ทุกๆอาชีพมีคุณค่าและความสำคัญ อย่างที่เกาะเต่าถึงแม้ว่าจะเป็นเกาะที่ขึ้นชื่อเรื่องการดำน้ำ dive site สวยงาม ปะการังอุดมสมบูรณ์ แต่ก็อย่าลืมว่าใครๆไปทะเลก็อยากจะกินซีฟู้ด มาเกาะเต่าทั้งที ดำน้ำเสร็จเหนื่อยๆก็อยากจะกินข้าวผัดปู ปลาทอดน้ำปลา หรือปลาหมึกทอดกระเทียม แต่รู้ไหมว่าจริงๆแล้วเกาะเต่าไม่อนุญาติให้ทำการประมงเชิงพาณิชย์ เพราะฉะนั้นที่นี่จะมีกลุ่มชาวประมงพื้นบ้านที่เขาจะคอยออกเรือหางยาวไปหาปลาส่งให้ร้านบางร้านเพื่อรองรับความต้องการของนักท่องเที่ยว ซึ่งจริงๆแล้วการทำประมงแบบพื้นบ้านเนี่ยมันดีต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่าประมงพาณิชณ์มากๆเลยนะเพราะไม่ได้ใช้เครื่องมือใหญ่ จับทีละน้อยๆ ไม่ใช้การลากอวน และเพื่อไม่ไปรบกวนนักดำน้ำ กลุ่มชาวประมงจึงได้มีการทำ ซั้งปลา หรือการเอาวัสดุธรรมชาติเช่นไม้ไผ่และทางมะพร้าวมาประกอบกันและนำลงไปวางไว้ในทะเลลึกๆตรงที่ไม่มีปากะรังเพื่อจะได้ดึงดูดปลาให้ไปตรงนั้น พอไม้ไผ่และทางมะพร้าวโดนน้ำทะเลไปซักพักมันจะเกิดปฏิกิริยาทำให้น้ำรอบๆข้างมีความเปรี้ยวดึงดูดปลาจิ๋วๆมาและปลาใหญ่ๆก็จะตามมากิน ทำให้เกิดเป็น site ตกปลาที่ยั่งยืนและไม่ไปวุ่นวายกับนักดำน้ำหรือทำลายแนวปะการัง การทำซั้งปลาเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านทางภาคใต้ที่ส่งต่อกันมานานรุ่นต่อรุ่น ควรจะได้รับการเผยแพร่เพราะพี่ๆประมงก็เล่าให้ฟังว่าปลาบางชนิดที่ตอนแรกนึกว่าอพยพหายไปจากเกาะเต่าแล้วก็มาเจอที่ตรงซั้งปลาอีกครั้งด้วย จากการที่นทได้มาลงพื้นที่และพูดคุยกับกลุ่มชาวประมงเอง ก็รู้สึกว่าซั้งปลาเป็นการตอบโจทย์เรื่องการอยู่อย่างยั่งยืนกับธรรมชาติได้ดีเพราะมันก็ทำให้ชาวประมงมีรายได้สม่ำเสมอและไม่เบียดเบียนแนวปะการังหรือธุรกิจดำน้ำซึ่งเป็นธุรกิจหลักของเกาะ นทเชื่อว่า local wisdom การทำประมงพื้นบ้านแบบนี้จากชาวเล ยิปซีและเผ่าต่างๆที่อาศัยอยู่กับทะเลก็เป็นทางออกหนึ่งของวิกฤติทะเลทั่วโลกได้ เราควรจะเรียนรู้จากพวกเขาและปรับตัวเข้าหาธรรมชาติอีกครั้ง 💚🖖🏽