1. สยามโซน
  2. ภาพยนตร์
  3. ข่าววงการภาพยนตร์

ถ่ายทอดมุมมองความขัดแย้งอย่างสันติใน ฟ้าต่ำแผ่นดินสูง

ถ่ายทอดมุมมองความขัดแย้งอย่างสันติใน ฟ้าต่ำแผ่นดินสูง

"เบิ้ล - นนทวัฒน์ นำเบญจพล" ผู้กำกับที่เคยได้รับรางวัลประกาศนียบัตรชมเชยประเภทสารคดีจากเทศกาลภาพยนตร์สั้น ครั้งที่ 13 ประจำปี 2552 ของมูลนิธิหนังไทย จากผลงานสารคดีเรื่อง "อาณาจักรแห่งใจ" ได้ส่งภาพยนตร์เรื่องล่าสุดในแนวสารคดี "ฟ้าต่ำแผ่นดินสูง" ที่เกิดจากความสงสัยในความขัดแย้ง และอยากรู้ว่าคนที่เจอสถานการณ์จริงๆ มีมุมมองต่อเรื่องราวที่เกิดขึ้นอย่างไร เบิ้ล จึงออกเดินทางไปยังจังหวัดชายแดนเพื่อตอบสนองความใคร่รู้ให้เห็นกับตาตัวเอง

เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน ที่ผ่านมา ได้มีการจัดฉายภาพยนตร์ ฟ้าต่ำแผ่นดินสูง รอบสื่อมวลชน ที่โรงภาพยนตร์เอสพลานาด ซีนีเพล็กซ์ รัชดาภิเษก โดยมีวง "วินนิเกอร์ ซินโดรม" (Vinegar Syndrom) มาร้องเพลงประกอบภาพยนตร์ที่มีชื่อว่า "เคยเคย" ให้ฟังกันก่อนที่ เบิ้ล และ "หมู - สุภาพ หริมเทพาธิป" บรรณาธิการนิตยสารไบโอสโคป จะมาร่วมพูดคุยให้ข้อมูลเกี่ยวกับภาพยนตร์

เบิ้ล พูดถึงแรงบันดาลใจที่จะทำภาพยนตร์เรื่องนี้ว่า "ก็เป็นวัยรุ่นทั่วไปชอบทำหนัง ชอบถ่ายรูป ชอบทำสารคดีอยู่แล้ว จนวันนึงเนี่ยก็มีเหตุการณ์ไม่สงบในบ้านเมืองเราในกรุงเทพฯ แล้วก็รู้สึกว่ามันเป็นครั้งแรกที่เราได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ทางการเมืองโดยตรงกับชีวิตอ่ะนะ ออกไปไหนก็ไม่ได้ต้องอยู่ที่บ้าน มันเกิดอะไรขึ้นเริ่มเกิดความสงสัยจนถึงจุดพีกที่ว่าคนทะเลาะกันรุนแรงมาก ปกติก็รับข่าวสารจากคอมพิวเตอร์ จากสื่อในอินเตอร์เน็ต สื่อนึงก็บอกอีกอันหนึ่ง สื่อหนึ่งก็บอกอย่างอีกหนึ่ง คนหนึ่งก็เชื่ออีกอย่างหนึ่ง อีกคนก็เชื่ออีกอย่างหนึ่ง ก็เลยสงสัยว่ามันเกิดอะไรขึ้น จนเราได้ไปเจอทหารคนหนึ่ง เขาปลดประจำการออกมาแล้วเขาก็ถูกส่งไปภาคใต้ก่อน อยู่ได้ปีหนึ่งก็ถูกส่งไปรักษาการชุมนุมเสื้อแดง แล้วเขาก็ปลดประจำการมาก็คุยกับเขา ก็คือได้แรงบันดาลใจ เราก็อยากรู้ว่าคนที่เขาเจอสถานการณ์จริงๆ เขามีมุมมองต่อโลกยังไง เขากำลังจะกลับบ้านพอดีที่จังหวัดศรีสะเกษ ก็เลยขอตามไปดูชีวิตเขาเป็นยังไง แล้วบังเอิญช่วงที่เราไปถึงบ้านเขาเนี่ยมีเหตุการณ์ปะทะกันพอดี"

