เกร็ดน่ารู้จาก Terminator Salvation
เกร็ดน่ารู้
- นับเป็นภาคที่ 4 ของภาพยนตร์ชุด Terminator ต่อจาก The Terminator (1984) Terminator 2: Judgment Day (1991) และ Terminator 3: Rise of the Machines (2003) โดยภาพยนตร์เรื่องนี้มีเนื้อหาหลักเกิดขึ้นในปี 2018 นับเป็น 14 ปีหลังจากตอนจบของภาค 3
- ตอนที่ Terminator 2: Judgment Day (1991) เข้าฉายในโรงภาพยนตร์ คริสเตียน เบล ผู้รับบท คอนเนอร์ ในเรื่องนี้ เพิ่งอายุ 17 ปี และเพิ่งเดินทางมาตั้งตัวในประเทศสหรัฐอเมริกา
- จอห์น แบรนคาโต และ ไมเคิล เฟอร์ริส ผู้เขียนบทภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นผู้เขียนบท Terminator 3: Rise of the Machines (2003)
- ผู้สร้างเลือก คริสเตียน เบล มารับบท คอนเนอร์ ระหว่างที่เขาอยู่ในเมืองลอนดอน ประเทศอังกฤษ เพื่อถ่ายทำ The Dark Knight (2008) พวกเขาจัดเวลาให้ คริสเตียน ได้มาคุยกับผู้กำกับ แมกจี ในตอนแรก คริสเตียน ลังเลที่จะรับงานนี้ เพราะเขาไม่แน่ใจว่ามันเป็นเพียงภาพยนตร์ต่อสู้ธรรมดาๆ หรือไม่
- ไมเคิล ไอร์ออนไซด์ ที่รับบทนายพล แอชดาวน์ ผู้นำของกองกำลังต่อต้าน เคยร่วมงานกับ คริสเตียน เบล ผู้รับบท คอนเนอร์ มาก่อนแล้วในเรื่อง The Machinist (2004)
- ผู้กำกับ แมกจี อุทิศภาพยนตร์เรื่องนี้ให้กับ สแตน วินสตัน ผู้ออกแบบคนเหล็กรุ่น ที-800 ซึ่งได้มาช่วยควบคุมงานสร้างกองทัพเครื่องจักรกลในภาพยนตร์เรื่องนี้ และเสียชีวิตไประหว่างการถ่ายทำ แมกจี เล่าว่า สแตน เคยสารภาพกับเขาว่าจุดเริ่มต้นของงานออกแบบนี้มาจากการสร้างเพื่อนในจินตนาการสมัยเด็กของเขา
- หัวหน้าแผนกเอฟเฟกต์ จอห์น โรเซนแกรนต์ สร้างคนเหล็กรุ่นต่างๆ ในเรื่องด้วยวัสดุน้ำหนักเบา ได้แก่ ยูรีเธนผสมกับพลาสติก แล้วนำมาทาสีด้วยเทคโนโลยีแบบใหม่เพื่อให้วัสดุนั้นดูเหมือนโลหะ
- ผู้กำกับ แมกจี กล่าวว่าหุ่นทหารภาคพื้นดิน ที-600 นั้นใหญ่โตและร้ายกาจกว่ารุ่น ที-800 โดย แมกจี เปรียบหุ่น ที-600 ว่าเป็นเสมือนรถบูอิก ปี 1957 ขณะที่หุ่น ที-800 เป็นรถเมอร์ซีเดซ เบนซ์ ปี 2009
- หุ่น ที-600 ที่ทำหน้าที่สำรวจหามนุษย์นั้น มีร่างสูงใหญ่ 7 ฟุต 3 นิ้ว มีผิวยางง่ายๆ ปกคลุมหน้า มีเศษผ้ารุ่งริ่งปิดบังโครงร่าง มีอาวุธเป็นปืนเล็ก เอ็ม 203 ที่ยิงกระสุนได้ 3,000-6,000 นัดต่อนาที พร้อมกระสุนสำรองครบถ้วน เนื่องจาก ที-600 เป็นเครื่องจักรล้าสมัยคร่ำคร่า ผู้สร้างจึงใช้กลไกหุ่นชักผสมผสานกับคอมพิวเตอร์กราฟฟิกสร้าง ที-600 ในลักษณะพังยับเยินหลายๆ แบบ เช่น ขากรรไกรล่างแยกออก หรือผิวหนังบางส่วนหลุดลอกจากใบหน้า
