เกร็ดน่ารู้จาก Eagle Eye
เกร็ดน่ารู้
- ผู้กำกับ ดี.เจ. คารูโซ ผู้อำนวยการสร้างบริหาร สตีเวน สปีลเบิร์ก และนักแสดง ไชอา ลาบัฟฟ์ ที่รับบท เจอร์รี่ กลับร่วมงานกันเป็นครั้งแรก หลังจากเคยร่วมงานกันในภาพยนตร์เรื่อง Disturbia (2007)
- ผู้อำนวยการสร้างบริหาร สตีเวน สปีลเบิร์ก เป็นผู้คิดแนวคิดแรกเริ่มของภาพยนตร์เรื่องนี้ นั่นคือการเปลี่ยนเทคโนโลยี ซึ่งมนุษย์รักและพึ่งพิง ให้กลายเป็นศัตรูที่หันกลับมาทำร้ายมนุษย์ แต่ในช่วงแรกที่ สตีเวน เพิ่งริเริ่มแนวคิด เรื่องราวยังดูเหลือเชื่อแบบนิยายวิทยาศาสตร์ จากนั้นเทคโนโลยีของโลกก็ก้าวหน้าขึ้นอย่างรวดเร็ว จนโครงเรื่องนี้ดูสมจริงมากขึ้นเรื่อยๆ
- ในช่วงต้นปี 2006 สตีเวน สปีลเบิร์ก ผู้ริเริ่มแนวคิดของภาพยนตร์เรื่องนี้ นำแผนการสร้างไปเสนอ อเล็กซ์ เคิร์ตซ์แมน และมือเขียนบทที่เป็นเพื่อนของเขา โรเบอร์โต ออร์ซี จากนั้นทั้ง 3 ก็สานต่อโครงการนี้ด้วยกันในฐานะทีมอำนวยการสร้าง
- เดิมผู้อำนวยการสร้างบริหาร สตีเวน สปีลเบิร์ก ตั้งใจจะกำกับภาพยนตร์เรื่องนี้ด้วยตัวเอง แต่เปลี่ยนไปกำกับ Indiana Jones and the Kingdom of the Crystal Skull (2008) แทน และมอบหน้าที่กำกับให้ ดี.เจ. คารูโซ ซึ่งตอนนั้นกำลังถ่ายทำภาพยนตร์ Disturbia (2007) ซึ่งเป็นผลงานการสร้างของบริษัท ดรีมเวิร์คส เอสเคจี ของสตีเวน
- แผนกผู้เขียนบทพูดคุยกับ บิลลี่ บ็อบ ธอร์นตัน และนำประสบการณ์จริงของ บิลลี่ มาปรับใส่ในตัวละคร มอร์แกน ที่เขาแสดง เช่น กำหนดให้ มอร์แกน มีสำเนียงแบบคนใต้ เพราะ บิลลี่ เป็นคนจากรัฐเท็กซัส
- บิลลี่ บ็อบ ธอร์นตัน ชอบคิดบทพูดสด ทำให้แต่ละเทกที่ถ่ายทำแตกต่างกันไปเสมอ
- ผู้กำกับ ดี.เจ. คารูโซ ชื่นชอบฉากขับรถไล่ล่าในภาพยนตร์ยุค 70 มาก เขายึดภาพยนตร์เรื่อง The French Connection (1971) เป็นต้นแบบในการถ่ายทำฉากขับรถไล่ล่าในภาพยนตร์เรื่องนี้ โดยดี.เจ.พยายามเลี่ยงการใช้ภาพที่สร้างจากคอมพิวเตอร์ เพราะเชื่อว่าภาพจะดูสมจริงน้อยลง ฉากที่เครนพุ่งทะลุตึกนั้น พวกเขาใช้เครนจริงๆ พุ่งทะลุผ่านฉากที่สร้างเอาไว้
- ฉากไล่ล่าบนท้องถนนในภาพยนตร์เรื่องนี้ ใช้เวลาถ่ายทำนานหลายสัปดาห์ โดยใช้คณะผู้สร้าง 100 ชีวิต ถ่ายทำกันในชุมชนเมืองของลอสแองเจลิส โดยสมมติให้เป็นฉากในชิคาโก ฉากนี้มีการวางแผนด้วยสตอรี่บอร์ดเป็นอย่างดี
