เกร็ดน่ารู้จาก Death Race
เกร็ดน่ารู้
- พอล ดับเบิลยู.เอส. แอนเดอร์สัน ดัดแปลงบทเรื่องนี้ โดยอิงจากบทภาพยนตร์ของ โรเบิร์ต ธอม และ ชาร์ลส์ กริฟฟิธ เรื่อง Death Race 2000 (1975)
- ฉากโรงงานเหล็กตอนเปิดเรื่อง ซึ่งผู้ชมได้เห็นตัวละคร เจนเซน อาเมส ซึ่งรับบทโดย เจสัน สเตแธม ครั้งแรกนั้น ถ่ายทำกันในโรงงานที่กำลังปฏิบัติงานอยู่จริงๆ และเจสันอยู่ท่ามกลางพนักงานโรงงานจริงๆ โดยมีหม้อต้มขนาดใหญ่ที่เต็มไปด้วยโลหะเหลว ถูกตะแคงเทอยู่ด้านหลัง นอกจากนี้ พวกเขาได้ถ่ายภาพคนงานในชุดกันไฟ ขณะใช้สายยางน้ำแรงดันสูงทำความสะอาดหม้อยักษ์ระหว่างเปลี่ยนกะด้วย
- รถแข่งของ เจนเซน อาเมส ซึ่งรับบทโดย เจสัน สเตแธม เป็นรถฟอร์ดมัสแตง จีที 2006 ซึ่งรู้จักกันในชื่อเดอะมอนสเตอร์ รถถูกตกแต่งด้วยป้ายจารึกบนหลุมศพที่ทำจากเหล็กหนา 3/4 นิ้ว และปืนขนาดเล็ก 2 กระบอก ที่สามารถยิงกระสุนได้ 3,000 นัดต่อนาที
- ไทรีส กิบสัน ในบท แมชชีน กัน โจ ขับรถดอดจ์แรม 1500 คว็อดแค็บ โฟวีล ปี 2004 ที่ติดเกราะเสริมอาวุธ และติดตั้งปืนวัลแคน ซึ่งเป็นปืนที่ติดตั้งบนเฮลิคอปเตอร์ ทำให้รถคันนี้วิ่งช้าและหนักกว่ารถคันอื่น
- ผู้สร้างเปลี่ยนเพลาหลังน้ำหนัก 1,500 ปอนด์ของรถดอดจ์แรมส์ไปเป็นเพลาหนัก 1 ตัน เพื่อให้มันสามารถรับน้ำหนักทั้งหมดของรถได้ เพราะรถคันนี้เพิ่มอุปกรณ์เสริมที่หนักถึง 2,500 ปอนด์เข้าไป มีทั้งเหล็ก ปืน แบตเตอรี่ดินปืน เฉพาะปืนใหญ่ที่ติดอยู่ด้านหลังก็หนักเกือบๆ 800 ปอนด์แล้ว
- ช่างเครื่องและช่างประกอบรถ ใช้เวลาประมาณ 6 สัปดาห์ในการสร้างรถ 1 คัน จากนั้นพวกเขาใช้เวลาอีก 1 สัปดาห์ทำแผ่นโลหะขนาดบางๆ ซึ่งเลียนแบบจากแผ่นเกราะขนาดหนา เอาไว้ใช้ป้องกันการโจมตีจากศัตรู
- เรื่องนี้ใช้รถทั้งสิ้น 34 คัน ได้แก่ มัสแตง 6 คัน ดอดจ์แรม 5 คัน ปอร์เช 4 คัน จากัวร์ 3 คัน บีเอ็มดับเบิลยู 3 คัน และรถ บูอิก 3 คัน รถของนักแสดงหลักมีทั้งสิ้น 11 คัน นอกจากนี้ทีมงานยังได้ติดต่อขอใช้รถของ ฟอร์ด ไครสเลอร์ และ ดอดจ์ และรถจากนิตยสารประกาศขายรถอีกหลายคัน
- ไม่มีนักแสดงและทีมงานคนใดของเรื่องนี้ ที่เดินออกไปจากกองถ่ายโดยไม่มีรอยช้ำติดเนื้อติดตัวไปด้วย และแทบไม่มีรถคันไหนที่ออกจากสนามแข่งไปโดยมีล้อครบ 4 ล้อเลย หลังจากที่ถูกใช้งานโดยทีมนักแสดงแทนและกองถ่ายย่อยที่ 2