- แอโรสแตตส์ เป็นหุ่นยนต์ทหารยามอากาศที่มีความยาว 4 ฟุต ทำหน้าที่บินวนเวียนใกล้ๆ พื้นดิน เพื่อสืบหาสัญญาณที่บ่งบอกถึงชีวิตมนุษย์ พวกมันใช้กล้องดิจิตอลและเทคโนโลยีบันทึกภาพแบบเลเซอร์ ในการส่งรายงานผ่านทางระบบสัญญาณไร้สายกลับไปยังสกายเน็ต
- ฮาร์เวสเตอร์ เป็นเครื่องจักรกลที่คอยจับตัวมนุษย์ มีร่างสูงประมาณ 80 ฟุต มีแขนขาโลหะหลายข้างยืดออกมาจากส่วนตัวคล้ายแมงมุม และตามขาเหล่านั้นจะมีตาหรือกล้องติดอยู่เพื่อใช้มองภาพความเสียหาย หน้าที่ของมันคือบุกเข้าไปในที่ที่มนุษย์ซ่อนตัวอยู่ และใช้กรงเล็บจับพวกเขาใส่ยานขนส่งกลับไปยังสกายเน็ต
- บริษัทผลิตรถจักรยานยนต์ ดูคาติ มอบรถจักรยานยนต์ไฮเปอร์มอเตอร์ 4 คันมาให้ใช้ถ่ายทำ นอกจากนี้นักออกแบบของ ดูคาติ กับผู้สร้างยังได้ร่วมกันออกแบบหุ่น โมโต-เทอร์มิเนเตอร์ ซึ่งเป็นเครื่องจักรกลติดอาวุธปืนที่ทำหน้าที่ไล่ตามจับตัวมนุษย์ โดยใช้เค้าโครงจากรถจักรยานยนต์ ดูคาติ จากนั้นพวกเขาก็ส่งแบบไปสร้างที่ลอสแอนเจลิส ประเทศสหรัฐอเมริกา
- รถจักรยานยนต์ ดูคาติ ซึ่งเป็นต้นแบบของหุ่น โมโต-เทอร์มิเนเตอร์ เป็นรถจักรยานยนต์ยี่ห้อโปรดของผู้กำกับ แมกจี
- หุ่น ไฮโดรบ็อต เป็นเครื่องจักรกลใต้น้ำ มีลักษณะคล้ายงูตัวยาว 4 ฟุต มีศีรษะคมกริบที่เจาะเข้าไปในตัวเหยื่อ และตอบสนองต่อเสียงและการสั่นสะเทือนในน้ำ หุ่นชนิดนี้มีบทโดนทำลายอย่างสมบุกสมบัน ผู้สร้างจึงต้องใช้วัสดุที่ทนทานพอสมควร โดยพวกเขาใช้โครงสร้างเหล็กที่น้ำหนักเบาที่สุด ผสมเข้ากับชิ้นส่วนยูรีเธนน้ำหนักเบาที่ทาสีให้ดูเหมือนโลหะ
- รูปลักษณ์ครึ่งมนุษย์ครึ่งเครื่องจักรของตัวละคร มาร์คัส เกิดขึ้นจากชิ้นส่วนเทียมที่หัวหน้าแผนกเอฟเฟกต์ จอห์น โรเซนแกรนต์ พัฒนาขึ้น ผสมผสานกับการแต่งหน้าและคอมพิวเตอร์กราฟฟิก แซม เวิร์ตธิงตัน ผู้รับบท มาร์คัส ต้องนั่งนิ่งๆ ให้ช่างแต่งหน้า 3 คนแปลงโฉมของเขาเป็นเวลาครั้งละ 6 ชั่วโมง
- ตัวละคร แบลร์ ที่รับบทโดย มูน บลัดกูด ได้ขับเครื่องบินเร็วของทหารรุ่น เอ-10 ธันเดอร์โบลต์ ทู หรือที่เรียกว่า ไมตี วอร์ธอก, เดอะ ฟลายอิง กัน และ เดอะ แทงก์บัสเตอร์ กัปตัน เจนนิเฟอร์ โชก จากกองทัพอากาศ ซึ่งเป็นนักบินประจำเครื่องบินนี้ ให้คำแนะนำแก่ มูน ว่า เครื่องบินชนิดนี้จะร่อนลงต่ำเรี่ยพื้นดิน และบินช้าๆ เพื่อสนับสนุนกองทัพภาคพื้นดิน
