ละคร ซิ่นลายหงส์
ดู 4,039 ครั้ง /
แชร์
ละครออกอากาศ | วันจันทร์ วันอังคาร วันพุธ วันพฤหัส วันศุกร์ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ช่องที่ออกอากาศ | ละครช่อง 8 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เริ่มออกอากาศ | 13 พฤศจิกายน 2561 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เวลาออกอากาศ | 18:45 - 19:45 น. |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
กำกับโดย | อดุลย์ บุญบุตร | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ประพันธ์โดย | บทประพันธ์ ณไทย ภัทรกวีกานท์, บทโทรทัศน์ ปริศนา | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
นำแสดงโดย | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ผู้สร้าง | บริษัท ดีคืนดีวัน จำกัด |
ภาพนิ่งจากละคร
เรื่องย่อ ซิ่นลายหงส์
ผ้าซิ่นลายหงส์สวรรค์สุวรรณภูษา ซิ่นไหมสีแดงเลือดผสมดำยกทอง ทอด้วยเส้นทองคำเป็นลายหงส์ ฝีมือการทอของ อัญญานางหูกคำ (สุธีวัน ทวีสิน) ที่มีชีวิตอยู่ในรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราชแห่งอาณาจักรล้านช้าง ผ้าซิ่นลายหงส์มีอายุผ้ามา 200 กว่าปี และมีเรื่องราวลึกลับแฝงเร้นอยู่ในผ้าผืนนี้ ผู้ครอบครองถ้ามีจิตอ่อน มักจะฝันเห็นหญิงสาวผิวกายดำ สวมใส่ผ้ามอซอ ถูกเพชฌฆาตฟันคอ ใช้อ่างรองเลือด หรือหูแว่วได้ยินเสียงร้องคร่ำครวญ
อัญญานางหูกคำ ถูกประหาร เมื่อถูกจับได้ขณะกำลังลอบปลงพระชนม์ อัญญานางศรีสะอาด (กุลมาศ ลิมปวุฒิวรานนท์) เพื่อเอาเลือดมาต้มย้อมผ้าทอให้ได้สีเข้ม สุดท้ายเธอกลับถูกฆ่าเอาเลือดไปต้มย้อมผ้าแทนจนเกิดเป็นแรงพยาบาท
ผ้าซิ่นลายหงส์ผืนนี้ถูกยึดไปจาก อัญญานางหูกคำ เพราะลายทอเป็นสัตว์ปีก ซึ่งถือว่าเป็นอวมงคลแก่เมืองที่สืบเชื้อสายมาจากพญานาค จึงยกผ้าซิ่นลายหงส์ให้ เจ้าหญิงสีออน (ชลฤดี อมรลักษณ์) สวมใส่ในงานมงคลอภิเษกสมพงศ์กับ อัญญาเจ้าราชบุตรศรีโซ่ทอง (นิธิดล ป้อมสุวรรณ) เมื่อเจ้าหญิงสีออนทราบว่าเป็นผ้าของ อัญญานางหูกคำ ก็รู้สึกเวทนาจึงนำมาส่งคืนพร้อมขอสมา
กว่า 200 ปีที่ซิ่นลายหงส์ ตกทอดผลัดเปลี่ยนไปหลายมือ ก่อนจะมาอยู่ในการครอบครองของ ยาแม่คำอ่อน (นุสบา ปุณณกัณต์) ตามประเพณีตกทอดให้แก่ลูกหลาน ซิ่นไหมยกทองลายหงส์ผืนนี้ เป็นที่ต้องตาต้องใจของ สอาง (สุธีวัน ทวีสิน) ราวกับว่าเคยเป็นเจ้าของมาตั้งแต่ชาติปางก่อน สอางอยากยึดครองซิ่นลายหงส์ไว้เป็นสมบัติของตน จึงแย่งชิงมาจาก สะอาด (กุลมาศ ลิมปวุฒิวรานนท์) ผู้เป็นพี่สาว ซึ่งมีสิทธิที่จะได้ครอบครอง
