เกร็ดน่ารู้จาก Bee Movie
เกร็ดน่ารู้
- ตัวอย่างภาพยนตร์ 2 แบบแรก แสดงให้เห็นว่า เจอรี่ ไซน์เฟลด์ พยายามทำการ์ตูนเรื่องนี้ให้เป็นภาพยนตร์ฉบับคนแสดง หลังจากที่ สตีเฟ่น สปีลเบิร์ก ได้ชมแล้วเขากลับพูดขึ้นว่า "ทำไมไม่สร้างเป็นการ์ตูนล่ะ"
- เจอรี่ ไซน์เฟลด์ กล่าวว่า เหตุผลที่เขาเลือกตั้งชื่อตัวละครผึ้งน้อยว่า แบรี่ บี เบนสัน ก็เพื่อเป็นเกียรติแก่ละครซิตคอมเรื่อง เบนสัน ที่ออกฉายในปี 1979 และเขาได้แสดงละครเรื่องนี้เป็นครั้งแรกในบทตัวละครที่ชื่อ แฟรงกี้
- สำเนาฟิล์มภาพยนตร์เรื่องนี้ถูกส่งไปทางเรือโดยใช้ชื่อปลอมว่า Flower
- ต้องใช้เวลานานถึง 4 ปีในการสร้างภาพยนตร์เรื่องนี้ และใช้เวลาหนึ่งล้านชั่วโมงให้คนทำงานเพื่อสร้างภาพยนตร์เรื่องนี้ กับต้องใช้เวลาในการจัดการงานทั้งหมดกว่า 25 ล้านชั่วโมงระหว่างขั้นตอนงานสร้าง ซึ่งมากกว่าภาพยนตร์เรื่อง Shrek ภาคแรกถึง 5 เท่า
- ทีมแอนิเมชั่นได้สร้างผึ้งเป็นล้านตัวในเรื่องนี้ โดยเฉพาะฉากที่ฝูงผึ้งช่วยให้เครื่องบินร่อนลงจอด มีผึ้งที่ช่วยพยุงเครื่องบินไว้ถึง 750,000 ตัว และมีอีก 350,000 ตัวรวมกลุ่มกันเป็นรูปดอกไม้รออยู่ที่พื้นดิน
- เจฟฟรีย์ แค็ตเซนเบิร์ก พยายามเกลี้ยกล่อม เจอรี่ ไซน์เฟลด์ อยู่นานกว่า 12 ปีเพื่อให้เขาเข้ามาร่วมงานในการสร้างภาพยนตร์การ์ตูน แต่เจอร์รี่ไม่สนใจ
- คืนหนึ่งขณะ เจอรี่ ไซน์เฟลด์ ดินเนอร์อยู่กับเพื่อนบ้านในแฮมป์ตันส์ ซึ่งคือ สตีเฟ่น สปีลเบิร์ก การนิ่งเงียบระหว่างการสนทนาเป็นผลให้เจอร์รี่เอ่ยออกมาว่าเขานึกอะไรดีๆ ออกเกี่ยวกับภาพยนตร์ การ์ตูนเรื่อง Bee Movie สตีเฟ่นชอบความคิดนี้รวมไปถึงชื่อเรื่อง เขาจึงรีบโทรศัพท์หาเจฟฟรีย์หลังรับประทานอาหารค่ำมื้อนั้นเสร็จ ข้อตกลงถูกกำหนดขึ้นก่อนที่เจอร์รี่จะทันรู้ตัว และแล้วการดำเนินงานสร้างภาพยนตร์เรื่องนี้จึงเริ่มต้นขึ้น
- เจอรี่ ไซน์เฟลด์ รู้สึกทึ่งในตัวผึ้งเสมอมา ไม่ว่าจะเป็นรูปร่าง สีสัน และความจริงที่ว่าพวกมันได้สร้างสิ่งที่น่าทึ่ง เช่นน้ำผึ้ง (ทั้งๆ ที่พวกมันเป็นแค่แมลงตัวเล็กๆ) เขาสงสัยว่าผึ้งจะทำยังไงถ้ารู้ว่าพวกมนุษย์ได้นำผลผลิตที่ล้ำค่าของพวกมันมาขาย และนั่นก็คือที่มาของแนวความคิดในภาพยนตร์เรื่องนี้
- เจอรี่ ไซน์เฟลด์ ชอบใส่รองเท้าเทนนิส และนั่นก็คือรูปแบบการเลือกรองเท้าของผึ้งน้อย แบร์รี่
