เกร็ดน่ารู้จาก Transformers
เกร็ดน่ารู้
- ตัวละครฝ่าย ดีเซปทิคอนส์ ในเรื่อง มีเพียง เมกะทรอน และ สตาร์ครีม เท่านั้นที่นำมาจากฉบับก่อนหน้าที่เคยสร้างมาก่อน ส่วนตัวละครที่เหลือนั้นเป็นการผสมผสานระหว่างตัวละครอื่นๆ ที่เหลือจากในหลายๆ ตัวของฉบับละครชุดที่ออกอากาศมาแล้วหลายปี
- เดิมที ไมเคิล เบย์ ปฏิเสธที่จะกำกับเรื่องนี้ โดยบอกว่าเป็นภาพยนตร์ของเด็กเล่นเท่านั้น อย่างไรก็ตามเนื่องจากในช่วงเข้าวงการภาพยนตร์ใหม่ๆ ไมเคิล ซึ่งเคยทำงานที่บริษัท ลูคัส ฟิล์ม ตอนนั้นเขาเคยออกความเห็นแบบเดียวกันนี้มาก่อนกับภาพยนตร์เรื่อง Raiders of the Lost Ark (1981) ที่ภายหลังกลายมาเป็นภาพยนตร์เรื่องดัง ดังนั้น ไมเคิล จึงคิดว่าเขาอาจจะคิดผิดเช่นเดียวกันกับในเรื่องนี้ด้วยก็ได้ สุดท้ายเขาจึงรับงานนี้ และอยากสร้างมันให้เป็นภาพยนตร์สำหรับครอบครัว
- แสตน บุช เป็นคนแต่งเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่องนี้ โดยเขายังแต่งเพลง Dare และ The Touch ให้กับภาพยนตร์ The Transformers: The Movie ฉบับปี 1986 อีกด้วย
- เดิมทีมีตัวละครชื่อ อาร์ซี อยู่ในบทภาพยนตร์ด้วย แต่เนื่องจากผลตอบรับที่ไม่ดีจากแฟนๆ ทำให้ตัวละครของเธอถูกตัดออกไปแล้วมีตัวละคร ไอรอนไฮด์ มาแทน
- ปืนของตัวละคร ไอรอนไฮด์ ประกอบขึ้นด้วยชิ้นส่วนต่างๆ 10,000 ชิ้น
- คำโปรยของภาพยนตร์เรื่องนี้ คือ Their War. Our World ที่ก่อนหน้าเกือบจะถูกใช้เป็นคำโปรยของภาพยนตร์ AVP: Alien vs. Predator (2004) ซึ่งเปลี่ยนมาใช้คำโปรยว่า Whoever wins...we lose แทน
- เพื่อที่จะให้เป็นที่ยอมรับจากแฟนๆ ของ Transformers ฉบับเดิม ดังนั้นการใช้สีของแต่ละฝ่ายจึงยังคงใช้สีเดิมแบบที่แฟนๆ คุ้นเคย นั่นคือฝ่าย ออโต้บอท จะต้องเป็นสีแดง และฝ่าย ดีเซปทิคอนส์ จะเป็นสีน้ำเงิน
- เรื่องนี้ต้องใช้เวลาประมาณ 38 ชั่วโมงในการแปลงฉากคอมพิวเตอร์กราฟฟิก 1 ฉาก สำหรับภาพของเหล่าหุ่นยนต์จักรกลสังหาร จึงถือเป็นการทำลายสถิติเวลาที่มากสุดซึ่งเรื่อง The Lord of the Rings: The Two Towers (2002) เคยทำไว้ กับเวลา 20 ชั่วโมงในการแปลงภาพของตัวละครต้นไม้ยักษ์ ทรีเบียร์ด
- จำนวนสมาชิกของฝ่าย ดีเซปทิคอนส์ ที่มากกว่าฝ่าย ออโต้บอตส์ เป็นความตั้งใจของผู้เขียนที่จะเน้นไปที่ความสามัคคีของฝ่าย ออโต้บอตส์ และความรู้สึกคุมคามที่ฝ่าย ดีเซปทิคอนส์ มีต่อโลกมนุษย์
- การที่มีตัวละครมนุษย์จริงๆ เพิ่มเข้ามาในเรื่องด้วย ทำให้ ไมเคิล เบย์ ต้องเขียนบทของตัวละครเหล่านี้ในช่วงการทำงานขั้นหลังงานสร้างภาพยนตร์
- รถยนต์ที่ตัวละครหุ่นยนต์ บัมเบิลบี ใช้ตอนเปลี่ยนร่างเดิม คือ รถโฟล์กสวาเกน บีตเทิล แต่ภายหลังเปลี่ยนเป็นรถ เชฟโรเล็ต คามาโร แทน เพราะ ไมเคิล เบย์ ต้องการหลีกเลี่ยงการถูกเปรียบกับภาพยนตร์เรื่อง Herbie the Love Bug (1982) ที่ใช้รถรุ่น โฟล์กสวาเกน บีตเทิล เช่นกัน
