
ผมมีโอกาสไปร่วมงาน TSI x DIPROM Business Forum ซึ่ง #โตโยต้าธุรกิจชุมชนพัฒน์ หรือ TSI จัดให้กับกับผู้ประกอบการชุมชนรวมถึงผู้ประกอบทั่วไปที่สนใจการพัฒนาธุรกิจให้ยั่งยืน มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ของผู้ประกอบการธุรกิจชุมชนที่ได้พัฒนาธุรกิจตาม #วิถีชุมชนพัฒน์ ซึ่งผมได้รับความรู้และมุมมองแนวคิดในการแก้ไขวิธีการดำเนินธุรกิจ และได้ประสบการณ์ดีๆ ไปใช้กับการทำงานที่สวนเขยจันท์ เตรียมรับมือกับหน้าผลไม้ที่กำลังจะมาถึงนี้
.
มีอย่างหนึ่งที่ได้แพลนไว้และเมื่อได้มาสัมมนาก็ตรงหลักการของทาง TSI Way นั่นก็คือ เรื่องการจัดระบบสีของเข่งทุเรียน เพื่อคัดแยกระดับความสุก ซึ่งสอดคล้องกับเครื่องมือ #Kanban ที่เป็นตัวช่วยควบคุมการผลิตด้วยป้ายบ่งบอกสถานะ และ #Visualization การสื่อสารให้ทุกคนเห็น เข้าใจ และตัดสินใจได้ ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ลดความซ้ำซ้อนของการทำงานในการคัดหาความสุกของทุเรียน และทำให้พนักงานในแต่ละวันสามารถรู้ได้ทันทีจากสีของเข่ง ว่าเข่งไหนสามารถนำไปดำเนินการในขั้นตอนต่อไปได้เลย ไม่เสียเวลา เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานได้ ถือเป็นการแก้ปัญหาใกล้ตัวด้วยวิธีการง่ายๆ ก่อน เพื่อให้ไปถึงจุดหมายที่ไกลได้อย่างสมบูรณ์แบบ ตามแนวคิด #มองให้ไกลแก้ให้ใกล้ ซึ่งเป็นแนวคิดตามวิถีโตโยต้าธุรกิจชุมชนพัฒน์ที่จะพาให้ธุรกิจของเราเติบโตได้อย่างยั่งยืน
.
นอกจากนี้ ยังได้เรียนรู้นวัตกรรมทางความคิดจากองค์ความรู้ของ โตโยต้า ธุรกิจชุมชนพัฒน์ ที่นำมาเป็นพื้นฐานตั้งต้นให้ผู้ประกอบการทำตามได้ง่ายๆ เพื่อพัฒนาให้ธุรกิจเกิดผลกำไรและเติบโตอย่างยั่งยืน ผ่าน 4 ขั้นตอน คือ
✅ รู้ – รู้ปัญหาในทุกระบวนการ ลงพื้นที่หน้างานเพื่อวิเคราะห์ปัญหาได้ถูกต้อง
✅ เห็น – ค้นหาสาเหตุ และเห็นแนวทางแก้ไข
✅ เป็น – การปรับปรุงพัฒนาธุรกิจอย่างละเอียด ทำเป็นได้ด้วยตนเอง
✅ ใจ – ทำด้วยใจ เข้าใจ ใส่ใจ เพื่อเกิดสิ่งที่ดีที่สุดและถูกใจลูกค้าที่สุด
.
ตามไปศึกษาแนวคิดพัฒนาธุรกิจที่ผู้ประกอบการอย่างเราไม่ควรมองข้าม ได้ที่เฟซบุ๊ค โตโยต้า ธุรกิจชุมชนพัฒน์ Toyota - Social Innovation
#มองให้ไกลแก้ให้ใกล้ #โตโยต้าธุรกิจชุมชนพัฒน์