เกร็ดน่ารู้จาก War of the Worlds

เกร็ดน่ารู้
  • The War of the Worlds ผลงานของ เอช จี เวลล์ส ได้รับการตีพิมพ์ครั้งแรกในปี 1898 โดยเป็นเรื่องราวที่ว่าถึงการบุกรุกของพวกต่างดาว
  • สตีเว่น สปีลเบิร์ก เป็นเจ้าของหนึ่งในสำเนาบทวิทยุชุดสุดท้ายของ ออสัน เวลส์ ซึ่งซื้อมาจากการประมูล สปีลเบิร์กต้องการที่จะสร้างเรื่องนี้มาหลายปีแล้ว แต่ก็ล้มเลิกไปเมื่อมีการฉายภาพยนตร์เรื่อง Independence Day ในปี 1996 อย่างไรก็ตาม สปีลเบิร์กอยากที่จะร่วมงานกับ ทอม ครูซ อีกครั้ง หลังจากเรื่อง Minority Report ในปี 2002 เขาจึงหยิบเรื่องนี้เป็นโครงการถัดมา
  • War of the Worlds คือผลงานความร่วมมือครั้งที่สองของ สตีเว่น สปีลเบิร์ก และ ทอม ครูซ หลังจากที่เคยร่วมงานกันมาแล้วในภาพยนตร์เรื่อง Minority Report
  • ทอม ครูซ ได้มีโอกาสเดินทางไปเยี่ยมสปีลเบิร์กที่กองถ่ายภาพยนตร์เรื่อง Catch Me If You Can ก่อนหน้าที่ภาพยนตร์เรื่อง Minority Report จะเปิดตัวฉาย สปีลเบิร์กพูดถึงภาพยนตร์ขึ้นมาสามเรื่อง และ War of the Worlds ก็คือเรื่องที่ 3 ทันทีที่ ครูซ ได้ยินเรื่องนี้ เขาพูดเลยว่า "โอ้พระเจ้า! War of the Worlds นี่แหละใช่เลย ต้องเรื่องนี้เท่านั้น"
  • มิแรนด้า อ็อตโต้ ดาราสาวชาวออสเตรเลียได้เดินทางมายังลอสแอนเจลิสระยะสั้นๆ เมื่อตัวแทนของเธอโทรศัพท์ไปแจ้งเธอว่า สตีเว่น สปีลเบิร์ก ต้องการจะพบ แต่อ็อตโต้กลัวว่าโอกาสที่จะได้ร่วมงานกับสปีลเบิร์กอาจมาถึงในเวลาที่ไม่เหมาะนัก "ฉันต้องบอกเขาว่าฉันไม่รู้ว่าฉันจะแสดงภาพยนตร์เรื่องนี้ได้ไหม เพราะฉันตั้งท้องแล้ว" อ็อตโต้เล่า แต่การตั้งท้องครั้งนี้กลับกลายเป็นผลดีสำหรับสปีลเบิร์ก ผู้มองว่ามันคือส่วนหนึ่งของความซับซ้อนในความสัมพันธ์ระหว่างอดีตภรรยากับอดีตสามี
  • สปีลเบิร์ก บอกว่าการเตรียมงานสร้างภาพยนตร์เรื่อง War of the Worlds เป็นตารางการทำงานที่ยาวนานที่สุดของผมในรอบ 12 ปีเลยทีเดียว