- ในช่วงแรกๆ ของการออกแบบ แบร์รี่ดูคล้ายกับ เจอรี่ ไซน์เฟลด์ โดยเป็นผึ้งที่ใส่เสื้อสเวตเตอร์ แต่ทุกคนต่างรู้สึกว่างานออกแบบนี้ยังไม่ลงตัว ดังนั้นทางทีมผู้สร้างจึงออกแบบแบร์รี่ให้แตกต่างออกไป โดยให้มีลักษณะรูปร่างที่โค้งมนและดูซื่อมากขึ้น และความคิดนี้ก็ใช้ได้ อย่างไรก็ดี พวกเขาต้องออกแบบตัวละครตัวนี้มากถึง 800-900 แบบก่อนที่จะได้พบแบร์รี่อย่างที่เป็น
- เจอร์รี่ ไซน์เฟลด์ ซึ่งเป็นแฟนผลงานของ เรเน่ เซลล์เวเกอร์ มานาน คิดถึงเธอในบทวาเนสซ่าขึ้นมา แต่เพราะเขากับเรเน่ไม่เคยพบกันมาก่อน เจฟฟรีย์ แค็ตเซนเบิร์ก จึงเป็นคนจัดการจัดให้ทั้งเขาและเธอ นั่งติดกันในการฉายภาพยนตร์เรื่อง Shark Tale รอบปฐมทัศน์ในนิวยอร์กปี 2004 ซึ่งจัดขึ้นที่เซ็นทรัลปาร์ก
- เจอรี่ ไซน์เฟลด์ และ แมตธิว บรอเดอริค เป็นเพื่อนสนิทกันอยู่แล้ว แมตธิวจึงเป็นนักแสดงคนแรกที่เจอร์รี่เลือกมาให้เสียงพากย์เป็นอดัม เพื่อนซี้ของแบร์รี่ เพราะรู้สึกว่ามิตรภาพนอกจอของเขากับแมตธิว จะสะท้อนให้เห็นถึงความเป็นผึ้งคู่ซี้ และการที่แมตทิวปล่อยมุขแบบหน้าตายก็เหมาะที่สุดแล้วสำหรับสวมบทเป็นอดัม
- คริส ร็อก และ เจอรี่ ไซน์เฟลด์ เล่นด้นสดกันเสียเป็นส่วนใหญ่ในฉากที่ต้องสนทนาโต้ตอบกัน แต่เริ่มเดิมที เจ้ายุงมูสบลัด ตัวละครของคริสมีบทพูดอยู่เพียงไม่กี่ประโยคเท่านั้น แต่แล้วความมหัศจรรย์ก็เริ่มบังเกิดระหว่างการบันทึกเสียง บทรับเชิญนี้ได้กลายมาเป็นบทที่มีคำพูดถึง 50 ประโยค และคำพูดประณามพวกยุงสาวของมูสบลัด ที่อยากจะคบหาแต่กับพวกไฮโซก็เป็นผลิตผลจากมันสมองของคริสและเจอรี่แท้ๆ เชียว
- เดิมที เมแกน มัลลัลลี่ ได้รับเลือกให้มาเป็นผู้ให้เสียงแก่ตัวละครราชินีผึ้ง ซึ่งเป็นตัวละครที่ได้รับการพัฒนามานานถึงสองปี อย่างไรก็ดี เมื่อบทนี้ถูกตัดออกอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงเนื้อหาของเรื่อง เจอรี่ ไซน์เฟลด์ รู้สึกประทับใจกับเสียงพากย์ของเมแกนจนเขาต้องสร้างตัวละครที่ชื่อทรูดี้ขึ้นมา เพื่อให้เธอยังคงมีส่วนร่วมอยู่ในเรื่องนี้ ทรูดี้ก็คือคนนำเที่ยวโรงงานฮันเน็กซ์
- เจอรี่ ไซน์เฟลด์ ได้เดินทางไปเยี่ยมคนเลี้ยงผึ้งชาวฝรั่งเศสในลองไอส์แลนด์ ตอนช่วงแรกที่เริ่มดำเนินงานสร้างภาพยนตร์ คนเลี้ยงผึ้งดังกล่าวไม่เชื่อเรื่องการสวมใส่ชุดป้องกันผึ้ง และยังกล่าวย้ำกับเจอร์รี่ว่าจะไม่มีปัญหาใดๆ เกิดขึ้นแน่ ทุกอย่างเริ่มต้นด้วยดี กระทั่งคนเลี้ยงผึ้งตัดสินใจนำราชินีผึ้งออกมาให้เจอร์รี่ดู และยังไม่ทันจะได้ร้องเตือน ฝูงผึ้งก็เริ่มบินเข้าหาเจอร์รี่ โดยมีผึ้งตัวหนึ่งบินไล่ตามเจอรี่อย่างมุ่งร้าย และต่อยใส่จมูกเขา