ผู้กำกับหนุ่มพูดถึงเหตุการณ์ที่ไปเจอระหว่างการถ่ายภาพยนตร์ว่า "ผมไปอยู่สักพักหนึ่งก็มีข่าวว่าเหมือนมีการระเบิดกันมาจากฝั่งนู่น ซึ่งบ้านพลทหารเกณฑ์ที่ผมไปอยู่ จะห่างจากจุดนั้นประมาณ 40 นาที แล้วพอเราได้ข่าวมาพวกเราก็ตามไปดู ซึ่งก็เสียวๆ อยู่ว่าจะยิงกันเมื่อไร แล้วเราก็จะได้เห็นชาวบ้านแถวนั้นเขาอยู่กันยังไง อพยพกันออกมายังไงบ้านที่เขาถูกกระสุนปืนเขาเป็นอย่างไร เขาคิดต่อเหตุการณ์นี้ยังไง คิดต่อคนกรุงเทพฯ ยังไงครับ"

หลังจากทำภาพยนตร์เสร็จเรียบร้อยแล้ว เบิ้ล มีโอกาสได้นำ ฟ้าต่ำแผ่นดินสูง ไปฉายที่เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเบอร์ลิน และเทศกาลภาพยนตร์สารคดีนานาชาติศาลายา ก่อนตัดสินใจนำภาพยนตร์เข้าฉายในโรงภาพยนตร์เพื่อให้มีผู้ได้ชมมากขึ้น แต่ถูกพิจารณาห้ามฉายในราชอาณาจักรจากคณะอนุกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ เนื่องจากมีเนื้อหาบางส่วนไม่เหมาะสม ภายหลังคณะกรรมการชุดใหญ่ของสำนักงานพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์แห่งชาติ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม แจ้งว่ามีความผิดพลาดทางขั้นตอนการพิจารณา และมีมติให้เผยแพร่ภาพยนตร์ในโรงภาพยนตร์ได้สำหรับผู้ชมที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป

เบิ้ล เล่าถึงเหตุการณ์นี้ให้ฟังว่า "ก็เริ่มมาจากผมทำเสร็จปุ๊บก็ได้ไปฉายที่เบอร์ลิน ตอนเดือนมีนาฯ กลับมาเดือนเมษาฯ ก็ได้รับเชิญไปฉายเทศกาลสารคดีของศาลายาที่คนไทยจัด พอฉายคนก็มาดูกันเยอะ นั่งพื้นกันล้นห้องประชุมที่หอศิลป์กทม. (หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร) ทุกคนก็มาบอกว่าชอบอยากจะให้คนไทยได้ดูกว้างมากขึ้น ก็เลยอยากจะเอาเข้าโรงฯ ให้ได้ดูกว้างขวางมากขึ้น เลยส่งเซ็นเซอร์ ก็ไม่ได้คิดว่าจะโดนแบน อุตส่าห์เลือก 18+ ไปแล้ว ตอนเราขอปรากฏว่าโดนแบนปุ๊บ เราก็โพสต์เข้าไปในเฟซบุ๊ก ภายใน 2 วันก็มีคนเข้ามาดูแล้วก็แชร์กันกระจัดกระจายมาก แล้วมันก็เกิดการวิพากษ์วิจารณ์กันเยอะมากจนออกข่าว แล้วอยู่ดีๆ ภายใน 2-3 วันก็มีโทรศัพท์เข้ามาว่าเปลี่ยนจากการแบนเป็นเรต 18+ แล้วข้อติดๆ ข้อแรกๆ ก็หายไปหมด เหลือข้อเดียวตอนต้นเรื่องที่ให้ดูดเสียงออกไป"

