1. สยามโซน
  2. ภาพยนตร์
  3. ข่าววงการภาพยนตร์

จอห์น คาร์เพนเตอร์ โต้ภาพยนตร์สยองไม่ทำให้คนรุนแรง

จอห์น คาร์เพนเตอร์ โต้ภาพยนตร์สยองไม่ทำให้คนรุนแรง

"จอห์น คาร์เพนเตอร์" ผู้กำกับภาพยนตร์ชื่อดังเจ้าของผลงานแนวสยองขวัญที่ถูกยกให้เป็นอมตะเรื่องหนึ่งของฮอลลีวูดอย่าง "Halloween" ได้ออกปากแสดงความเห็นว่าภาพยนตร์สยองขวัญนั้นก็แค่เป็นสิ่งสะท้อนถึงวัฒนธรรมในสังคมที่เราอาศัย แต่ไม่อาจโทษมันได้ว่าเป็นต้นเหตุของการใช้ความรุนแรงในชีวิตจริง

การแสดงความเห็นครั้งนี้ก็เป็นผลสืบเนื่องมาจาก เมื่อฝ่ายเฝ้าระวังทางสื่อแห่งประเทศอเมริกา ได้เสนอไปที่สภาคองเกรสว่าควรจะมีการออกข้อบังคับเพื่อควบคุมเนื้อหาความรุนแรงผ่านสื่อโทรทัศน์ ซึ่งทำให้ จอห์น ได้ออกมาแสดงความเห็นว่าการที่รัฐบาลจะออกมาควบคุมเนื้อหาสื่อภาพยนตร์นั้นไม่มีความจำเป็นแต่อย่างใด

"ชีวิตจริงต่างหากล่ะที่เป็นสาเหตุ ไม่ได้เป็นเพราะเรื่องราวที่สร้างขึ้นพวกนั้น ซึ่งก็เป็นคำตอบว่าทำไมภาพยนตร์แนวนี้ถึงมีมากมาย นั่นก็เป็นเพราะพฤติกรรมในสังคมที่เราอยู่อาศัย เหตุการณ์ต่างๆ ที่ดำเนินไปในโลกใบนี้ของเรานั่นล่ะ ดังนั้นแล้วระบบการเซ็นเซอร์ภาพยนตร์ไม่ได้ผลหรอก คุณไม่สามารถทำลายสิ่งที่เป็นความคิดได้ ถึงคุณจะซ่อนมันเอาไว้ พยายามปิดบังแค่ไหน แต่ว่าสุดท้ายแล้วก็ทำให้มันหายไปไม่ได้ มันยังคงอยู่ตรงนั้น เพื่อที่จะผุดตัวขึ้นมาได้อีกครั้งหนึ่ง" จอห์นกล่าว

ส่วนอีกฟาก "ปีเตอร์ บล็อก" ผู้อำนวยการสร้างของภาพยนตร์สยองขวัญที่สร้างมาแล้ว 3 ภาคอย่าง "Saw" และ "จิม สเตเยอร์" ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารของ คอมมอน เซ้นส์ มีเดีย ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาสื่อและความบันเทิงสำหรับเด็ก ต่างก็เห็นด้วยกับข้อเสนอแนะต่อสภาคองเกรสดังกล่าว

ซึ่ง จิม ได้แสดงความเห็นของเขาว่า "ผมเชื่อว่าสื่อมีอิทธิพลกับพฤติกรรมของคนดู จากสถิติที่บอกว่าในปัจจุบันเด็กได้ใช้เวลาประมาณ 50 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ในการรับสารจากสื่อต่างๆ ซึ่งก็ทำให้พวกเขาสามารถเข้าถึงภาพแห่งจินตนาการได้ในทุกรูปแบบ พวกเรามีสังคมที่เต็มไปด้วยความรุนแรง"

ฝ่าย ปีเตอร์ ก็กล่าวถึงกรณีนี้ว่า "ผมกังวลมากหากลูกๆ ของผมเข้ามาในห้องตอนที่มีภาพข่าวซึ่งกำลังรายงานปาวๆ ในโทรทัศน์ให้พวกเขาได้เห็น เพราะเนื้อหาต่างๆ ที่รายงานใช่ว่าจะเป็นชีวิตอันแสนสุขของผู้คน แต่กลับเป็นภาพของสงครามหรือการฆาตกรรม และตัวผมเองก็ไม่สามารถปกป้องพวกเด็กๆ จากสิ่งเหล่านั้นได้ และพวกเขาเองก็รู้ดีด้วยว่าที่เห็นนั้นเป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นจริงๆ ในสังคมด้วย"

