วิจารณ์ แมรี่ อิส แฮปปี้, แมรี่ อิส แฮปปี้.

ไปที่หน้า
วิจารณ์ภาพยนตร์
  • เมื่อ 10 มิ.ย. 57 11:00

    ยินดีต้อนรัก?

    ชื่อของพี่เต๋อ นวพล ธำรงรัตนฤทธิ์ วนเวียนอยู่กับเครดิตหนังดัง GTH หลายเรื่อง กระทั่งมาถึงผลงานกำกับ ?มั่นใจคนไทยเกินล้านเกลียดเมธาวี? ที่ฉายในนามบันทึกกรรม ทางช่องสาม เมื่อหลายปีก่อน ผมเองได้ดูแล้วชอบมุมมองการนำเสนอที่แปลกและสดใหม่มากๆ จากนั้นก็มาถึงหนังยาวเรื่องแรก 36 สารภาพว่าผมไม่ได้ดู กระทั่งไม่รู้ว่าจะไปหาดูได้จากที่ไหน(แน่นอนว่าการอยู่ต่างจังหวัดเป็นเรื่องที่แทบจะเป็นไปไม่ได้เลย หากไม่มีการปล่อยลงโลกออนไลน์) แต่กิตติศัพท์ของหนังเรื่องนี้กลับเลื่องลือ

    เมื่อปลายปีก่อนก็เกิดกระแสขึ้นอีกเมื่อภาพยนตร์เรื่องยาวผลงานกำกับของพี่แกเข้าฉาย Mary is happy, Mary is happy กับการเป็นภาพยนตร์ที่แปลกทั้งเบื้องหน้าและเบื้องหลัง เบื้องหลังคือการทำงานที่บทภาพยนตร์ถูกนำมาจากข้อความบน twitter ของ user นาม แมรี่ มาโลนี่ จำนวนทั้งสิ้น 410 ทวีต ที่เหนือชั้นกว่านั้นคือการล้อมกรอบไม่มีการตัดทอนข้อความใดๆออก นั่นยังไม่พอ ตลอดการทำงานจนกระทั่งหนังออกฉายเจ้าของทวีตและผู้กำกับไม่เคยพบปะ พูดคุยกันเลย ฉะนั้นแล้ว ข้อความบนทวิต จึงถูกจินตนาการของผู้กำกับสร้างสรรค์ออกมาเป็นโลกที่ทุกคนจะไม่มีวันลืมอย่างแน่นอน เบื้องหน้า หนังเรื่องนี้เล่าเรื่องพร้อมๆกับการขึ้น ?ตัวอักษร? ที่ถูกทวิต จำนวน 410 ดังนั้นหนังความยาวสองชั่วโมงกว่าเรื่องนี้ จึงไม่ต่างอะไรจากการนั่งอ่านทวีตรวดเดียว เพียงแต่การดูหนังนั้นจะให้ภาพที่ชัดเจน(?) มากขึ้น

