เกร็ดน่ารู้จาก Breach

เกร็ดน่ารู้
  • ได้รับแรงบันดาลใจจากเหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้นในองค์กรรักษาความมั่นคงของชาติที่ทำหน้าที่เหมือนหน้าด่านเฝ้าประตูทางเข้าและผู้ดูแลความลับสุดยอดของประเทศ ซึ่งก็คือ สำนักงานสืบสวนกลาง หรือที่รู้จักกันในนาม เอฟบีไอ ซึ่งเรื่องนี้เกิดขึ้นก่อนหน้าโศกนาฏกรรม 11 กันยายน 2001 เพียงไม่กี่เดือน จากการสอบสวนเจ้าหน้าที่เอฟบีไอชายหญิงกว่า 500 คนอย่างต่อเนื่องโดยทีมสืบสวนพิเศษ วันที่ 18 กุมภาพันธ์ของปีนั้น เจ้าหน้าที่พิเศษ โรเบิร์ต แฮนส์เซ่น ก็ถูกจับกุมข้อหาจารกรรม
  • เมื่อลาออกจากเอฟบีไอ เอริก โอนีล ตัวจริงได้เล่าประสบการณ์การทำงานและความสัมพันธ์ระหว่างเขากับ โรเบิร์ต แฮนส์เซ่น ให้ เดวิด ผู้เป็นน้องชายฟัง ซึ่ง เดวิด บอกว่าเรื่องนี้น่าติดตามและสามารถนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์ได้ เอริก จึงติดต่อไปยังเอฟบีไอและได้รับอนุญาตให้นำเรื่องราวดังกล่าวไปสร้างเป็นภาพยนตร์ได้ จากนั้นผู้อำนวยการสร้าง บ็อบบี้ นิวไมเยอร์ และ สก็อตต์ สตรอสส์ แห่งบริษัท Outlaw Productions ซื้อลิขสิทธิ์เรื่องราว ร่วมกับ เอริก หาทีมเขียนมาขัดเกลาเรื่องราวให้เป็นบทภาพยนตร์ ซึ่งสุดท้ายพวกเขาก็ได้ตัว อดัม เมเซอร์ และ วิลเลี่ยม ร็อตโก มา
  • ภาพยนตร์เรื่อง Shattered Glass ปี 2003 ถ่ายทอดเรื่องราวที่มาจากชีวิตจริงของนักข่าวชื่อ สตีเว่น กลาส ทำให้ บิลลี่ เรย์ ถูกเลือกให้ผู้กำกับและหนึ่งในผู้เขียนบทเรื่องนี้
  • ผู้กำกับ บิลลี่ เรย์ ให้ เอริก โอนีล มีส่วนร่วมในงานสร้างทุกขั้นตอน ตั้งแต่แก้ไขบทภาพยนตร์จนถึงการนำมันขึ้นจอ และในการคัดเลือกนักแสดง บิลลี่ ได้ให้ เอริก มาเป็นผู้ร่วมคัดเลือก จนกระทั่งออกความเห็นให้ ไรอัน ฟิลลิปเป้ และ คริส คูเปอร์ มารับบทนำนั่นเอง
  • ทีมงานฉากของเรื่องได้รับอนุญาตให้เก็บรายละเอียดและสำเนาป้ายสัญลักษณ์ทุกป้าย ป้ายชื่อทุกแผ่น และอื่นๆ ไล่มากระทั่งโปสเตอร์ภาพยนตร์เอฟบีไอเก่าๆ ที่ติดไว้ในโรงอาหาร ซึ่งก็ทำให้ฉากที่ออกมาเหมือนจริงมาก
  • เพื่อช่วยให้ทีมงานสร้างฉากจับกุมได้อย่างถูกต้อง เอฟบีไอได้ส่งเทปการจับกุมของจริงมาให้ทีมงานดู และยังส่งเจ้าหน้า 2 คนที่อยู่ในทีมบุกจับ โรเบิร์ต แฮนส์เซ่น มาให้ข้อมูลแก่นักแสดงและทีมงานด้วย เพื่อให้รายละเอียดทุกท่วงท่าออกมาถูกต้องแม่นยำ แม้แต่ท่าใส่กุญแจมือ โรเบิร์ต ก็ยังไม่ผิดเพี้ยน
