ผ้าปัตหล่าหรือผ้าปักปัตหล่า
“ผ้าปัตหล่า” เป็นชื่อผ้าชนิดหนึ่งที่ราชสำนักสยามยุคโบราณ นำมาใช้ในราชการ สำหรับตัดเสื้อครุยและผ้าสะพัก สำหรับพระราชทานให้บุรุษและสตรี ผู้มีบรรดาศักด์ใช้สอยเป็นเครื่องยศตามชั้นบรรดาศักดิ์ รวมถึงตัดฉลองพระองค์(เสื้อ)สำหรับเจ้านายทรงในงานพระราชพิธีบางอย่าง รวมถึงเครื่องใช้ชั้นสูงอื่นๆ
ผ้าปัตหล่าเดิมนำเข้าจากต่างประเทศทำจากผ้าฝ้ายมีเนื้อละเอียดบางเบา ที่เรียกว่าผ้า“มัสลิน”นำมาปักด้วยทองและเงินแล่ง ที่ชาวเทศ(อินเดีย)เรียก “บัดหล่า” เป็นมูลเหตุให้ชาวสยามขนานนามผ้าปักแบบนี้ว่า “ผ้าปัตหล่า” เสมอมา
ผ้าปัตหล่า นิยมปักเป็นดอกดวงพวงดอกไม้ เปล่งประกายสะท้อนแสงวูบวาบงดงาม บางครั้งปักร่วมกับการตรึงไหมทองเลื่อมสี และปีกแมลงทับ ให้เกิดการสลับสีสันงดงามแปลกตาออกไปอีก
สำหรับผ้าปัตหล่า ที่ตัดเสื้อเจ้าสาวนี้ใช้ผ้ามัสลินเนื้อแน่นแต่บางเบา นำมาปักเป็นลายช่อดอกไม้ ด้วยแล่ง เงิน,ทองสลับกันกับการตรึงไหมทองและปีกแมลงทับ นำมาตัดเป็นเสื้อเพื่อใช้กับผ้านุ่งยกทองลายโบราณ ชื่อผ้าเกล็ดพิมเสน
รวมเป็นชุดไทยพระราชนิยม ชื่อ“ไทยบรมพิมาน”
@taragoonngernthai
@sprezzatura_eleganza
@khamwhan545
@andisoon @jcreef
@juudesara @dnadiafive
@chicplanner @kengnaruemityarn
@rockkhound @sixtysix
#PranaiNataPhorn
#PicNicwithmonet