เกร็ดน่ารู้จาก WALL-E
เกร็ดน่ารู้
- เรื่องนี้เป็นภาพยนตร์เรื่องที่ 9 จาก ดิสนีย์ และ พิกซาร์ แอนิเมชัน สตูดิโอส์ ผู้กำกับและมือเขียนบท แอนดรูว์ สแทนทัน เป็นผู้ทำงานในพิกซาร์ตั้งแต่รุ่นบุกเบิก เขาเข้าร่วมงานกับพิกซาร์ในปี 1990 ซึ่งสตูดิโอเพิ่งตั้งขึ้นใหม่ๆ เป็นแอนิเมเตอร์คนที่ 2 และพนักงานคนที่ 9 ของสตูดิโอ
- เมื่อปี 1994 ที่คนทำงานรุ่นบุกเบิกของพิกซาร์ แอนดรูว์ สแทนทัน, จอห์น แลสซีเทอร์, พีต ด็อกเทอร์ และ โจ แรนต์ รับประทานอาหารกลางวันร่วมกัน และพูดคุยเรื่องภาพยนตร์ที่อาจทำต่อไปในอนาคต ทำให้เกิดความคิดที่จะสร้าง A Bug's Life (1998) Monsters, Inc. (2001) Finding Nemo (2003) และเรื่องนี้เป็นครั้งแรก
- ผู้กำกับ แอนดรูว์ สแทนทัน ได้อิทธิพลในการสร้างเรื่องนี้ จากภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ในยุค 70 เช่น Star Wars (1977) Alien (1979) Blade Runner (1982) และ Close Encounters of the Third Kind (1977)
- ผู้สร้างค้นคว้าข้อมูลก่อนเริ่มงานโดยไปทัศนศึกษาที่โรงงานรีไซเคิล เพื่อสังเกตการทำงานของเครื่องบดขยะขนาดยักษ์ ไปเยี่ยมนักวิทยาศาสตร์ของนาซาที่ห้องทดลอง เจต โพรพัลชัน เข้าร่วมงานประชุมเกี่ยวกับหุ่นยนต์ ซึ่งมีหุ่นยนต์เก็บกู้ระเบิดจากกรมตำรวจในท้องถิ่นมาแสดง และชมภาพยนตร์เงียบและภาพยนตร์วิทยาศาสตร์หลายเรื่อง เพื่อทำความเข้าใจเรื่องการแสดงสีหน้าท่าทาง
- ผู้ออกแบบงานสร้าง ราล์ฟ แอกเกิลสทัน ได้รับแรงบันดาลใจในการสร้างฉากในเรื่องนี้ มาจากภาพร่างแนวคิดโลกในอนาคต ทูมอร์โรว์แลนด์ ในสวนสนุกดิสนีย์แลนด์ ซึ่งออกแบบโดย ดิสนีย์ อิเมจิเนียร์ส รวมทั้งภาพวาดโครงการอวกาศหลายชิ้นของนาซาจากยุค 40, 50 และ 60 เช่น ภาพตึกรามบ้านช่องบนดาวอังคาร
- คนทำงานในพิกซาร์เรียก แมลงสาบ ที่เป็นสัตว์เลี้ยงของ วอลล์-อี ในเรื่องว่า ฮัล ตั้งชื่อตาม ฮัล โรก ผู้อำนวยการสร้างเลื่องชื่อในยุค 20 และเพื่อเป็นการแสดงความคารวะต่อตัวละคร ฮัล 9000 จากเรื่อง 2001: A Space Odyssey (1968)
- ผู้ให้เสียง มาเธอร์ คอมพิวเตอร์ของยานอวกาศ แอกเซียม คือ ซิกอร์นีย์ วีเวอร์ ผู้เปิดตัวในโลกภาพยนตร์ด้วย Alien (1979) หนึ่งในภาพยนตร์ที่สร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้กำกับ แอนดรูว์ สแทนทัน คณะผู้สร้างเลือกเธอให้มาพากย์เสียงบทนี้ เพื่อแสดงความคารวะต่อภาพยนตร์แนววิทยาศาสตร์