  • ทีมงานที่ทำงานให้กับภาพยนตร์เรื่องนี้ ส่วนมากแล้วเคยร่วมงานกับสปีลเบิร์กมานานหลายทศวรรษ และในภาพยนตร์หลายเรื่อง อาทิ ผู้อำนวยการสร้างแคธลีน เคนเนดี้ (เคยร่วมงานกันมาถึง 15 เรื่อง), ผู้อำนวยการสร้างโคลิน วิลสัน (10 เรื่อง), ผู้กำกับภาพ ยานุสต์ กามินสกี้ (9 เรื่อง), โปรดัคชั่น ดีไซเนอร์ ริค คาร์เตอร์ (6 เรื่อง), ผู้ลำดับภาพ ไมเคิล คาห์น (19 เรื่อง), ผู้แต่งดนตรีประกอบ จอห์น วิลเลี่ยมส์ (21 เรื่อง), ซีเนียร์ วิชวลเอฟเฟ็คต์ ซูเปอร์ไวเซอร์ เดนนิส มูเรน (10 เรื่อง), ผู้ออกแบบเครื่องแต่งกาย โจแอนนา จอห์นสตัน (4 เรื่อง), ผู้ประสานงานสตั๊นต์ วิค อาร์มสตรอง (5 เรื่อง), ผู้ตกแต่งฉาก แอนน์ คัลเจียน (3 เรื่อง), ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดหาของแต่งฉาก ดั๊ก ฮาร์ล็อคเกอร์ (2 เรื่อง) และซาวน์มิกเซอร์ รอน จัดกิ้นส์ (11 เรื่อง)
  • สปีลเบิร์กคุ้นเคยเป็นอย่างดีกับห้าแยกในนิววาร์ก และสถานที่ถ่ายทำสำคัญๆ อีกหลายแห่งก่อนที่เขาจะเริ่มต้นการถ่ายทำ เขาได้ทำงานกับฉากเหล่านี้ในคอมพิวเตอร์ตั้งแต่เริ่มต้นการเตรียมงาน โดยผ่านกระบวนการที่เรียกว่าพรีวิชวลไลเซชั่น (พรีวิซ) ซึ่งเป็นเสมือนการวาดภาพสตอรี่บอร์ดให้ออกมาเป็นฉากดิจิตอลสามมิติ ที่ไม่เพียงแต่จะทำให้เห็นภาพฉากเท่านั้น แต่ยังจะเผยให้เห็นถึงทุกแง่มุมของสถานที่ถ่ายทำ ซึ่งรวมถึงฉาก นักแสดง กล้อง และทีมงานด้วย
  • ในขณะที่สปีลเบิร์กใช้คอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยแสดงภาพของฉากต่างๆ ในขั้นตอนของการเตรียมงานสร้างนั้น เขาเล่าว่า "นี่คือภาพยนตร์เรื่องแรกที่ผมใช้คอมพิวเตอร์ในการสร้างภาพสตอรี่บอร์ดทั้งหมด"
  • สปีลเบิร์กได้ผู้เชี่ยวชาญที่ทำงานกับไอแอลเอ็มและได้สร้างภาพยนตร์เรื่อง Star Wars: Episodes I, II และ III ให้กับจอร์จ ลูคัส มาร่วมงานด้วย
  • สปีลเบิร์กให้นักแสดงเห็นเทคนิคพรีวิซและขนาดของไทร์พ็อดต่างๆ ว่ามันมีหน้าตาเป็นอย่างไรและมันยืนอยู่ตรงไหน ทุกคนที่เห็นมันจะได้เข้าใจในสิ่งที่สปีลเบิร์กกำลังพูดถึงได้
  • การถ่ายทำฉากห้าแยกนั้น ใช้เวลา 6 วัน
  • โจแอนนา จอห์นสตัน ผู้ออกแบบเครื่องแต่งกายได้สร้างแจ็คเก็ตหนังของเรย์ขึ้นมาถึง 60 เวอร์ชั่นแตกต่างกัน เพื่อแสดงให้เห็นถึงสภาพของเสื้อผ้าของเขาที่เปลี่ยนแปลงสภาพไปตั้งแต่เริ่มต้นการเดินทางจนถึงตอนจบ
  • จอห์นสตันมีโอกาสที่จะเปรียบเทียบแนวคิดกับแอนน์ โรบินสัน ผู้รับบทเป็นนางเอกของภาพยนตร์ The War of the Worlds เวอร์ชั่นปี 1953 และยังกลับมารับบทรับเชิญในภาพยนตร์ของ สตีเว่น สปีลเบิร์กเรื่องนี้ด้วย "เธอเห็นเราออกแบบเสื้อผ้าเป็นพันๆ ชุด และบอกฉันว่าในปี 1953 เธอกับผู้ช่วยออกไปซื้อสูทสองชุดที่เมย์โค และสูทสองชุดนั้นก็คือชุดที่เธอต้องใส่ตลอดทั้งเรื่อง"
