เกร็ดน่ารู้จาก ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค 2 ประกาศอิสรภาพ

เกร็ดน่ารู้
  • ใช้พื้นที่ก่อสร้างฉากใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์การสร้างภาพยนตร์ของไทย 1,500 ไร่
  • ใช้เวลาในการก่อสร้างฉากนานกว่า 9 เดือน ตั้งแต่ มกราคม - กันยายน 2547 จากสภาพพื้นที่เดิมที่เป็นป่า ภายในค่ายสุรสีห์ จังหวัดกาญจนบุรี ปรับเปลี่ยนเป็นฉากเมืองอยุธยาและพม่าที่สร้างแบบกึ่งถาวร
  • ใช้เวลาค้นคว้าข้อมูลทางประวัติศาสตร์จากแหล่งข้อมูลต่างๆ ทั้งของไทยและพม่า รวมถึงการเดินทางไปเก็บข้อมูล ตลอดจนเทียบเคียงความน่าจะเป็นและความถูกต้องของข้อมูลกับหลักฐานทางโบราณคดีและหลักฐานทางประวัติศาสตร์-ภูมิศาสตร์ เป็นเวลานานกว่า 6 ปี โดยเพิ่มเติมจากที่ดำเนินการไว้แล้วในช่วงภาพยนตร์ สุริโยทัย ซึ่งใช้เวลาประมาณ 3 ปี
  • ใช้หนังสืออ้างอิงประกอบการศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลกว่า 100 เล่ม
  • มีดารานักแสดงทุกรุ่นทั่วฟ้าเมืองไทยร่วมแสดงกว่า 50 คน
  • มีนักแสดงประกอบ (หมุนเวียน) รวมแล้วกว่า 100,000 คน นับตั้งแต่เริ่มถ่ายทำ
  • มีนักแสดงอายุน้อยที่สุดในเรื่องนี้ 7 ขวบ คือ ด.ญ. สุชาดา เช็คลีย์ ผู้รับบท มณีจันทร์ วัยเด็ก และอายุมากที่สุด 88 ปี คือ บุญส่ง ดวงดารา ผู้รับบท พระโหราธิบดี
  • ใช้เสื้อผ้าเครื่องแต่งกายรวมทั้งสิ้นราว 20,000 ชุด
  • ใช้อาวุธรวมทั้งสิ้นกว่า 5,000 ชิ้น
  • ฉากที่ถ่ายทำนานที่สุดคือฉากข้ามแม่น้ำสะโตง ใช้เวลาประมาณ 3 เดือน
  • ฉากที่ถ่ายทำเร็วที่สุดคือฉากช่องสิงห์ค่ายพระราชมนู ใช้เวลา 10 วัน
  • ใช้ฟิล์มรวมทั้งสิ้นกว่า 2,000 ม้วน คิดเป็นความยาวรวม 800,000 ฟุต (1 ม้วน เท่ากับ 400 ฟุต)
  • ม้าศึกประมาณ 30 ตัวที่ใช้ในเรื่องนี้นำเข้าจากประเทศออสเตรเลีย โดยเป็นม้าที่ได้รับการฝึกสำหรับการแสดงโดยเฉพาะ มีความสามารถพิเศษ เช่น เป็นม้าล้มและมีขนาดเหมาะสม โดยบางส่วนเป็นม้าที่แสดงในเรื่อง The Last Samurai
  • ดำเนินการฝึกม้าที่ออสเตรเลีย 6 เดือน ก่อนส่งมายังประเทศไทย
  • ใช้ผู้เชี่ยวชาญในการดูแลและฝึกม้าจากต่างประเทศ 3 ทีม ได้แก่ ออสเตรเลีย สเปน และ สโลวัค โดยเป็นการสื่อสารกับม้าด้วยภาษาอังกฤษ
  • อาหารม้าต้องนำเข้าจากต่างประเทศ (หญ้าอัลฟัลฟา ชนิดเดียวกับที่ใช้ทำอาหารเสริมสำหรับคน)
  • ใช้อาหารสำหรับเลี้ยงช้าง 10 เชือก อาทิ ข้าวโพด สับปะรด อ้อย เป็นต้น วันละ 300 กิโลกรัมต่อเชือก หรือ 3,000 กิโลกรัม (3 ตัน) ต่อ 10 เชือก ต่อ 1 วัน หรือ 1,095 ตัน ต่อ ปี รวมภายในระยะเวลาประมาณ 3 ปีที่ผ่านมา ใช้อาหารช้างประมาณ 3,285 ตัน