- การถ่ายทำภาพยนตร์เรื่องนี้ ใช้กองถ่ายถึง 3 กอง ได้แก่ กองหลัก ซึ่งถ่ายทำส่วนที่เป็นการแสดง โดยมีผู้กำกับ พอล ดับเบิลยู.เอส. แอนเดอร์สัน เป็นคนควบคุม ส่วนกองย่อยที่ 1 จะรับผิดชอบภาพแทรกทั้งหมด เช่น ภาพเท้าที่เหยียบอยู่บนคันเร่ง ภาพของรอบเครื่อง พวงมาลัย เป็นต้น และกองย่อยที่ 2 รับผิดชอบฉากต่อสู้และฉากผาดโผนโดยเฉพาะ กำกับโดย สไปโร ราซาทอส
- ผู้กำกับ พอล ดับเบิลยู.เอส. แอนเดอร์สัน พยายามถ่ายทำจริงโดยใช้นักแสดงแทนและสลิงให้มากที่สุด จะใช้สเปเชียลเอฟเฟกต์และวิชวลเอฟเฟกต์เฉพาะกรณีที่การถ่ายทำจริงในกองถ่ายนั้นเป็นไปไม่ได้เท่านั้น
- นักแสดงแทนจะแสดงฉากที่มีระเบิด ส่วนนักแสดงจริงจะแสดงฉากขับรถและฉากต่อสู้ โดยนักแสดงต้องเตรียมร่างกายให้พร้อม เจสัน สเตแธม ฝึกร่างกายกับ โลแกน ฮูด อดีตสมาชิกหน่วยเนวีซิลอยู่นานหลายเดือน โดย โลแกน เคยเป็นครูฝึกร่างกายให้นักแสดงในภาพยนตร์เรื่อง 300 (2006) มาก่อน
- รถคันไหนที่ต้องระเบิด ภายในจะไม่มีคนขับ ผู้สร้างใช้สเปเชียลเอฟเฟกต์สร้างรถที่ควบคุมด้วยรีโมตขึ้นมา
- เนื่องจากมีทั้งฉากที่รถวิ่งไปด้วยความเร็ว และฉากรถระเบิดและไฟไหม้ งานนี้จึงมีอันตรายมากมาย เหล่านักแสดงแทนต้องสวมชุดกันไฟที่หนาถึง 3 ชั้นเอาไว้ตลอดเวลา
- มีการสร้างจุดเติมน้ำมันหรือเปลี่ยนยางรถ คอยเคลื่อนที่ตามกองถ่าย ทีมช่างเครื่องต้องทำงานกันตลอดทั้งคืน เพื่อเตรียมรถให้พร้อมสำหรับการถ่ายทำวันรุ่งขึ้น พวกเขาต้องตรวจตรารถทุกคันเพื่อให้แน่ใจว่าปลอดภัยแน่นอน เมื่อทำงานจนหมดวัน ก็จะนำรถเหล่านั้นส่งให้กับทีมงานอีกกะหนึ่งนำไปซ่อมแซม
advertisement
วันนี้ในอดีต
ม.3 ปี 4 เรารักนายเข้าฉายปี 2009 แสดง สโรชา ตันจรารักษ์, คณิน บัดติยา, ชลธร ปรัชญารุ่งโรจน์
สาระแนห้าวเป้งเข้าฉายปี 2009 แสดง เริงฤทธิ์ แมคอินทอช, นาคร ศิลาชัย, เกียรติศักดิ์ อุดมนาค
102 ปิดกรุงเทพปล้นเข้าฉายปี 2004 แสดง ฉัตรชัย เปล่งพานิช, อำพล ลำพูน, โกวิท วัฒนกุล
เกร็ดภาพยนตร์
เปิดกรุภาพยนตร์
Train to Busan: Peninsula
4 ปีหลังจากเหตุการณ์ที่ปูซาน ทั่วทั้งคาบสมุทรเกาหลีกลายเป็นดินแดนรกร้างที่เต็มไปด้วยฝูงซอมบี้กระหายเลือด และเหลือจำนวนผ...อ่านต่อ»