- เดิม จิม เรียร์ดอน และ แอนดรูว์ สแทนทัน ผู้เขียนบทร่วมกัน ตั้งใจจะทำให้เรื่องนี้เป็นภาพยนตร์ตลก แต่เมื่อเขียนบทไปเรื่อยๆ พวกเขาคิดว่าเรื่องนี้เป็นทั้งภาพยนตร์ตลก ภาพยนตร์รัก และภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ด้วย
- ผู้กำกับและผู้เขียนบท แอนดรูว์ สแทนทัน ได้ฟังเพลง Put on Your Sunday Clothes เพลง Out There และเพลง It Only Takes a Moment ในภาพยนตร์ Hello, Dolly! (1969) และเกิดแรงบันดาลใจในการกำหนดบุคลิกของตัวละคร วอลล์-อี ให้เป็นตัวละครที่สนใจเรื่องความรัก
- จุดเริ่มต้นของการออกแบบตัวละคร วอลล์-อี คือดวงตาของเขา ซึ่งผู้กำกับ แอนดรูว์ สแทนทัน ได้แรงบันดาลใจจากการใช้กล้องส่องทางไกลขณะชมการแข่งขันเบสบอล การออกแบบส่วนที่เหลือของ วอลล์-อี คำนึงจากประโยชน์ใช้สอยในการทำงาน ที่ต้องเก็บขยะเข้าไปในตัวเองแล้วอัดให้กลายเป็นก้อน ต้องมีรางเลื่อนสำหรับเคลื่อนไหวขึ้นลงกองขยะ และมีมือไว้ใช้แสดงท่าทาง
- สตีฟ ฮันเตอร์ ที่ปรึกษาแอนิเมเตอร์เล่าว่า ในช่วงแรกพวกเขาออกแบบ วอลล์-อี ให้มีข้อศอก เพื่อจะได้แสดงท่าเคลื่อนไหวได้หลากหลาย แต่ วอลล์-อี ถูกออกแบบมาเพื่อเก็บขยะเข้าไปในท้อง จึงไม่จำเป็นต้องมีข้อศอก ผู้กำกับการสร้างแอนิเมเตอร์ แองกัส แมกเลน จึงเปลี่ยนมาออกแบบให้เขามีรางเลื่อนรอบด้าน ทำให้เขาเปลี่ยนตำแหน่งการวางแขนได้
- ตัวละคร อีฟ เป็นหุ่นยนต์ที่กระพริบตาได้ และมีชิ้นส่วนที่ขยับได้ 4 ส่วน เธอถูกออกแบบให้ดูเหมือนหุ่นยนต์จากอนาคตที่เรียบง่ายและเลิศหรู จึงเคลื่อนไหวด้วยแรงแม่เหล็กได้อย่างพลิ้วไหว ไม่เงอะงะ ในขณะที่การเคลื่อนไหวของ วอลล์-อี เป็นแบบเก่า ที่มีเครื่องยนต์และฟันเฟือง
- ผู้ออกแบบเสียง เบน เบิร์ต ได้สร้างคลังไฟล์เสียง 2,400 ไฟล์ ซึ่งเป็นจำนวนที่มากที่สุดที่เขาเคยรวบรวมสำหรับภาพยนตร์เรื่องหนึ่งๆ และเรื่องนี้ถือเป็นภาพยนตร์แอนิเมชันเรื่องแรกของเขา
- เบน เบิร์ต สร้างเสียงแมลงสาบบิน โดยใช้เสียงเปิดปิดกุญแจมือของตำรวจ สร้างเสียง อีฟ บิน ด้วยเสียงเครื่องบินบังคับวิทยุความยาว 10 นิ้ว ที่บินโฉบหัวเขาไป สร้างเสียงลมพายุด้วยการลากถุงผ้าใบขนาดใหญ่ตามทางเดินที่ปูด้วยพรม และสร้างเสียง วอลล์-อี ตอนดันเกียร์สูง ด้วยเสียงตัวกระตุกเครื่องยนต์ของเครื่องบิน 2 เครื่องยนต์ในยุค 30
