เกร็ดน่ารู้จาก Amusement
เกร็ดน่ารู้
- เนื้อเรื่องของภาพยนตร์เรื่องนี้ถูกแบ่งออกเป็นตอนๆ ตอนแรกชื่อ The Convoy เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับขบวนนักเดินทาง ตอนที่ 2 ชื่อ The Intruder เกี่ยวกับพี่เลี้ยงเด็กในบ้านชานเมือง ตอนที่ 3 คือ The Pension เกี่ยวกับปราสาท เพียร์ส เพนชัน อันทรุดโทรม ตอนที่ 4 คือตอนที่เรื่องราวที่ดูไม่เกี่ยวข้องกันใน 3 ตอนแรกมาบรรจบกัน ชื่อตอนว่า The Reservoir
- ฉากส่วนใหญ่ในภาพยนตร์เรื่องนี้ถ่ายทำที่เมืองบูดาเปสต์ ประเทศฮังการี และมีบางฉากที่ถ่ายทำในโรงถ่ายต่างๆ เช่น โรงถ่ายใน ลอสแองเจลิส แคลิฟอร์เนีย
- ผู้เขียนบท เจก เวด วอลล์ ได้รับแรงบันดาลใจในการเขียนบทเรื่องนี้จากภาพยนตร์สยองขวัญยุค 70 และ 80 ซึ่งมีลักษณะที่ทำให้กลัวแต่ไม่คลื่นไส้ ในขณะที่เขามองว่าภาพยนตร์สยองขวัญยุคปัจจุบันมักเน้นความรุนแรง
- หลังจาก ผู้เขียนบท เจก เวด วอลล์ เขียนบทภาพยนตร์เรื่องนี้เสร็จ เขาก็ส่งบทไปให้ผู้อำนวยการสร้าง ไมก์ มาคาริ และ นีล เอเดลสตีน พิจารณา จากนั้นพวกเขาทั้ง 3 ก็เห็นพ้องกันที่จะทาบทามผู้กำกับมือใหม่ จอห์น ซิมป์สัน เนื่องจากผู้อำนวยการสร้างทั้งสองชื่นชอบวิธีการเล่าเรื่องในภาพยนตร์เรื่อง Freeze Frame (2004) ของเขา
- ฉากแรกที่ถ่ายทำเมื่อเปิดกล้องคือฉากขบวนนักเดินทาง ซึ่งถ่ายทำกันบนถนนทางหลวงนอกกรุงบูดาเปสต์ ในสภาพอากาศที่หนาวเหน็บของค่ำคืน มีทั้งหมอกและฝนและความชื้นจากป่าที่อยู่รอบๆ ในฉากนี้ ลอรา เบร็กเคนริดจ์ ผู้รับบท เชลบี ต้องสวมเสื้อผ้าหลายชั้น และคอยกลั้นใจไม่ให้ตัวสั่น ขณะแสดงหน้ากล้องให้มีท่าทางเหมือนคนที่รู้สึกอบอุ่นดี
- เนื่องจากถนนที่ใช้ถ่ายทำฉากขบวนนักเดินทางเป็นถนนเส้นใหม่ ทำให้ทีมงานไม่สามารถทาสีบอกจุดได้ จึงต้องใช้แถบกาวในการทำเครื่องหมายแทน ซึ่งเป็นกระบวนการที่เสียเวลามาก นอกจากนี้ ผู้กำกับภาพ มาร์ก การ์เรต ก็ประสบปัญหาแสงที่ใช้ถ่ายทำไม่เพียงพออีกด้วย
- ผู้เขียนบท เจก เวด วอลล์ เล่าว่า เขาเขียนฉากขบวนนักเดินทางโดยได้รับแรงบันดาลใจจากประสบการณ์ของเขาเอง เมื่อคราวที่เขาขับรถไปกลับระหว่างลาสเวกัสกับลอสแองเจลิส และได้เดินทางร่วมกับคาราวาน ที่ขับรถตามกันไปหลายคันเพื่อความปลอดภัย ขณะแวะที่ปั้มน้ำมัน เจกรู้สึกขนลุกขึ้นมา เมื่อคิดว่าผู้คนที่เดินทางร่วมกันเหล่านี้ไม่เคยรู้จักกัน แต่จำเป็นต้องเชื่อใจกัน
- ผู้ออกแบบฉาก เครก สเติร์น ออกแบบฉากปั๊มน้ำมันเพื่อใช้ในตอนที่ขบวนนักเดินทางมาแวะพัก โดยเขาออกแบบให้สามารถใช้งานได้จริง และตั้งอยู่ในป่าที่ดูวังเวง มีเพิงไม้เล็กๆ ใกล้ปั๊ม ซึ่งคนขับรถบรรทุกปริศนาใช้เป็นที่พักพิง ฉากปั๊มน้ำมันนี้เป็นฉากที่ผู้กำกับ จอห์น ซิมป์สัน ชอบที่สุด หลังจากปิดกล้องแล้ว เขายังรู้สึกอยากให้เก็บฉากนี้ไว้
- บริเวณถนนลูกรังในฉากขบวนนักเดินทางนั้น ผู้ออกแบบฉาก เครก สเติร์น ใช้ประโยขน์จากป่าในยุโรปกลางช่วงก่อนฤดูหนาวซึ่งอยู่ในบริเวณนั้นอย่างเต็มที่ ทั้งแสงสว่าง เงา และต้นไม้ที่ให้ความรู้สึกหลอนๆ
- ผู้กำกับ จอห์น ซิมป์สัน กับผู้ออกแบบฉาก เครก สเติร์น และ ผู้กำกับภาพ มาร์ก การ์เรต ช่วยกันพัฒนาการออกแบบฉากและสีที่ใช้ พวกเขาตกลงกันว่าจะสีแดงและน้ำตาลเป็นหลัก