  • ในขณะที่สปีลเบิร์กถ่ายทำภาพยนตร์เรื่องนี้อยู่นั้น เขายังจัดการตัดต่อภาพไปพร้อมกันด้วย โดยได้ส่งช็อตต่างๆ ไปที่ไอแอลเอ็ม และจะพิจารณาช็อตเหล่านี้ทันทีที่มันถูกส่งกลับมาให้เขาพิจารณา
  • สปีลเบิร์กบอกว่าทีมงานต้องออกแบบพวกต่างดาวถึง 20 หรือ 30 แบบ
  • การหาสถานที่ถ่ายทำ ทีมงานต้องตระเวนจากนิววาร์กและบายอนน์จนถึงบรูกลิน ขึ้นไปที่ฮัดสันจนถึงนอกาตัค คอนเนคติกัต เอเธนส์ นิวยอร์ก และหาไปทั่วทั่วอีสเทิร์นซีบอร์ด ซึ่งลงเอยกันที่เวอร์จิเนียตะวันออก
  • เล็กซิงตันคือเมืองเล็กๆ เป็นที่ตั้งของวอชิงตันและมหาวิทยาลัยลี และสถาบันทหารเวอร์จิเนีย และยังเป็นบ้านของงานถ่ายทำในช่วงสุดท้ายของภาพยนตร์เรื่องนี้
  • เมื่อย้ายไปทำงานกันที่ฝั่งเวสต์โคสต์ การถ่ายทำมีขึ้นที่สถานที่ถ่ายทำต่างๆ ทั่วลอสแอนเจลิส อาทิเช่น ปีรู, แคลิฟอร์เนีย (ซึ่งถูกตกแต่งให้เหมือนเมืองเอเธนส์ นิวยอร์ก) เพื่อความต่อเนื่องของฉากที่เกี่ยวพันกับตัวประกอบหลายร้อยคน และสถานที่ที่ชื่อมีสทีรี่ มีซ่าที่อยู่ห่างออกไปทางตอนเหนือของลอสแอนเจลิส 60 ไมล์
  • สถานที่ถ่ายทำอีกแห่งหนึ่งในเวสต์โคสต์ก็คือเครื่องบินไอพ่น 747 ลำใหญ่ที่จอดอยู่เหนือเขาลูกเล็กๆ ที่โรงถ่ายยูนิเวอร์แซล สตูดิโอ
  • สำหรับฉากเครื่องบินตก ซึ่งเป็นฉากสำคัญที่ถูกสร้างขึ้น ทีมงานต้องซื้อเครื่อง 747 มาลำหนึ่ง จากนั้นก็ตัดมันออกมาเป็นชิ้นๆ และโปรยมันจนทั่วโรงถ่าย แล้วจีงก็สร้างบ้านขึ้นรอบๆ เศษซากพวกนั้น
  • ที่ยูนิเวอร์แซล ทีมงานใช้แท้งก์น้ำขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 25 ฟุตที่โรงถ่าย 27 เพื่อถ่ายทำภาพใต้น้ำของฉากเรือเฟอร์รี่
  • ทีมงานต้องทำงานกันในโรงถ่ายทั้งหมด 6 แห่ง ที่กระจายอยู่ทั่วสตูดิโอสามแห่ง นอกจากนั้น งานถ่ายทำภาพยนตร์เรื่องนี้ยังใช้โรงถ่ายสำหรับฉากภายในบ้านของเรย์ในบายอนน์ นิวเจอร์ซี่ด้วย ซึ่วทุกโรงถ่ายจะเป็นเหมือนโลกแต่ละโลก
  • 72 วัน ตัวประกอบหลายพันคน สถานที่ถ่ายทำกว่า 24 แห่ง กับฉากที่ตั้งอยู่สองชายฝั่ง และห้ารัฐ War of the Worlds จึงเสร็จสิ้นงานถ่ายทำลงจนได้
