เกร็ดน่ารู้จาก ต้มยำกุ้ง
เกร็ดน่ารู้
- ทุ่ม-ทับ-จับ-หัก เป็นหัวใจสำคัญของ ท่ามวยช้างทำลายโรง ที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษซึ่งเป็นทหารจตุลังคบาท คอยปกปักรักษาคุ้มกันเท้าของช้างศึกของกษัตริย์ทั้ง 4 ข้างไม่ให้ศัตรูเข้ามาทำร้ายได้ โดยมีความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษในศิลปะการต่อสู้แบบรุนแรง ดุดัน และหนักหน่วงตามแบบฉบับแม่ไม้มวยไทยโบราณ
- ท่ามวยช้างทำลายโรง เป็นแม่ไม้มวยไทยที่ประยุกต์มาจากพฤติกรรมและอิริยาบถของช้างในท่วงท่าต่างๆ ความโดดเด่นของท่ามวยนี้จะอยู่ที่การทุ่ม ทับ จับ หัก ที่เป็นการเข้าทำอันตรายคู่ต่อสู้ในลักษณะประชิดตัวโดยใช้ประโยชน์ของนวอาวุธ หรืออวัยวะต่างๆ ของร่างกาย อาทิ หมัด ท่อนแขน เข่า หน้าแข้ง ขา เท้า เข้าทำอันตรายคู่ต่อสู้โดยใช้แรงเหวี่ยงและการเคลื่อนไหวของร่างกายเป็นส่วนสำคัญ และอาศัยน้ำหนักของร่างกายในส่วนต่างๆ เสริมสร้างอานุภาพในทำร้ายคู่ต่อสู้ รวมถึงการใช้ไหวพริบและความคล่องตัวในการหลบหลีก หลอกล่อ และหาจังหวะเข้าช่วงชิงและทำลายจุดอ่อนของคู่ต่อสู้ไปในขณะเดียวกันด้วย
- ต้มยำกุ้ง เป็นการกลับมาทำงานกันครั้งที่ 3 ของ 5 ทหารเสือ สมศักดิ์ เตชะรัตนประเสริฐ, ปรัชญา ปิ่นแก้ว, พนม ยีรัมย์ (โทนี่ จา), หม่ำ จ๊กมก และ พันนา ฤทธิไกร หลังจาก องค์บาก และ บอดี้การ์ดหน้าเหลี่ยม
- ด้วยตัวเลขกว่า 300 ล้านบาท ทำให้ ต้มยำกุ้ง กลายเป็นหนังไทยทุนสร้างสูงเรื่องที่ 2 รองจาก สุริโยไท
- เกือบ 2 ปี คือเวลาที่ถูกใช้ไปในการสร้างภาพยนตร์เรื่องยิ่งใหญ่นี้ และกว่า 600 ม้วนฟิล์ม ที่ถูกใช้เพื่อบันทึกภาพบอกเล่าเรื่องราวอันอลังการงานสร้างนี้
- กว่า 80 เปอร์เซนต์ของโลเกชั่นหลักในเรื่องนี้คือ เมืองซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย ด้วยงบประมาณการถ่ายทำในส่วนนี้กว่าร้อยล้านบาท
- การถ่ายทำที่ซิดนีย์ ต้องทำงานภายใต้กฎหมายของซิดนีย์ ต้องมีทีมงานของซิดนีย์มาทำงานประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ การทำงานมีความแม่นยำมาก มีมาตรฐานสูงขึ้น ถ่ายทำเสร็จเร็ว แต่จะเสียเวลาบนโต๊ะและห้องประชุมมากกว่า
- เป็นความตั้งใจของทีมงานที่ต้องการถ่ายทำ โอเปร่าเฮ้าส์ และ ฮาร์เบอร์บริดจ์ ที่อยู่ติดกัน ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของออสเตรเลีย นอกจากนี้ ยังมี ดาร์ลิงฮาร์เบอร์ ด้วย
- เป็นครั้งแรกบนแผ่นฟิล์มที่จะถูกบันทึกลงในประวัติศาสตร์ภาพยนตร์โลก กับฉากช้างไทยเดินบนสะพานฮาร์เบอร์บริดจ์
- จา - พนม ยีรัมย์ ตอกย้ำความเป็นพระเอกภาพยนตร์แอ็กชั่นอันดับ 1 ด้วยฉากการต่อสู้อย่างต่อเนื่อง One Long Take ด้วยความยาว 4 นาทีเต็มโดยไม่มีการตัดต่อ ในฉากการต่อสู้กับเหล่าร้ายจากชั้น 1 ยันชั้น 4 ของร้านต้มยำกุ้ง
- เรือหางยาวพุ่งชนเฮลิคอปเตอร์ อีกหนึ่งฉากที่ถูกออกแบบเป็นพิเศษของ ต้มยำกุ้ง โดย พันนา ฤทธิไกร ยิ่งใหญ่กว่าฉากตุ๊กตุ๊กไล่ล่าใน องค์บาก
