เกร็ดน่ารู้จาก Crossing Over
เกร็ดน่ารู้
- ผู้กำกับและผู้เขียนบท เวย์น เครเมอร์ ต้องการถ่ายทอดความจริงทั้งด้านดีและร้ายเกี่ยวกับการตรวจคนเข้าเมือง เขาจึงนำเสนอภาพยนตร์เรื่องนี้ทั้งจากมุมมองของเจ้าหน้าที่และคนต่างชาติที่ขอเข้าเมือง
- ตามปกติแล้วมีคนหลายพันคนโอนสัญชาติเข้ามาเป็นชาวอเมริกันทุกวัน
- ผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีของประเทศสหรัฐอเมริกาในปี 2008 ทุกคน มีความคิดไปในแนวทางเดียวกัน คือต้องเพิ่มแรงต้านทานและผลักดันบรรดาผู้ที่ลักลอบเข้าเมืองให้ออกไป
- ในปี 1986 ผู้กำกับ เวย์น เครเมอร์ ย้ายจากประเทศแอฟริกาใต้มาอยู่ในสหรัฐอเมริกา และในปี 2000 เขาทำเรื่องโอนสัญชาติเข้ามาเป็นคนอเมริกัน เขาเล่าว่าขั้นแรกต้องไปสอบสัมภาษณ์ก่อน เมื่อสอบผ่านจะมีการนัดวันทำพิธีสาบานตนในอีก 2-3 เดือนถัดมา
- สิทธิการเป็นพลเมืองของเด็กที่เกิดในประเทศสหรัฐอเมริกาจะไม่เกี่ยวข้องกับสถานภาพของคุณพ่อคุณแม่ แม้จะมีคุณพ่อคุณแม่เป็นผู้ลักลอบเข้าเมือง เด็กคนนั้นจะมีสัญชาติเป็นอเมริกันจนกว่าจะมีอายุครบ 21 ปี พวกเขาจะได้รับสิทธิเช่นเดียวกับอเมริกันชนทุกคน รวมถึงสิทธิด้านการศึกษา ส่วนคุณพ่อคุณแม่และลูกที่อายุเกิน 21 ปี อาจถูกส่งตัวกลับประเทศบ้านเกิดได้ทุกเวลา
- ขณะหาคนมารับบทนักดนตรีอังกฤษ เกวิน คอสเซฟ ผู้กำกับ เวย์น เครเมอร์ ต้องการทดสอบเสียงร้องของนักแสดงคนหนึ่ง แต่เมื่อเขาเห็น จิม สเตอร์เกส ร้องเพลงของวง เดอะ บีเทิลส์ ในการคัดเลือกตัวแสดงเรื่อง Across the Universe (2007) เขาก็เลือก จิม มารับบทนี้ทันที นอกจากนี้ จิม ยังแต่งเพลงที่เขาร้องในภาพยนตร์เรื่องนี้เองอีกด้วย
- หลังจากคัดเลือกนักแสดงต่างชาติมาได้ครบแล้ว ผู้สร้างต้องแน่ใจว่าเอกสารขอเข้ามาทำงานในสหรัฐอเมริกาของนักแสดงทุกคนไม่มีปัญหา มิฉะนั้นอาจเกิดเรื่องยุ่งยากเสียหายในภายหลังได้ อย่างไรก็ตาม โชคดีที่คนในวงการบันเทิงไม่เป็นที่สนใจของเจ้าหน้าที่ตรวจคนมากนัก เพราะพวกเขามักเคร่งครัดต่องานที่เกี่ยวพันกับความมั่นคงของประเทศมากกว่า
- จากข้อมูลโดยประมาณของปี 2007 เมืองลอสแอนเจลิสมีจำนวนผู้อพยพที่โอนสัญชาติแล้วมากที่สุดในประเทศสหรัฐอเมริกา
- ผู้ออกแบบงานสร้าง โทบี คอร์เบตต์ เองก็เป็นชาวอังกฤษที่โอนสัญชาติมาเป็นอเมริกัน
