เกร็ดน่ารู้จาก Pope Joan
เกร็ดน่ารู้
- สร้างจากหนังสือนิยาย Pope Joan เขียนโดย ดอนนา วูลฟอล์ก ครอสส์ ตีพิมพ์เมื่อปี 1996 และขายได้มากกว่า 5 ล้านเล่มทั้งรูปแบบหนังสือธรรมดาและหนังสือเสียง นอกจากนี้ยังสามารถครองอันดับ 1 หนังสือขายดีประจำปีในประเทศเยอรมนีถึง 3 ปีซ้อน
- เมื่อผู้อำนวยการสร้าง โอลิเวอร์ บาร์เบน ได้อ่านหนังสือ Pope Joan เขาอยากดัดแปลงมันให้เป็นภาพยนตร์ในทันที แต่ก็ต้องใช้เวลาถึง 8 ปีนับจากวันนั้น กว่าจะได้สร้างภาพยนตร์เรื่องนี้ออกมา โดยเขาได้ลิขสิทธิ์มาในปี 2005
- ก่อนจะมาอำนวยการสร้างภาพยนตร์เรื่องนี้ มาร์ทิน มอสซ์โควิกซ์ เคยอำนวยการสร้างภาพยนตร์ที่ดัดแปลงมาจากหนังสือมาแล้วหลายเรื่อง เช่น The Name of the Rose (1986) The House of the Spirits (1993) และ Perfume: The Story of a Murderer (2006)
- ผู้อำนวยการสร้าง มาร์ทิน มอสซ์โควิกซ์ เดินทางไปพบ ดอนนา วูลฟอล์ก ครอสส์ ผู้เขียนหนังสือ Pope Joan ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อขอคำแนะนำเกี่ยวกับการสร้างภาพยนตร์ และแม้ในข้อสัญญาที่ทำร่วมกันจะไม่ได้ระบุว่า ดอนนา ต้องมาทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษา แต่ ดอนนา กล่าวว่าเธอเต็มใจทั้งยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือหรือปล่อยให้ทุกคนทำงานกันเอง ตามแต่ผู้สร้างภาพยนตร์ต้องการ
- ผู้กำกับ ซุนเคอ วอร์ตมานน์ และ ไฮน์ริช แฮดดิง ช่วยกันดัดแปลงบทภาพยนตร์เรื่องนี้โดยใช้หนังสือนิยาย Pope Joan เป็นรากฐาน ประกอบกับข้อมูลที่ได้จากการศึกษาประวัติศาสตร์ยุคกลางอย่างจริงจัง ถึงแม้จะไม่มีข้อมูลบันทึกอยู่มากนัก
- มีนักแสดงดาวรุ่งหลายคนรวมถึงนักแสดงจากฮอลลีวูดได้รับการพิจารณาให้มารับบท โยฮันนา หรือ พระสันตะปาปาโยฮันเนส อังกลิคัสที่ 8 แล้วในที่สุดผู้สร้างก็ตัดสินใจเลือก โยฮันนา โวคาเลก นักแสดงสาวชาวเยอรมันที่มีพื้นฐานการแสดงมาจากละครเวทีและภาพยนตร์ในประเทศเยอรมนี
- มีตัวละครที่มีบทพูดกว่า 70 คน ทีมงานจึงใช้เวลาคัดเลือกนักแสดงเป็นเวลานาน