- เครื่องบินที่กองทัพอากาศเคิร์ตแลนด์ มอบให้ผู้สร้างใช้ถ่ายทำ ได้แก่ เอ-10 ธันเดอร์โบลต์ ทู, ซีวี-22 ออสเปรย์ ซึ่งมีเทคโนโลยีแกนใบพัดหมุนเอียง ทำให้สามารถบินขึ้นลงได้เหมือนเฮลิคอปเตอร์, เครื่องบินขนส่ง ซี-130 เฮอร์คิวลิส และ เฮลิคอปเตอร์ เอชเอช -60 เพฟ ฮอว์ก ซึ่งเป็นเฮลิคอปเตอร์แบล็กฮอว์กที่ติดตั้งปืนไว้ภายนอก
- ไมเคิล วิลคินสัน ออกแบบเครื่องแต่งกายให้ตัวละครโดยอ้างอิงถึงเสื้อผ้าจากภาพยนตร์ภาคก่อนๆ ด้วย เช่น คอนเนอร์ ที่ในภาคนี้รับบทโดย คริสเตียน เบล ยังคงได้สวมกางเกงทหารลายเสือเหมือนในภาคก่อน ส่วนตัวละคร ไคล์ ที่รับบทโดย แอนตัน เยลชิน สวมรองเท้าผ้าใบยี่ห้อ ไนกี้ ในหลายฉาก ซึ่งคล้ายคลึงกับรองเท้ารุ่น ไนกี้ แวนดาลส์ ที่ตัวละครเดียวกันนี้ที่รับบทโดย ไมเคิล บีห์น สวมใน The Terminator (1984)
- ตัวละคร คอนเนอร์ ที่รับบทโดย คริสเตียน เบล มีอาวุธเป็นปืนเยอรมันรุ่น เอชเค 416ดี ส่วน บาร์นส์ ที่รับบทโดย คอมมอน แบกปืนยักษ์ กริซซ์ลี 50 และ แบลร์ ที่รับบทโดย มูน บลัดกูด ใช้ เดเซิร์ต อีเกิล 50 ขนาดเหมาะมือ
- ผู้สร้างใช้เวลา 12 สัปดาห์เตรียมการถ่ายทำฉากระเบิดในปั๊มน้ำมัน เริ่มจากระเบิดรถน้ำมันที่บรรจุน้ำมันประมาณ 250 แกลลอน จนเกิดลูกไฟในรัศมี 160 ฟุตและสูง 200 ฟุต ตามมาด้วยการระเบิดอีกครั้งที่หัวจ่ายน้ำมัน ผู้กำกับ แมกจี ถ่ายทำฉากดังกล่าวโดยบังคับกล้องผ่านเครื่องควบคุมทางไกล ทั้งกล้องที่อยู่ในกล่องกันกระแทกสำหรับถ่ายภาพใกล้ กล้องที่ตากล้องควบคุมอยู่หลังหลุมหลบภัย และกล้องบนเฮลิคอปเตอร์ที่ใช้เลนส์ยาวมากๆ
- ผู้สร้างสร้างฉากแม่น้ำใจกลางทะเลทรายด้วยตู้เก็บน้ำความสูง 18 ฟุต เพื่อใช้ถ่ายทำฉากที่เฮลิคอปเตอร์ร่วงลงในแม่น้ำเพราะระเบิดนาปาล์ม พวกเขาสร้างกลไกคานเพื่อใช้ขยับเฮลิคอปเตอร์ขึ้นลง และนำต้นไม้คอนกรีตที่ติดตั้งท่อน้ำมันเพื่อสร้างเปลวเพลิง ลงไปวางปะปนกับต้นไม้จริงบริเวณริมฝั่งแม่น้ำ ในวันที่ถ่ายทำซึ่งมีพนักงานดับเพลิงมาคอยเตรียมรับสถานการณ์ ผู้สร้างทิ้งระเบิดนาปาล์มลงมาต่อเนื่องตามความยาวของแม่น้ำเป็นเวลา 7 วินาที ระเบิดแต่ละครั้งใช้น้ำมัน 100 แกลลอน และมีเปลวเพลิงสูงขึ้นไปหลายร้อยฟุต