- ถ่ายทำในย่านชนชั้นแรงงานของเมืองลอสแอนเจลิส ประเทศสหรัฐอเมริกา เช่น ที่โรงเรียนศิลปะมานูเอล คอนเตอร์ราส ที่โรงแรมฮอลิเดย์ บนถนนเธิร์ด สตรีต และโกดังหลายแห่งในเขตอุตสาหกรรมย่านในเมือง สถานที่เหล่านี้เป็นที่ที่บรรดาผู้อพยพพักอาศัยและทำงานกันจริงๆ
- วันที่ 1 พฤษภาคม 2008 กลุ่มผู้อพยพในเมืองลอสแอนเจลิส ประเทศสหรัฐอเมริกา ออกมาเดินขบวนเรียกร้องสิทธิ ในวันนั้น ผู้สร้างได้ตามไปเก็บภาพเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองบุกทลายโรงงานแห่งหนึ่งด้วย
- ผู้กำกับ เวย์น เครเมอร์ อาศัยอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกามานานกว่า 20 ปีแล้ว แต่ในทุกๆ วัน เขายังคงถูกคนแปลกหน้าถามว่ามาจากไหน เพราะคนอพยพยังถูกแบ่งแยกด้วยสีผิวและสำเนียงพูด แต่ เวย์น ก็ไม่เคยรู้สึกผูกพันกับประเทศบ้านเกิดอย่างแอฟริกาใต้ ที่ปกครองภายใต้ลัทธิแบ่งแยกสีผิว เวย์น ยอมรับว่าปัจจุบันนี้เขามีความสุขดีกับการเป็นคน 2 วัฒนธรรม
- ผู้กำกับ เวย์น เครเมอร์ ตัดต่อภาพยนตร์ครั้งแรกได้ความยาว 140 นาที แต่ผู้อำนวยการสร้าง ฮาร์วีย์ ไวน์สตีน ยื่นคำขาดว่า ถ้า เวย์น ไม่ตัดภาพยนตร์ให้สั้นลง เขาจะส่งภาพยนตร์ออกจำหน่ายทางดีวีดีทันที แทนที่จะให้ออกฉายทางโรงภาพยนตร์อย่างที่ควร เวย์น จึงยอมตัดต่อซ้ำให้เหลือความยาว 2 ชั่วโมง
advertisement
วันนี้ในอดีต
คู่กรรมเข้าฉายปี 2013 แสดง ณเดชน์ คูกิมิยะ, อรเณศ ดีคาบาเลส, นิธิศ วารายานนท์
สังหรณ์เข้าฉายปี 2003 แสดง อภิเชษฐ์ กิตติกรเจริญ, วรเวช ดานุวงศ์, กวี ตันจรารักษ์
Tears of the Sunเข้าฉายปี 2003 แสดง Bruce Willis, Monica Bellucci, Cole Hauser
เกร็ดภาพยนตร์
- The Last Five Years - ใช้เวลา 21 วันในการถ่ายทำ และถ่ายทำฉากเพลง Goodbye Until Tomorrow ในวันสุดท้าย อ่านต่อ»
- Mad Max: Fury Road - ฉากเทคนิคพิเศษประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ ไม่ได้ใช้คอมพิวเตอร์ช่วย แต่เป็นของจริงโดยใช้นักแสดงแทน ฉาก และการแต่งหน้าช่วย ส่วนที่ใช้คอมพิวเตอร์ก็ใช้เพียงลบเชือก ตกแต่งพื้นที่ทะเลทรายนามิบ และสร้างแขนปลอมข้างซ้ายของ ชาร์ลีซ เธอรอน ผู้รับบท ฟิวริโอซา เท่านั้น อ่านต่อ»
เปิดกรุภาพยนตร์
สีดา ตำนานรักโลงคู่
เรื่องจริงของโศกนาฎกรรมความรักของ ประโนตย์ (กฤษฎิ์สพล สุทธิหิรัญดำรงค์) ผู้ชายที่มีจิตใจเป็นหญิง หน้าตาสะสวยที่เติบโตมา...อ่านต่อ»