💁🏻‍♀️สตรีตั้งครรภ์อายุ 35 ปีขึ้นไป = “สตรีอายุมาก” (Advanced maternal age) ในทางการแพทย์ เพราะ
- มีความเสี่ยงทางการแพทย์สูงขึ้น ทั้งต่อตนเองและทารกในครรภ์
- มีความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อน ทุพพลภาพหรือเสียชีวิตในระหว่างการตั้งครรภ์และการคลอดมากกว่าสตรีอายุน้อย

ผลต่อการตั้งครรภ์
- ภาวะมีบุตรยาก (infertility)
- การแท้งบุตร (Miscarriage)
- การตั้งครรภ์นอกมดลูก (Ectopic pregnancy)

ผลต่อทารกในครรภ์
– ความผิดปกติของจำนวนโครโมโซม (Chromosome abnormality)
– ความผิดปกติของยีน (Gene abnormalities)
– ความผิดปกติแต่กำเนิด (Congenital anomalies)

ผลต่อมารดาในการตั้งครรภ์
– ภาวะทุพพลภาพของมารดาและภาวะแทรกซ้อนทางสูติกรรม (Maternal morbidity & pregnancy-related complication) เช่น ภาวะความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน
– ความผิดปกติของรก (Placental problems)

ดังนั้น สตรีในกลุ่มควรได้รับการดูแลเป็นพิเศษในระยะต่างๆ และมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลรักษาอย่างเหมาะสม ก็จะสามารถทำให้การตั้งครรภ์ครั้งนั้นลุล่วงไปอย่างปลอดภัยได้คับบ อิอิ

(cr: https://w1.med.cmu.ac.th/obgyn/lecturestopics/topic-review/5792/)

ใครอ่านจนจบบ้าง5555🙌🏻 และถ้าอยากให้มาแชร์เพิ่มเติมเรื่องอะไร บอกน้าาาา😘

โพสต์เมื่อ
6 พ.ค. 67 - 16:48:11
ถูกใจ
41,848 คน
ความคิดเห็น
82 ข้อความ