- ผู้เขียนบท เจก เวด วอลล์ เขียนฉากพี่เลี้ยงเด็กในบ้านชานเมือง โดยได้รับแรงบันดาลใจจากเหตุการณ์คนแปลกหน้าแอบอยู่ในบ้านคนแล้วไม่มีใครจับได้ ซึ่งเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริงหลายครั้ง เจก อธิบายว่าเหตุการณ์นี้น่ากลัวมากเพราะ เมื่อมีคนจับตามองเรา โดยไม่รู้จุดประสงค์ที่แท้จริง จะทำให้เราคาดการณ์ไปต่างๆ นานา ว่าเขาจะทำอะไรกับเราบ้าง
- ฉากพี่เลี้ยงเด็กในบ้านชานเมืองนั้น ถ่ายทำกันที่โรงถ่ายใน ฟอต ประเทศฮังการี ประกอบไปด้วย 3 ฉากใหญ่ ได้แก่ ชั้นบนของบ้าน ชั้นล่างของบ้าน และภายนอกบ้าน
- ผู้ออกแบบฉากผาดโผน ร็อบ คิง เล่าว่า แคตเธอรีน วินนิก ผู้รับบท ทาบิธา สามารถแสดงฉากที่พยายามหนีออกมาทางหน้าต่างชั้นสองของบ้านชานเมืองได้สบาย เนื่องจากเธอเป็นนักกีฬาและสามารถต่อยมวยได้ จึงมีร่างกายแข็งแรงและคล่องตัว
- คณะผู้สร้างใช้ ปราสาททูรา ถ่ายทำฉากปราสาท เพียร์ส เพนชัน ปราสาททูรานี้มีอายุ 122 ปี อยู่ในบูดาเปสต์ เคยเป็นที่อาศัยของครอบครัวพ่อค้าที่ร่ำรวยในช่วงปี 1883 มีลักษณะของยุคนีโอเรอเนสซองส์ ซึ่งออกแบบโดย มิคอส อิบิ มัณฑนากรชื่อดังชาวฮังการีที่สร้างโรงโอเปราในฮังการีด้วย ปราสาททูรามี 3 ชั้น 78 ห้อง มีหอคอย ป้อมปืน และปล่องไฟ และต่อเติมด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ เช่น ประตูหน้ายกไฟฟ้า ระบบไฟ และเครื่องทำความร้อน
- ผู้ออกแบบฉาก เครก สเติร์น ปรับเปลี่ยนห้องกระจกใหญ่ในปราสาททูรา ให้เป็นห้องรับประทานอาหารและห้องเล่นเกม ซึ่งเป็นฉากหลักของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่ ปราสาทเพียร์ส เพนชัน
- คณะผู้สร้างถ่ายทำฉากตอนท้ายๆ เรื่องที่ กิลเลิร์ต บาธส์ อ่างเก็บน้ำเก่าขนาดมหึมาใกล้บูดาเปสต์ พวกเขาถ่ายทำในช่วงฤดูหนาวที่แห้งแล้ง ทำให้อ่างเก็บน้ำกลายเป็นเหมือนเขาวงกต ผู้ออกแบบฉาก เครก สเติร์น ตกแต่งเพิ่มเติมให้สถานที่นั้นน่ากลัวยิ่งขึ้น และเนื่องจากบริเวณนั้นเต็มไปด้วยสนิม จึงเป็นแรงบันดาลใจให้ เครก เลือกสีตกแต่งฉากได้ง่ายขึ้น
- แม้จะถ่ายทำในบูดาเปสต์ แต่เนื้อเรื่องตามบทภาพยนตร์เกิดขึ้นในอเมริกา ผู้ออกแบบฉาก เครก สเติร์น ต้องปรับสภาพภูมิศาสตร์ให้ดูเหมือนอเมริกาที่สุด เครกเล่าว่าบางครั้งธรรมชาติโดยรอบ เช่น แสงและพื้นดิน ก็สอดคล้องกับเนื้อเรื่องและบรรยากาศของภาพยนตร์โดยบังเอิญ
advertisement
วันนี้ในอดีต
เกร็ดภาพยนตร์
- Big Eyes - โดยส่วนใหญ่ผู้กำกับ ทิม เบอร์ตัน จะทำงานร่วมกับนักแสดงที่คุ้นเคยกันดีอยู่แล้ว แต่เรื่องนี้มีแต่นักแสดงที่ ทิม ไม่เคยร่วมงานด้วยมาก่อน โดยภาพยนตร์ที่ทำเช่นนี้ก่อนหน้านี้ คือ Beetlejuice (1988) อ่านต่อ»
- American Sniper - เดวิด โอ. รัสเซลล์ เคยได้รับการพิจารณาให้มากำกับภาพยนตร์เรื่องนี้ก่อนที่เขาจะขอถอนตัว สตีเวน สปีลเบิร์ก ก็เคยสนใจกำกับภาพยนตร์เรื่องนี้ แต่ก็ถอนตัวออกไปเช่นกัน คลินต์ อีสต์วูด จึงมารับหน้าที่กำกับในที่สุด อ่านต่อ»
เปิดกรุภาพยนตร์
A Beautiful Day in the Neighborhood เรื่องจริงอันน่าประทับใจของ ทอม จูนอด นักข่าวที่ได้รับมอบหมายให้มาสัมภาษณ์และเขียนบทความเกี่ยวกับ เฟรด โรเจอร์ส (ทอม แฮ...อ่านต่อ»