เกร็ดน่ารู้จาก My Bloody Valentine 3D
เกร็ดน่ารู้
- สร้างจากภาพยนตร์ต้นฉบับ My Bloody Valentine (1981) ซึ่งเป็นภาพยนตร์ที่ผู้กำกับ เควนติน ทารันติโน เคยกล่าวว่าเป็นภาพยนตร์เชือดสยองที่ยอดเยี่ยมที่สุดตั้งแต่สร้างกันมา
- ผู้สร้างพยายามถ่ายทำโดยใช้คอมพิวเตอร์กราฟฟิกให้น้อยที่สุด โดยเทคนิคการสร้างภาพพิเศษที่ใช้มักจะเกี่ยวข้องกับการสร้างภาพ 3 มิติเท่านั้น
- ถ่ายทำฉากเหมืองในกันเหมืองที่ไม่ใช้แล้วในพิสต์เบิร์ก ใกล้ใจกลางพื้นที่ขุดเหมืองในรัฐเพนซิลเวเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเพดานของอุโมงค์ในเหมืองนั้นต่ำมาก แม้กระทั่งยืนตรงๆ ก็ยังลำบาก ทำให้ผู้สร้างและนักแสดงรู้สึกกลัวที่แคบขึ้นมา ซึ่งตรงกับสภาพจิตใจของตัวละครในเรื่องพอดี
- ถ่ายทำในเพนซิลเวเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ซึ่งมีระบบเก็บภาษีที่เอื้อประโยชน์ต่อการถ่ายทำภาพยนตร์
- ผู้สร้างลองเปรียบเทียบหน้ากากกันแก๊สและชุดคนงานเหมืองทุกรูปแบบ จนในที่สุดก็ตัดสินใจใช้ชุดแบบเดียวกับในภาพยนตร์ต้นฉบับ My Bloody Valentine (1981) เพียงแต่ปรับเปลี่ยนให้ทันสมัยขึ้นเล็กน้อย
- ผู้เชี่ยวชาญด้านการแต่งหน้า แกรี ทุนนิคลิฟฟ์ สร้างหุ่นจำลองของนักแสดงหลายคน เพื่อใช้ถ่ายทำฉากสยองต่างๆ เช่น ฉากถูกควักหัวใจออกมา
- ผู้สร้างถ่ายทำภาพยนตร์ 3 มิติเรื่องนี้ ด้วยเทคโนโลยีของบริษัท พาราไดส์ เอฟเอ็กซ์ ซึ่งได้พัฒนาอุปกรณ์บางชิ้นขึ้นเพื่อถ่ายทำภาพยนตร์เรื่องนี้โดยเฉพาะ เช่น กล้องที่ใช้ถ่ายทำซึ่งสร้างเสร็จก่อนจะเปิดกล้องเพียงวันเดียว และเนื่องจากเป็นเทคโนโลยีใหม่ ผู้กำกับภาพ โฮเวิร์ด สมิธ จึงต้องศึกษาวิธีการใช้อุปกรณ์ชิ้นนี้ใหม่อีกด้วย
- กล้องดิจิตอลที่ออกแบบเฉพาะสำหรับถ่ายทำภาพยนตร์เรื่องนี้มี 2 ตัว ชื่อ เดอะ เรด วัน และ ซิลิคอน อิเมจิง เอสไอ-ทูเค ซึ่งมีขนาดเล็กและเบากว่ากล้องถ่ายภาพยนตร์ทั้งในระบบ 2 มิติ และ 3 มิติอื่นๆ เป็นระบบ เอชดี โฟร์เค ที่บันทึกรูปขนาด 4,000 พิกเซลได้ที่ 30 เฟรมต่อวินาที มากกว่าระบบเอชดีแบบปกติที่บันทึกรูปขนาด 2,000 พิกเซลที่ 30 เฟรมต่อวินาที
- บริษัท พาราไดส์ เอฟเอ็กซ์ สร้างอุปกรณ์เฉพาะสำหรับการถ่ายทำฉากในอุโมงค์ ทำให้ผู้สร้างสามารถถ่ายทำจากมุมสูงได้ ซึ่งในอดีตไม่สามารถทำได้ เพราะกล้องที่ใช้ถ่ายทำระบบ 3 มิติรุ่นก่อนนี้ มีน้ำหนักถึงกว่า 500 ปอนด์
- กล้องที่ใช้ถ่ายทำภาพยนตร์เรื่องนี้สามารถแสดงภาพที่เพิ่งถ่ายทำไปในระบบ 3 มิติได้ในทันที ทำให้ผู้สร้างทำงานได้รวดเร็วและสร้างสรรค์ได้ง่ายขึ้น ต่างจากการถ่ายทำภาพยนตร์ 3 มิติแบบเก่า ที่ผู้สร้างต้องรอประมาณ 1 เดือนหลังถ่ายทำเสร็จ จึงจะได้เห็นภาพที่ถ่ายทำไปในแบบ 3 มิติ
- การถ่ายภาพยนตร์ 3 มิติในอดีต จะต้องใช้กล้องถ่ายภาพยนตร์ 2 มิติจำนวน 2 ตัว หรือเลนส์ 2 ชุด ถ่ายทำพร้อมกันในมุมเยื้องเล็กน้อย จึงทำให้ควบคุมการทำงานได้ยากกว่ากล้องแบบใหม่ที่ใช้ในภาพยนตร์เรื่องนี้ ซึ่งใช้กล้องเพียงตัวเดียว และสามารถปรับระยะความห่างของเลนส์สองตัว หรือจุดพาดผ่านระหว่างแนวนอนและแนวตั้งได้โดยอัตโนมัติ
- เป็นภาพยนตร์ที่ใช้เทคโนโลยี เรียล ดี เรื่องแรกที่ได้เรต อาร์
advertisement
วันนี้ในอดีต
- รักแห่งสยามเข้าฉายปี 2007 แสดง มาริโอ้ เมาเร่อ, วิชญ์วิสิฐ หิรัญวงษ์กุล, กัญญา รัตนเพชร์
- Harry Potter and the Chamber of Secretsเข้าฉายปี 2002 แสดง Daniel Radcliffe , Emma Watson , Rupert Grint
- ตีสาม 3Dเข้าฉายปี 2012 แสดง กาญจน์เกล้า ด้วยเศียรเกล้า, โทนี่ รากแก่น, ชาคริต แย้มนาม
เกร็ดภาพยนตร์
- Big Eyes - โดยส่วนใหญ่ผู้กำกับ ทิม เบอร์ตัน จะทำงานร่วมกับนักแสดงที่คุ้นเคยกันดีอยู่แล้ว แต่เรื่องนี้มีแต่นักแสดงที่ ทิม ไม่เคยร่วมงานด้วยมาก่อน โดยภาพยนตร์ที่ทำเช่นนี้ก่อนหน้านี้ คือ Beetlejuice (1988) อ่านต่อ»
- American Sniper - เดวิด โอ. รัสเซลล์ เคยได้รับการพิจารณาให้มากำกับภาพยนตร์เรื่องนี้ก่อนที่เขาจะขอถอนตัว สตีเวน สปีลเบิร์ก ก็เคยสนใจกำกับภาพยนตร์เรื่องนี้ แต่ก็ถอนตัวออกไปเช่นกัน คลินต์ อีสต์วูด จึงมารับหน้าที่กำกับในที่สุด อ่านต่อ»