  • ริค คาร์เตอร์ โปรดัคชั่น ดีไซเนอร์ ได้ออกแบบฉากต่างๆ ให้กับโลกภาพยนตร์มานานกว่า 25 ปีแล้ว
  • ไมเคิล คาห์น ผู้ลำดับภาพ เคยได้รับรางวัลออสการ์มาแล้ว 3 รางวัลจากผลงานการลำดับภาพให้กับภาพยนตร์ของ สตีเว่น สปีลเบิร์ก
  • เดนนิส มูเรน ซีเนียร์ วิชวลเอฟเฟ็คต์ ซูเปอร์ไวเซอร์ที่อินดัสเทรียล ไลต์แอนด์เมจิค เคยได้รับรางวัลออสการ์มาแล้วถึง 8 รางวัล ซึ่งในเดือนมิถุนายน ปี 1999 มูเรนกลายเป็นศิลปินวิชวลเอฟเฟ็คต์คนแรกที่ได้รับเกียรติให้มีดาวประดับชื่อของเขาอยู่บนทางเดินเลื่องชื่อของฮอลลีวู้ดวอล์กออฟเฟม
  • จอห์น วิลเลี่ยมส์ ผู้แต่งดนตรีประกอบภาพยนตร์ที่เป็นที่ต้องการตัวที่สุด และเคยได้รับรางวัลต่างๆ มาแล้วมากมาย อาทิเช่น 5 รางวัลออสการ์ 3 รางวัลลูกโลกทองคำ 1 รางวัลบัฟต้า 4 รางวัลเอ็มมี่ และ 18 รางวัลแกรมมี่
  • เดิมทีภาพยนตร์เรื่องนี้มีกำหนดเข้าฉายปี 2007 แต่แล้วเมื่อโครงการภาพยนตร์เรื่องอื่นหยุดกลางคัน ทำให้ สตีเว่น สปีลเบิร์ก และ ทอม ครูซ มีเวลาว่าง จึงได้มีการพิจารณาให้ไฟเขียวอย่างกะทันหันเมื่อกลางเดือนสิงหาคม 2004 ให้ฉายภาพยนตร์เรื่องนี้ในปี 2005
  • ในขณะที่ถ่ายทำที่บายอนน์ นิวเจอร์ซี่ ในโรงถ่ายพาราเมาต์ พิคเจอร์ส ได้มีการจ่ายเงินให้ชาวบ้านบริเวณ เฟิร์สต์ สตรีต และ พ้อยต์ เทอเรส เพื่อเคลื่อนย้ายรถของพวกเขาออกไปจากช่วงตึก ระหว่างวันอังคารถึงวันศุกร์ เพื่อให้ทีมงานดำเนินการถ่ายทำต่อไปได้
  • ภาพยนตร์เรื่องนี้ใช้เวลาถ่ายทำทั้งหมด 72 วัน
  • ทีมงานเริ่มต้นถ่ายทำเพียง 7 เดือนก่อนภาพยนตร์เข้าฉาย โดย สตีเว่น สปีลเบิร์ก ได้ถ่ายทำฉากใหญ่ๆ ไปตั้งแต่ช่วงแรกๆ เพื่อให้การทำคอมพิวเตอร์กราฟฟิกที่มีมากกว่า 500 ฉากเสร็จทันกำหนด
  • ระหว่างการถ่ายทำฉากริมแม่น้ำที่แม่น้ำคอนเน็กติกัต หุ่นจำลอง 2 ตัวที่ใช้เป็นตัวประกอบ ได้ตกลงไปในแม่น้ำ ทีมงานการผลิตที่ดูแลรักษาความปลอดภัยทางน้ำได้ทำการค้นหาแล้วแต่ไม่พบ ตำรวจจึงได้ลงบันทึกเรื่องนี้ไว้ เผื่อมีใครแจ้งพบศพลอยอยู่ในแม่น้ำ
  • ได้มีการปรับรูปประโยคของบทสนทนาจากตัวอย่างภาพยนตร์ชุดแรก และปรับย่อหน้าแรกจากนิยายของ เอช จี เวลล์ส ให้ดูทันสมัยมากขึ้น เช่น ศตวรรษที่ 19 เปลี่ยนเป็น ศตวรรษที่ 21
