เกร็ดน่ารู้จาก Shark Tale
เกร็ดน่ารู้
- เกี่ยวกับงานสร้าง
- ทีมงานอันประกอบไปด้วยเหล่าศิลปิน แอนนิเมเตอร์ และช่างเทคนิคกว่า 400 ชีวิตต้องทำงานนานกว่า 3 ปี เพื่อผลิตภาพยนตร์เรื่องนี้ออกมา
- Shark Tale ประกอบไปด้วยภาพเหตุการณ์ 34 เหตุการณ์ และมีภาพชอตทั้งสิ้น 1,365 ชอต
- Shark Tale คือภาพยนตร์ซีจี (คอมพิวเตอร์กราฟฟิก) เรื่องแรกที่ถูกสร้างขึ้นใน เซาเธิร์น แคลิฟอร์เนีย และเป็นภาพยนตร์ซีจีเรื่องแรกที่ถูกสร้างขึ้น ณ ที่ทำการแห่งใหม่ของดรีมเวิร์กส์ในเกลนเดล
- Fishification คือวลีติดปากในหมู่ทีมงาน เพื่อใช้อธิบายวิธีที่จะทำให้สถานที่และวัตถุที่มีอยู่จริงและเป็นที่คุ้นตาของผู้คน อย่างเช่น ตึกกลางเมืองใหญ่ สถานีรถไฟใต้ดิน ร้านขายหนังสือพิมพ์และแม็กกาซีน
- ปลาจำนวนหลายแสนตัวที่อาศัยอยู่ในโลกของ Shark Tale ได้รับการออกแบบมาอย่างตั้งใจโดยมีการแต้มสีสันเป็นพิเศษ เพื่อเตือนให้เรานึกถึงวัตถุทั่วไปที่พบเห็นได้ในเมือง ปลาสีเหลืองดำทำให้นึกถึงภาพของรถแท็กซี่ ในขณะที่ปลาสีฟ้าทำหน้าที่เป็นเหมือนนักธุรกิจที่กำลังเดินทางไปทำงาน
- ซิกกี้ มาร์ลีย์ ผู้ให้เสียงพากย์เป็นเออร์นี่ แมงกะพรุนรัสตาฟาเรี่ยน เป็นผู้ร้องเพลง Three Little Birds ร่วมกับ ฌอน พอล ซึ่งให้เสียงพากย์อยู่ในภาพยนตร์เรื่องนี้ด้วย เพลงเร็กเก้คลาสสิกเพลงนี้เดิมเป็นเสียงร้องของ บ็อบ มาร์ลีย์ นักร้องนักแต่งเพลงซึ่งเป็นพ่อของซิกกี้
- ถ้ายืดฟิล์มของภาพยนตร์เรื่องนี้จากต้นเรื่องไปจนถึงจบเรื่อง ฟิล์มจะมีความยาวถึง 1.4 ไมล์
- ระหว่างงานสร้างภาพยนตร์เรื่อง Shark Tale เจ้าหน้าที่ของดรีมเวิร์กส์ได้ให้กำเนิดทายาทถึง 27 คน ซึ่งรวมถึงฝาแฝดสองคู่
- มีตัวละครกว่า 200 ตัวถูกสร้างขึ้นและปรากฏตัวให้เห็นในภาพยนตร์เรื่องนี้
- ถ้าคนๆ หนึ่งพยายามสร้างภาพยนตร์เรื่อง Shark Tale เพียงลำพัง เขาจะต้องใช้เวลาในการสร้าง
- ภาพยนตร์เรื่องนี้ให้เสร็จสมบูรณ์นานถึง 474 ปี เกี่ยวกับการค้นคว้าและการพัฒนาภาพ
- ผู้กำกับและทีมแอนนิเมเตอร์ของภาพยนตร์เรื่อง Shark Tale ต้องทำงานกับนักออกแบบท่าเต้น ไฮ แฮ็ต ซึ่งเป็นผู้ออกแบบท่าเต้นฮิพฮ็อพ ซึ่งเป็นสไตล์แอนนิเมชั่นของออสก้าร์ รวมไปถึงฉากเต้นรำอีกหลายต่อหลายฉากในภาพยนตร์เรื่องนี้ ไฮ แฮ็ตเคยร่วมงานกับนักร้องมาแล้วหลายคน แต่ที่โด่งดังที่สุด ก็คือ มิสซี่ เอลเลียตต์