  • บิลลี่ เรย์ ตัดสินใจเข้ามากำกับและเขียนบทเรื่องนี้ เพราะเขาชอบเรื่องราวเกี่ยวกับการหลอกลวงหรือตัวละครที่มีชีวิต 2 ด้าน คือ ชีวิตด้านนอกและชีวิตด้านในที่ต่างกันอย่างสิ้นเชิง
  • บิลลี่ เรย์ ต้องการให้ คริส คูเปอร์ มารับบทนำตั้งแต่แรก เพราะ คริส เปรียบเหมือนตัวแทนของ โรเบิร์ต แฮนส์เซ่น เขาสามารถถ่ายทอดด้านมืดของตัวละครออกมาได้ โดยยังคงความเป็นมนุษย์อยู่
  • คริส คูเปอร์ เผยว่าที่ตัดสินใจรับบทนี้ ก็เพราะความชาญฉลาดของบทภาพยนตร์ ความซับซ้อนของตัวละคร และบทภาพพยนตร์ที่เขียนขึ้นอย่างปราณีต
  • นอกจาก ไรอัน ฟิลิปเป้ ตกลงรับบท เอริก โอนีล เพราะโครงการภาพยนตร์เรื่องนี้ สร้างมาจากเรื่องจริงแล้ว เขายังคิดอีกด้วยว่านี่คือโอกาสดีที่จะได้แสดงเคียงบ่าเคียงไหล่ กับนักแสดงคุณภาพอย่าง คริส คูเปอร์
  • ผู้อำนวยการสร้าง สก๊อตต์ สตรอสส์ ดีใจที่ ไรอัน ฟิลลิปเป้ ตกลงแสดงเรื่องนี้ เพราะเขาเป็นนักแสดงที่ เอริก โอนีล พระเอกตัวจริงในคดีนี้ ปลื้มสุดๆ
  • คริส คูเปอร์, ไรอัน ฟิลลิปเป้ และผู้กำกับ บิลลี่ เรย์ ใช้เวลามากกว่าหนึ่งสัปดาห์ในการนั่งแจกแจงรายละเอียดของฉากต่างๆ และพูดคุยกันเรื่องตัวละคร จากนั้นอีก 4 วันก็พา เอริก โอนีล เข้ามาปรึกษาลงลึกถึงรายละเอียดและบทสนทนา
  • เนื่องจากภาพยนตร์เรื่องนี้มีส่วนที่เกี่ยวข้องกับสถาบันคาธอลิก ที่ก่อตั้งโดยนักบุญโจสมาเรีย เอสคริว่า ชื่อ โอปุสเดอี นิกายที่ภรรยาของ โรเบิร์ต แฮนส์เซ่น ชักชวนให้เขาเข้าร่วม จนสุดท้ายได้กลายมาเป็นโฆษก ประจำโบสถ์ไปในที่สุดนั้น และด้วยความกังวลว่าทางกองถ่ายจะเสนอภาพของโบสถ์ออกมาอย่างไร ทางโบสถ์จึงส่งตัวแทนจากอีสต์โคสต์จำนวน 2 คนมายังลอสแองเจลิส เพื่อพูดคุยกับทีมงาน ทำให้ผู้กำกับ บิลลี่ เรย์ ไม่ต้องดั้นด้นไปค้นคว้าเรื่อง โอปุสเดอี เอง
  • มีสถานที่สำคัญหลายแห่งใน วอชิงตัน ดีซี ที่ทำฉากเลียนแบบขึ้นมาไม่ได้ เช่น อาคารเอฟบีไอ กระทรวงยุติธรรม แม่น้ำโพโตแมก และอนุสาวรีย์ประธานาธิบดีลินคอล์น แม้สภาพอากาศช่วงเดือนกุมภาพันธ์จะไม่แน่นอน แต่ผู้กำกับก็ยืนยันจะถ่ายทำในช่วงเดือนเดียวกับเหตุการณ์จริง