- มาร์ก ไรอัน ที่ให้เสียงเป็น บัมเบิลบี ยังรับบทตัวแสดงแทนในระหว่างการถ่ายทำ เพื่อให้นักแสดงที่เป็นคนจริงๆ ได้โต้ตอบเหมือนกับได้เห็นว่ามีตัวละครหุ่นยนต์อยู่ในฉากอีกด้วย นอกจากนี้ เขายังต้องเพิ่มบทพูดเข้าไปในช่วงขั้นตอนหลังงานสร้างอีกด้วย
- เพื่อให้เป็นมุขตลกในหมู่แฟนๆ ของเรื่องนี้ และยังเป็นของขวัญสำหรับการ์ตูนต้นฉบับ ดังนั้นรถ โฟล์กสวาเกน บีตเทิล สีเหลือง ที่ต้นฉบับเป็นของตัวละคร บัมเบิลบี สามารถเห็นได้ที่ร้านจำหน่ายรถ ซึ่งตัวละคร แซม วิทวิคกี้ แสดงโดย ไชอา ลาบัฟ ได้ซื้อรถ เชฟโรเล็ต คามาโร
- ไมเคิล เบย์ ไม่ต้องการให้พวกเทกนิกพิเศษต่างๆ มีความโดดเด่นเหนือกว่าฉากต่อสู้ที่มีในเรื่องเกินไป ดังนั้นเขาจึงทุ่มเงินส่วนใหญ่ของงบประมาณ 150 ล้านเหรียญสหรัฐของเรื่องนี้ มาไว้ในฉากต่อสู้ 15 ฉากของเรื่องแทน
- เรื่องนี้ ออพติมัส ไพร์ม ใช้รถ ปีเตอร์ไบลต์ 379 ในการเปลี่ยนร่าง ซึ่งในภาพยนตร์เรื่อง Duel (1971) ที่กำกับโดย สตีเว่น สปีลเบิร์ก ที่นั่งเก้าอี้ผู้อำนวยการสร้างของเรื่องนี้ ฝ่ายตัวร้ายก็ใช้รถรุ่น ปีเตอร์ไบลต์ 281 เช่นกัน ดังนั้นนี่จึงเป็นภาพยนตร์เรื่องที่ 2 ในรอบ 36 ปีของ สตีเว่น ที่ใช้รถของ ปีเตอร์ไบลต์ ในการสวมบทนำในเรื่อง
- จากคำบอกเล่าของ ลอเรนโซ ดิ โบนาเวนทูร่า ผู้อำนวยการสร้างของเรื่องนี้ ได้บอกว่า การเปลี่ยนร่างของหุ่นยนต์ในเรื่องจะอาศัยหลักความความสมดุลทางคณิตศาสตร์ เพื่อกำหนดว่าชิ้นส่วนใดของตัวหุ่นยนต์จะเปลี่ยนไปเป็นชิ้นส่วนใดของยานพาหนะประจำตัวของหุ่นนั้น
- ผู้อำนวยการสร้างของเรื่อง ทอม เดอซานโต้ บอกว่าเดิมทีเขาตั้งใจจะให้มีหุ่นยนต์ พราวล์ วีลแจ็ก ซาวด์เวฟ ราเวจ เลเซอร์เบรก รัมเบิล สกายวาร์ป และ ช็อกเวฟ เป็นตัวละครที่อยู่ในเรื่องนี้ด้วย
- การที่ตัวละครหุ่นยนต์ ยูนิครอน ที่อยู่ในบทภาพยนตร์มีขนาดปกติเทียบเท่ากับสิ่งมีชีวิตบนโลกทั่วไป เพื่อให้เหมาะสมกับตัวนักแสดง คือ เจมส์ เอิร์ล โจนส์ ที่จะปรากฏตัวในภาค 2 ของเรื่อง ด้วยบทที่สำคัญกว่าในภาคแรก
- เดิมทีหุ่น เมกะทรอน จะใช้ปืนพก วัลเทอร์ พี38 ในการเปลี่ยนรูปร่าง แต่เนื่องจากบริษัท ฮาสโบร ผู้จัดจำหน่ายอย่างเป็นทางการของหุ่นยนต์เรื่องนี้บอกว่าพวกเขาจะไม่ผลิตสินค้าที่มีรูปร่างของอาวุธปืน เพื่อเป็นตัวละครของหุ่นยนต์ต่างๆ ที่จะจัดจำหน่ายเด็ดขาด อีกทั้งยังมีข้อห้ามทางกฎหมายในการสร้างของเล่นที่เป็นรูปปืนอีกด้วย ดังนั้นถึงแม้ว่าผู้เขียนเรื่องนี้จะให้เหตุผลว่า ขนาดตัวละคร ดาร์ธ เวเดอร์ ของเรื่อง Star Wars ยังสามารถเปลี่ยนตัวเองไปสู่รูปแบบของดาบเลเซอร์เพื่อให้ตัวละครอื่นๆ กวัดแกว่งไปมาได้เลย ก็ตาม ในที่สุดจึงต้องมีการเปลี่ยนแปลงปืนพกดังกล่าวให้เป็นเครื่องบินไอพ่นแทน