- หลังจาก แคลร์ เดนส์ ปฏิเสธไม่กลับมารับบท เคต นักแสดง ชาร์ลอตต์ เกนสเบิร์ก ก็ได้เข้ามารับบทนี้ แต่สุดท้ายก็ต้องถอนตัวไปเพราะมีปัญหาเรื่องตารางเวลา และยกบทนี้ให้กับ ไบรซ์ ดัลลัส โฮเวิร์ด แทน
- เฮเลนา บอนแฮม คาร์เตอร์ มารับบท เซเลนา โคแกน แทน ทิลดา สวินตัน เพียงไม่กี่วันก่อนเปิดกล้อง จากนั้นเธอถ่ายทำบทนี้โดยใช้เวลา 10 วัน
- ขณะถ่ายทำ เฮเลนา บอนแฮม คาร์เตอร์ ผู้รับบท เซเลนา โคแกน สูญเสียสมาชิกในครอบครัวไป 4 คนจากอุบัติเหตุรถชน กองถ่ายจึงต้องหยุดถ่ายทำชั่วคราว เพื่อให้เธอกลับไปเยี่ยมครอบครัวที่สหราชอาณาจักร
- ผู้กำกับ แมกจี ขอให้นักแสดงและทีมงานอ่านนิยายเรื่อง The Road ของ คอร์แมก แมกคาร์ธี และ Do Androids Dream of Electric Sheep? ของ ฟิลิป เค. ดิก ที่เป็นนิยายต้นแบบของภาพยนตร์ Blade Runner (1982) เพราะเขาต้องการให้ทุกคนซึมซัมบรรยากาศของโลกที่เยือกเย็นเปล่าเปลี่ยวในงานเขียนดังกล่าว
- ผู้สร้างเสนอให้ จอช โบรลิน รับบทเป็น มาร์คัส แต่เขาปฏิเสธ สุดท้ายผู้ที่ได้รับบทนี้ คือ แซม เวิร์ตธิงตัน
- ขณะถ่ายทำในช่วงฤดูร้อนปี 2008 คริสเตียน เบล ผู้รับบท คอนเนอร์ ตะโกนถ้อยคำหยาบคายใส่ผู้กำกับภาพ เชน เฮิร์ลบุต ซึ่งกำลังจัดแสงในฉากหลัง และไปรบกวนสมาธิของ คริสเตียน ขณะแสดงฉากที่ตึงเครียด ภาพการต่อว่าอย่างเผ็ดร้อนนั้นหลุดออกมาเผยแพร่ทางอินเตอร์เน็ต คริสเตียน จึงออกมากล่าวขอโทษต่อหน้าสื่อมวลชน และยืนยันว่าเขากับ เชน ยังมีความสัมพันธ์อันดีต่อกัน
- เป็นภาพยนตร์เรื่องแรกในบรรดาภาพยนตร์ชุด Terminator ที่ไม่มี เอิร์ล โบเอน ร่วมแสดงในบท ดร. ซิลเบอร์แมน
- คริสเตียน เบล รับบทเป็น จอห์น คอนเนอร์ ในภาพยนตร์เรื่องนี้ ขณะที่ก่อนหน้านี้มีคนรับบทนี้มาแล้วถึง 6 คน ในภาค Terminator 2: Judgment Day (1991) ไมเคิล เอ็ดเวิร์ดส์ รับบท จอห์น คอนเนอร์ วัยผู้ใหญ่ เอ็ดเวิร์ด เฟอร์ลอง รับบท จอห์น คอนเนอร์ วัยรุ่น ดาลตัน แอบบอตต์ รับบท จอห์น คอนเนอร์ วัยทารก ในภาค Terminator 3: Rise of the Machines (2003) นิก สตาห์ล รับบท จอห์น คอนเนอร์ เป็นคนที่ 4 ส่วน โธมัส เดกเกอร์ และ จอห์น เดอวิโต แสดงเป็น จอห์น คอนเนอร์ วัยผู้ใหญ่และวัยเด็กกว่าตามลำดับ ในฉบับละครโทรทัศน์ Terminator: The Sarah Connor Chronicles (2008)
