พื้นที่ปลอดภัย: การมีเส้นขอบเขตที่จะปฏิเสธคน เมื่อเราไม่พร้อมที่จะช่วยเหลือใคร
บ่อยครั้งที่บริบทสังคมบอกว่าการปฏิเสธคนและเลือกตัวเองก่อน เป็นเรื่องที่เห็นแก่ตัวและทำให้เรารู้สึกผิด แต่บางครั้งนั่นคือเส้นขอบเขตที่ดีต่อสุขภาพจิตและเป็นสิ่งสำคัญมากๆ ที่คนไม่ค่อยพูดถึง
เราไม่สามารถช่วยคนอื่นได้ ถ้าเราไม่เลือกที่จะช่วยตัวเองก่อน :)
“แล้วพี่เขื่อนรับฟังคนเยอะๆ เเล้วไม่กระทบพี่เขื่อนหรือคะ ? คำตอบที่เขื่อนมักจะตอบเสมอคือ แบ่งเป็น 2 ข้อครับ
1. เขื่อนไม่กลัวการที่จะปฏิเสธคนในวันที่สุขภาพใจจิตและร่างกายไม่พร้อมที่จะซัพพอร์ตใคร เราเลือกที่จะดูแลตัวเองก่อน เพราะถ้าเราช่วยตัวเองยังไม่ได้ เราก็ไม่สามารถช่วยคนอื่นได้ เผลอๆ อาจจะไปสร้างบาดแผลให้เค้าเพิ่มจากความล้าของเราเอง เพราะเราพยายามไปช่วยเค้าในวันที่เกินความสามารถของเรา หลายๆครั้งประโยคหรือเส้นขอบเขตที่เขื่อนจะพูดก็คือ “เขื่อนรักและแคร์ ______มากนะ แต่วันนี้เขื่อนไม่พร้อมฟังจริงๆ ต้องขออภัยด้วย ลองติดต่อคนอื่นดูมั้ย” หรือ “วันนี้เขื่อนอยากฟังและซัพพอร์ต____มากๆนะ แต่ไม่อยากฟังและตอบเพื่อให้มันจบๆ เพราะมันไม่แฟร์ทั้งกับเขื่อน และ______ ไว้พร้อมเมื่อไหร่จะติดต่อไปนะ” นี่คือเส้นขอบเขตที่เราสร้างขึ้นมาเพื่อเซฟใจและกายของตัวเองไว้สำหรับช่วยคนอื่นเมื่อพร้อมอย่างเต็มที่ โดยที่ไม่ได้ทำไปเพราะรู้สึกผิด และเราจะไม่ burn out
2. การรับฟังใครมากๆ หลายๆ ครั้งเราไม่ได้เอาเรื่องของเค้ามาคิดต่อ แต่มันก็มาสะกิดเรื่องในใจของเรา และความรู้สึกนี้ก็จะตกค้างอยู่ในจิตใจของเราบ่อยครั้งและค่อนข้างนาน สิ่งสำคัญที่สุดของผู้รับฟังหรือคนที่อยากช่วยคนอื่นคืออยู่ต้องรู้ลิมิตตัวเองและต้องมีคนที่เป็นพื้นที่ปลอดภัยหรือคนที่จะคอยซัพพอร์ตจิตใจเรา มันยากมากที่จะช่วยใคร ถ้าเราไม่รู้ว่าสุดท้ายแล้วใครคือ support system ของเรา
เพราะถ้าเรายังช่วยตัวเองไม่ไ ด้เราก็ไม่สามารถช่วยคนอื่นไว้ได้เช่นกัน :)