วิจารณ์ โหมโรง
-
pp666
(ไม่ได้เป็นสมาชิก)
เมื่อ 11 ก.พ. 47 14:54
มีเพลงประกอบละครหรือเปล่าช่วยตอบหน่อยถ้ามีวางแผงหรือยังครับ
-
นิดเดียว
(ไม่ได้เป็นสมาชิก)
เมื่อ 11 ก.พ. 47 14:49
ที่อยากดูเพราะเป็นแฟนพันธุ์แท้ของผู้กำกับมานานแล้ว แล้วก็ไม่ผิดหวังจริงๆ ขอชื่นชมด้วยใจจริงค่ะ
-
เดียว
(ไม่ได้เป็นสมาชิก)
เมื่อ 11 ก.พ. 47 12:21
ส่วนหนึ่งของ โหมโรง รู้สึกขอบคุณทุกกระทู้ที่ตอบรับอย่างดีมาก รู้สึกดีที่มีคนให้กำลังใจเรื่องนี้เพราะหนังดี ๆ ๆ นั้นหาดูได้ยากมากๆ ๆ มีคนนำเสนอออกมาแล้วไม่อยากให้คนที่ยังไม่ได้ดูนั้นพลาดสิ่งที่ดีๆ ไป
-
คนธรรมดา
(ไม่ได้เป็นสมาชิก)
เมื่อ 11 ก.พ. 47 10:04
จะมีสักกี่ครั้งที่เด็กรุ่นหลังจะได้มีโอกาสได้ฟังเสียงระนาดแบบจริงๆจังๆเช่นนี้ แล้วจะรู้ว่า คนที่ตีระนาดแบบนี้ได้ สุดยอดจริงๆ ทั้งผู้แต่งและ ผู้ที่เล่นเพื่อบันทึกเสียงในฉากการดวลระนาด อีกอย่างนะครับ เหตุการณ์กาลดวลระนาดนี้เกิดขึ้นจริง เพียงแต่เหตุการณ์จริงนั้น คู่ดวลของนายศร(หลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง)) มิได้ชื่อ ขุนอิน แต่เป็น "พระยาเสนาะดุริยางค์ (แช่ม สุนทรวาทิน)" ซึ่งเป็นที่กล่าวขานกันมากในยุคนั้น
สรุบว่าดีมากครับที่มีหนังแบบนี้ออกมา สมควรไปดูและคุ้มค่ากับการไปดู อย่างยิ่งครับ.........
ข้อมูลด้านล่างนี้เป็นบางสวนของบทความจาก "ประวัตินักระนาดเอกที่มีชื่อเสียง"
เมื่อจางวางศรรู้ว่าสมเด็จวังบูรพาฯจะให้ตีประชันกับนายแช่มก็ตกใจมาก เพราะในขณะนั้นนายแช่มกำลังโด่งดังไม่มีใครกล้าสู้ อีกทั้งเป็นลูกครูช้อยครูของครูแปลกและครูเพชรด้วย จางวางศรจึงทั้งเคารพและยำเกรงในฝีมือ ท่านเล่าให้ ดร.อุทิศ นาคสวัสดิ์ ฟังว่า "เพียงแต่ได้ยินชื่อก็ให้รู้สึกว่ามือเท้าอ่อนปวกเปียกไปเลยทีเดียว ความกลัวของท่านครูนั้นถึงกับทำให้หยุดซ้อมระนาดไปเลย ทั้งนี้เพราะเกิดความกังวลจนไม่เป็นอันกินอันนอน ในที่สุดท่านก็ชวนเพื่อนไปรดน้ำมนต์เพื่อทำให้จิตใจดีขึ้น" ด้วยความคร้ามเกรงฝีมือซึ่งกล่าวกันว่า "จะมีใครสู้นายแช่มได้" จางวางศรจึงไปกราบขอร้องให้ครูผู้ใหญ่ที่ท่านนับถือท่านหนึ่งไปช่วยกราบขออภัยต่อนายแช่มว่า ที่จริงท่านไม่เคยคิดหาญจะประชันด้วย