- ผู้กำกับ ซุนเคอ วอร์ตมานน์ เคยทำงานทั้งในประเทศเยอรมนีและฮอลลีวูด จึงเข้าใจการทำงานของนักแสดงหลายๆ ชาติ และเนื่องจากเขาคัดเลือกนักแสดงหลายเชื้อชาติมารับบทต่างๆ ในเรื่องนี้ ซุนเคอ จึงตัดสินใจถ่ายทำเป็นภาษาอังกฤษ แม้เขาจะชอบถ่ายทำด้วยภาษาเยอรมันมากกว่า เพราะสามารถปรับเปลี่ยนบทได้ง่าย แต่เมื่อถ่ายทำไปสักพัก ซุนเคอ ก็คิดว่าการใช้ภาษาอังกฤษนั้นไม่ใช่อุปสรรคแต่อย่างใด
- นักแสดงชาวออสเตรเลีย เดวิด เวนแฮม ที่รับบทเป็น เคานต์ เจอโรลด์ เป็นตัวเลือกแรกที่ ดอนนา วูลฟอล์ก ครอสส์ ผู้เขียนหนังสือนิยาย Pope Joan อยากให้มารับบทดังกล่าว
- เนื่องจากทุกสิ่งทุกอย่างดูสกปรกไปหมดในยุคกลาง ผู้เครื่องแต่งกาย เอสเธอร์ วาลซ์ จึงต้องทำให้เสื้อผ้าดูเก่าและสกปรกที่สุด แต่ผู้กำกับ ซุนเคอ วอร์ตมานน์ ก็ให้อนุโลมในบางเรื่องเพื่อคงอรรถรสของภาพยนตร์เพื่อความบันเทิง เช่น นักแสดงไม่จำเป็นต้องใส่ฟันปลอมที่ผุและดำให้ดูสมจริงเหมือนผู้คนในยุคนั้น
- บางครั้งแผนกเครื่องแต่งกายและช่างแต่งหน้าต้องตื่นตั้งแต่ตี 2 เพื่อเตรียมชุดให้พร้อมใช้งาน 500 ชุดก่อนที่ดวงอาทิตย์จะขึ้น
- ผู้สร้างเคยวางแผนว่าจะถ่ายทำฉากภายนอกสถานที่ของกรุงโรมศตวรรษที่ 9 หรือคริสตศักราชที่ 840 ซึ่งเป็นยุคมืดของกรุงโรมกันในสถานที่หลายแห่ง เช่น ในแถบแอฟริกาเหนือ หรือในกรุงโรมของประเทศอิตาลีจริงๆ และในประเทศบัลแกเรียที่ซึ่งมีฉากกรุงโรมที่สร้างไว้เพื่อถ่ายทำภาพยนตร์อยู่แล้ว แต่สุดท้ายพวกเขาตัดสินใจเลือกถ่ายทำในประเทศโมร็อกโก ที่ซึ่งเคยใช้ถ่ายทำเรื่อง The Baader Meinhof Complex (2008)
- หลังจากถ่ายทำเสร็จสิ้นวันที่ 30 พฤศจิกายน 2008 ก็มีการทำงานส่วนโพสต์โปรดักชันหรืองานเบื้องหลังต่อ งานส่วนนี้มักกินเวลายาวนานที่สุดสำหรับภาพยนตร์ทั่วไป ตรงกันข้ามกับภาพยนตร์เรื่องนี้ ที่ใช้เวลาทำงานส่วนนี้อย่างรวดเร็วมาก
- นักประพันธ์ดนตรี มาร์เซล บาร์ซอตติ ที่เคยร่วมงานกับผู้กำกับ ซุนเคอ วอร์ตมานน์ มาแล้วใน The Miracle of Bern (2003) และ Germany: A Summer's Fairytale (2006) ได้มาประพันธ์ดนตรีแนวออเคสตราให้แก่ภาพยนตร์เรื่องนี้
- เมื่อทำภาพยนตร์เรื่องนี้เสร็จ ผู้กำกับ ซุนเคอ วอร์ตมานน์ เดินทางไปที่นิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อฉายภาพยนตร์ให้ ดอนนา วูลฟอล์ก ครอสสต์ ผู้เขียนหนังสือนิยาย Pope Joan ได้ชมเป็นการส่วนตัว ก่อนที่ ซุนเคอ จะกลับมาที่เยอรมนีพร้อมกับรอยยิ้ม เพราะ ดอนนา ประทับใจภาพยนตร์เรื่องนี้มาก