- ไบรอัน สเมิร์ซ และ เกรกก์ สเมิร์ซ มาจากครอบครัวนักแสดงฉากผาดโผนที่ทำงานอยู่ในวงการภาพยนตร์มานานกว่า 3 ทศวรรษ ในภาพยนตร์เรื่องนี้ ไบรอัน เป็นผู้กำกับกองถ่ายย่อยที่ 2 และผู้ประสานงานฉากผาดโผน เขารับผิดชอบฉากเครนพุ่งเข้าชนตึก และฉากขับรถไล่ล่า ขณะที่ เกรกก์ น้องชายของเขา ทำงานกับกองถ่ายหลัก
- ไชอา ลาบัฟฟ์ กับ มิเชลล์ โมนาฮาน แสดงฉากผาดโผนด้วยตัวเองประมาณร้อยละ 80 ของฉากผาดโผนทั้งหมด โดยต้องทำงานอย่างใกล้ชิดกับผู้ประสานงานฉากผาดโผน ไบรอัน สเมิร์ซ เพื่อความปลอดภัย
- ไชอา ลาบัฟฟ์ ผู้รับบท เจอร์รี่ แสดงฉากต่อสู้เองประมาณร้อยละ 90 ของฉากต่อสู้ทั้งหมด เขาชอบแสดงฉากต่อสู้ เพราะชื่นชอบการแข่งขันยูเอฟซี (อัลทิเมต ไฟติง แชมเปียนชิป) หรือ การต่อสู้ที่ไม่จำกัดศิลปะการต่อสู้
- มีฉากหนึ่งที่ตัวละคร เจอร์รี่ และ ราเชล อยู่ในรถซึ่งถูกเครนยกขึ้นสูง และตกออกมาจากรถลงไปอยู่บนกองขยะบนเรือลำหนึ่ง นักแสดงแทนต้องกระโดดลงมาจากความสูง 72 ฟุต ทำให้ ไชอา ลาบัฟฟ์ และ มิเชลล์ โมนาฮาน รู้สึกผิดหวังที่ไม่ได้แสดงเอง ผู้กำกับ ดี.เจ. คารูโซ จึงให้พวกเขาขึ้นไปยืนบนแท่น และกระโดดจากความสูง 22 ฟุตลงไปที่ถุงนิรภัย
- ฉากไล่ล่าตามเครื่องจักรในสนามบินนั้น ถ่ายทำที่โรงงานของดีเอชแอลในริเวอร์ไซด์ แคลิฟอร์เนีย โดยใช้ระบบสายพานที่ใช้ลำเลียงกล่องเป็นฉาก นักแสดงและตากล้องต้องคืบคลานไปตามสายพานที่เคลื่อนที่ และล้มลงไปบนรางหลายครั้ง ฉากนี้ใช้เวลาถ่ายทำนาน 4 วัน
- เรื่องราวในภาพยนตร์เกิดขึ้นในเวลาเพียง 2 วัน แต่คณะผู้สร้างถ่ายทำในสถานที่หลาย 10 แห่งทั่วโลก รวมแล้วกว่า 200 ฉาก ต้องมีการเคลื่อนย้ายกองถ่ายมากกว่า 100 ครั้งในเวลา 77 วัน ทำให้ทุกคนต้องทำงานกันอย่างรวดเร็ว
- ใช้สถานที่มากกว่า 12 แห่งในชิคาโก ถ่ายทำฉากต่างๆ เป็นเวลา 10 วัน
- ขณะพัฒนาบทภาพยนตร์ คณะผู้สร้างเชิญคนจากกระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกา เข้ามาช่วยแนะนำเรื่องความสมจริงด้วย ตั้งแต่ความหมายของคำแถลงการณ์ ภาษาร่างกาย วิธีถือปืน วิธีพูดกับเจ้าหน้าที่ และทัศนคติ ทั้งหมดล้วนแต่ผ่านการตรวจสอบแล้วทั้งสิ้น
- โรซาริโอ ดอว์สัน ผู้แสดงเป็น โซอี ได้เดินทางไปสำนักงานใหญ่โอเอสไอของทัพอากาศในวอชิงตัน ดีซี เพื่อเรียนรู้ชีวิตของตัวละคร และเธอได้พูดคุยกับเจ้าหน้าที่หญิงที่ฐานทัพอากาศแอลเอที่มีลักษณะคล้ายกับ โซอี ด้วย สุดท้าย เจ้าหน้าที่คนนั้นก็ได้แสดงเป็นคู่หูของ โซอี ในหลายฉาก
- มีทหารหลายนายแสดงเป็นทหารตัวประกอบในภาพยนตร์เรื่องนี้
