1. สยามโซน
  2. ภาพยนตร์
  3. ข่าววงการภาพยนตร์

สำรวจวงจรชีวิตสัตว์ร้าย เติบโตจาก ไข่ สู่การเป็น เอเลียน

สำรวจวงจรชีวิตสัตว์ร้าย เติบโตจาก ไข่ สู่การเป็น เอเลียน

ก่อนที่จะไปชม Alien Vs. Predator ภาพยนตร์ที่นำสองเผ่าพันธุ์มฤตยูจากต่างดาวมาปะทะกันในการต่อสู้ครั้งยิ่งใหญ่ ลองมารู้จักกับวงจรชีวิตของสัตว์ร้ายที่น่ากลัวอย่างที่สุดไม่ว่าในโลกเราหรือดาวเคราะห์อื่นๆ นั่นคือ เอเลียน

ขั้นที่หนึ่ง : ไข่ (Egg)

เกิดจากการวางไข่ของ ราชินี (Queen) จากส่วนที่เป็นถุงไข่ของมัน ไข่แต่ละใบมีรูปร่างรีและยืดหยุ่นได้ มีความสูงประมาณ 3 ฟุต และมีรอยแยกอยู่ตรงยอดด้านบนสุด ในไข่จะมีสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่า เฟชฮักเกอร์ (Facehugger) ภายในถุงไข่จะมีสารอาหารซึ่งใช้เลี้ยงสิ่งมีชีวิตในระหว่างช่วงที่ฟักตัว เมื่อไข่สัมผัสได้ว่ามีร่างของสิ่งมีชีวิตใดๆ เข้ามาอยู่ในระยะใกล้เคียง และเหมาะที่จะเป็นร่างที่ใช้อาศัย ฝาที่เปิดปิดได้ด้านบนจะเปิดออก ปล่อยให้สิ่งมีชีวิตด้านในดีดตัวออกมาเพื่อเกาะติดกับใบหน้าของร่างที่จะใช้อาศัย

ขั้นที่สอง: เฟซฮักเกอร์ (Facehugger)

เมื่อสัมผัสได้ถึงการเข้ามาใกล้ของร่างที่ใช้อาศัยซึ่งเหมาะสม เฟซฮักเกอร์ เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีผิวเป็นซิลิโคน รูปร่างเหมือนปลาหมึก มีเท้าซึ่งส่วนนิ้วแยกเป็น 8 แฉก ถุงลม 2 ข้าง และงวงที่ยาวเหมือนหาง มันใช้เพื่อเคลื่อนย้ายตัวเองไปสู่ใบหน้าของร่างที่จะเข้าอาศัย เมื่อยึดติดแล้ว เฟซฮักเกอร์จะสอดท่อหรืองวงลงไปสู่โพรงทรวงอกของร่างนั้น และตัดขาดการได้รับออกซิเจนจากภายนอกร่างกาย ทำให้ร่างดังกล่าวต้องอาศัยออกซิเจนจากตัวมัน และจะฝังตัวอ่อนที่เรียกว่า เชซเบิร์สเตอร์ ลงไปในตัวของเหยื่อ

เมื่อจบสิ้นกระบวนการแล้วตัวมันก็นับว่าไม่มีประโยชน์อีกต่อไป มันจะแยกตัวออกจากร่างที่ใช้อาศัยและตายไป ในทางกายภาพ เฟซฮักเกอร์ มีผิวด้านนอกที่เป็นสารซัคคาไรด์โปรตีนจำนวนมาก ซึ่งจะสลัดเซลล์ทิ้งอย่างต่อเนื่อง และแทนที่ด้วยขั้วซิลิโคน ซึ่งทำให้มีความทนทานเป็นอย่างมากต่อการบาดเจ็บและการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม นอกจากนี้มันยังมีกรดโมเลกุลเข้มข้นเป็นเลือด ทำให้มีโครงสร้างที่ใช้เป็นเครื่องป้องกันได้เป็นอย่างดี

ขั้นที่สาม: เชซเบิร์สเตอร์ (Chestburster)

ตัวอ่อนที่ถูกฝังไว้ในโพรงทรวงอกของร่างที่ใช้อาศัยโดย เฟซฮักเกอร์ เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมง จนมีขนาดที่ใหญ่และมีกำลังมากพอที่จะกัดทะลุทรวงอกของร่างที่ใช้อาศัยออกมาได้ และตัวที่รู้จักกันในชื่อของ เชซเบิร์สเตอร์ ก็จะเคลื่อนย้ายตัวมันเองออกมาจากร่างนั้น และหาที่ปลอดภัยเพื่อหลบซ่อนในขณะที่มันกำลังเติบโตขึ้นอีก ในขั้นตอนนี้ การเติบโตของร่างกายของมันจะไม่เหมือนสิ่งมีชีวิตอื่นๆ มันไม่ต้องการอาหารที่จะทำให้ตัวใหญ่ขึ้น แต่จะสร้างเซลล์ทดแทนขึ้นมา (เกือบจะเหมือนกับการลอกคราบของงู) และให้พลังแก่เครื่องกำเนิดไฟฟ้าภายในตัวเอง (ให้ลองนึกภาพสิ่งมีชีวิตที่วิวัฒน์จากแบตเตอรี่ โดยใช้กรดเป็นเลือด)