- การออกแบบฉากแข่งม้าน้ำในภาพยนตร์เรื่องนี้ ฝ่ายศิลปกรรมต้องเดินทางไปยังสนามแข่งซานตา แอนนิต้าในอาร์คาเดีย แคลิฟอร์เนีย หลายครั้งด้วยกัน
- เรือที่เห็นในฉากประกอบเพลง Fathers & Sons ซึ่งเป็นฉากที่ ไลโน่, แฟรงกี้ และ เลนนี่ นั่งกินอาหารเย็นด้วยกัน เป็นการนำเค้าโครงมาจากเรือไททานิคอันลือลั่นและเรือควีนแมรี่
- โลเกชั่นเซาธ์ไซด์รีฟที่เห็นในภาพยนตร์เรื่องนี้ เป็นการอิงลักษณะมาจากเมืองซานฟรานซิสโก ชิคาโก้ แอ็ตแลนติคซิตี้ นิวยอร์ก และ ไมอามี่ บีช
- ความคล้ายคลึงของตึกที่เป็นเอกลักษณ์ของนิวยอร์กซิตี้สามารถพบเห็นได้ในฉากไทมสแควร์ของภาพยนตร์เรื่อง Shark Tale งานออกแบบฉากที่โดดเด่นยังรวมถึงจอจัมโบทรอนที่ถูกนำมาปรับให้ดูเป็นปลา รวมไปถึงตึกฟลาทิรอนอันโด่งดังจากย่านอัปเปอร์เวสต์ไซด์ของนิวยอร์กด้วย
- ฉากเวลวอชที่ซึ่งออสก้าร์ทำงานอยู่นั้นได้รับการออกแบบโดยทำหน้าที่เสมือนส่วนผสมระหว่างเดย์สปาและศูนย์ล้างรถให้กับพวกปลาวาฬ ฉากนี้เป็นการนำเอาศูนย์ล้างรถแบบในโลกมนุษย์มาทำให้มีความเป็นปลามากขึ้น เพื่อหาภาพที่เหมาะสมของฉากนี้ หนึ่งในทีมผู้ช่วยได้ทำการติดตั้งกล้องซูเปอร์ 8 เอาไว้ในรถ และส่งรถคันนั้นไปที่ศูนย์ล้างรถ เพื่อให้ทีมศิลปินสามารถใช้ภาพฟุตเตทที่ได้เป็นต้นแบบขณะทำการออกแบบองค์ประกอบต่างๆ ของฉากเวลวอช
- ภาพยนตร์หลายต่อหลายเรื่องถูกนำมาใช้เพื่อสร้างแรงบันดาลใจในเรื่องการจัดแสงและการถ่ายภาพ รวมถึงการออกแบบโลเกชั่นในภาพยนตร์เรื่อง Shark Tale อาทิเช่น ภาพยนตร์เรื่อง The 5th Element, Let It Ride, Car Wash, French Connection, Some Like It Hot, Alien, Snatch และ Blue Planet การออกแบบลักษณะของเหล่าตัวละครใน Shark Tale
- ออสก้าร์ (ให้เสียงพากย์โดย วิล สมิธ) จัดว่าเป็นปลาเทศบาล ซึ่งเป็นปลาประเภทที่ทำความสะอาดให้ปลาตัวอื่น
- การออกแบบตัวละคร โลล่า (ให้เสียงพากย์โดย แองเจลิน่า โจลี่) อิงจากลักษณะของปลาสิงโตและปลามังกร
- การออกแบบตัวละคร แองจี้ (ให้เสียงพากย์โดย เรเน่ เซลล์เวเกอร์) เป็นการสร้างลักษณะตามปลานางฟ้า
- ไซก์ส (ให้เสียงพากย์โดย มาร์ติน สกอร์เซซี่) เป็นการอิงลักษณะจากเม่นหรือปลาปักเป้า
- ไลโน่ (ให้เสียงพากย์โดย โรเบิร์ต เดอ นีโร) แฟรงกี้ (ให้เสียงพากย์โดย ไมเคิล อิมเพอริโอลี่) และเลนนี่ (ให้เสียงพากย์โดยแจ็ค แบล็ค) เป็นการอิงลักษณะจากฉลามขาว
