เกร็ดน่ารู้จาก Legion

เกร็ดน่ารู้
  • ผู้อำนวยการสร้าง เดวิด แลนคาสเตอร์ ถูกใจบทที่เขียนโดย สก็อตต์ สจวร์ต มือเขียนบทและผู้เชี่ยวชาญด้านวิชวลเอฟเฟกต์ จนตัดสินใจให้ สก็อตต์ รับหน้าที่กำกับด้วยเลย แม้ สก็อตต์ จะยังมือใหม่ด้านงานกำกับก็ตาม
  • สก็อตต์ สจวร์ต แก้ไขบทภาพยนตร์เรื่องนี้จากบทภาพยนตร์เดิมของ ปีเตอร์ ชิงก์ โดยพยายามเพิ่มรายละเอียดให้เรื่องราวมากขึ้น และให้ความสำคัญกับตัวละครมากขึ้น นอกจากนี้ยังเล่าเรื่องให้ผู้ชมคิดเองมากขึ้น ขณะที่บทภาพยนตร์เดิมบรรยายเหตุการณ์อย่างชัดเจนกว่า
  • ผู้กำกับและผู้เขียนบท สก็อตต์ สจวร์ต นำแนวคิดของนักจิตวิทยา ซิกมันด์ ฟรอยด์ มาสร้างความลึกลับให้เรื่องราว โดยนำสิ่งที่คุ้นเคยมาใส่ในบริบทที่ไม่สมเหตุสมผลเพื่อสร้างการรบกวนจิตใจ เช่น ใช้ภาพมังกรแทนความเพ้อฝัน และใช้ภาพพ่อที่ยืนถือขวานอยู่กลางห้องครัวแทนความน่ากลัว
  • การที่ผู้กำกับและผู้เขียนบท สก็อตต์ สจวร์ต เป็นศิลปินวิชวลเอฟเฟกต์มาก่อน เขาจึงเขียนสตอรีบอร์ดสำหรับแทบทุกช็อตในภาพยนตร์ด้วยจินตนาการอย่างเต็มที่ โดยไม่กลัวความท้าทายด้านเทคนิค แต่ในขณะเดียวกัน การที่เขามาจากแวดวงนั้นทำให้เขาเคลือบแคลงกับการใช้ดิจิตอลเอฟเฟกต์มากเกินไป บวกกับข้อจำกัดด้านเงินทุน เขาจึงพยายามถ่ายทำของจริงให้มากที่สุดก่อนที่จะใช้เอฟเฟกต์ตกแต่งเพิ่มเติม ไม่ว่าจะเป็นฉากกองทัพเทวทูต คนที่ถูกสาป และฉากโรคระบาด
  • ผู้กำกับและผู้เขียนบท สก็อตต์ สจวร์ต อธิบายว่า แม้จะใช้แนวคิดแบบจูเดโอ-คริสเตียนในการเล่าเรื่อง แต่จริงๆ แล้วภาพยนตร์เรื่องนี้ไม่ได้เกี่ยวข้องกับศาสนาใดศาสนาหนึ่ง แต่เกี่ยวข้องกับความศรัทธา ดังนั้นไม่ว่าผู้ชมจะเติบโตมาในครอบครัวที่เคร่งศาสนาหรือไม่ หรือไม่ว่าผู้ชมจะมีความเชื่อในสิ่งไหน ก็จะสามารถเข้าใจภาพยนตร์เรื่องนี้ได้
  • ลูคัส แบล็ก ผู้รับบท จีป รู้สึกคุ้นเคยดีกับเรื่องราวจากคัมภีร์ไบเบิลที่สอดแทรกอยู่ในภาพยนตร์ เพราะ ลูคัส เป็นแบ็บติสต์ชาวใต้ในอลาบามา ประเทศสหรัฐอเมริกา
  • ผู้สร้างค้นหาสถานที่สำหรับถ่ายทำฉากจุดแวะพักสำหรับรถบรรทุกในทะเลทรายโมฮาวี แต่สุดท้าย พวกเขาก็ตัดสินใจสร้างมันขึ้นมาเองในนิวเม็กซิโก ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยพวกเขาสร้างให้มันดูเหมือนมีอายุมามากว่า 50 ปีแล้ว ทำให้มีคนที่เข้าใจผิดต้องการจะเข้ามาเติมน้ำมันจริงๆ
  • ทีมงานก่อสร้างสร้างฉากต่างๆ เสร็จสิ้นภายในเวลาไม่ถึง 1 เดือน แม้จะต้องเจอกับหิมะ ลมแรง 50 ไมล์ต่อชั่วโมง และฝนที่เทลงมาก็ตาม
  • ผู้ออกแบบเครื่องแต่งกาย เวนดี พาร์ทริดจ์ ต้องสร้างเสื้อผ้าที่เหมือนๆ กันออกมาหลายชุด โดยให้มันดูซีดจาง ฉีกขาด หรือเปรอะเปื้อนหลายๆ ระดับ เพื่อใช้สะท้อนความตึงเครียดทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจของตัวละคร
  • ในฉากเหนือจริงที่หญิงชราตัวเล็กๆ วิ่งข้ามร้านอาหารมาแล้วปีนผนังขึ้นไปบนเพดาน ผู้สร้างผสมผสานระหว่างฉากภาพใกล้ที่ถ่ายทำนักแสดงจริงๆ ที่กำลังกลับหัว และฉากภาพกว้างที่ถ่ายทำนักแสดงแทนที่ถูกผูกติดไว้กับบังเหียนบนเพดาน และผสมกับภาพคอมพิวเตอร์สำหรับการแสดงท่าปีนขึ้นไปบนผนังอย่างรวดเร็ว