- ผู้กำกับ แอนดรูว์ สแทนทัน อยากให้เรื่องนี้ให้ความรู้สึกเหมือนเป็นภาพที่ถ่ายด้วยกล้องจริงๆ ไม่ใช่ภาพที่สร้างจากคอมพิวเตอร์
- ภาพยนตร์เรื่องนี้ให้ความสำคัญกับการเล่าเรื่องด้วยภาพ และลดทอนบทพูดลง ดนตรีจึงยิ่งมีบทบาทสำคัญกว่าปกติ เพลงประกอบภาพยนตร์เรื่องนี้แต่งโดย โธมัส นิวแมน
- เพลงปิดภาพยนตร์ Down to Earth เป็นเพลงที่ โธมัส นิวแมน ร่วมแต่งกับ พีเทอร์ เกเบรียล
- ผู้กำกับ แอนดรูว์ สแทนทัน ชื่นชอบดนตรีของ โธมัส นิวแมน ผู้แต่งดนตรีประกอบในภาพยนตร์เรื่องนี้มานานแล้ว และเขายังเป็นแฟนเพลงของ พีเทอร์ เกเบรียล ที่แต่งเพลงปิดท้ายให้ภาพยนตร์เรื่องนี้ มาตั้งแต่อายุ 12 ปี
- ผู้กำกับ แอนดรูว์ สแทนทัน เล่าเรื่องการสร้างเรื่องนี้ ให้ผู้แต่งดนตรีประกอบ โธมัส นิวแมน ฟังครั้งแรกในคืนการประกาศผลรางวัลอคาเดมี อวอร์ดปี 2004 ขณะกำลังร่วมฉลองให้ภาพยนตร์ Finding Nemo ที่พวกเขาร่วมงานกัน แอนดรูว์ บอก โธมัส ว่าเรื่องนี้ได้รับแรงบันดาลใจจาก Hello, Dolly! (1969) และมารู้ทีหลังว่าผู้แต่งเพลงประกอบภาพยนตร์ Hello, Dolly! คือ ไลออนเนล นิวแมน ลุงของ โธมัส เอง
- จิม เรียร์ดอน ขอถอนตัวออกจากตำแหน่งที่ปรึกษาผู้กำกับแอนิเมชันชุดทางโทรทัศน์ The Simpsons (1989) เพื่อมารับหน้าที่เขียนบทร่วมกับผู้กำกับ แอนดรูว์ สแทนทัน ในภาพยนตร์เรื่องนี้
- ชื่อของตัวละครหลักในภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นชื่อจากตัวย่อ วอลล์-อี (WALL-E) ย่อมาจาก นักกำจัดขยะในระดับชั้นโลก (Waste Allocation Load Lifter-Earth-class) ส่วน อีฟ (Eve) ย่อมาจาก นักประเมินพืชพันธุ์จากนอกโลก (Extraterrestial Vegetation Evaluator) และ เอ็ม-โอ (M-O) ย่อมาจาก นักทำลายจุลินทรีย์ (Microbe Obliterator)
- เนื่องจาก สตีฟ จอบส์ ผู้ก่อตั้งและประธานบริษัทแอปเปิล เป็นผู้บริหารระดับสูงของพิกซาร์ ในภาพยนตร์เรื่องนี้จึงอ้างถึงผลิตภัณฑ์ของแอปเปิลหลายครั้ง เช่น ตอนที่ วอลล์-อี เติมพลังงานแสงอาทิตย์จนเต็ม จะมีเสียงบูตอัปแบบเดียวกับเสียงคอมพิวเตอร์แมคอินทอชในปี 1996 วอลล์-อี ชมภาพยนตร์โปรดของเขาทางไอพอด และเสียงของระบบบินอัตโนมัติเป็นเสียงจากแมคอินทอล์ก หรือระบบแปลงอักษรเป็นเสียงพูดของแอปเปิล