- แมงกะพรุนรัสตาฟาเรี่ยนสองตัวที่ชื่อ เออร์นี่ (ให้เสียงพากย์โดย ซิกกี้ มาร์ลีย์) และ เบอร์นี่ (ให้เสียงพากย์โดย ดั๊ก อี ดั๊ก) เป็นการอิงลักษณะตามแมงกะพรุน
- ดอน ฟีนเบิร์ก (ให้เสียงพากย์โดย ปีเตอร์ ฟอลก์) อิงลักษณะจากฉลามเสือดาว
- การสร้างตัวละครที่ชื่อว่าลูก้า เจ้าหมึกยักษ์ (ให้เสียงพากย์โดย วินเซนต์ พาสเตอร์) คือการอิงลักษณะตามปลาหมึกยักษ์จริงๆ
- ตัวละครที่ชื่อ เครซี่ โจ (ให้เสียงพากย์โดย เดวิด สมิธ ผู้คิดสร้างสรรค์เรื่อง) ได้รับการวางลักษณะตามปูเสฉวน เกี่ยวกับเรื่องและการลำดับภาพ
- เมื่อถึงเวลาต้องบันทึกเสียงพากย์ของภาพยนตร์การ์ตูน ตามปกติแล้วพวกนักแสดงจะถูกนำตัวเข้าไปยังห้องบันทึกเสียง และให้พวกเขาให้เสียงพากย์แต่เพียงลำพัง โดยมีผู้กำกับเป็นผู้ชี้นำ สำหรับ Shark Tale มีการจัดเตรียมการบันทึกเสียงให้ วิล สมิธ และ แจ็ค แบล็ค ได้บันทึกเสียงด้วยกัน เช่นเดียวกับคู่ของ โรเบิร์ต เดอ นีโร และ มาร์ติน สกอร์เซซี่ และคู่ของ ซิกกี้ มาร์ลีย์ กับ ดั๊ก อี ดั๊ก
- หลังจากคบหากันมานานกว่า 20 ปี และได้ร่วมงานกันในภาพยนตร์ถึง 9 เรื่อง Shark Tale คือครั้งแรกที่ โรเบิร์ต เดอ นีโร และ มาร์ติน สกอร์เซซี่ ได้แสดงภาพยนตร์ด้วยกัน
- เดวิด โซเรน หัวหน้าฝ่ายสร้างสรรค์เรื่องเป็นผู้ให้เสียงพากย์ตัวละครกุ้ง ผู้ร้องขอให้ ไลโน่ และ เลนนี่ ไว้ชีวิตเขาในฉาก Fathers & Sons ที่เกิดขึ้นในร้านอาหาร นอกจากนี้ เขายังให้เสียงพากย์เป็นหนอนในฉากเริ่มต้นของภาพยนตร์เรื่องนี้ ซึ่งเลนนี่ได้ช่วยชีวิตหนอนตัวนี้จากเบ็ดในฉาก Worm Compassion
- ฌอน บิช้อป ศิลปินฝ่ายสร้างสรรค์เรื่อง จะคอยอ่านบทพร้อมกับผู้ให้เสียงพากย์ในขั้นตอนบันทึกเสียง เขาเคยแสดงบทบาท ไซก์ส ร่วมกับ โรเบิร์ต เดอ นีโร ในฉาก Sykes is Out ในขณะที่ มาร์ติน สกอร์เซซี่ ผู้ให้เสียงพากย์เป็น ไซก์ส จริงๆ นั่งดูและฟังจากแผงควบคุม
- มาร์ค สวิฟต์ ผู้อำนวยการสร้างประสานงานของภาพยนตร์เรื่องนี้ ให้เสียงพากย์เป็นผู้ประกาศในสนามแข่งในฉาก Racetrack
- ทีมอาร์ติสต์ฝ่ายสร้างสรรค์เรื่องกว่า 23 คน ต้องสร้างช่องวาดภาพกว่า 46,395 ช่องและส่งไปยังฝ่ายลำดับภาพ
- เดวิด โซเรน หัวหน้าฝ่ายสร้างสรรค์เรื่อง คือผู้ที่วาดช่องวาดภาพให้กับภาพยนตร์เรื่องนี้มากที่สุด ได้แก่ 5,416 ช่อง ในขณะที่ ฌอน บิช้อป อาร์ติสต์ประจำฝ่ายสร้างสรรค์เรื่องตามมาอย่างกระชั้นชิดด้วยสถิติ 4,069 ช่อง ช่องวาดภาพนี้มีความยาว 10 นิ้ว ดังนั้นเมื่อนำมาวางต่อกันจากต้นเรื่องจนจบเรื่อง จึงได้พื้นที่เกือบจะเท่าสนามฟุตบอล 129 สนาม หรือเท่ากับปลาวาฬสีน้ำเงินขนาดตัวยาว 90 ฟุต 430 ตัว หรือฉลามขาวยักษ์ ตัวเมียความยาว 15 ฟุต 2,578 ตัว เกี่ยวกับแผนกโมเดล