  • ผู้สร้างยกเลิกแผนการที่จะให้นักแสดงติดปีกจริงๆ เมื่อเห็นว่าการใช้คอมพิวเตอร์จะทำให้ได้ภาพที่น่าเชื่อถือกว่า อีกทั้งยังสะดวกสบายกว่า นอกจากนี้ การใช้คอมพิวเตอร์ยังทำให้ผู้กำกับ สก็อตต์ สจวร์ต สามารถปรับเปลี่ยนแนวคิดได้อีกด้วย โดย สก็อตต์ ออกแบบให้ปีกนี้ดูเหมือนขนนก แต่แข็งแกร่งพอที่จะสะท้อนลูกกระสุน ส่วนปลายปีกก็แหลมจนสามารถใช้เป็นอาวุธได้
  • ผู้กำกับกองถ่ายย่อยที่ 2 และผู้ประสานงานฉากผาดโผน จอห์น เมดเลน ดูแลฉากการต่อสู้ครั้งสุดท้ายระหว่าง มิคาเอล ที่รับบทโดย พอล เบตตานี และ เกเบรียล ที่รับบทโดย เควิน ดูรันด์ โดยใช้ระบบริกกิงที่ละเอียดอ่อน มีการใช้อาวุธดาบและกระบอง และมีลักษณะการต่อสู้ที่คนในกองถ่ายรู้จักกันในชื่อของ แองเจิล ฟู ซึ่งดูคล้ายกายกรรม มีการฉุดกระชากลากถูแบบการต่อสู้ตัวต่อตัว นอกจากนี้ยังฝืนจากกฎฟิสิกส์อีกด้วย
  • พอล เบตตานี ผู้รับบท มิคาเอล และ เควิน ดูรันด์ ผู้รับบท เกเบรียล ต่างก็เคยเต้นและศึกษาศิลปะการต่อสู้ตอนที่ยังอายุน้อย พวกเขาจึงแสดงฉากต่อสู้ด้วยกันด้วยตัวเอง ซึ่งเป็นฉากที่ทั้งคู่ต้องใช้สลิงด้วย
  • ทีมงานใช้เวลาหลายชั่วโมงในแต่ละวันในการแต่งแต้มรอยสักบนร่างกายของ พอล เบตตานี ผู้รับบท มิคาเอล หัวหน้าช่างแต่งหน้าพิเศษ เกลนน์ เฮทริก อธิบายว่า เวลาที่ใช้จะขึ้นอยู่กับสิ่งที่ พอล สวมใส่ในแต่ละฉาก เช่น ถ้าเขาสวมเสื้อยืด จะต้องใช้ชิ้นส่วนประมาณ 15 ชิ้นแปะลงไปบนร่างกายของเขา แต่ถ้าเป็นรอยสักเต็มตัว จะต้องใช้ชิ้นส่วนประมาณ 40-50 ชิ้น
  • ผู้สร้างนำรอยสักบนร่างกายของตัวละคร มิคาเอล ที่ออกแบบโดยนักสัก ริก สแตรตตัน ไปติดบนแบบกระดาษของร่างกายของ พอล เบตตานี ผู้รับบท มิคาเอล แล้วนำไปผ่านกระบวนการดิจิตอล เพื่อสร้างแบบที่เหมือนๆ กันออกมา ลวดลายดังกล่าวมีความเป็นเรขาคณิตสูง และดูเหมือนแผงวงจรไฟฟ้าหรือวงกลมเก็บเกี่ยว พวกมันมีที่มาจากข้อความเอโนเคียน ซึ่งเป็นงานเขียนของนักโหราศาสตร์ศตวรรษที่ 16 จอห์น ดีน เอ็ดเวิร์ด เคลลี ที่อ้างว่าได้ติดต่อกับพลังงานแง่ลบและแง่บวกที่เขารู้ว่าคือเทวทูต นอกจากนี้ผู้สร้างยังนำลวดลายดังกล่าวไปใส่ในอาวุธ เกราะ และในปีกของเทวทูตด้วย

advertisement

วันนี้ในอดีต

เกร็ดภาพยนตร์

  • Child 44 - เป็นภาพยนตร์เรื่องที่ 4 ที่ ทอม ฮาร์ดี ผู้รับบท เลโอ และ แกรี โอลด์แมน นักแสดงบท มิกเฮล ปรากฏตัวในภาพยนตร์เรื่องเดียวกัน เรื่องก่อนหน้านี้คือ Tinker Tailor Soldier Spy (2011) Lawless (2012) และ The Dark Knight Rises (2013) อ่านต่อ»
  • Big Game - ผู้กำกับ ยาลมารี เฮแลนเดอร์ มองว่าสถานที่จริงที่ตอนเหนือของประเทศฟินแลนด์ ไม่เหมือนภาพที่เขานึกไว้ในหัว จึงถ่ายทำที่เทือกเขาแอลป์แทน อ่านต่อ»

เปิดกรุภาพยนตร์

The Closet The Closet เรื่องราวของ ซังวอน (ฮาจองอู) ชายผู้สูญเสียภรรยาจากอุบัติเหตุอันน่าสลด เขาตัดสินใจพา อีนา (ฮอยูล) ลูกสาวย้ายเข้าบ้านหลั...อ่านต่อ»