  • ขณะที่ ทอม ครูซ และอีก 20 คน รวมถึง สตีเว่น สปีลเบิร์ก ได้ไปที่ร้านอาหารใกล้ๆ กับสถานที่ถ่ายทำภาพยนตร์ ครูซเห็นขวดโหลรับบริจาควางอยู่บนเคาน์เตอร์ โดยมีรูปถ่ายเก่าของ แอชลีย์ ฟลินต์ และเรื่องราวของเธออยู่ ซึ่ง ฟลินต์ ประสบอุบัติเหตุจากโกคาร์ตเมื่อไม่กี่เดือนก่อนหน้านั้น และปล่อยให้ครอบครัวของเธอต้องแบกรับค่ารักษามากมาย ครูซจึงร่วมบริจาคเงินสดอีก 5,000 เหรียญสหรัฐ
  • ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 3 ที่ แอน โรบินสัน ร่วมแสดงในเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับ The War of the Worlds โดยครั้งแรกเธอรับบทเป็น ซิลเวีย แวน บูเร็น ในภาพยนตร์ฉบับดั้งเดิมปี 1953 และเธอก็กลับมารับบทเดิมในละครโทรทัศน์ ปี 1988 อีก 3 ตอน
  • เคยมีข่าวลือว่าจะมีการเปลี่ยนชื่อภาพยนตร์เป็น Out of the Night แต่เกรงว่าจะเกิดปฏิกิริยาต่อต้านจากแฟนๆ นอกจากนี้ ยังมีคนเชื่อด้วยว่าชื่อดังกล่าวถูกใช้เป็นชื่อแฝงเพื่อกันคนที่ไม่เกี่ยวข้องออกจากสถานที่ถ่ายทำ
  • ขณะถ่ายทำในย่านโฮเวลล์ นิวเจอร์ซี่ คนที่อาศัยอยู่แถวนั้นต่างมาเข้าแถวรอขอลาย ซึ่ง ทอม ครูซ บอกว่าถ้าใครผลัก หรือ ดัน หรือ แสดงรุนแรง เขาจะหยุดแจกลายเซ็นทันที เมื่อมีผู้หญิงคนหนึ่งพยายามที่จะดันเข้ามา ครูซจึงหยุดเหมือนกับที่เขาเตือนไป
  • ศักดิ์สิทธิ์ แสงพราย ผู้พากย์เสียงและควบคุมการแปลภาพยนตร์เรื่องนี้ให้เป็นภาษาไทย เล่าว่า "แล้วพอเข้าไปในสตูดิโอก็ต้องไม่มีอะไรติดตัว นอกจากกระดาษช็อตโน้ต หรือถ้าโน้ตบุ๊กที่เอาเข้าไปก็ไร้ประโยชน์เพราะว่าคอมพิวเตอร์ที่เขาให้เปิดดูนี่มันจะไม่มีช่องเสียบอะไรเลย" ส่วนการพากย์เสียงนั้น เขาเห็นเพียงปากของ ทอม ครูซ บนฉากดำๆ เท่านั้น

advertisement

วันนี้ในอดีต

เกร็ดภาพยนตร์

  • Jupiter Ascending - แชนนิง เททัม ต้องสวมอุปกรณ์บริเวณปากที่ทำให้ลักษณะของขากรรไกรของเขาเปลี่ยนไป เพื่อรับบท เคน อุปกรณ์ชิ้นนั้นทำให้ แชนนิง หุบปากไม่ได้ แถมยังทำให้เขาพูดลำบากอีกด้วย อ่านต่อ»
  • Kingsman: The Secret Service - แอรอน เทย์เลอร์ จอห์นสัน ปฏิเสธบท แกรี ภายหลังบทนี้แสดงโดย แทรอน เอเจอร์ตัน อ่านต่อ»

เปิดกรุภาพยนตร์

Intruder Intruder เรื่องราวของ ยูจิน (ซงจีฮโย) หญิงสาวที่หายตัวไปอย่างลึกลับนานถึง 25 ปี ก่อนที่วันดีคืนดี เธอจะกลับมาหาพี่ชายอย่าง ซอจิน...อ่านต่อ»