- เรื่องราวของ โยฮันนา หรือ พระสันตะปาปาโยฮันเนส อังกลิคัสที่ 8 ปรากฏในหลักฐานทางประวัติศาสตร์กว่า 500 ชิ้น รวมถึงถูกบันทึกด้วยลายมือของนักเขียนอย่าง เพตทราร์ก, บอกคัชชิโอ, และ พลาตินา และอยู่ในหนังสือ Mirabilia Urbis ที่ผู้แสวงบุญชาวคริสต์ที่มาเยี่ยมกรุงโรมได้มาอ่านกันกว่า 100 ปีมาแล้ว นอกจากนี้รูปปั้นของ พระสันตะปาปาโยฮันเนส อังกลิคัสที่ 8 ยังเคยอยู่เคียงข้างพระสันตะปาปาปาองค์อื่นจนถึง ค.ศ. 1601 ก่อนที่ พระสันตะปาปาคลีเมนซ์ที่ 3 จะออกคำสั่งให้ปลดลง
- ในปี ค.ศ. 1276 หลังจากการศึกษาจดหมายเหตุของพระสันตะปาปา (ซึ่งในปัจจุบันได้สูญหายไปแล้ว) พระสันตะปาปาจอห์นที่ 20 เปลี่ยนชื่อของตัวเองเป็น พระสันตะปาปาจอห์นที่ 21 มีผู้เชื่อว่าเป็นการแสดงออกว่ายอมรับในตัว โยฮันนา หรือ พระสันตะปาปาโยฮันเนส อังกลิคัสที่ 8
- หนังสือนิยาย Pope Joan ของ ดอนนา วูลฟอล์ก ครอสส์ ระบุช่วงเวลาที่ โยฮันนา หรือ พระสันตะปาปาโยฮันเนส อังกลิคัสที่ 8 ดำรงตำแหน่งเป็นเวลา 2 ปีครึ่ง ระหว่างการดำรงตำแหน่งของ พระสันตะปาปาลีโอที่ 4 และ พระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 3 ซึ่งสอดคล้องกับข้อสันนิษฐานที่แพร่หลายที่สุด ทว่าถือกันว่าวันที่ในหนังสือบันทึกเหตุการณ์ Book of the Popes นั้นไม่เที่ยงตรง บางคนเชื่อว่าระยะห่างระหว่างการดำรงตำแหน่งของพระสันตะปาปาลีโอที่ 4 และพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 3 เป็นเวลาเพียงแค่ 2 เดือนครึ่ง ไม่ใช่ 2 ปีครึ่ง
- ดอนนา วูลฟอล์ก ครอสส์ ผู้เขียนหนังสือนิยาย Pope Joan นำบทบาทของ พระสันตะปาปาลีโอที่ 4 ไปรวมกับพระสันตะปาปาองค์ก่อนหน้าที่ชื่อ เซอร์จิอุสที่ 2 ให้เป็นตัวละครเดียวกันชื่อ พระสันตะปาปาเซอร์จิอุส จากนั้นผู้สร้างเลือก จอห์น กูดแมน มารับบทนี้
- หนังสือ The Liber Pontificalis เป็นเอกสารสมัยใหม่ที่ตั้งคำถามว่ามีการแก้ไขข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ โยฮันนา หรือ พระสันตะปาปาโยฮันเนส อังกลิคัสที่ 8 ในจดหมายเหตุเก่าหรือไม่ ทำให้มีการค้นพบงานเขียนเกี่ยวกับเรื่องนี้ที่มีอายุย้อนไปในปี ค.ศ. 1082 นั่นคืองานของพระสงฆ์ เมอเรียเนิส สโคทัส และยังพบงานเขียนอื่นๆ จากช่วงศตวรรษที่ 12 ได้แก่ งานของ ซิเกลเบิร์ดแห่งแกมเบิร์ก, อ็อตโตแห่งไฟรซิงก์, ก็อดฟรีย์แห่งวิเธอร์โบ และ เจอร์เวียสแห่งทิลบิว