จากที่คณะกรรมการด้านการสื่อสารแห่งสหรัฐ (The Federal Communications Commission) หรือชื่อย่อว่า เอฟซีซี ได้นำเสนอรายงานที่มีการเปิดเผยว่าความรุนแรงที่แสดงออกในสื่อนั้น สามารถเพิ่มระดับพฤติกรรมก้าวร้าวในเด็กได้ โดยอย่างน้อยก็จะมีผลสั้นๆ ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง

ดังนั้น เอฟซีซี จึงเสนอแนวทางให้สภาคองเกรสได้พัฒนาในส่วนการควบคุมรายการทางโทรทัศน์ที่ออกแนวรุนแรงมากเกินไป หรืออย่างการใช้ภาษาที่ต้องการความเข้มงวดมากกว่านี้เช่นกัน เพราะถึงแม้ เอฟซีซี จะมีการจัดระเบียบเนื้อหาของสื่อลามก หยาบคาย ทางรายการวิทยุ โทรทัศน์ เครือข่ายเคเบิลและดาวเทียมต่างๆ ได้ แต่กลับยังไม่มีอำนาจมากพอสำหรับการควบคุมความรุนแรงผ่านเนื้อหาในทุกๆ สื่อได้อย่างเพียงพอ

ทั้งนี้ในประเทศอเมริกานั้น ฝ่ายสมาพันธ์ภาพยนตร์แห่งอเมริกา (The Motion Picture Association of America) หรือ เอ็มพีเอเอ เป็นองค์กรที่มีอำนาจในการจัดระดับเรตติ้งของภาพยนตร์ เพื่อจำกัดกลุ่มอายุผู้ชมที่เหมาะสมต่อภาพยนตร์ในแต่ละเรื่อง ซึ่งส่วนใหญ่แล้วผู้สร้างทุกรายต่างก็มอบภาพยนตร์ของตนเองให้กับทาง เอ็มพีเอเอ ได้กำหนดเรตติ้งเพื่อเป็นการง่ายต่อการจัดจำหน่ายและทำการตลาด

ความคิดเห็น

วันนี้ในอดีต

  • เด็กหอ
    เข้าฉายปี 2006
    แสดง จินตหรา สุขพัฒน์, ชาลี ไตรรัตน์, ศิรชัช เจียรถาวร
  • Constantine
    เข้าฉายปี 2005
    แสดง Keanu Reeves, Rachel Weisz, Shia LaBeouf
  • Million Dollar Baby
    เข้าฉายปี 2005
    แสดง Clint Eastwood, Hilary Swank, Morgan Freeman

เกร็ดภาพยนตร์

  • Kidnapping Freddy Heineken - ขวดเบียร์ไฮเนเก้นสีเขียวที่ใช้ในภาพยนตร์เรื่องนี้ไม่ถูกต้องกับความเป็นจริง เพราะในช่วงเวลานั้นขวดเบียร์ไฮเนเก้นที่ขายทั่วไปในเนเธอร์แลนด์บรรจุอยู่ในขวดสีน้ำตาล อ่านต่อ»
  • Southpaw - เดิมทีภาพยนตร์เรื่องนี้จะเป็นเรื่องราวภาคต่ออย่างไม่เป็นทางการของ 8 Mile (2002) โดยจะให้ เอมิเนม กลับมารับบทเดิม แต่ภายหลังก็มีการพัฒนาบทภาพยนตร์ไปเรื่อยๆ จนความตั้งใจดั้งเดิมล้มไป อ่านต่อ»
เกร็ดจากภาพยนตร์สามารถดูได้ในหน้าข้อมูลภาพยนตร์แต่ละเรื่อง

เปิดกรุภาพยนตร์

เมื่อโนบิตะ (เมงุมิ โอฮาระ) พบตุ๊กตาหมีตัวเก่าที่เขาเคยเล่นสมัยเด็กอยู่ในห้อง ทำให้เกิดนึกถึงคุณย่า (โนบุโกะ มิยาโมโตะ)...อ่านต่อ»