- ทีมงานลงทุนปิดเมืองสุรินทร์ และบุรีรัมย์ เพื่อเนรมิตฉากงานสงกรานต์ ซึ่งถือเป็นประเพณีหนึ่งที่ชาวต่างชาติให้ความสนใจ ด้วยจำนวนตัวประกอบเกือบพันคน ที่อลหม่านไปกับการไล่ล่าของช้าง
- อีกหนึ่งฉากใหญ่ที่ทีมงานทุ่มทุนสร้างและทุ่มเทใจนำเสนอ คือ ฉากวัดไทยในซิดนีย์ ที่ จา พนม จะต้องต่อกรกับคู่ปรับหลักๆ อย่าง ลาทีฟ, จอน ฟู, นาธาน โจนส์ และลูกสมุนอื่นๆ
- จับตาดูการคิวบู๊และฉากการต่อสู้ระหว่าง แม่ไม้มวยไทย ของ จา พนม กับ K1 ของ นาธาน โจนส์ นักมวยปล้ำ WWA และ UPW ชาวออสเตรเลียเจ้าของฉายา เม็กกะแมน
- จอห์นนี่ เหงียน ลูกครึ่งอเมริกัน-เวียดนาม นักกีฬาวูซูทีมชาติ 2 สมัย เชี่ยวชาญความสามารถทางศิลปะป้องกันตัวทุกรูปแบบ อาทิ ไอคิโด กังฟู ไต้ชิ ดาบ และหอก ฯลฯ รับบทผู้ดูแลร้านต้มยำกุ้ง คู่ปรับคนสำคัญของ จา พนม
- ครั้งแรกที่คนไทยจะได้ฟังเสียงซาวน์แทร็กภาษาอังกฤษอย่างเต็มพิกัด พร้อมคำบรรยายไทยของ หม่ำ จ๊กมก ในบท จ่ามาร์ค ตำรวจไทยในออสเตรเลีย อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนด้วยรอยยิ้มและเสียงหัวเราะ
- ริค ตำรวจหนุ่มคู่หูของหม่ำ รับบทโดย เดวิท อัศวนนท์ วีเจหนุ่มหลานชายของ อมรา อัศวนนท์ นักแสดงหญิงแถวหน้าของไทย
- ต้มยำกุ้ง เป็นภาพยนตร์ไทยเรื่องแรกที่ได้รับเสียงตอบรับจากชาวต่างชาติ และขายได้ในตลาดโลก ตั้งแต่ยังไม่เปิดกล้อง
- เปิดตัววันแรก (วันพฤหัส) สูงสุด 19.7 ล้านบาท ทำลายสถิติของ The Matrix: Reloaded ที่เปิดตัววันแรกด้วยรายได้ 14.2 ล้านบาท
- ทำรายได้ในวันศุกร์สูงสุด 31.4 ล้านบาท ทำลายสถิติ 21.2 ล้านบาทของ Lord of the Rings: The Return of the King
- ทำรายได้ในวันเดียวสูงสุด 31.4 ล้านบาท ทำลายสถิติเดิม 26.4 ล้านบาทของ Harry Potter and the Prisoner of Azkaban
- ทำรายได้เปิดตัว 4 วันแรกสูงสุด 98.6 ล้านบาท โค่นสถิติ 81.1 ล้านบาทของ Spider-man 2
advertisement
วันนี้ในอดีต
เปิงมาง กลองผีหนังมนุษย์เข้าฉายปี 2007 แสดง เขตต์ ฐานทัพ, วรนุช วงษ์สวรรค์, สุคนธวา เกิดนิมิต
ขอให้รักจงเจริญเข้าฉายปี 2007 แสดง อนันดา เอเวอริงแฮม, ฉายนันทน์ มโนมัยสันติภาพ, พุทธชาด พงษ์สุชาติ
ความรัก ความสุข ความทรงจำเข้าฉายปี 2012 แสดง เพ็ญพักตร์ ศิริกุล, เรืองศักดิ์ ลอยชูศักดิ์, ศิรพันธ์ วัฒนจินดา
เกร็ดภาพยนตร์
- The Age of Adaline - แองเจลา แลนส์บูรี คือนักแสดงที่ถูกวางตัวให้รับบท เฟลมมิง เมื่อปี 2010 แต่ท้ายสุดแล้ว เอลเลน เบอร์สตีน คือผู้ที่ได้แสดงบทนี้ อ่านต่อ»
- Skin Trade - ดอล์ฟ ลันด์เกรน ผู้รับบท นิก เขียนบทเรื่องนี้ในปี 2006-2007 โดยตั้งใจว่าจะกำกับเอง แต่ภายหลังตัดสินใจมอบหน้าที่กำกับให้แก่ เอกชัย เอื้อครองธรรม โดย ดอล์ฟ จะได้ทำหน้าที่ควบคุมงานสร้างได้อย่างเต็มที่ อ่านต่อ»
เปิดกรุภาพยนตร์
Shubh Mangal Zyada
เส้นทางไปสู่ปลายทางที่เต็มไปด้วยความสุขนั้นดูจะไม่ใช่อะไรที่จะไปได้ง่ายๆ สำหรับ คารติก (อยุชมันน์ คูรันนา) และ อามาน (จิ...อ่านต่อ»