- ชื่อของตัวละคร มาร์คัส ไรต์ ที่รับบทโดย แซม เวิร์ตธิงตัน ในเรื่องนี้ ยังเป็นชื่อของทหารเรือเผ่าพันธุ์เทอร์แรนคนหนึ่ง ที่แหกคุกออกมาระหว่างอยู่ในโครงการปรับการเข้าสังคมใหม่ ในนวนิยายไตรภาค Starcraft: The Dark Templar Saga ที่เขียนโดย คริสตี โกลเดน และเป็นส่วนหนึ่งของเกมดัง Starcraft
- เป็นภาพยนตร์เรื่องแรกในบรรดาภาพยนตร์ชุด Terminator ที่ได้รับเรต พีจี-13 ขณะที่ภาคก่อนๆ ล้วนได้เรต อาร์
- ใช้เวลาถ่ายทำทั้งหมดมากกว่า 77 วัน
- เป็นภาคแรกที่ตัวละคร จอห์น คอนเนอร์ และคุณพ่อของเขา ไคล์ ปรากฏตัวพร้อมกัน รับบทโดย คริสเตียน เบล และ แอนตัน เยลชิน ตามลำดับ
- ตัวละคร ไคล์ ปรากฏตัวในภาพยนตร์ชุด Terminator เพียง 2 ภาคเท่านั้น นั่นคือภาคนี้ที่รับบทโดย แอนตัน เยลชิน และในภาคแรก The Terminator (1984) ที่รับบทโดย ไมเคิล บีห์น แม้ ไมเคิล จะกลับมาแสดงบทเดิมนี้ในภาค Terminator 2: Judgment Day (1991) แต่สุดท้ายแล้ว ฉากของเขาก็ถูกตัดออกไป
- เพลง You Could Be Mine ของวง กันส์ แอนด์ โรสเซส ซึ่งเคยใช้ประกอบภาค Terminator 2: Judgment Day (1991) มาแล้ว ถูกนำมาใช้ประกอบในภาคนี้อีกครั้ง
- ภาพยนตร์ชุด Terminator ทุกภาคมีฉากต่อสู้สำคัญเกิดขึ้นในฉากโรงงานทั้งสิ้น ใน The Terminator (1984) มีฉากต่อสู้ในโรงงานที่เครื่องจักรทำงานโดยอัตโนมัติ ใน Terminator 2: Judgment Day (1991) มีฉากต่อสู้ในโรงงานเหล็กกล้า ใน Terminator 3: Rise of the Machines (2003) มีฉากต่อสู้ในระบบวิจัยไซเบอร์ที่มีเครื่องเร่งอนุภาค ส่วนในภาคนี้ มีฉากต่อสู้สำคัญเกิดขึ้นในโรงงานของ สกายเน็ต
- ในตอนหนึ่งมีคำบรรยายในภาพยนตร์ว่า "อนาคตเริ่มขึ้นแล้ว" (The Future Begins.) ซึ่งบังเอิญตรงกับคำโปรยของภาพยนตร์ Star Trek (2009) ซึ่งออกฉายไม่กี่สัปดาห์ก่อนหน้าภาพยนตร์เรื่องนี้
- ตอนที่พบกันครั้งแรก ไคล์ ที่รับบทโดย แอนตัน เยลชิน กล่าวกับ มาร์คัส ที่รับบทโดย แซม เวิร์ตธิงตัน ว่า "มากับฉันถ้ายังอยากจะมีชีวิตอยู่" (Come with me if you want to live.) ขณะที่ในภาค The Terminator (1984) ไคล์ กล่าวประโยคเดียวกันนี้กับ ซาราห์ ที่คลับเทก-นัวร์ ส่วนใน Terminator 2: Judgment Day (1991) เทอร์มิเนเตอร์ กล่าวประโยคนี้กับ ซาราห์ ตอนพบกันครั้งแรกที่สถาบันจิตเวช
- ผู้สร้างออกแบบตัวตลกที่เป็นตัวแทนของโรงงานของเล่นที่ถูกทิ้งร้าง โดยอ้างอิงถึงฆาตกรที่มีอยู่จริง จอห์น เวย์น แกซี ซึ่งล่อใจเด็กๆ ที่เป็นเหยื่อด้วยตัวตลกที่ชื่อ โพโก เดอะ คลาวน์
