ่ม - ปริญญา วงษ์ศิลป์ ผ่านการทดสอบหน้ากล้องและได้รับบทเด็กหนุ่มชาวมอแกนชื่อ ราไว เนื่องจาก หนุ่ม พูดภาษาปักษ์ใต้ได้ มีบุคลิกดี สามารถว่ายน้ำดำน้ำได้ อีกทั้งยังยอมโกนศีรษะ และยอมไปตากแดดเตรียมงานกับกองถ่ายเป็นเวลา 7 วันก่อนเข้ากล้อง

advertisement

วันนี้ในอดีต

  • Harry Potter and the Goblet of FireHarry Potter and the Goblet of Fireเข้าฉายปี 2005 แสดง Daniel Radcliffe, Rupert Grint, Emma Watson
  • The ThingThe Thingเข้าฉายปี 2011 แสดง Mary Elizabeth Winstead, Joel Edgerton, Ulrich Thomsen
  • Love of MayLove of Mayเข้าฉายปี 2005 แสดง Chen Bo-lin, Liu Yifei

เกร็ดภาพยนตร์

  • Comet - เป็นผลงานการกำกับภาพยนตร์ขนาดยาวเรื่องแรกของผู้กำกับ แซม เอสเมล อ่านต่อ»
  • The Theory of Everything - สตีเฟน ฮอว์คิง พูดว่าภาพยนตร์เรื่องนี้ค่อนข้างเป็นเรื่องจริง จึงอนุญาตให้ใช้เสียงของเขาในตอนจบ และให้ยืมเหรียญแห่งอิสรภาพ กับวิทยานิพนธ์ที่ลงชื่อ สตีเฟน ฮอว์คิง ไปใช้เป็นอุปกรณ์ประกอบฉากด้วย อ่านต่อ»

เปิดกรุภาพยนตร์

Love At The Second Sight Love At The Second Sight เรื่องราวของ ราฟาเอล (ฟรองซัว ซีวีล) เป็นนักเขียนนิยายชื่อดัง ยิ่งประสบความสำเร็จมากเท่าไหร่ เขาก็เริ่มกลายเป็นคนหลงตัว...อ่านต่อ»