- เสียงลมบนโลกในเรื่องนี้ สร้างจากเสียงน้ำตกไนแองการา
- ตัวละคร วอลล์-อีเก็บสะสมสิ่งของจากยุค 60-80 ไว้มากมาย เช่น เทปวิดีโอภาพยนตร์เรื่อง Hello, Dolly! (1969) ของเล่นลูกบาศก์ของรูบิก และเครื่องเล่นวิดีโอเกม อทาริ 2600 พร้อมเกมปิงปอง Pong (1972) แม้เรื่องราวในภาพยนตร์จะเกิดขึ้นหลังจากสิ่งของเหล่านี้ถูกประดิษฐ์ขึ้นมาถึง 800 ปี แต่สิ่งของเหล่านี้ยังคงใช้การได้
- ขยะชิ้นสุดท้ายที่ วอลล์-อี จัดการขณะกำลังออกจากชั้นบรรยากาศของโลก คือ ดาวเทียม สปุตนิก 1 ของรัสเซีย ซึ่งถูกสร้างขึ้นในปี 1957 ถือเป็นสิ่งของที่มนุษย์ประดิษฐ์ชิ้นแรกที่อยู่ในวงโคจรของโลก
- ผู้สร้างอุทิศภาพยนตร์เรื่องนี้ให้แก่ จัสติน ไรต์ แอนิเมเตอร์ของพิกซาร์อายุ 27 ปี ที่เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจล้มเหลว
- ชื่อยานอวกาศที่มนุษย์อาศัยอยู่ในเรื่องนี้คือ เอกเซียม ซึ่งในวิชาตรรกศาสตร์และคณิตศาสตร์ แอกเซียมหมายถึงหลักเกณฑ์ที่เป็นที่ยอมรับกันทั่วไป ไม่มีข้อสงสัย
- ผู้ออกแบบเสียง เบน เบิร์ต บันทึกเสียงจำนวนมากในห้องเก็บของเก่า
- เสียงสวบสาบของแมลงสาบในเรื่อง สร้างจากการนำเสียงแร็กคูนมาทำให้เร็วขึ้น
- ในช่วง 30 นาทีแรกของภาพยนตร์นั้นไม่มีบทพูดเลย
- ชื่อปลอมขณะขนส่งภาพยนตร์เรื่องนี้ไปยังโรงภาพยนตร์คือชื่อ Sundaye
- ในห้องเครื่องของกัปตันยาน แอกเซียม มีตู้เก็บวัตถุโบราณ ซึ่งมีหมวกนักบินอวกาศสีขาวของนาซา สมัยยุค 80 วางอยู่
advertisement
วันนี้ในอดีต
- Sherlock Holmes: A Game of Shadowsเข้าฉายปี 2011 แสดง Robert Downey Jr., Jude Law, Noomi Rapace
- โลกทั้งใบให้นายคนเดียวเข้าฉายปี 1995 แสดง สมชาย เข็มกลัด , ปราโมทย์ แสงศร , สุทธิดา เกษมสันต์ ณ อยุธยา
- Arthur Christmasเข้าฉายปี 2011 แสดง James McAvoy, Jim Broadbent, Bill Nighy
เกร็ดภาพยนตร์
- The Age of Adaline - แองเจลา แลนส์บูรี คือนักแสดงที่ถูกวางตัวให้รับบท เฟลมมิง เมื่อปี 2010 แต่ท้ายสุดแล้ว เอลเลน เบอร์สตีน คือผู้ที่ได้แสดงบทนี้ อ่านต่อ»
- Skin Trade - ดอล์ฟ ลันด์เกรน ผู้รับบท นิก เขียนบทเรื่องนี้ในปี 2006-2007 โดยตั้งใจว่าจะกำกับเอง แต่ภายหลังตัดสินใจมอบหน้าที่กำกับให้แก่ เอกชัย เอื้อครองธรรม โดย ดอล์ฟ จะได้ทำหน้าที่ควบคุมงานสร้างได้อย่างเต็มที่ อ่านต่อ»