- ความทุ่มเทและจินตนาการของ เจอรี่ ไซน์เฟลด์ เห็นได้อย่างเด่นชัด เพราะเขาจะไปปรากฏตัวอยู่ด้วยทุกครั้งที่นักแสดงบันทึกเสียง ซึ่งหมายถึงเขาต้องไปอยู่ในห้องบันทึกเสียงถึง 135 วัน เขาให้เสียงเป็นแบร์รี่ร่วมกับนักแสดงคนอื่นๆ ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ค่อยเกิดขึ้นสักเท่าไหร่ ในงานสร้างภาพยนตร์การ์ตูน ทำให้มีการเพิ่มเนื้อหาใหม่ๆ เข้าไปในระหว่างการบันทึกเสียง
- หน่วยเก็บเกสรให้เสียงพากย์โดยทีมนักแสดงตลก และกลุ่มเพื่อนของ เจอร์รี่ ไซน์เฟลด์ ซึ่งรวมถึง ทอม ปาปา และ มาริโอ จอยเนอร์
- ผู้กำกับ ไซม่อน เจ. สมิธ คือผู้ให้เสียงพากย์ที่มีความสามารถ เขาได้บันทึกเสียงต้นแบบอย่างคร่าวๆ ให้กับตัวละครหลายตัว และมีอยู่หลายเสียงที่นำไปใส่ไว้ในภาพยนตร์เรื่องนี้ด้วย อาทิ ผึ้งที่ให้แบร์รี่เซ็นเอกสารก่อนที่เขาจะออกบินไปพร้อมกับหน่วยเก็บเกสร และคนขับรถบรรทุกที่เปิดที่ปัดน้ำฝนใส่แบร์รี่ มูสบลัด และแมลงอีกหลายตัวบนกระจกรถ
- เดฟ ไพเมนเทล หัวหน้าแผนกเนื้อเรื่อง เป็นผู้ให้เสียง เฮ็กเตอร์ บ็อกซ์บอย
- ผู้อำนวยการสร้าง คริสติน่า สตีนเบิร์ก แพ้ผึ้งจริงๆ
- เรย์ ลีอ็อตต้า ได้เจอ เจอรี่ ไซน์เฟลด์ตั้งแต่ช่วงแรกของงานสร้างภาพยนตร์เรื่องนี้ และเมื่อเขารู้ว่าเจอรี่กำลังทำอะไรอยู่ จึงขอเข้ามามีส่วนร่วมด้วยทันที ทั้งคู่ได้มาพบกันอีกครั้งในสองเดือนถัดมา โดยเรย์ได้พูดเตือนเจอรี่ว่าเขายังสนใจอยู่ หนึ่งปีกว่าๆ ต่อมา เมื่อมีบทที่เหมาะสำหรับเรย์ เจอรี่จึงได้ติดต่อไปหา เรย์บอกว่าเจอร์รี่เป็นเพียงคนเดียวในฮอลลีวูดที่รักษาสัญญาที่ได้ให้กันไว้
- ลาร์รี่ มิลเลอร์ เพื่อนและเพื่อนร่วมงานของ เจอรี่ ไซน์เฟลด์ ให้เสียงพากย์เป็นตัวคณบดีมหาวิทยาลัยที่แบร์รี่สำเร็จการศึกษา
- ในการสร้างสองโลก คือ นิวยอร์กซิตี้ และ นิวไฮฟ์ซิตี้ แผนกจัดโมเดลลิ่งมีหน้าที่รับผิดชอบในการสร้างสถานที่ถ่ายทำ 49 แห่ง ตั้งแต่ฉากเล็กๆ อย่างห้องนอนของแบร์รี่จนถึงฉากใหญ่ๆ อย่างเซ็นทรัลปาร์ก ตึกมากกว่า 150 แห่งสำหรับนิวยอร์กซิตี้ ทรงผมที่ต่างกันถึง 103 แบบทั้งสำหรับมนุษย์และผึ้ง ต้นไม้ ดอกไม้ และพืชพันธุ์มากกว่า 300 ชนิด
