เปิดข้อดีและข้อเสียของการเรียนเเบบ home school

8 พ.ย. 66 15:41 น. / ดู 6,105 ครั้ง / 1 ความเห็น / 0 ชอบจัง / แชร์
คุณพ่อคุณแม่ยุคใหม่เริ่มหันมาสนใจการศึกษาแบบ home school กันมากขึ้นเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด 19 ในปีสองปีที่ผ่านมา  ทั้งนี้  การเรียนแบบโฮมสคูล ได้รับความนิยมมากขึ้นในหลาย ๆ ประเทศทั่วโลก เพราะเป็นการศึกษาทางเลือกที่ผู้เรียนสามารถ เรียนที่บ้าน ได้ มีความยืดหยุ่นในการเรียนเป็นอย่างมาก ลักษณะเด่นของ การเรียนโฮมสคูลนั้น ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนเฉพาะสิ่งที่ตนเองถนัดได้นำไปสู่ความสามารถ และความถนัดที่แท้จริง
home school คืออะไร เรียนแบบไหน
การเรียน home school คือ การเรียนรู้อย่างอิสระ สามารถเรียนได้ตั้งแต่ชั้นอนุบาลจนถึงมัธยมปลายเหมือนกับเรียนโรงเรียนทั่วไป โดยมีพ่อ แม่หรือผู้ปกครอง ทำหน้าที่เป็นคุณครูดูแลและวางแผนการศึกษาให้กับผู้เรียน จากนั้นส่งผลการประเมินไปยังสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาให้ออกใบรับรองสำเร็จการศึกษาและสอบเทียบชั้น นำไปยื่นเข้าเรียนต่อในระดับอุดมศึกษาหรือระดับมหาวิทยาลัย

การเรียนแบบโฮมสคูล มีกี่รูปแบบ
การเรียนโฮมสคูล เป็นการเรียนที่บ้านโดยไม่จำเป็นต้องเข้าโรงเรียน แต่การ เรียนที่บ้าน ไม่ได้มีแค่เรียนที่บ้านของตัวเองโดยมีผู้ปกครองดูแลเท่านั้น การเรียนแบบโฮมสคูลมีถึง 5 รูปแบบด้วยกัน ซึ่งแต่ละครอบครัวสามารถเลือกได้ตามความต้องการและเหมาะสมกับผู้เรียน ได้แก่
1. home school แบบครอบครัวเดี่ยว
เรียนแบบพ่อ แม่ ลูก คือคุณพ่อ คุณแม่ ช่วยจัดการเรียนการสอนให้กับลูกด้วยตัวเอง
2. home school แบบกลุ่ม
เรียนแบบนัดรวมกลุ่มกับครอบครัวอื่นที่ทำโฮมสคูลแบบเดียวกัน โดยจะมีการจัดการศึกษาแยกจากกันอย่างอิสระของแต่ละบ้าน แต่จะมีการนัดรวมกลุ่มกันมาทำกิจกรรมร่วมกันเพื่อฝึกให้ลูกได้เข้าสังคม
3. home school แบบรวมศูนย์
เรียนแบบรวมกลุ่มหลาย ๆ ครอบครัวโดยจัดการเรียนการสอนแบบศูนย์การเรียนครอบครัวเดี่ยวหรือศูนย์การเรียนกลุ่มครอบครัว ซึ่งจะมีคณะครอบครัวที่ทำหน้าที่เหมือนกับคณะกรรมการดูแลบริหารจัดการ
4. home school แบบร่วมกับโรงเรียน
ผู้ปกครองมีหน้าที่จัดการเรียนการสอน โดยการประเมินผู้เรียนผู้ปกครองจะร่วมประเมินกับทางโรงเรียน ทางโรงเรียนจะออกใบรับรองและสนับสนุนสื่อการเรียน บางครั้งให้เด็กโฮมสคูลเข้าร่วมกิจกรรมกับเด็กในโรงเรียน อย่างเช่น การทัศนศึกษา เพื่อฝึกให้เด็กมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกับผู้อื่น
5. homeschool แบบออนไลน์
เรียนที่บ้านโดยใช้หลักสูตรต่างประเทศ