แต่ไม่อาจขัดรับสั่งสมเด็จวังบูรพาฯได้ โปรดออมมือให้ท่านบ้าง แต่ปกติวิสัยของการประชันดนตรีย่อมต้องเล่นให้ดีเต็มฝีมือ ประกอบกับนายแช่มเป็นคนระนาดของวังหลวงย่อมต้องรักเกียรติรักศักดิ์ศรีของตน จึงไม่ยอมรับคำขอร้องโดยบอกว่าต่างฝ่ายต่างต้องเล่นเต็มฝีมือ จางวางศรยิ่งวิตกกังวลถึงกับหนีไปอยู่กับพวกปี่พาทย์ที่คุ้นเคยกันตามต่างจังหวัด สมเด็จวังบูรพาฯทรงกริ้วมากสั่งให้เอาตัวนางโชติภรรยาจางวางศรมากักกันไว้ จนจางวางศรต้องกลับมา มุมานะฝึกซ้อม และคิดค้นหาวิธีตีที่จะทำให้ไม่แพ้คู่ต่อสู้ เข้าใจว่าท่านได้คิดวิธีจับไม้ระนาดให้ตีไหวรัวได้ดียิ่งขึ้นในตอนนี้ ตลอดจนเทคนิคต่างๆในการตีระนาดอีกมากมาย เช่น ตีให้ไหวร่อน ผ่อนแรง ไหวทน เพราะนายแช่มหรือพระยาเสนาะดุริยางค์นั้นทั้งไหวทั้งจ้าหาคนสู้ได้ยากจริงๆ จางวางศรเองก็เคยปรารภกับครูเพชรว่า "ตีให้จ้าน่าเกรงขามอย่างท่านยากต้องหาชั้นเชิงอื่นสู้" ความมุ่งมั่นมานะทำให้ท่านฝันว่าเทวดามาบอกทางเดี่ยวเพลง กราวในที่ดีที่สุดให้และประสาทพรให้ท่านว่า "ต่อไปนี้เจ้าจะตีระนาดไม่แพ้ใคร"
การประชันครั้งนั้นใช้ปี่พาทย์เครื่องห้าเพราะต้องการดูฝีมือผู้ตีระนาดเอกเป็นสำคัญ วงปี่พาทย์หลวงไม่ทราบว่าใครเป็น คนฆ้อง คนปี่ และ คนเครื่องหนังแต่วงวังบูรพาฯครูเพชรเป็นคนฆ้อง ครูเนตรตีเครื่องหนัง ส่วนคนปี่ไม่ทราบนาม การประชันเริ่มตั้งแต่เพลงโหมโรงเพลงรับร้องเรื่อยไปจนถึงเดี่ยวระนาดเอกกันแบบ "เพลงต่อเพลง" เริ่มด้วยเพลงพญาโศก เชิดนอก (4 จับ) และเดี่ยวอื่นๆเรื่อยไปจนถึงเพลงกราวใน ผลปรากฏว่าฝีมือก้ำกึ่งคู่คี่กันตลอดจนกระทั่งถึงเพลงเดี่ยวกราวในก็ยังไม่ปรากฏผลแพ้ชนะเด็ดขาด เพราะฝีมือเด่นกันคนละอย่างดังที่ ครูเพชร จรรย์นาฏ เล่าให้ลูกศิษย์ของท่านฟังว่า "พระยาเสนาะดุริยางค์ไหวจัดจ้ากว่า แต่จางวางศรไหวร่อนวิจิตรโลดโผนกว่า" จึงต้องตัดสินกันที่เพลงเชิดต่อตัวซึ่งวัดความไหวทนเป็นสำคัญ
พระยาเสนาะดุริยางค์หรือนายแช่มนั้นตีระนาดไหวแบบเก่า และคงจะใช้ไม้ตีปื้นหนา พันไม้แข็งนัก จึง "ดูดไหล่" คือกินแรง ประกอบกับท่านรักษาความเจิดจ้าชัดเจนของเสียงระนาดไม่ยอมตีระหรือเกลือกให้เสียงเสีย ยิ่งตีไหวจ้าขึ้นมากเท่าใดก็ต้องใช้กำลังแขนไหล่มากขึ้นเท่านั้น จึงย่อมจะล้าง่าย ส่วนจางวางศรคิดวิธีจับไม้ให้ไหวร่อนได้เร็วใช้การเคลื่อนไหวข้อมือช่วยผ่อนกำลังแขน จึงไหวร่อนได้เร็วกว่าแม้เสียงจะไม่จ้าเท่าตีด้วยกำลังแขนแต่ก็ไหวทนกว่า