- ช่วงการประชาสัมพันธ์ภาพยนตร์เรื่องนี้ มีการแสดงให้เห็นภาพตัวละคร Transformers ให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อให้ตัวหุ่นยนต์ต่างๆ ที่ถูกปกปิดนั้นดูน่าตื่นเต้นและน่าสนใจ จนกว่าภาพยนตร์จะเข้าฉายในเดือนกรกฎาคมปี 2007 ที่คนดูจะได้เห็นกันแบบเต็มตาอย่างแท้จริง โดยถือเป็นการปกปิดแบบลับสุดยอดเลยทีเดียว ดังนั้นเมื่อมีภาพการต่อสู้ของ เมกะทรอน หลุดออกไปทางอินเตอร์เน็ต ทำให้ ดอน เมอร์ฟี่ ที่เป็นผู้ออกแบบการเปลี่ยนรูปร่างของตัว เมกะทรอน รู้สึกโกรธมาก จนทำให้เขาสร้างฉากต่อสู้แบบใหม่ที่ดูเจ๋งกว่าของเดิมที่หลุดไปออกมาแทน
- ตัวละครของเรื่องนี้ได้รับการออกแบบใหม่ให้สะท้อนถึงความเป็นสิ่งที่มาจากนอกโลกมากขึ้น โดย ลอเรนโซ ดิ โบนาเวนทูร่า ผู้อำนวยการสร้างของเรื่อง เล่าว่าระหว่างกระบวนการออกแบบนั้น ตัว ออพติมัส ไพร์ม ในละครชุดทางโทรทัศน์ฉบับปี 1984 มีลักษณะที่เป็นหุ่นแบบทรงสี่เหลี่ยมโบราณ ซึ่งดูแล้วไม่สมจริงและเชยเกินไป จึงทำให้มีการออกแบบใหม่ด้วยเทกนิกทางกลศาสตร์ ในการสร้างส่วนต่างๆ ในร่างกายของ ออพติมัส ไพร์ม เป็นพันๆ ชิ้นขึ้นมา ที่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้อย่างสัมพันธ์กันทุกส่วนกับมวลรวมของร่างกาย
- ผู้อำนวยการสร้างของเรื่องนี้ คือ ดอน เมอร์ฟี่ และ ทอม เดอซานโต้ ได้ช่วยในการร่างเค้าโครงเรื่องนี้ โดยที่ตัวของ ทอม นั้นเป็นแฟนตัวยงของละครชุดทางโทรทัศน์ Transformers ตั้งแต่ยังเด็ก เขาได้ทำการศึกษาเรื่องนี้หลายอย่าง ตั้งแต่ประชุมกับผู้เขียนในฉบับการ์ตูนคือ ไซม่อน เฟอร์แมน หลายครั้ง อีกทั้งเขายังเชิญบรรดาแฟนๆ ของ Transformers เข้าร่วมการพูดคุยถกเถียงในเว็บบอร์ดทางอินเตอร์เน็ตของ ดอน ด้วย โดยสิ่งเหล่านี้เป็นการสร้างหน้าประวัติศาสตร์และสร้างการมีอยู่ของ Transformers ให้เสมือนเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริงบนโลกนี้ อันเป็นสิ่งที่ ดอน จงใจให้คล้ายคลึงกับเรื่องที่เกิดในภาพยนตร์เรื่องนี้นั่นเอง
advertisement
วันนี้ในอดีต
- Sherlock Holmes: A Game of Shadowsเข้าฉายปี 2011 แสดง Robert Downey Jr., Jude Law, Noomi Rapace
- โลกทั้งใบให้นายคนเดียวเข้าฉายปี 1995 แสดง สมชาย เข็มกลัด , ปราโมทย์ แสงศร , สุทธิดา เกษมสันต์ ณ อยุธยา
- Arthur Christmasเข้าฉายปี 2011 แสดง James McAvoy, Jim Broadbent, Bill Nighy
เกร็ดภาพยนตร์
- The Last Five Years - ใช้เวลา 21 วันในการถ่ายทำ และถ่ายทำฉากเพลง Goodbye Until Tomorrow ในวันสุดท้าย อ่านต่อ»
- Mad Max: Fury Road - ฉากเทคนิคพิเศษประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ ไม่ได้ใช้คอมพิวเตอร์ช่วย แต่เป็นของจริงโดยใช้นักแสดงแทน ฉาก และการแต่งหน้าช่วย ส่วนที่ใช้คอมพิวเตอร์ก็ใช้เพียงลบเชือก ตกแต่งพื้นที่ทะเลทรายนามิบ และสร้างแขนปลอมข้างซ้ายของ ชาร์ลีซ เธอรอน ผู้รับบท ฟิวริโอซา เท่านั้น อ่านต่อ»