เปิดข้อดี ข้อเสีย ของการเรียนที่บ้าน
        ข้อดี
1. มีความยืดหยุ่นเรื่องเวลาสูง สามารถจัดหลักสูตรได้อย่างอิสระ เรียนตามความชอบ ความสนใจของผู้เรียน
2. ความสัมพันธ์กับคนในครอบครัวใกล้ชิดกันมากขึ้น
3. สามารถตัดวิชาที่ไม่จำเป็นออกได้ เรียนเฉพาะวิชาที่สนใจ
4. มีใบรับรองสำเร็จการศึกษา สมัครเรียนต่อมหาวิทยาลัยได้เหมือนเรียนในระบบ
      ข้อเสีย
1. หากที่บ้านไม่จริงจัง มีความหละหลวม อาจทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ไม่เต็มที่
2. เนื่องจากเรียนอยู่บ้านขาดการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ขาดทักษะการเข้าสังคม ดังนั้นการเรียนอยู่บ้านควรจัดกิจกรรมที่ทำให้ลูกได้มีโอกาสทำกิจกรรมร่วมกับเด็กคนอื่น ๆ
3. บางครั้งความอิสระในการจัดการเรียนรู้มากเกินไป ทำให้ผู้เรียนรู้สึกไร้ทิศทาง
4. พ่อ แม่ ต้องติดตามข่าวสารอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้ทันหลักสูตรที่ทันต่อยุคสมัย

สนใจอยากให้ลูกเรียนแบบโฮมสคูล ต้องทำอย่างไร
คุณพ่อ คุณแม่หรือผู้ปกครองสามารถเดินทางไปยื่นขอใบอนุญาตเพื่อจัดการเรียนการสอนแบบอิสระหรือโฮมสคูลที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัด โดยมีการร่วมวางแผนจัดการเรียนให้เหมาะสมกับผู้เรียน เกณฑ์การวัดผล ประเมินผล เงินสนับสนุนค่าเล่าเรียน เด็กโฮมสคูลจะได้รับวุฒิการศึกษาตาม ระดับชั้นและนำไปสอบเทียบเข้ามหาวิทยาลัยได้  อ่านเพิ่มเติม ่ที่ https://www.milo.co.th/all-blog/homeschool-คืออะไร

หากผู้ปกครองเล็งเห็นว่าการเรียนแบบโฮมสคูลเหมาะสมกับลูกก็สามารถออกแบบการเรียนการสอนแบบอิสระและคอยประเมินผล วัดผลประจำเดือนเหมือนโรงเรียนทั่วไป หากกรณีอยากให้ลูกกลับเข้าโรงเรียนในระบบก็สามารถทำได้โดยขอใบรับรองวุฒิการศึกษาจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เข้าเรียนในระบบตามปกติก็ได้เช่นกัน

ที่มาข้อมูล
https://owlcampus.com/home-school-program/
https://www.chulatutor.com/blog/homeschool/
https://www.milo.co.th/blog/homeschool-คืออะไร
เลขไอพี : ไม่แสดง | ตั้งกระทู้โดย Windows 10

อ่านต่อ คุณอาจจะสนใจเนื้อหาเหล่านี้ (ความคิดเห็นกระทู้ อยู่ด้านล่าง)

ความคิดเห็น

#1 | ปากกาดำ | 13 พ.ย. 66 16:10 น.

ไว้เป็นข้อมูลได้ดี

ไอพี: ไม่แสดง | โดย Windows 10

แสดงความคิดเห็น

จะต้องเป็นสมาชิกจึงจะแสดงความคิดเห็นได้
เป็นสมาชิกอยู่แล้ว ลงชื่อเข้าใช้ระบบ
ยังไม่ได้เป็นสมาชิก สมัครสมาชิกใหม่
หรือจะลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google หรือ Facebook ก็ได้
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Facebook
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google