ผู้กำกับถึงกับโอดว่ากว่าจะนำภาพยนตร์เข้าฉายในโรงภาพยนตร์ที่ไทยได้เป็นเรื่องที่ลำบากมาก "เราฉายครั้งแรกที่เบอร์ลินที่โรงภาพยนตร์ ฉาย 5 รอบทุกอย่างก็เพอร์เฟกต์ พอกลับมาที่เมืองไทยเราก็ได้ไปฉายตามห้องประชุม ตามโรงเรียน ตามมหา'ลัย ซึ่งระบบภาพและเสียงมันก็ได้ไม่เท่าในโรงฯ ซึ่งก็ดูได้ไม่เท่าในโรงฯ ซึ่งการดูในโรงฯ ผมว่าคนก็ดูมากขึ้น แต่ว่ามันลำบากลำบนมากเลยครับ (หัวเราะ) ต้องผ่านอะไรมาเยอะกว่าจะเข้ามาอยู่ในโรงฯ ได้ครับ" ซึ่ง หมู เสริมว่า "ผมรู้สึกว่ามันไม่ควรจะเหนื่อยเกินไปกับหนังธรรมดาๆ เรื่องหนึ่ง หนังควรจะมีโอกาสได้ฉาย แล้วให้คนดูตัดสินใจเอาเอง" เมื่อถามถึงความคาดหวัง ผู้กำกับบอกว่าอยากให้คนที่มีความคิดเห็นต่างกันอยู่ร่วมกันได้ "จุดแรกเราอยากทำความเข้าใจกับคนว่ามันเกิดอะไรขึ้นกับเหตุการณ์ทางชายแดน แล้วก็โครงสร้างของสังคมไทยว่าเกิดอะไรขึ้นครับ แล้วก็ที่คนกรุงเทพฯ ไม่รู้ นี่คือจุดประสงค์แรก แล้วอีกอย่างนึงคืออยากให้คนอยู่ร่วมกันได้ในความเห็นที่ต่างกัน"

มุมมองความขัดแย้งจะถูกถ่ายทอดด้วยความคิดอย่างสันติได้อย่างไร ติดตามได้ในภาพยนตร์ ฟ้าต่ำแผ่นดินสูง พร้อมเข้าฉายแล้ววันที่ 27-30 มิถุนายน 2556 ที่โรงภาพยนตร์ เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ จังหวัดเชียงใหม่ วันที่ 4-10 กรกฎาคม 2556 ที่โรงภาพยนตร์ อีจีวี จังหวัดขอนแก่น วันที่ 11-17 กรกฎาคม 2556 ที่โรงภาพยนตร์ เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ จังหวัดอุดรธานี และตั้งแต่วันที่ 18 กรกฎาคม 2556 เป็นต้นไป ที่โรงภาพยนตร์เอสพลานาด ซีนีเพล็กซ์ รัชดาภิเษก

สงวนลิขสิทธิ์ © ห้ามคัดลอก ตัดต่อ
ดัดแปลงหรือเผยแพร่ในสื่อใดๆ ก่อนได้รับอนุญาต
กดเพื่อดูรูปใหญ่ ปัดซ้าย-ขวาเพื่อดูรูปถัดไป
  • รูปภาพ 1
  • รูปภาพ 2
  • รูปภาพ 3
  • รูปภาพ 4
  • รูปภาพ 5
  • รูปภาพ 6
  • รูปภาพ 7
  • รูปภาพ 8
  • รูปภาพ 9
  • รูปภาพ 10
  • รูปภาพ 11
  • รูปภาพ 12
  • รูปภาพ 13
  • รูปภาพ 14
  • รูปภาพ 15
  • รูปภาพ 16
  • รูปภาพ 17
  • รูปภาพ 18
  • รูปภาพ 19
  • รูปภาพ 20
  • รูปภาพ 21
  • รูปภาพ 22
  • รูปภาพ 23
  • รูปภาพ 24
  • รูปภาพ 25

ความคิดเห็น

ภาพยนตร์ที่เกี่ยวข้อง

วันนี้ในอดีต

เกร็ดภาพยนตร์

  • The Last Five Years - ใช้เวลา 21 วันในการถ่ายทำ และถ่ายทำฉากเพลง Goodbye Until Tomorrow ในวันสุดท้าย อ่านต่อ»
  • Mad Max: Fury Road - ฉากเทคนิคพิเศษประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ ไม่ได้ใช้คอมพิวเตอร์ช่วย แต่เป็นของจริงโดยใช้นักแสดงแทน ฉาก และการแต่งหน้าช่วย ส่วนที่ใช้คอมพิวเตอร์ก็ใช้เพียงลบเชือก ตกแต่งพื้นที่ทะเลทรายนามิบ และสร้างแขนปลอมข้างซ้ายของ ชาร์ลีซ เธอรอน ผู้รับบท ฟิวริโอซา เท่านั้น อ่านต่อ»
เกร็ดจากภาพยนตร์สามารถดูได้ในหน้าข้อมูลภาพยนตร์แต่ละเรื่อง

เปิดกรุภาพยนตร์

เรื่องราวเน้นที่การทุจริตในระบบการศึกษาของประเทศ แนวคิดของการใช้เงินเพื่อซื้ออนาคตไม่ว่าจะเป็นการศึกษา งาน และรายได้ แม...อ่านต่อ»