เกร็ดน่ารู้จาก The Fast and the Furious: Tokyo Drift

เกร็ดน่ารู้
  • ดอน ธีระธาดา ได้เล่นภาพยนตร์เรื่องนี้ด้วยเป็นตัวละครชื่อ เบทเชอร์ และยังเป็นนักแสดงแทนอีกด้วย
  • บาว วาว ศิลปินเพลงที่ผันตัวเองมาเป็นนักแสดง รับบทในเรื่องเป็น ทวิงกี้
  • ก่อนหน้าจะมาถ่ายทำเรื่องนี้ นาตาลี เคลลี่ย์ ขับเป็นแต่รถเกียร์ออโต้เท่านั้น เธอจึงต้องเข้ารับการฝึกเพื่อให้รู้วิธีที่จะใช้เกียร์กระปุก รู้จักจังหวะการเบรก และทำความเข้าใจศิลปะการดริฟต์ และ นาตาลี ยังเป็นผู้หญิงคนเดียวในสนามแข่งอีกด้วย
  • ทีมงานได้ติดต่อไปยังนักซิ่งดริฟต์มืออาชีพที่ทั่วโลกรู้จักกันดีอย่าง มิลเลน ฟอสต์ และ ซามวล เดอะเครซี่ สวีดี้ ฮูบิเน็ตต์ พร้อมด้วยนักดริฟต์แถวหน้าของญี่ปุ่นอย่าง โนบุชิเกะ คูมาคูโบะ และ ซึชิย่า ให้มีส่วนร่วมในภาพยนตร์เรื่องนี้
  • การแข่งขันรถยนต์ในเรื่องล้วนแสดงโดยนักขับรถมืออาชีพ ไม่ได้เป็นการใช้คอมพิวเตอร์กราฟฟิก อาทิ คนดังในวงการแข่งรถอย่าง รีส มิลเลน รวมทั้งคุณพ่อของเขา และนักแข่งคนอื่นๆ ด้วย
  • ใช้นักแสดงประกอบชาวเอเชีย 600 คนระหว่างการถ่ายทำฉากบนถนนที่ลอสแองเจลิส
  • โฟล์คสวาเกน ได้มอบรถต้นแบบ อาร์ 32 (R32's) 4 คัน และ มินิแวน ตูแรน (Touran) 4 คัน เพื่อเป็นหลักประกันในการสนับสนุนภาพยนตร์ และท้ายสุดรถ อาร์ 32 ของโฟล์กสวาเกนก็ได้เข้าร่วมฉากในเรื่องด้วย
  • โตโย ได้มอบยางรถยนต์ 4000 เส้นเพื่อใช้ในภาพยนตร์ และ โฟล์ค เรซซิ่ง ได้มอบล้อรถจำนวน 170 ล้อด้วยเช่นกัน
  • รถยนต์มากกว่า 100 คันถูกทำลายระหว่างการถ่ายทำภาพยนตร์เรื่องนี้
  • ทีมงานซึ่งไปทำงานที่ญี่ปุ่น ได้ซื้อรถยนต์ซึ่งผลิตในญี่ปุ่นเป็นจำนวนมาก ทั้งที่รถญี่ปุ่นนั้นจะมีพวงมาลัยอยู่ทางขวามือ ไม่เหมือนกับรถที่ใช้ในอเมริกา
  • รถมัสแตงส์หนึ่งใน 5 คัน ต้องถูกเปลี่ยนเครื่องยนต์และสายพานไปเป็นของรถ นิสสัน สกายไลนส์ จีที-อาร์ (Skyline GT-R) ตามที่เกิดขึ้นในเนื้อเรื่อง อย่างไรก็ตามขั้นตอนการทำนั้นใช้เวลามากกว่า ช่วงเย็นของหนึ่งวัน อย่างที่เกิดขึ้นในเรื่อง
  • รถ มิตซูบิชิ แลนเซอร์ อีโว่ 9 (Evo IX) ซึ่งเป็นรถ AWD ขับเคลื่อนทุกล้อ ถูกดัดแปลงเป็นรถ RWD เพื่อให้สามารถดริฟต์ได้อย่างเหมาะสม เช่นเดียวกับรถ โฟล์คสวาเกน อาร์ 32 (R32's) ซึ่งเป็นรถ AWD ก็ถูกดัดแปลงแบบเดียวกันอีกจำนวน 2 คัน
