The Interpreter ฝ่ากฎเหล็กยูเอ็นได้สำเร็จเป็นเรื่องแรก
"The Interpreter" เรื่องแรกในประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ ที่ได้รับอนุญาตให้เข้าไปถ่ายทำภายในสำนักงานใหญ่ขององค์การสหประชาชาติหรือยูเอ็น ซึ่งเป็นสำนักงานระดับชาติอย่างเป็นทางการในนิวยอร์ก ที่ซึ่งสงคราม หายนะ และวิกฤตการณ์ของโลกถูกกล่าวอ้างถึง
ไม่มีใครจะเข้าใจเรื่องราวนี้ดีไปกว่าบรรดาล่ามที่ผ่านการฝึกฝนขั้นสูงขององค์การสหประชาชาติ ตามปกติแล้ว ผู้เป็นล่ามจะฟังและแปลคำพูดออกมา พวกเขาได้รับคำสั่งห้ามไม่ให้เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้อง แต่จะเกิดอะไรขึ้นถ้าล่ามคนหนึ่งเกิดไปได้ยินความลับที่ก่อความไม่สงบและคุกคามต่อโลก ถ้าเธอไม่สามารถเก็บไว้เป็นความลับได้ จะเกิดอะไรขึ้นถ้าเธอรู้ดีว่าถ้าเธอเปิดเผยแผนคุกคามนี้ ชีวิตของเธอเองจะต้องมีอันตรายจนถึงชีวิต
เหตุการณ์นี้คือจุดเริ่มต้นของภาพยนตร์ทริลเลอร์ที่กระตุ้นความคิดเรื่องใหม่ล่าสุดของ "ซิดนีย์ พอลแล็ก" จับคู่เรื่องราวที่ต้องแข่งขันกับเวลาของคนสองคน ที่ติดอยู่ตรงกลางของแผนสมคบคิดที่อยู่สูงเกินความควบคุม
ซิดนีย์ รู้สึกเสียดายเมื่อเขาได้รู้ว่ายังไม่มีภาพยนตร์เรื่องไหน ที่ได้เข้าไปถ่ายทำภายในสถานที่ทำการขององค์การสหประชาชาติ แม้แต่ อัลเฟร็ด ฮิตช์ค็อก ยังได้รับการปฏิเสธเมื่อเขาเรียกร้องขอถ่ายทำบางฉากของภาพยนตร์เรื่อง "North By Northwest" และต้องลงเอยด้วยการสร้างฉากห้องพักรับรองแขกอันมีชื่อเสียงโด่งดัง เพื่อถ่ายทำภาพยนตร์ของเขาเรื่องนี้แทน
"หนึ่งในเหตุผลที่ทำให้ผมสนใจอยากจะมากำกับภาพยนตร์เรื่อง The Interpreter ก็คือโอกาสที่จะได้เข้าไปถ่ายทำกันภายในองค์การสหประชาชาติ และผมก็เดาเอาไว้ตั้งแต่แรกแล้วว่าเราจะต้องได้รับสิทธิพิเศษนี้แน่"
ซิดนีย์ พอลแล็ก เล่าว่า "เรารู้ว่าไม่มีใครเคยได้รับอนุญาตให้นำกล้องภาพยนตร์เข้าไปในยูเอ็น ยังไม่เคยมีข้อยกเว้นใดๆ มาก่อน ในขณะที่กำหนดการเริ่มต้นถ่ายทำของใกล้เข้ามา เราจึงเตรียมการใช้แบบจำลองกับภาพที่สร้างจากคอมพิวเตอร์ แต่ผมรู้สึกหงุดหงิดที่จะต้องใช้วิธีการเหล่านั้น ผมรู้สึกว่าอย่างน้อยเราก็น่าจะลองพยายามให้มากกว่านี้ก่อน มีคนเพียงน้อยนิดที่เคยได้เห็นภายในขององค์การสหประชาชาติ หรือรู้ว่ามีอะไรเกิดขึ้นบ้างในนั้น"
กุญแจสำคัญที่ทำให้เกิดการพบปะกันครั้งนี้ คือ หัวหน้าฝ่ายเลขาธิการด้านการสื่อสารและประชาสัมพันธ์ของสหประชาชาติ "ชาชิ ธารอร์" ผู้ให้การสนับสนุนภาพยนตร์เรื่องนี้ ธารอร์รู้สึกว่าถึงเวลาแล้วที่จะยกเว้นกฎเกณฑ์เก่าๆ ในยุคสมัยใหม่บ้าง
"ในอดีต องค์การของเรามีนโยบายที่เคร่งครัด แต่ผมรู้สึกว่าการตัดสินใจบางอย่างไม่รอบคอบเท่าที่ควร เพราะยูเอ็นคือองค์การที่เราจำเป็นต้องลดความลึกลับลงเล็กน้อย เราคือองค์การของรัฐบาลหลายประเทศ แต่เราทำงานเพื่อคนทั้งโลก และผมว่าเป็นเรื่องสำคัญที่จะทำให้ยูเอ็นเป็นเรื่องที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ง่ายขึ้น" ชาชิ ธารอร์ อธิบายถึงการตัดสินใจของเขา
สุดท้าย นายโคฟี่ อานันเปิดไฟเขียวให้กับงานสร้างภาพยนตร์เรื่องนี้ หลังจากที่สภารักษาความปลอดภัยอันประกอบไปด้วยสมาชิก 15 คนยอมอนุญาต และซิดนีย์ พอลแล็คก็เป็นผู้กำกับคนแรกที่ได้รับอนุญาตให้ เข้าไปในห้องต่างๆ ที่มีการควบคุมอย่างแน่นหนา เช่น ที่ประชุมสมัชชา ซึ่งตามปกติเรามักจะเห็นตาม ข่าวโทรทัศน์ระหว่างเหตุการณ์สำคัญๆ ของโลกเท่านั้น
ร่วมลุ้นระทึกไปกับ The Interpreter การเชือดเฉือนบทบาทของสองนักแสดงดัง "นิโคล คิดแมน" และ "ฌอน เพนน์" 21 เมษายนนี้ ที่โรงภาพยนตร์