    ความพิเศษอีกส่วนคือ ข้อความเหล่านั้น มักเป็นข้อความในแบบที่เปิดกว้างทางความคิด ไม่ใช่คำคมโดนๆ แต่หากเป็นเหมือนชิ้นส่วนทางความคิดที่ผุดขึ้นมาในช่วงเวลาๆนั้น การตัดต่อที่ดูหุนหันพลันแล่น คล้ายจะไม่มีlineหลักให้จับต้อง ส่งผลให้ภาพในหนังดูแฟนตาซีแต่ไม่หลุดโลก ตั้งแต่เครื่องแต่งกายของนักแสดงที่ใส่ชุดพละตลอดเวลา(แต่เป็นชุดที่โคตรเจ๋งเลย) โรงเรียนที่ดูว่างเปล่า เงียบเหงาหากแต่ทับซ้อนด้วยเหลื่อมมุมของตัวอาคารไม่ต่างจากจิตใจของตัวละครที่ดูวกวนพอๆกัน การใส่ประเด็นทางการเมืองผ่านทางตัว ผ.อ. คนใหม่ของโรงเรียนซึ่งดูเหมือนไม่มีตัวตน(ก็ตลอดทั้งเรื่องเราไม่เคยเห็นตัวตนของแกปรากฏเลย) แต่ทุกคนสัมผัสได้ถึงการดำรงอยู่ของบุคคลนี้ ทั้งภารกิจที่ตัวครหลักของเรื่องต้องทำคือหนังสือรุ่นแสน minimal (less is more) จนตอนหลังันถูกแปรสภาพไม่ต่างจาก textbook หน้าตำคร่ำครึ คล้ายคัมภีร์ศาสนาที่ไม่น่าดึงดูดใจแม้แต่น้อย หรือด้านความรัก เอ็ม ชายหนุ่มประหลาดที่มักปรากฏตัวข้างร้านโตเกียวบนรางรถไฟ พร้อมทั้ง special guest ที่ทำให้ร้องกรี้ดออกมาเบาๆ หลายคนทั้งพี่ คุ่น หรือหลายคนรู้จักในนาม ปราบดา หยุ่น , ครูน้อย วงพรู รวมทั้ง พี่ไผ่ ฮอร์โมน แม้จะเป็นช่วงเวลาไม่ถึง 5 วินาทีก็ตาม ที่ต้องให้ความดีความชอบกระทั่งขึ้นไปยืนรับรางวัลเคียงคู่กับ ณเดชน์ บนเวทีสุวรรณหงส์ครั้งที่ 23 (2556) ที่ผ่านมาคือ พัชชา พูนพิริยะ ผู้รับบท แมรี่ ในเรื่อง และอีกหนึ่งคนที่ต้องกล่าวถึง ชนนิกานต์ เนตรจุ้ยกับบทซูริ เพื่อนสาวคนสนิท ทั้งคู่ไม่เพียงแต่สวมบทได้อย่างเป็นธรรมชาติแต่ด้วยเคมีที่ลงตัวมากๆของทั้งคู่ มันทำให้หนังดูมีมิติ ใกล้ชิดกับคนดูมากไปอีกด้วย กระนั้นใช่ว่าหนังจะไม่มีข้อเสีย ด้วยความที่หนังสร้างจากทวีตมันจึงเดินหน้าไปเรื่อยๆไม่มีจุดที่เป็นclimax จุดpeak หรือกระทั่งตอนต้น ตอนจบที่ชัดเจน มีความเป็นหนังทดลองสูง(แต่ผลลัพธ์น่าประทับใจยิ่ง) รวมถึงการที่หนังช่วงต้นกับท้าย มีความต่างกัน หลังจากการจากไปของหนึ่งตัวละคร ช่วงท้ายจึงเต็มไปด้วยความเปลี่ยวเหงาที่ตัวละครต้องเผชิญหน้าในโรงเรียนที่ไร้ชีวิต

    แต่กระนั้นก็เถอะ หนังเรื่องนี้มันโดนใจผมหลายๆอย่าง ไม่ว่าจะยังไง Mary ได้กลายเป็นหนังเป็นหนังปี 2013 ที่ผมชอบมากที่สุด และอยากให้หลายคนหามาชม

    แจ้งลบ
มีทั้งหมด 1 วิจารณ์
เขียนวิจารณ์
จะต้องลงชื่อเข้าใช้ระบบก่อน จึงจะเขียนวิจารณ์ได้
เป็นสมาชิกอยู่แล้ว ลงชื่อเข้าใช้ระบบ
ยังไม่ได้เป็นสมาชิก สมัครสมาชิกใหม่
หรือจะลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google+ หรือ Facebook ก็ได้
Facebook | Google+

advertisement

วันนี้ในอดีต

เกร็ดภาพยนตร์

  • Badlapur - เป็นภาพยนตร์ที่ไม่ใช่แนวตลกเรื่องแรกที่ วรุณ ธาวาน ผู้รับบท รักฮาฟ แสดง อ่านต่อ»
  • Chappie - ชาร์ลโต คอปลีย์ ผู้รับบท แชปปี้ กับผู้กำกับ นีลล์ บลอมแคมป์ เรียนโรงเรียนเดียวกันสมัยมัธยมศึกษา ทั้งคู่เป็นเพื่อนสนิทกัน ชาร์ลโต จึงร่วมแสดงในภาพยนตร์ทุกเรื่องที่ นีลล์ กำกับก่อนหน้านี้ ได้แก่ District 9 (2009) และ Elysium (2013) อ่านต่อ»

เปิดกรุภาพยนตร์

Dabangg 3 Dabangg 3 ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นส่วนที่เกิดขึ้นก่อนภาคที่แล้ว การเดินทางของ Chulbul Pandey จากหนุ่มน้อยชื่อ Dhaakad จนมาเป็นเจ้าหน...อ่านต่อ»