- รูปทรงที่ดูทันสมัยแต่เน้นลักษณะตามธรรมชาติของเทอร์มินัล TWA ที่สนามบินเจเอฟเค ได้กลายมาเป็นหนึ่งในแรงบันดาลใจสำหรับงานออกแบบรวงผึ้ง
- นักออกแบบจากบริษัทปอร์เช่ออกแบบรถที่ มอนต์โกเมอรี่ ทนายขี้โม้ขับ
- ในเวลาที่ยุ่งวุ่นวายที่สุด แผนกเลย์เอ้าต์จะมีศิลปินถึง 18 คนทำงานเพื่อสร้างเลย์เอ้าต์แบบคร่าวๆ และเลย์เอ้าต์สุดท้ายของภาพยนตร์เรื่องนี้
- แผนกเลย์เอ้าต์ได้สร้าง 15 ช่วงตึกในเมืองแมนฮัตตัน เพื่อใช้ในการถ่ายทำภาพยนตร์เรื่องนี้ โดยอิงจากข้อมูลของถนนสองเส้นหลักที่แผนกโมเดลลิ่งได้ทำเอาไว้
- แผนกเลย์เอ้าต์ได้สร้างฉากมากเกือบสามเท่าของฉากที่ใช้จริงในภาพยนตร์
- ฉากแต่ละฉากจะต้องผ่านขั้นตอนในแผนกเลย์เอ้าต์สี่รอบด้วยกัน นั่นก็คือรอบแรกเพื่อสร้างกล้อง รอบที่สองเพื่อเตรียมงานแอนิเมชั่นด้วยการโหลดและติดตั้งตัวละครทุกตัว รวมถึงของประกอบทุกอย่างที่ผู้สร้างงานแอนิเมชั่นต้องใช้ รอบที่สามติดตั้งเข้าไปเพื่อการตกแต่งฉาก เพื่อการจัดแสง และรอบที่ 4 ตรวจสอบงานกล้องรอบสุดท้ายหลังเสร็จงานแอนิเมชั่นแล้ว
- ในช่วงที่งานวุ่นวายที่สุด มีผู้สร้างงานแอนิเมชั่นถึง 40 ชีวิตทำงานให้กับภาพยนตร์เรื่องนี้
- เจอร์รี่ ไซน์เฟลด์ได้เข้าไปเกี่ยวข้องกับขั้นตอนการตรวจสอบในงานแอนิเมชั่นด้วย ศิลปินแอนิเมชั่นในฝั่งเวสต์โคสต์จะทำงานออนไลน์กับเขา โดยจะนำเสนอฉากให้เขาได้เห็นในสำนักงานที่นิวยอร์ก ขณะผู้สร้างงานแอนิเมชั่นซึ่งอยู่ในแคลิฟอร์เนีย จะรอรับความเห็นจากเขา เจอร์รี่ยังเดินทางไปยังสตูดิโอเพื่อดูผลลัพธ์ที่ได้ด้วยตาตัวเองด้วย
- แอนิเมเตอร์ต้องสร้างภาพแอนิเมชั่นที่มีความยาวเกือบๆ 11,000 ฟุต
- ช็อตแรกของภาพยนตร์เรื่อง Bee Movie เสร็จสิ้นเมื่อวันที่ 15 เมษายน ปี 2006 ส่วนช็อตสุดท้ายเสร็จสิ้นในวันที่ 18 สิงหาคม ปี 2007
- ตัวละครแบร์รี่ สูงเพียง 0.825 นิ้ว
- ผึ้งทั่วๆ ไปสามารถขยับปีกได้ด้วยความเร็วถึงวินาทีละ 180 ถึง 225 ครั้ง ซึ่งทำให้ลำบากเหมือนกันในการวาดภาพ ดังนั้น ผึ้งในเรื่องนี้ จึงขยับปีกของมันด้วยความเร็ววินาทีละ 6-7 ครั้งเท่านั้นขณะที่มันออกบิน จากนั้น ปีกจะขยับในลักษณะเป็นภาพเบลอ
- ช็อตที่แบร์รี่ยืนอยู่ใต้หน้าต่างของวาเนสซ่าเมื่อน้ำค้างหยดโดนตัวเขา ฉากนี้ฉากเดียวต้องผ่านการปรับเปลี่ยนถึง 640 เทก
- เจ้าหมีวินเซนต์จาก Over the Hedge มาร่วมปรากฏตัวทั้งในภาพยนตร์ตัวอย่างของเรื่องนี้ และในฉากห้องพิจารณาคดี