ขั้นที่สี่: เซโนมอร์ฟ (Xenomorph)

สิ่งมีชีวิตที่โตเต็มที่หลังจากที่ได้วิวัฒน์จาก เชซเบิร์สเตอร์ จะมีรูปร่างลักษณะเช่นเดียวกับร่างที่มันใช้เป็นที่อาศัย ดังนั้น หากร่างนั้นเดินสองขา เซโนมอร์ฟ ก็จะเดินสองขา หากร่างเดินสี่ขาหรือมากกว่า เอเลียนที่โตเต็มที่ก็จะเลียนแบบลักษณะเหล่านั้น หากเกิดจากร่างมนุษย์ จะมีความสูงราวแปดถึงเก้าฟุตเมื่อยืนเต็มที่ หัวของมันมีรูปร่างเหมือนโดม และมีโครงกระดูกด้านนอกที่แข็งแกร่ง ซึงประกอบด้วยขั้วซิลิโคน ที่แข็งแกร่งพอในการลำเลียงกรดโมเลกุลที่มันใช้เป็นเลือด ดังนั้นจึงสามารถทนกับการบาดเจ็บอย่างรุนแรงได้ดี (อาวุธที่แหลมคม ยุทโธปกรณ์นิวเคลียร์ และการยิงในระยะใกล้ เป็นที่รู้จักกันว่าจะสามารถทำพวกร้ายมันได้)

เนื่องจากระบบการทำงานภายในของมันไม่ได้ใช้ความดัน และเพราะมันไม่ได้หายใจในแบบทั่วๆ ไป มันทำงานเหมือนแบตเตอรี่มากกว่าการใช้ปอด จึงสามารถรอดชีวิตได้ในสูญญากาศ นอกจากนั้น โครงกระดูกที่อยู่ด้านนอกของมันยังทำให้ไม่สะดุ้งสะเทือนต่อความเย็น จึงแทบไม่ต้องบอกเลยว่า ทุกอย่างที่กล่าวมาทำให้มันเป็นสิ่งมีชีวิตที่เป็นอันตรายที่สุดเท่าที่เราจะพบได้ในอวกาศ

ขั้นพิเศษ: ราชินี (Queen)

ตัวอ่อนราวหนึ่งในหลายร้อยตัว เชซเบิร์สเตอร์ จะโตขึ้นเพื่อกลายเป็นราชินี ถึงแม้ว่าพวกมันจะเริ่มต้นชีวิตในแบบที่เหมือนกับเชซเบิร์สเตอร์ที่ได้บรรยายไว้ข้างต้น ราชินีจะเติบโตได้มากกว่ากาฝากอื่นๆ และเมื่อยืนเต็มที่จะมีความสูง 15 ถึง 30 ฟุต นอกจากโครงสร้างของกะโหลกที่ขยายใหญ่ขึ้น ซึ่งดูคล้ายกับไดโนเสาร์พันธุ์ เซราท็อปส์ ราชินียังมีลักษณะที่เป็นพิเศษอีกอย่างหนึ่ง ถุงไข่โปร่งแสงขนาดมหึมา ซึ่งใช้ในการวาง ไข่ จำนวนมาก แม้ว่าจะยังคงไม่มีใครรู้ว่าไข่ถูกผสมพันธุ์หรือไม่และอย่างไร ราชินีจะปกป้องทายาทของมันอย่างสุดชีวิต

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ความคิดเห็น

ภาพยนตร์ที่เกี่ยวข้อง

วันนี้ในอดีต

  • รักแห่งสยาม
    เข้าฉายปี 2007
    แสดง มาริโอ้ เมาเร่อ, วิชญ์วิสิฐ หิรัญวงษ์กุล, กัญญา รัตนเพชร์
  • Harry Potter and the Chamber of Secrets
    เข้าฉายปี 2002
    แสดง Daniel Radcliffe , Emma Watson , Rupert Grint
  • ตีสาม 3D
    เข้าฉายปี 2012
    แสดง กาญจน์เกล้า ด้วยเศียรเกล้า, โทนี่ รากแก่น, ชาคริต แย้มนาม

เกร็ดภาพยนตร์

  • Night at the Museum: Secret of the Tomb - เป็นผลงานการแสดงเรื่องสุดท้ายของ โรบิน วิลเลียมส์ นักแสดงบท ธีโอดอร์ รูสเวลต์ ส่วนใน Absolutely Anything (2015) โรบิน เพียงพากย์เสียงเท่านั้น อ่านต่อ»
  • The Tale of The Princess Kaguya - มีความยาว 137 นาที ซึ่งเป็นภาพยนตร์เรื่องที่ยาวที่สุดของสตูดิโอจิบลิ โดยยาวกว่า Princess Mononoke (1997) 3 นาที อ่านต่อ»
เกร็ดจากภาพยนตร์สามารถดูได้ในหน้าข้อมูลภาพยนตร์แต่ละเรื่อง

เปิดกรุภาพยนตร์

เมื่อวิศวกรระบบหนุ่มเริ่มเปิดระบบเทคโนโลยีสุดอันตราย เหล่านางฟ้าชาร์ลีก็ถูกเรียกตัวมาปฏิบัติการในสถานการณ์นี้เพื่อปกป้อ...อ่านต่อ»