  • รถ VeilSide RX-7 ซึ่งขับโดย ฮาน เคยเป็นรถแต่งพิเศษโดย VeilSide และได้รับรางวัล รถแต่งยอดเยี่ยม ปี 2005 จากงาน โตเกียว ออโต้ ซาลอน ซึ่งได้รับรายงานว่ามีมูลค่าถึง 150,000 เหรียญสหรัฐ โดยเป็นมูลค่าหนังที่ตกแต่งภายใน 20,000 เหรียญสหรัฐ สตูดิโอ ยูนิเวอร์แซล ได้รถคันนี้มาในราคา 50,000 เหรียญสหรัฐ ซึ่งซื้อมาปุ๊ปก็ตกแต่งใหม่ทั้งภายในภายนอกด้วยการทาสีใหม่โดยใช้สีสเปรย์
  • มีรถหนึ่งคันที่ไม่เคยเห็นมาก่อนในรายการโทรทัศน์หรือภาพยนตร์อเมริกัน นั่นคือ โตโยต้า เชสเซอร์ (Chaser) รถขนาดเดียวกับ โตโยต้า แคมรี่ (Camry) โดยใช้เครื่องยนต์ SC300 ของ เล็กซัส ซึ่งก่อนหน้านี้ไม่เคยถูกส่งออกไปสหรัฐอเมริกา จะมีแต่ก็เพียงออกงานแสดงการดริฟต์เป็นพิเศษเท่านั้น
  • ในภาคนี้คอภาพยนตร์จะรู้สึกได้ถึงเสียงเบียดของยางขณะหักเลี้ยวด้วยความเร็ว 75 ไมล์ต่อชั่วโมง ที่เรียกว่าการดริฟต์
  • การขับรถซิ่งแบบดริฟต์ถือกำเนิดขึ้นในย่านภูเขาและหุบเขาของแถบบ้านนอกของญี่ปุ่น เมื่อกลุ่มนักซิ่งวัยรุ่น ซึ่งตามปกติจะออกมาซิ่งกันกลางดึก จะเร่งความเร็วไปตามถนนมืดๆ ที่มีเส้นทางคดเคี้ยวทำให้รถของพวกเขาต้องสไลด์ผ่านจุดโค้งตามริมหน้าผา
  • ทีมงานต้องจำลองตำบลชิบูย่าของโตเกียวขึ้นมา กลางย่านดาวน์ทาวน์ของลอสแองเจลิส และยังปิดถนนถึง 6 สายเพื่อถ่ายทำฉากแข่งซิ่ง ซึ่งต้องใช้กองถ่ายถึง 2 กองและใช้เวลาถ่ายทำถึงสองอาทิตย์ ป้ายจราจร อาคารบ้านเรือน ป้ายข่าวสาร ร้านอาหาร ป้ายรถเมล์ที่ตกแต่งด้วยตัวหนังสือคันจิของญี่ปุ่น ถูกนำมาติดตั้งตลอดถนนสามสาย ซึ่งถึงกับทำให้นักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่นยืนงงเมื่อพวกเขาเดินหลงเข้ามาในกองถ่ายภาพยนตร์เรื่องนี้

advertisement

วันนี้ในอดีต

เกร็ดภาพยนตร์

  • The Riot Club - สร้างมาจากบทละครเรื่อง Posh เขียนโดย ลอรา เวด อ่านต่อ»
  • Badlapur - เป็นภาพยนตร์ที่ไม่ใช่แนวตลกเรื่องแรกที่ วรุณ ธาวาน ผู้รับบท รักฮาฟ แสดง อ่านต่อ»

เปิดกรุภาพยนตร์

Shadow In The Cloud Shadow In The Cloud เรื่องราวในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อกัปตัน มอร์ด การ์เร็ตต์ (โคลอี เกรซ มอเรตซ์) เข้าร่วมกับลูกเรือชายล้วนประจำเครื...อ่านต่อ»