- เป็นเวลามากกว่า 4 ศตวรรษที่มีการใช้เก้าอี้ที่มีหลุมขนาดใหญ่บนที่นั่งในพิธีเข้ารับตำแหน่งพระสันตะปาปา ซึ่งเชื่อกันว่าใช้พิสูจน์เพศของพระสันตะปาปาคนใหม่ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์เดียวกับ โยฮันนา หรือ พระสันตะปาปาโยฮันเนส อังกลิคัสที่ 8 แต่พิธีกรรมนี้ถูกยกเลิกไปตั้งแต่สมัยกษัตริย์ฮาเดรียนที่ 6 หรือ ค.ศ. 1522 อย่างไรก็ตาม เก้าอี้ลักษณะนี้ตัวหนึ่งยังอยู่ในวาติกัน และอีกตัวอยู่ในพิพิธภัณฑ์ลูฟร์ ประเทศฝรั่งเศส
- เดิม โฟลเคอร์ ชลูนดอร์ฟฟ์ จะได้มากำกับภาพยนตร์เรื่องนี้ แต่ถอนตัวออกไปเพราะมีความเห็นขัดแย้งกับบริษัทสร้างภาพยนตร์ ซุนเคอ วอร์ตมานน์ จึงเข้ามารับหน้าที่นี้แทน
- แฟรงกา โพเทนเทอ เกือบได้มารับบท โยฮันนา แต่จำต้องถอนตัวออกไปเพราะเกิดปัญหาเรื่องตารางการทำงานไม่ลงตัวเพียงไม่นานก่อนเปิดกล้อง โยฮันนา โวคาเลก จึงเข้ามารับบทนี้แทน
advertisement
วันนี้ในอดีต
- เอ๋อเหรอเข้าฉายปี 2005 แสดง โหน่ง ชะชะช่า, นวรัตน์ เตชะรัตนประเสริฐ, วีรภักดิ์ แก่นสุวรรณ
- Megamindเข้าฉายปี 2011 แสดง Will Ferrell, Brad Pitt, Tina Fey
- Masked Rider Blade: Missing Aceเข้าฉายปี 2005
เกร็ดภาพยนตร์
- Tomorrowland - ผู้กำกับ แบรด เบิร์ด เป็นตัวเลือกแรกที่จะให้กำกับ Star Wars: Episode VII - The Force Awakens (2015) แต่ แบรด ปฏิเสธข้อเสนอเพื่อกำกับภาพยนตร์เรื่อง Tomorrowland (2015) โดย แบรด บอกว่าหากคุณมีโอกาสกำกับภาพยนตร์ต้นฉบับก็ควรคว้าโอกาสเอาไว้ อ่านต่อ»
- The Voices - เดิมทีผู้กำกับ มาร์จาน เซทราพี ตั้งใจให้นักแสดงคนอื่นมาพากย์เสียงสัตว์ต่างๆ ในภาพยนตร์ แต่ ไรอัน เรย์โนลด์ส นักแสดงบท เจอร์รี โน้มน้าว มาร์จาน ให้เขาเป็นคนพากย์เสียงสัตว์เอง เพราะตัวละคร เจอร์รี ได้ยินเสียงในหัวตัวเอง เพราะฉะนั้นน่าจะเป็นเสียงของเขาเองในหลายรูปแบบ ไรอัน ยังบันทึกเสียงของตัวเองเป็นสัตว์หลายชนิดส่งให้ผู้กำกับพิจารณาอีกด้วย อ่านต่อ»
เปิดกรุภาพยนตร์
The Invisible Man ซซิเลีย แคสส์ (เอลิซาเบธ มอสส์) คือหญิงสาวที่มีความสัมพันธ์กับนักวิทยาศาสตร์ที่ทั้งร่ำรวยและฉลาดล้ำเลิศ แต่ความสัมพันธ์...อ่านต่อ»