- มีแม่แบบตัวละครถึง 143 ตัวในภาพยนตร์เรื่องนี้ แม่แบบตัวละครตัวหนึ่งจะถูกนำไปแปลงเป็นสิ่งมีชีวิตในทะเลหลากหลายรูปแบบ อาทิเช่น ปลา ฉลาม วาฬ และอื่นๆ
- มีการออกแบบฉากถึง 1,519 ฉากในภาพยนตร์เรื่องนี้
- มีการออกแบบพื้นผิวที่แตกต่างกันกว่า 144,508 แบบที่ถูกนำมาใช้ในภาพยนตร์เรื่องนี้ โดยแต่ละพื้นผิวจะถูกนำมาใช้กับทั้งตัวอาคารและตัวละคร
- มีการใช้เส้นแนวตั้งสำหรับควบคุมถึง 29,096,723 เส้นในภาพยนตร์เรื่องนี้ เส้นแนวตั้งสำหรับควบคุมก็คือจุดที่เป็นรากฐานที่ใช้ควบคุมรูปทรงของพื้นผิว เช่น จุดควบคุมของเต้นท์ ซึ่งก็คือหมุดที่ใช้เจาะลงกับพื้น และขึงผ้าให้กลายเป็นรูปทรงจำเพาะ หรือจุดบนว่าวที่ดึงและขึงตัวกระดาษเพื่อให้คงรูปร่างเอาไว้ เกี่ยวกับงานแอนนิเมชั่น
- เพื่อวาดภาพตัวละครสามมิติที่มีความซับซ้อนที่เห็นในเรื่อง Shark Tale นี้ ผู้กำกับฝ่ายเทคนิคตัวละครต้องสร้างใบหน้าและข้อต่อ และการควบคุมร่างกายเพื่อให้แอนนิเมเตอร์สามารถปรับท่าทางของตัวละครได้ การวางรูปแบบตัวละครต้องมีข้อต่อมากกว่า 1,000 จุด และมีการควบคุมแอนนิเมชั่นมากกว่า 200 จุด
- หนึ่งในตัวละครที่มีขนาดเล็กที่สุดในภาพยนตร์เรื่องนี้ นั่นก็คือเจ้ากุ้ง กลับเป็นตัวละครที่มีข้อต่อมากที่สุดถึง 1,700 จุด
- ปลา ฉลาม และสัตว์น้ำอื่นๆ อีกกว่า 96 ชนิดถูกระโยงระยางขึ้น ระโยงระยางคือคำที่ทีมเทคนิคัล ไดเร็กเตอร์ฝ่ายตัวการ์ตูนใช้ในการอธิบายถึงขั้นตอนการสร้างการควบคุมใบหน้าและข้อต่อ ที่ทีมแอนนิเมเตอร์ใช้ในการควบคุมการเคลื่อนไหวของเหล่าตัวละคร
- ตัวละครที่เป็นแบ็กกราวน์ส่วนใหญ่จะมีการขยับใบหน้าที่แตกต่างกันห้าแบบ เพื่อเพิ่มความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตในโลกของ Shark Tale การปรับแต่งพื้นผิวยังเกี่ยวข้องกับการนำรายละเอียดของเนื้อหนังที่แตกต่างกันมาใช้กับผิวของตัวละคร เกี่ยวกับงานเอฟเฟ็กต์
- แอนนิเมเตอร์ฝ่ายสเปเชียลเอฟเฟ็กต์ต้องนั่งดูภาพยนตร์สารคดีเกี่ยวกับชีวิตใต้น้ำนานชั่วโมงแล้วชั่วโมงเล่า เพื่อหาไอเดียในการสร้างรูปแบบจราจรใต้น้ำ สุดท้ายภาพที่ได้เป็นการผสมผสานลักษณะการเคลื่อนไหวตามธรรมชาติของสัตว์เข้ากับรูปแบบการจราจรของเมืองใหญ่ๆ