สอาง สวมใส่ซิ่นลายหงส์ออกงานสังคม มีเสน่ห์เป็นที่ต้องตาต้องใจชายจนได้เป็นชายาของผู้ที่มีบุญหนักศักดิ์ใหญ่ มีชีวิตที่รุ่งเรืองดุจนางพญาหงส์และตกต่ำลงเรื่อยๆ จนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต ที่เหมือนหงส์สิ้นลายในที่สุด ผ้าผืนนี้จึงตกเป็นของ สะออน (ชลฤดี อมรลักษณ์) อีกครั้งในภพนี้ แต่เธอรู้ว่าสอางผู้เป็นพี่สาวนั้นรัก และหวงซิ่นไหมยกทองลายหงส์ผืนนี้มาก จึงใช้ห่อเถ้ากระดูกของสอางถ่วงลงแม่น้ำชี
อัญญานางหูกคำ ถูกประหาร เมื่อถูกจับได้ขณะกำลังลอบปลงพระชนม์ อัญญานางศรีสะอาด (กุลมาศ ลิมปวุฒิวรานนท์) เพื่อเอาเลือดมาต้มย้อมผ้าทอให้ได้สีเข้ม สุดท้ายเธอกลับถูกฆ่าเอาเลือดไปต้มย้อมผ้าแทนจนเกิดเป็นแรงพยาบาท
ผ้าซิ่นลายหงส์ผืนนี้ถูกยึดไปจาก อัญญานางหูกคำ เพราะลายทอเป็นสัตว์ปีก ซึ่งถือว่าเป็นอวมงคลแก่เมืองที่สืบเชื้อสายมาจากพญานาค จึงยกผ้าซิ่นลายหงส์ให้ เจ้าหญิงสีออน (ชลฤดี อมรลักษณ์) สวมใส่ในงานมงคลอภิเษกสมพงศ์กับ อัญญาเจ้าราชบุตรศรีโซ่ทอง (นิธิดล ป้อมสุวรรณ) เมื่อเจ้าหญิงสีออนทราบว่าเป็นผ้าของ อัญญานางหูกคำ ก็รู้สึกเวทนาจึงนำมาส่งคืนพร้อมขอสมา
กว่า 200 ปีที่ซิ่นลายหงส์ ตกทอดผลัดเปลี่ยนไปหลายมือ ก่อนจะมาอยู่ในการครอบครองของ ยาแม่คำอ่อน (นุสบา ปุณณกัณต์) ตามประเพณีตกทอดให้แก่ลูกหลาน ซิ่นไหมยกทองลายหงส์ผืนนี้ เป็นที่ต้องตาต้องใจของ สอาง (สุธีวัน ทวีสิน) ราวกับว่าเคยเป็นเจ้าของมาตั้งแต่ชาติปางก่อน สอางอยากยึดครองซิ่นลายหงส์ไว้เป็นสมบัติของตน จึงแย่งชิงมาจาก สะอาด (กุลมาศ ลิมปวุฒิวรานนท์) ผู้เป็นพี่สาว ซึ่งมีสิทธิที่จะได้ครอบครอง
สอาง สวมใส่ซิ่นลายหงส์ออกงานสังคม มีเสน่ห์เป็นที่ต้องตาต้องใจชายจนได้เป็นชายาของผู้ที่มีบุญหนักศักดิ์ใหญ่ มีชีวิตที่รุ่งเรืองดุจนางพญาหงส์และตกต่ำลงเรื่อยๆ จนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต ที่เหมือนหงส์สิ้นลายในที่สุด ผ้าผืนนี้จึงตกเป็นของ สะออน (ชลฤดี อมรลักษณ์) อีกครั้งในภพนี้ แต่เธอรู้ว่าสอางผู้เป็นพี่สาวนั้นรัก และหวงซิ่นไหมยกทองลายหงส์ผืนนี้มาก จึงใช้ห่อเถ้ากระดูกของสอางถ่วงลงแม่น้ำชี