  • การก่อสร้างฉากที่เกี่ยวกับพม่า มีหลายส่วนที่ใช้ของที่นำเข้าจากพม่า เพื่อให้ตรงตามรูปแบบ ลักษณะ ลวดลาย ที่ถูกต้อง ไม่สามารถนำแบบมาจัดทำให้เหมือนกันได้
  • มีมืออาชีพจากต่างประเทศมาร่วมงานและช่วยถ่ายทอดความรู้กับเทกนิกต่างๆ ให้ทีมงานไทยเพื่อพัฒนาศักยภาพในการทำงาน เช่น สตีเว่น ริชาร์ด คอร์ตลี่ย์ (Steven Richard Courtley) ช่วยให้ทีมคนไทยได้เรียนรู้ทั้งเทกนิกวิธีการทำงาน รวมทั้งเครื่องไม้เครื่องมือต่างๆ ในการทำเทกนิกพิเศษ ส่วนทางด้านคอมพิวเตอร์กราฟฟิก มี อเล็กซ์ บิกเนล (Alex Bicknell) มาช่วย
  • ท่านมุ้ย - หม่อมเจ้า ชาตรีเฉลิม ยุคล คิดค้นเทกนิกการทำกล้อง สไปเดอร์ แคม (Spider Cam) ให้มีรูปแบบการทำงานได้เหมือนกับของต่างประเทศ ในราคาที่ถูกกว่าของต่างประเทศหลายสิบเท่า (ราคากล้องแบบติดมอเตอร์ ในต่างประเทศประมาณ 1.5 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 60 ล้านบาท ค่าเช่ากล้องวันละ 1-2.5 ล้านบาท แต่ต้นทุนกล้องที่ ท่านมุ้ย คิดค้นขึ้นโดยปรับประยุกต์วัสดุและใช้มือหมุนแทนมอเตอร์ มีราคาเพียง 2.5 แสนบาท)
  • ฉากการซุ่มโจมตีที่ช่องเขาขาด มีการใช้เทกนิกพิเศษ ลูกไฟ ซึ่ง ท่านมุ้ย - หม่อมเจ้า ชาตรีเฉลิม ยุคล คิดค้นวิธีการขึ้นเอง โดยทำมาจากฟางเคลือบชันหุ้มด้วยโครงไม้ไผ่สาน
  • มีการนำเทกโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ในการสร้างฉากและอุปกรณ์ประกอบฉาก เครื่องประดับตกแต่ง รวมทั้งเครื่องใช้เบ็ดเตล็ดต่างๆ ในรูปแบบเดียวกันกับที่ใช้ในภาพยนตร์เรื่อง The Lord of the Rings จากประเทศนิวซีแลนด์ ซึ่งช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย เวลา และแรงงานได้เป็นอย่างมาก
  • เป็นภาพยนตร์ที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็นตัวแทนของประเทศไทย โดยสมาคมสมาพันธ์ภาพยนตร์แห่งชาติ ให้เข้าประกวดรางวัลออสการ์ สาขาภาพยนตร์ภาษาต่างประเทศยอดเยี่ยม ครั้งที่ 80 ในปี 2008

advertisement

วันนี้ในอดีต

เกร็ดภาพยนตร์

  • Seventh Son - ไดแอนนา เอกร็อน, อิโมเจน พูตส์ และ เฟลิซิตี โจนส์ เคยเข้าทดสอบเพื่อรับบท อลิซ หลังจาก เจนนิเฟอร์ ลอว์เรนซ์ ขอถอนตัวไป ท้ายที่สุดบทนี้ตกเป็นของ อลิเซีย วิเคนเดอร์ อ่านต่อ»
  • Taken 3 - เป็นภาพยนตร์ชุด Taken เรื่องสุดท้าย อ่านต่อ»

เปิดกรุภาพยนตร์

Farewell Song Farewell Song เรื่องราวของ 2 เพื่อนรัก ฮารุ (มุกิ คาโดวากิ) และ เลโอะ (นานะ โคมัตสึ) ได้ร่วมกันฟอร์มวงดนตรีชื่อ ฮารุเลโอะ ขึ้นแล้วก็เ...อ่านต่อ»