- ทอม โนว์เลส อดีตเจ้าหน้าที่เอฟบีไอที่ปฏิบัติหน้าที่มา 22 ปี เป็นผู้แนะนำการแสดงให้ บิลลี่ บ็อบ ธอร์นตัน ผู้รับบท มอร์แกน และ อีธาน เอมบรีย์ ผู้รับบท แกรนต์ อีกทั้งยังมีอำนาจในการทบทวนบทภาพยนตร์ เพื่อให้รายละเอียดเกี่ยวกับการทำงานของเจ้าหน้าที่ถูกต้อง นอกจากนี้ ทอม ยังได้ตกแต่งกำแพงห้องทำงานของตัวละคร มอร์แกน และร่วมแสดงฉากหนึ่งเป็นตำรวจที่กำลังขับรถ
- กระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกายอมให้คณะผู้สร้างเข้าไปถ่ายทำฉากเฮลิคอปเตอร์ลงจอดที่สนามหญ้ากันในเพนตากอนจริงๆ โดยมี วินซ์ โอกิลวี ผู้ช่วยพิเศษสำหรับสื่อด้านความบันเทิงที่กระทรวงกลาโหมเป็นผู้ประสานงาน โดยอาศัยความร่วมมือจากกรมขนส่งและกระทรวงมหาดไทยด้วย เพราะต้องใช้เส้นทางบินพิเศษในเมืองหลวงของประเทศ
- วินซ์ โอกิลวี ผู้ช่วยพิเศษสำหรับสื่อด้านความบันเทิงที่กระทรวงกลาโหม ทำงานในกองทัพมานานกว่า 28 ปี เขาจึงสามารถช่วยสร้างตัวละครรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหม เจฟฟ์ คัลลิสเตอร์ ที่ ไมเคิล ชิกลิส แสดง ให้ดูน่าเชื่อถือได้ โดย วินซ์ ผสมผสานลักษณะของรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหม 4 คนที่เขาเคยทำงานด้วยเข้าด้วยกัน
advertisement
วันนี้ในอดีต
- ความสุขของกะทิเข้าฉายปี 2009 แสดง ภัสสร คงมีสุข, สะอาด เปี่ยมพงษ์สานต์, จารุวรรณ ปัญโญภาส
- Quarantineเข้าฉายปี 2009 แสดง Jennifer Carpenter, Steve Harris, Jay Hernandez
- Bal Ganeshเข้าฉายปี 2009 แสดง Asha Bhonsale, Kailash Kher, Usha Mangeshkar
เกร็ดภาพยนตร์
- Still Alice - ตอนที่ได้อ่าน Still Alice ฉบับหนังสือครั้งแรก ริชาร์ด แกลตเซอร์ และ วอช เวสต์มอร์แลนด์ ผู้กำกับทั้งสองคนรู้สึกว่าเรื่องราวของผู้หญิงที่ต้องเผชิญกับโรคสมองเสื่อมชนิดเกิดเร็วเป็นเรื่องที่ใกล้ตัว เพราะก่อนที่ทั้งคู่จะกำกับภาพยนตร์เรื่องนี้ ริชาร์ด ถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงหรือเอแอลเอส ที่เป็นสาเหตุให้พูดแล้วลิ้นพันกัน ซึ่งเป็นทำให้ทั้งสองคนต้องรับมือกับความเปลี่ยนแปลงแบบฉับพลัน ทั้งทางร่างกายและทางจิตใจ เหมือนตัวละคร อลิซ ที่แสดงโดย จูเลียนน์ มัวร์ อ่านต่อ»
- Song One - สก็อตต์ อาเวตต์ จากวง ดิ อาเวตต์ บราเธอร์ส เคยมาทดสอบบท เจมส์ โดย สก็อตต์ เล่าว่า เขาอ่านบทกับ แอนน์ แฮตธาเวย์ ผู้รับบท แฟรนนี ในฉากสะเทือนอารมณ์ และ แอนน์ เริ่มน้ำตาคลอ ตอนนั้นผมรู้สึกว่า โอ้ พระเจ้า เธอทำอย่างนั้นได้อย่างไร และมันก็ชัดเจนเลยว่านี่ไม่ใช่ที่ของผม ซึ่งภายหลังบท เจมส์ นี้ก็ตกเป็นของ จอห์นนี ฟลินน์ อ่านต่อ»