- ฉากที่ จอห์น คอนเนอร์ ที่รับบทโดย คริสเตียน เบล ต่อสู้กับหุ่น ที-800 เขาบาดเจ็บเป็นแผลที่ใบหน้า รอยแผลนั้นตรงกับรอยแผลเป็นของ คอนเนอร์ ในอนาคตในภาค Terminator 2: Judgment Day (1991)
- มีหลายฉากที่ผู้สร้างมุ่งถ่ายที่เท้าของตัวละคร การถ่ายเช่นนี้เป็นเอกลักษณ์ของ เจมส์ คาเมรอน ผู้กำกับ 2 ภาคแรก The Terminator (1984) และ Terminator 2: Judgment Day (1991)
- ลินดา แฮมิลตัน ผู้รับบท ซาราห์ ในภาคก่อนหน้า มาบันทึกเสียงพูดของ ซาราห์ ตามบทพูดจาก The Terminator (1984) ให้ผู้สร้างได้ใช้ในภาคนี้ แม้จะไม่ได้รับการบันทึกชื่อลงเป็นหนึ่งในบรรดานักแสดงก็ตาม
- เป็นภาคแรกที่เนื้อเรื่องเน้นที่ตัวละคร จอห์น คอนเนอร์ ขณะที่ไตรภาคก่อนหน้าเน้นที่ตัวละคร เทอร์มิเนเตอร์
- อาร์โนลด์ ชวาร์เซเนกเกอร์ ผู้รับบท เทอร์มิเนเตอร์ ในไตรภาคแรก ปฏิเสธที่จะกลับมารับบทเดิมในภาคนี้ เพราะเห็นว่าการปรากฏตัวที่น้อยเกินไปถือเป็นการหลอกลวงผู้ชม
- ในภาคแรก The Terminator (1984) ตัวละคร ไคล์ ถามตำรวจว่า "วันนี้วันที่เท่าไร ปีอะไร" (What day is it? What year?) ส่วนในภาคนี้ คำพูดแรกที่ มาร์คัส ที่รับบทโดย แซม เวิร์ตธิงตัน กล่าวกับ ไคล์ ที่รับบทโดย แอนตัน เยลชิน คือคำพูดเดียวกันดังกล่าว
advertisement
วันนี้ในอดีต
- ความสุขของกะทิเข้าฉายปี 2009 แสดง ภัสสร คงมีสุข, สะอาด เปี่ยมพงษ์สานต์, จารุวรรณ ปัญโญภาส
- Quarantineเข้าฉายปี 2009 แสดง Jennifer Carpenter, Steve Harris, Jay Hernandez
- Bal Ganeshเข้าฉายปี 2009 แสดง Asha Bhonsale, Kailash Kher, Usha Mangeshkar
เกร็ดภาพยนตร์
- Big Eyes - โดยส่วนใหญ่ผู้กำกับ ทิม เบอร์ตัน จะทำงานร่วมกับนักแสดงที่คุ้นเคยกันดีอยู่แล้ว แต่เรื่องนี้มีแต่นักแสดงที่ ทิม ไม่เคยร่วมงานด้วยมาก่อน โดยภาพยนตร์ที่ทำเช่นนี้ก่อนหน้านี้ คือ Beetlejuice (1988) อ่านต่อ»
- American Sniper - เดวิด โอ. รัสเซลล์ เคยได้รับการพิจารณาให้มากำกับภาพยนตร์เรื่องนี้ก่อนที่เขาจะขอถอนตัว สตีเวน สปีลเบิร์ก ก็เคยสนใจกำกับภาพยนตร์เรื่องนี้ แต่ก็ถอนตัวออกไปเช่นกัน คลินต์ อีสต์วูด จึงมารับหน้าที่กำกับในที่สุด อ่านต่อ»
เปิดกรุภาพยนตร์
Deliver Us From Evil เรื่องราวของอินนัม (ฮวังจองมิน) นักฆ่าฝีมือดีที่พบว่าญาติของเขาหายตัวไปในประเทศไทย จึงเดินทางมาเพื่อตามหาความจริง ในขณะ...อ่านต่อ»