- หนึ่งในหน้าปกหนังสือแม็กกาซีนในซูเปอร์มาร์เก็ตจะมีภาพของผู้ประสานงานฝ่ายศิลปกรรม เดอเร็ก แม็คเคลิร์ก
- คุณจะได้เห็น คริสตอฟ ลอทเร็ตต์ ผู้กำกับศิลป์ของภาพยนตร์เรื่องนี้อยู่ในชุดว่ายน้ำสปีโด้ ตรงน้ำพุหนึ่งในไฟล์ภาพเรื่องนี้ของเอ็นบีซี
- ทรงผมของ คาเมรอน สเตฟนิ่ง ฝ่ายควบคุมการประสานงานของภาพยนตร์เรื่องนี้ถูกใช้เป็นต้นแบบทรงผมของตัวละครเคน
- ในชีวิตจริง มีเพียงผึ้งตัวเมียที่เก็บน้ำหวานและเกสร แต่เพื่อให้เหมาะกับเรื่องราวและเพื่อทำให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างผึ้งรูปร่างสูงใหญ่และบึกบึนกับ แบร์รี่ บี เบนสันที่รูปร่างเล็กกว่า ทางทีมงานตัดสินใจสร้างหน่วยเก็บเกสรให้เป็นผึ้งตัวผู้
- พวกผึ้งใน Bee Movie มีสองตา แต่ผึ้งจริงๆ มี 5 ตา สองตาขนาดใหญ่ และสามตาที่เรียกกันว่าโอเซลลี่ ผึ้งทุกตัวในภาพยนตร์เรื่องนี้มีสี่ขา แต่ผึ้งจริงๆ เป็นแมลง จึงมีหกขา ทางทีมผู้สร้างตัดสินใจที่จะปรับเปลี่ยนมัน เพื่อทำให้มันดูเหมือนมนุษย์มากขึ้น
- หนึ่งในข้อสอนใจของเรื่องนี้ คือทุกงานที่ทำล้วนมีความสำคัญ จงทำงานนั้นอย่างเต็มที่
- คิดแบบผึ้ง หมายถึงจงทำงานด้วยกันอย่างเป็นหนึ่งเดียว จงภูมิใจในงานนั้นและคิดถึงกลุ่มเสมอ ไม่ใช่คิดถึงแค่เรื่องตัวเอง
advertisement
วันนี้ในอดีต
เด็กหอเข้าฉายปี 2006 แสดง จินตหรา สุขพัฒน์, ชาลี ไตรรัตน์, ศิรชัช เจียรถาวร
Constantineเข้าฉายปี 2005 แสดง Keanu Reeves, Rachel Weisz, Shia LaBeouf
Million Dollar Babyเข้าฉายปี 2005 แสดง Clint Eastwood, Hilary Swank, Morgan Freeman
เกร็ดภาพยนตร์
- Tomorrowland - ผู้กำกับ แบรด เบิร์ด เป็นตัวเลือกแรกที่จะให้กำกับ Star Wars: Episode VII - The Force Awakens (2015) แต่ แบรด ปฏิเสธข้อเสนอเพื่อกำกับภาพยนตร์เรื่อง Tomorrowland (2015) โดย แบรด บอกว่าหากคุณมีโอกาสกำกับภาพยนตร์ต้นฉบับก็ควรคว้าโอกาสเอาไว้ อ่านต่อ»
- The Voices - เดิมทีผู้กำกับ มาร์จาน เซทราพี ตั้งใจให้นักแสดงคนอื่นมาพากย์เสียงสัตว์ต่างๆ ในภาพยนตร์ แต่ ไรอัน เรย์โนลด์ส นักแสดงบท เจอร์รี โน้มน้าว มาร์จาน ให้เขาเป็นคนพากย์เสียงสัตว์เอง เพราะตัวละคร เจอร์รี ได้ยินเสียงในหัวตัวเอง เพราะฉะนั้นน่าจะเป็นเสียงของเขาเองในหลายรูปแบบ ไรอัน ยังบันทึกเสียงของตัวเองเป็นสัตว์หลายชนิดส่งให้ผู้กำกับพิจารณาอีกด้วย อ่านต่อ»