- ในฉากแข่งม้าน้ำ มีประชาชนปลากว่า 16,000 ตัวบนสแตนด์ ปลาเหล่านี้เป็นการวาดด้วยมือ จากนั้นได้ถูกนำเข้าสู่ระบบเอฟเฟ็กต์สร้างประชาชนปลาโดยจะมีการสุ่มเลือกเพื่อใส่ลักษณะและสีสันให้แตกต่างกันไป
- ในฉากเวลวอช มีการสร้างอนุภาคขนาดเล็กจำนวนกว่า 350,000-400,000 จุดเพื่อสร้างเอฟเฟ็กต์โฟมบนหลังปลาวาฬ ซึ่งถูกนำมาแปลงให้กลายเป็นโฟมจำนวน 2,000 แกลลอนในหนึ่งช็อต สถิติเกี่ยวกับฟองอากาศ
- ช็อตทั่วๆ ไปจะมีขนาด 5 ฟุตหรือ 120 เฟรม 80% ของช็อตทั้งหมดในภาพยนตร์เรื่องนี้จะต้องมีฟองอากาศอยู่รอบๆ ตัวละคร จำนวนเฉลี่ยของฟองอากาศที่อยู่รอบๆ ตัวละครแต่ละตัวคือ 40,238 ฟองต่อหนึ่งเฟรม
- ด้วยจำนวนเฉลี่ยของฟองอากาศที่อยู่รอบๆ ตัวละครแต่ละตัว (40,238) และการถูกนำไปใช้ด้วยความยาวโดยเฉลี่ยของหนึ่งช็อต (120 เฟรม) เราสามารถคำนวณได้ว่า จะมีฟองอากาศประมาณ 4.8 ล้านฟองอยู่รอบตัวละครแต่ละตัวในหนึ่งช็อต
- สำหรับตัวละครตัวหนึ่งนั้น ทีมเอฟเฟ็กต์จะต้องสร้างฟองอากาศอย่างน้อย 51.8 พันล้านฟองสำหรับตัวละครตัวนั้น หรือถ้านำมาเปรียบเทียบกับมนุษย์ ถ้าคนๆ หนึ่งเป่าฟองจากที่เป่าฟองสบู่เด็กเล่น พวกเขาต้องเป่าลมออกมาถึง 259,200,000 ครั้ง เพื่อให้ได้จำนวนฟองอากาศที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อตัวละครเพียงตัวเดียวในภาพยนตร์เรื่อง Shark Tale
- ยิ่งไปกว่านั้น ถ้าคนๆ หนึ่งหายใจเข้าออก 40 ครั้งในหนึ่งนาที พวกเขาจะต้องใช้เวลาถึง 493 ปีในการเป่าฟองอากาศให้ได้เท่าจำนวนที่ทีมงานสร้างให้ตัวละครตัวหนึ่งในภาพยนตร์เรื่อง Shark Tale สถิติเกี่ยวกับ Goo
- Goo หมายถึงเมือกสีเขียวที่สร้างขึ้นในฉากเวลวอช เมื่อเราได้เห็นออสก้าร์ทำความสะอาดลิ้นของปลาวาฬตัวหนึ่ง แล้วจู่ๆ ปลาวาฬก็พ่นสารที่เป็นเมือกออกมา
- ฉากดังกล่าวที่ประกอบไปด้วยภาพ 24 ช็อต ทีมเอฟเฟ็กต์ต้องสร้างเมือกดังกล่าวออกมาทั้งสิ้น 2,000 แกลลอน
- ต้องมีออสก้าร์ถึง 46 ตัวถึงจะมีขนาดเท่ากับของเหลวชนิดนี้จำนวนหนึ่งแกลลอน
- ของเหลวชนิดนี้จำนวน 324 แกลลอนจะเท่ากับขนาดภายในช่องปากของปลาวาฬหนึ่งตัว
- ปากปลาวาฬที่มีความสกปรกโดยทั่วไปจะมีเมือกเขียวจำนวน 81 แกลลอน หรือถ้าเทียบเป็นภาษามนุษย์ หนึ่งแกลลอนเท่ากับกล่องน้ำผลไม้ขนาดมาตรฐานจำนวน 16 กล่อง ดังนั้น เมือกจำนวน 2,000 แกลลอนจึงเท่ากับกล่องน้ำผลไม้จำนวน 32,000 กล่อง เกี่ยวกับเทคโนโลยี
