สัตวแพทย์ ย้ำระบบการเลี้ยงปลาทับทิมมีมาตรฐาน ปลอดภัย ใสใจสัตว์-ผู้บริโภค-สิ่งแวดล้อม

4 ก.ย. 66 09:31 น. / ดู 8,532 ครั้ง / 1 ความเห็น / 0 ชอบจัง / แชร์

"ปลา" ถือได้ว่าเป็นหนึ่งในอาหารชั้นเลิศ เป็นแหล่งโปรตีนที่ย่อยง่าย อุดมด้วยกรดไขมันชนิดดี แร่ธาตุ และวิตามินที่สำคัญ จากจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น ผนวกกับความต้องการบริโภคอาหารที่ดีเพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดดตามเทรนด์ใส่ใจสุขภาพ จึงส่งผลให้ผู้ประกอบการหรือเกษตรกรผู้เลี้ยงมีการพัฒนารูปแบบ และวิธีการเลี้ยงตามระบบมาตรฐาน คำนึงถึงสุขภาพสัตว์ มนุษย์ และสิ่งแวดล้อม
ปลาทับทิมเริ่มมีการเลี้ยงตั้งแต่ปี พ.ศ. 2527 ภายหลังจากมีการพัฒนาสายพันธุ์จากปลานิลดำเพื่อให้สามารถเลี้ยงได้ในพื้นที่เค็ม มีรูปร่าง สีสัน รวมถึงรสชาติที่ถูกปากผู้บริโภค เดิมทีระบบการเลี้ยงปลาทับทิมเป็นการเลี้ยงระบบเปิด บ่อดิน ไม่มีระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน แต่ด้วยการเปลี่ยนแปลงทางสังคมทำให้ปลาทับทิมได้รับความนิยม เป็นที่ต้องการของตลาดเพิ่มขึ้น เกษตรกรจึงเริ่มให้ความสำคัญกับการจัดการระบบการเลี้ยงอย่างมีมาตรฐาน

ปัจจุบันมีการนำเทคโนโลยีต่างๆมาใช้ อาทิ นวัตกรรม In-Pond Raceway System (IPRS), Recirculating aquaculture systems (RAS) หรือ Biofloc system ซึ่งเป็นระบบการเลี้ยงปลาในระบบปิด มีวัตถุประสงค์เพื่อลดการใช้พื้นที่ ลดข้อจำกัดด้านการจัดการคุณภาพน้ำ การให้อาหาร การควบคุมโรค การจัดการของเสีย รวมถึงการเพิ่มปริมาณและคุณภาพของผลผลิตเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันและความยั่งยืนของอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงปลาในประเทศไทยสู่ตลาดโลก

ในการจัดตั้งฟาร์มเลี้ยงปลาต้องได้รับอนุญาตจากกรมประมง และปฏิบัติตามระบบมาตรฐานฟาร์มเพาะเลี้ยงที่ดี (Good Aquaculture Practice; GAP) เพื่อให้ระบบการเลี้ยงมีความยั่งยืน ปลอดภัยต่อผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อม กรมประมง และ/หรือ มกอช. มีการกำหนดเกณฑ์มาตรฐานประกอบไปด้วย 1) สถานที่ต้องมีความเหมาะสม 2) การจัดการฟาร์มที่ดี ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม 3) อาหาร วิตามิน ต้องปราศจากการปนเปื้อนของยาและสารต้องห้ามในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ กระบวนการถูกสุขอนามัยปลอดภัยต่อสัตว์น้ำและผู้บริโภค 4) เกษตรกรต้องมีความรู้และเข้าใจเมื่อเกิดปัญหาการติดเชื้อในสัตว์น้ำ สามารถจัดการลดความรุนแรงโรคได้ 5) ให้ความสำคัญในการจัดการสุขอนามัยฟาร์ม ด้านการปนเปื้อนเชื้อจากขยะสิ่งปฏิกูล หรือสิ่งขับถ่ายที่อาจปนเปื้อนลงสู่บ่อเลี้ยงได้ 6) การจับและการขนส่งที่ดีจะช่วยทำให้สัตว์น้ำมีคุณภาพ สะอาด ปลอดภัย 7) มีการเก็บข้อมูลการเลี้ยง การให้อาหาร การตรวจสุขภาพ การใช้ยาและสารเคมีอย่างสม่ำเสมอ

ทั้งนี้ ผู้ประกอบการและเกษตรกรต้องให้ความสำคัญในทุกระบวนการตั้งแต่การเลี้ยง การจัดการฟาร์ม การขนส่ง การทำให้เสียชีวิต รวมถึงการจำหน่ายไปยังผู้บริโภค ซึ่งต้องเป็นไปตามมาตรฐานกำหนด ดำเนินกิจกรรมต่างๆภายใต้หลักสวัสดิภาพสัตว์ (Animal Welfare) ที่มีความสำคัญอย่างมากในวงการเลี้ยงสัตว์ปัจจุบัน เช่น มีพื้นที่กว้างขวางพอที่สัตว์จะสามารถแสดงพฤติกรรมอย่างอิสระ ให้อาหารอย่างเพียงพอ มีการควบคุมป้องกันโรคไม่ให้สัตว์เจ็บป่วย ไม่เครียด ในอีกแง่มุมผู้เลี้ยงควรมองว่า สัตว์ที่เราเลี้ยงนั้นให้คุณประโยชน์มากมาย นอกจากสร้างรายได้แล้ว ยังเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญให้มนุษย์เราได้ดำรงชีวิตเพื่อสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ ที่มีคุณค่า จึงต้องให้ความสำคัญ ตระหนัก ใส่ใจสุขภาพสัตว์ที่เราเลี้ยงอย่างดีที่สุด

สุดท้ายอยากให้ผู้บริโภคมั่นใจว่าระบบการเลี้ยงปัจจุบันมีมาตรฐาน ระบบการจัดการฟาร์มที่มีการควบคุม ตรวจติดตาม ทำให้มั่นใจในคุณภาพเนื้อได้ว่าปราศจากยาปฏิชีวนะและสารเคมีตกค้างที่จะส่งผลกระทบต่อผู้บริโภค รวมถึงให้ความใส่ใจครอบคลุมในเรื่องของสิ่งแวดล้อมที่จะไม่ก่อให้เกิดมลพิษหรือของเสียที่อาจส่งผลกระทบต่อชุมชนอย่างแน่นอน

Cr.https://www.prachachat.net/hilight-prachachat/news-886025
เลขไอพี : ไม่แสดง | ตั้งกระทู้โดย Windows 10

อ่านต่อ คุณอาจจะสนใจเนื้อหาเหล่านี้ (ความคิดเห็นกระทู้ อยู่ด้านล่าง)

ความคิดเห็น

#1 | Yvonne | 16 ม.ค. 67 00:09 น.

ไอพี: ไม่แสดง | โดย Windows 10

แสดงความคิดเห็น

จะต้องเป็นสมาชิกจึงจะแสดงความคิดเห็นได้
เป็นสมาชิกอยู่แล้ว ลงชื่อเข้าใช้ระบบ
ยังไม่ได้เป็นสมาชิก สมัครสมาชิกใหม่
หรือจะลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google หรือ Facebook ก็ได้
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Facebook
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google