ผลแพ้ชนะของการต่อตัวเชิดนั้นจะดูที่อาการ "หลุด" หรือ "ตาย" หลุดคือ รับเชิดตัวต่อไปจากคู่ต่อสู้ไม่ทันเพราะไม่สามารถตีให้ไหวเร็วเท่าคู่ต่อสู้ส่งมาได้ส่วน "ตาย" คือรับทัน แต่เมื่อตีด้วยความเร็วเท่าที่รับมาไปพักหนึ่งแล้วไม่สามารถรักษาความไหวเร็วในระดับนี้ต่อไปได้ ต้องหยุดตีหรือเกิดอาการกล้ามเนื้อเกร็งจนมือตายเคลื่อนไหวต่อไปไม่ได้
ผลการต่อตัวเชิดครั้งนั้นปรากฏว่าในที่สุดพระเสนาะดุริยางค์เกิดอาการ"มือตาย" จึงถือว่าเป็นฝ่ายแพ้ในเรื่องความไหว แต่ครูจางวางศรเล่าว่าท่านเป็นระนาดชาติเสือแม้จะตีจนมือตายแต่เสียงระนาดยังคงเจิดจ้าสม่ำเสมอ ไม่มีเสียงเสียเลยจนผู้ที่นิยมระนาดเสียงเจิดจ้าแบบเก่าสรุปผลการประชันว่า "นายศรชนะไหว นายแช่มชนะจ้า"
ที่มา http://www.thaikids.com/ranad/chap6/c6s6p2.htm -
กบ
(ไม่ได้เป็นสมาชิก)
เมื่อ 10 ก.พ. 47 22:14
ดนตรีในหนังเรื่องนี้เพราะมากๆชอบตอนที่เล่นระนาดกับเปียนโนที่สุด
-
ลูกระนาด
(ไม่ได้เป็นสมาชิก)
เมื่อ 10 ก.พ. 47 14:17
จากความรู้สึกลึก ๆ ในใจ เนื้อหายังไม่แน่นเท่าที่ควร ต้องขอโทษเพราะเคยดูละครเรื่อง ระนาดเอก ทางช่อง 7 สีมาก่อน (นานมาแล้ว) แต่โหมโรงแสดงให้เห็นถึงการต่อสู้ การดำรงอยู่ของดนตรีไทย ชอบคำที่ว่า "อยากเป็นอารยะจนลืมรากเหง้าของตัวเอง" สะใจดีแท้ทีเดียวครับ
-
คนรักหนังไทย
(ไม่ได้เป็นสมาชิก)
เมื่อ 10 ก.พ. 47 13:02
ภาพรวมของหนังยอดเยี่ยม มุมมอง รายละเอียดดีมาก ซาบซึ้ง 2 ฉาก
ฉากพระเอกนั่งสีซอแล้วเหลือบเห็นนางเอก ดนตรีประกอบกับการสีซอและ
สีหน้าท่าทางของพระเอกไพเราะและงดงามมาก และฉากดวลระนาด ถือว่าสุดยอดของฉากดนตรีไทย ไปดูเถิดครับไม่ผิดหวังแน่นอน ภาษาภาพยนตร์ ท่วงท่า บรรยากาศของหนัง การเล่าเรื่องแบบคู่ขนานของคนๆเดียวใน 2 ยุค เหมือนเขาต้องการบอกอะไรเราๆท่าน ที่กำลังลืมตัวตนของความเป็นไทย -
เคี้ยงน้อย
(ไม่ได้เป็นสมาชิก)
เมื่อ 10 ก.พ. 47 09:25