- งานสร้างภาพยนตร์เรื่อง Shark Tale ใช้พื้นที่ดิสก์ไปมากกว่า 30 ทีบี เท่ากับคุณต้องใช้แผ่นซีดีรอมจำนวน 54,000 แผ่นเพื่อบรรจุงานสร้างภาพยนตร์ทั้งเรื่อง
- มีการใช้ฟิล์มจำนวน 28,000 ฟุตในช่วงสองเดือนสุดท้ายของงานสร้าง ซึ่งถ้านำฟิล์มจำนวนดังกล่าวไปวางในแนวราบ จะได้ความยาวเกือบเท่าความสูงของยอดเขาเอฟเวอเรสต์
- ทีมงานของภาพยนตร์เรื่อง Shark Tale ต้องใช้โปรเซสเซอร์จำนวน 2,000 เครื่องเพื่อสร้างภาพยนตร์เรื่องนี้ ซึ่งก็รวมถึงจำนวน 200 เครื่อง ซึ่งตั้งอยู่ในเร็ดวู้ด ซิตี้, แคลิฟอร์เนีย ซึ่งห่างออกไป 355 ไมล์
- Shark Tale ต้องใช้การทำงานของซีพียูนานถึง 6 ล้านชั่วโมงกว่าจะสร้างจนเสร็จสมบูรณ์
- มีการสร้างเฟรมภาพกว่า 300,000 เฟรมระหว่างงานสร้างภาพยนตร์เรื่องนี้ โดยแต่ละเฟรมใช้เวลาในการสร้างนานกว่า 40 ชั่วโมง
- ฝ่ายพัฒนาซอฟต์แวร์ของดรีมเวิร์กส์ได้สร้างเครื่องมือขึ้นมากว่า 12 ชิ้นเพื่อให้ทีมงานของภาพยนตร์เรื่องนี้นำมาใช้ นอกจากอุปกรณ์หลักๆ เหล่านี้แล้ว ยังมีการใช้ซอฟต์แวร์และอุปกรณ์เสริมอีกว่า 2300 ชิ้นซึ่งถูกใช้โดยทีมงานของภาพยนตร์เรื่อง Shark Tale
- มีการใช้บริการโทรศัพท์เพื่อขอคำปรึกษาทางด้านเทคนิคไปกว่า 30,000 ครั้งระหว่างงานสร้างภาพยนตร์เรื่องนี้
advertisement
วันนี้ในอดีต
คู่กรรมเข้าฉายปี 2013 แสดง ณเดชน์ คูกิมิยะ, อรเณศ ดีคาบาเลส, นิธิศ วารายานนท์
สังหรณ์เข้าฉายปี 2003 แสดง อภิเชษฐ์ กิตติกรเจริญ, วรเวช ดานุวงศ์, กวี ตันจรารักษ์
Tears of the Sunเข้าฉายปี 2003 แสดง Bruce Willis, Monica Bellucci, Cole Hauser
เกร็ดภาพยนตร์
- The Last Five Years - ใช้เวลา 21 วันในการถ่ายทำ และถ่ายทำฉากเพลง Goodbye Until Tomorrow ในวันสุดท้าย อ่านต่อ»
- Mad Max: Fury Road - ฉากเทคนิคพิเศษประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ ไม่ได้ใช้คอมพิวเตอร์ช่วย แต่เป็นของจริงโดยใช้นักแสดงแทน ฉาก และการแต่งหน้าช่วย ส่วนที่ใช้คอมพิวเตอร์ก็ใช้เพียงลบเชือก ตกแต่งพื้นที่ทะเลทรายนามิบ และสร้างแขนปลอมข้างซ้ายของ ชาร์ลีซ เธอรอน ผู้รับบท ฟิวริโอซา เท่านั้น อ่านต่อ»
เปิดกรุภาพยนตร์
สีดา ตำนานรักโลงคู่
เรื่องจริงของโศกนาฎกรรมความรักของ ประโนตย์ (กฤษฎิ์สพล สุทธิหิรัญดำรงค์) ผู้ชายที่มีจิตใจเป็นหญิง หน้าตาสะสวยที่เติบโตมา...อ่านต่อ»