  • ทีมงานได้รับเกียรติให้เข้าไปถ่ายทำในอาคารสำนักงานของเอฟบีไอ ซึ่งปกติจะห้ามไม่ให้คนนอกเข้า้ แม้แต่บริเวณสำคัญภายในตึก รวมทั้ง เอฟบีไอพลาซ่า (โถงกลางภายในตึกเอฟบีไอฮูเวอร์) และล็อบบี้ฮูเวอร์ที่ไม่เคยอนุญาตให้กองถ่ายไหนเข้าไปถ่ายทำมาก่อน
  • อาคารสำนักงานใหญ่ของเอฟบีไอ มีสถาปัตยกรรมที่เป็นรูปแบบเฉพาะตัว ซึ่งยากจะเลียนแบบ คือ ด้านหนึ่งมี 7 ชั้น อีกด้านหนึ่งมี 11 ชั้น ออกแบบมาเพื่อให้คนหลงทาง ทำให้วันแรกที่ เอริก โอนีล เข้าไปทำงานถึงกับหลง ในตัวภาพยนตร์เองก็ไม่ลืมที่จะใส่รายละเอียดนี้เช่นกัน
  • ตามโถงทางเดินของสำนักงานเอฟบีไอที่เห็นในภาพยนตร์เรื่องนี้ มักจะเห็นโปสเตอร์ที่บอกชื่อ และรูปถ่ายหน้าตาของสายลับแต่ละคนที่โดนจับ พร้อมกับคำบรรยายเกี่ยวกับอาชญากรรมที่พวกเขาก่อ รวมถึงบอกระยะเวลาที่ต้องชดใช้ในเรือนจำ รูปเหล่านี้มีอยู่จริงในอาคารสำนักงานเอฟบีไอ รวมถึงรูปของ โรเบิร์ต แฮนส์เซ่น
  • หลังฉากเปิดตัวผ่านไป จะมีรหัสโผล่ขึ้นมาให้เห็นอย่างรวดเร็วและลดขนาดลงมาเป็นชื่อเรื่อง รหัสที่เป็นตัวเลื่อนนี้คือระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ ซึ่งจะเชื่อมต่อกับระบบจัดเก็บฐานข้อมูลอย่าง ยูนิกส์ วินโดว์ และ โนเวลล์
  • เอริก โอนีล เคยให้สัมภาษณ์ว่า โรเบิร์ต แฮนส์เซ่น ตัวจริงนั้นหลงใหลได้ปลื้มดาราสา่ว แคเธอรีน ซีต้า โจนส์ อย่างมาก ซ้ำยังเคยดูภาพยนตร์ที่เธอแสดงขณะอยู่ในเวลางาน ทั้งนี้จึงมีภาพ แคเธอรีน ปรากฏในภาพยนตร์เรื่องนี้

advertisement

วันนี้ในอดีต

เกร็ดภาพยนตร์

  • Penguins of Madagascar - ภาพยนตร์เรื่องนี้มีแผนออกฉายเดือนมีนาคม 2015 แต่หลังจากกระบวนการสร้างเสร็จไวกว่าที่กำหนดไว้ จึงเริ่มออกฉายจริงเดือนพฤศจิกายน 2014 อ่านต่อ»
  • Birdman - ไมเคิล คีตัน ผู้รับบท ริกแกน และนักแสดงคนอื่นๆ ต้องปรับตัวให้เข้ากับการกำกับที่เข้มงวดของผู้กำกับ อเลฮันโดร กอนซาเลซ อินาร์ริตู ที่ให้นักแสดงแสดงแต่ละฉากความยาว 15 หน้าก่อนจะตัดฉากต่อไป อ่านต่อ»

เปิดกรุภาพยนตร์

Wonder Park Wonder Park จูน (บริอันนา เดนสกี) เด็กผู้หญิงที่เปี่ยมไปด้วยความคิดสร้างสรรค์ และจินตนาการ จนวันหนึ่งเธอได้ค้นพบกับสวนสนุกที่ชื่อว่...อ่านต่อ»