ครับ เห็นด้วยกับทุกความคิดเห็น ภาพสวยมากๆจริงๆ และดนตรีก็เพราะสุดๆครับ เป็นหนังไทยเรื่องแรกเลยที่ทำให้ผมดูแล้วอินได้ขนาดนี้ กำลังบอกให้เพื่อนๆไปดู ไม่ควรพลาดเลยครับ ดูแล้วอยากเล่นดนตรีไทยเลยล่ะ
-
แม็กกี้
(ไม่ได้เป็นสมาชิก)
เมื่อ 9 ก.พ. 47 23:21
ตอนแรกเลยกะว่าจะไปดูหนังตลกเรื่องนึงเพราะแฟนอยากดูแต่ผมดึงดันว่าอยากจะดูเรื่องนี้ให้ได้แล้ววันหน้าค่อยพาแฟนไปดูหนังตลกเรื่องนั้นแล้วกัน แต่พอได้เข้าไปดูผมถึงกับปลื้มในตัวหนังบางครั้งก็เกือบเผลอปรบมือให้ในฉากที่พระเอกเอาชนะได้ หนังดีมากทำให้เรารักดนตรีไทยมากขึ้น ความสวยงามของฉากนั้นสวยงามมาก ทำให้ผมนึกถึงเรื่อง HERO ที่ผมชื่นชอบในฉากที่สวยงามถือว่าเรื่องนี้ทำได้เทียบเท่าหรืออาจจะดีกว่าเพราะเป็นไทยๆดี (ก็หนังไทยนี่นา) ขอวอนให้คนที่ยังไม่ได้ดูไปดูเถอะครับเพราะเป็นหนังที่คุ้มกับค่าบัตรมากที่สุดเท่าที่เคยดูมาเลยล่ะ ถึงผมจะไม่ใช่คนที่เคยเรียนดนตรีไทยแต่เรื่องนี้ทำให้ผมรักดนตรีไทยมากกกกกกกกกกกกกก หนังเรื่องนี้ควรได้ออสการ์ (เว่อร์ไปปล่าวเนี่ย)
-
คนรักเพลง
(ไม่ได้เป็นสมาชิก)
เมื่อ 9 ก.พ. 47 22:03
ผมไปดูหนังเรื่องนี้ เพราะเป็นหนังที่ผมรอดูว่าเมื่อไหร่จะเข้าฉายเสียที พอดีเมื่อวันที่เข้าฉายวันแรกผมเลิกงานดึกไปหน่อยเลยไม่ได้ไปดู แต่พอวันรุ่งขึ้นหลังจากทำงานเสร็จตอนเที่ยง ผมก็รีบไปดู ตอนไปถึงนั้นหนังเริ่มฉายพอดี ผมประทับใจตั้งแต่ผมรีบเดินไปเข้าโรงหนังตอนนั้นมีผู้ชายคนหนึ่งพูดขึ้นว่า "พ่อรีบหน่อยหนังเริ่มฉายไปแล้วเดินระวังด้วย" ผมอมยิ้มและนึกขึ้นทันทีว่าพ่อลูกคู่นี้ต้องเป็นนักดนตรีไทยแน่ เราเข้าโรงพร้อมกันตอนนั้นหนังเริ่มฉายไปแล้วตอนแรกผมก็ไม่ได้คาดหวังอะไรมาก ยิ่งเมื่อดูจำนวนคนในโรงหนังแล้วรู้สึกว่าคนน้อยมากประมาณสิบกว่าคนเป็นคนมีอายุทั้งนั้น ผมคิดว่าผมต้องเป็นคนอายุน้อยที่สุดแน่ๆ ในรอบนั้นตอนนั้นหนังเริ่มฉายแล้วผมถึงกับอึ้ง เพราะภาพที่ออกมานั้นสวยมาก ยิ่งดูไปแล้วยิ่งเต็มตื้นกับความรู้สึกดีๆ ในความเป็นไทยน้ำตามันเอ่อออกมาเอง มันเป็นน้ำตาของความสุขผมเคยผ่านชีวิตในวัยเด็กที่ต่างจังหวัดภาพหลายภาพมันผุดขึ้นมาในห้วงความคิด ตัวหนังเล่าเรื่องได้ดี ผมนึกถึงสมัยเรียนผมชอบไปอ่านหนังสือที่หอสมุดแห่งชาติและได้อ่านประวัติของหลวงประดิษฐ์ไพเราะแล้วยังรู้สึกดีมีกำลังใจเรียนดนตรี