การตรวจมวลกระดูกมีความจำเป็นกับใครบ้าง

19 ธ.ค. 66 17:02 น. / ดู 4,497 ครั้ง / 1 ความเห็น / 0 ชอบจัง / แชร์

การตรวจดูความหนาแน่นของกระดูก  เป็นการตรวจหาค่าความหนาแน่นของกระดูกตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็น กระดูกสันหลัง, กระดูกสะโพก, ข้อมือ และกระดูกทั้งตัว ว่ามีภาวะกระดูกพรุนมากน้อยเพียงใด ซึ่งภาวะกระดูกพรุน คือภาวะที่ความหนาแน่นของเนื้อกระดูกลดน้อยลง ส่งผลให้กระดูกเกิดช่องว่างภายในเนื้อกระดูก และขาดความแข็งแรง กระดูกจึงแตกหรือหักง่ายได้ง่ายเมื่อเกิดอุบัติเหตุเพียงเล็กน้อย โดยในการตรวจจะใช้รังสีที่เรียกว่า Dual Energy X-ray Absorptiometry scanner หรือ DEXA scanner พลังงานต่ำสะท้อนภาพเนื้อเยื่อกระดูก ซึ่งจะทำให้ทราบผลการตรวจอย่างรวดเร็ว แม่นยำ และปลอดภัย ทั้งนี้เราสามารถไปตรวจมวลกระดูก ที่ รพ.นนทเวช หรือที่โรงพยาบาลไหน ๆ ก็ได้ที่มีอุปกรณ์การตรวจที่ได้มาตราฐาน ผ่านการรับรองความปลอดภัยจากองค์กร หรือหน่วยงานด้านความปลอดภัย และผู้เชียวชาญในการใช้ตรวจมวลกระดูก
การตรวจวัดความหนาแน่นของกระดูก (ตรวจมวลกระดูก) ใครบ้างที่ควรไปตรวจ
• เพศหญิงตั้งแต่อายุ 65 ปีขึ้นไป และเพศชายอายุ 70 ปีขึ้นไป
• ผู้ที่อายุยังไม่ถึงเกณฑ์ แต่มีโรคประจำตัวที่เกี่ยวข้องกับโรคกระดูก หรือมีประวัติการใช้ยาสเตียรอยด์ ในการรักษาโรคข้ออักเสบ อย่างเช่น รูมาตอยด์ หรือ โรค SLE เพราะมีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคกระดูกพรุนได้เร็วกว่าคนทั่วไป
• ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเคยเป็นโรคกระดูกพรุน
• ผู้หญิงที่หมดประจำเดือนเร็วกว่าอายุ 45 ปี
• ผู้ที่มีน้ำหนักตัวน้อยมาก มีดัชนีมวลกายต่ำกว่า 19

ทั้งนี้โดยส่วนใหญ่แล้ว การตรวจมวลกระดูกจะทำในผู้สูงอายุ สำหรับวัยหนุ่มสาวทั่วไปอาจไม่มีความจำเป็นต้องตรวจ เพราะมีความเสี่ยงกระดูกพรุนน้อยมาก หรือสำหรับในนักกีฬาที่มีการใช้ร่างกายหนัก ๆ ก็เช่นกัน ที่อาจไม่จำเป็นต้องตรวจมวลกระดูก เพราะในความเป็นจริงแล้ว ยิ่งมีการออกกำลังกายสม่ำเสมออย่างเหมาะสม กระดูกจะยิ่งมีความแข็งแรงมากขึ้น แต่การออกกำลังกายที่หนักเกินไปอาจส่งผลกระทบต่อปัญหาเรื่องข้อต่อ และการบาดเจ็บอื่น ๆ ได้ แต่ไม่ได้ส่งผลต่อภาวะกระดูกพรุนค่ะ
แก้ไขล่าสุด 19 ธ.ค. 66 17:02 | เลขไอพี : ไม่แสดง | ตั้งกระทู้โดย Windows 10

อ่านต่อ คุณอาจจะสนใจเนื้อหาเหล่านี้ (ความคิดเห็นกระทู้ อยู่ด้านล่าง)

ความคิดเห็น

#1 | Yvonne | 28 ธ.ค. 66 23:59 น.

ไอพี: ไม่แสดง | โดย Windows 10

แสดงความคิดเห็น

จะต้องเป็นสมาชิกจึงจะแสดงความคิดเห็นได้
เป็นสมาชิกอยู่แล้ว ลงชื่อเข้าใช้ระบบ
ยังไม่ได้เป็นสมาชิก สมัครสมาชิกใหม่
หรือจะลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google หรือ Facebook ก็ได้
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Facebook
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google