แต่พอได้ดูหนังยิ่งรู้สึกดีมากขึ้นอีก เทียบกับหนังเรื่องแฟนฉันแล้วมีความรู้สึกที่ต่างออกไปมากหนังเรื่องแฟนฉันนั้นเหมือนกับเราได้ดูรวมมิตรความซนของเราในอดีต แต่กับหนังเรื่องโหมโรงแล้วแตกต่างออกไปมันมีความสุขที่ได้เกิดเป็นคนไทย แต่ถึงแม้ผมจะเดินทางมาอีกแนวทางหนึ่งคือเล่นดนตรีสากลผมก็ยังรู้สึกดีมากอยากให้เด็กรุ่นหลังได้ไปดูจะได้มีแนวทางในการเรียนหรือเล่นดนตรีต่อไป วันนี้ผมสอนหนังสือเด็ก ผมก็แนะนำให้เด็กไปดูหนังเรื่องนี้บังเอิญทายาทของท่านครู ซึ่งเป็นรุ่นเหลนแล้วมั้งผ่านมาเยี่ยมก่อนจบ ม.6 ผมเลยบอกเขาไปว่า ครูไปดูหนังที่เล่าถึงบรรพบุรูษเธอแล้วนะ เขายิ้มหน้าบานเลยแถมยังถามว่าดีไหมครับ ผมเลยรีบบอกว่าดีมากเพราะคิดว่าเขาคงยังไม่ได้ดูเพราะเขาอยู่โรงเรียนประจำ ผมหวังว่าคนที่ได้ดูหนังเรื่องนี้แล้วจะช่วยกันบอกต่อให้ช่วยไปดูกันหน่อยเป็นหนังที่ดีจริงๆ ดูหนังแล้วรู้สึกว่าประเทศเรามีแต่ความงดงามทางวัฒนธรรมที่ดีๆ ใครที่ยังไม่ได้ไปดูแล้วมีลูกหลานชว่ยพาเขาไปดูหน่อย มีแต่สิ่งดีๆทั้งนั้นที่หนังนำเสนอ จะได้ช่วยปลูกฝังสิ่งดีๆ ให้กับลูกหลาน
เป็นสมาชิกอยู่แล้ว ลงชื่อเข้าใช้ระบบ
ยังไม่ได้เป็นสมาชิก สมัครสมาชิกใหม่
หรือจะลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google+ หรือ Facebook ก็ได้
Facebook | Google+
advertisement
วันนี้ในอดีต
- แจ๋วเข้าฉายปี 2004 แสดง พรชิตา ณ สงขลา, จารุภัส ปัทมศิริ, จารุณี บุญเสก
- TRON: Legacyเข้าฉายปี 2010 แสดง Garrett Hedlund, Olivia Wilde, Jeff Bridges
- รักที่รอคอยเข้าฉายปี 2009 แสดง รัชวิน วงศ์วิริยะ, พิษณุ นิ่มสกุล, ธนวรรธน์ วรรธนะภูติ
เกร็ดภาพยนตร์
- The Theory of Everything - สตีเฟน ฮอว์คิง พูดว่าภาพยนตร์เรื่องนี้ค่อนข้างเป็นเรื่องจริง จึงอนุญาตให้ใช้เสียงของเขาในตอนจบ และให้ยืมเหรียญแห่งอิสรภาพ กับวิทยานิพนธ์ที่ลงชื่อ สตีเฟน ฮอว์คิง ไปใช้เป็นอุปกรณ์ประกอบฉากด้วย อ่านต่อ»
- Jupiter Ascending - แชนนิง เททัม ต้องสวมอุปกรณ์บริเวณปากที่ทำให้ลักษณะของขากรรไกรของเขาเปลี่ยนไป เพื่อรับบท เคน อุปกรณ์ชิ้นนั้นทำให้ แชนนิง หุบปากไม่ได้ แถมยังทำให้เขาพูดลำบากอีกด้วย อ่านต่อ»