ประวัติความเป็นมาของการโปรยทานเป็นอย่างไร

4 ก.ค. 66 12:26 น. / ดู 11,368 ครั้ง / 3 ความเห็น / 0 ชอบจัง / แชร์
ประวัติความเป็นมาของการโปรยทานเป็นอย่างไร
    เราจะพูดถึงประวัติความเป็นมาของการโปรยทาน คำว่า "การโปรยทาน"  และ "การใช้เหรียญโปรยทานในงานพิธีต่างๆ" และ "วิธีการพับกระดาษสาห่อเหรียญโปรยทานง่ายๆ" มาฝากกันอีกด้วยค่ะ
ประวัติความเป็นมาของการโปรยทาน
      การโปรยทานเป็นความเชื่อที่มีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล ครั้งตั้งแต่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จออกผนวช เพื่อละทิ้งทางโลก พระองค์ทรงสละราชสมบัติ ทรัพย์สินทุกอย่าง จึงมีความเชื่อต่อๆกันมา ว่าในพิธีอุปสมบท นาคจะต้องโปรยทาน เพื่อแสดงถึงการละทิ้ง การสละทุกสิ่งทุกอย่างในทางโลกแล้ว ดังเช่นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
การโปรยทานในงานบวช
    ตามที่ได้กล่าวมาข้างต้น การโปรยทานในงานบวช ก็เพื่อแสดงให้เห็นว่านาคได้สละสมบัติทุกอย่างแล้ว เพื่อดำเนินชีวิตตามแบบองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีความเชื่อกันว่าเงินที่นาคโปรยเป็นเงินที่มีความบริสุทธิ์ ใครเก็บเงินโปรยทานที่นาคโปรยได้ ถือว่าได้บุญและเมื่อเก็บเหรียญโปรยทานได้ให้เก็บไว้ที่บ้านเพื่อความเป็นสิริมงคล เจริญรุ่งเรืองแก่ผู้ที่เก็บไว้ และถ้าเก็บไว้ในกระเป๋าสตางค์ ก็เชื่อกันว่าเงินทองจะไหลมาเทมา ค้าขายรุ่งเรือง มีแต่รับทรัพย์เข้ากระเป๋า
การโปรยทานในงานศพ
    จะโปรยเพื่อเป็นการนำทางให้แก่ผู้ที่เสียชีวิต ได้ตามกลับมายังบ้านของตนหรือที่ที่ญาติของผู้เสียชีวิตต้องการให้มาสถิตอยู่ ผู้ที่มาร่วมงานสามารถเก็บเหรียญที่โปรยได้ แต่จะไม่นิยมเก็บไว้กับตัว ส่วนใหญ่มักจะนำไปทำบุญถวายให้วัดต่อไป
การโปรยทานในงานแต่งงาน
    หลายๆคนอาจจะไม่คุ้นกับการใช้เหรียญโปรยทานในงานแต่ง ซึ่งปัจจุบันได้มีการเปลี่ยนจากการใช้เหรียญโปรยทาน มาเป็นการกั้นประตูเงิน ประตูทอง ก่อนที่ฝ่ายเจ้าบ่าวจะเข้าไปรับตัวเจ้าสาวจะต้องมีการนำเงินใส่ซองเพื่อให้กับคนที่ยืนกั้นประตูเงิน ประตูทอง เงินที่ใส่ซอง เรียกว่า ซองมงคล
การพับกระดาษสาห่อเหรียญโปรยทานทำอย่างไร ?
    การพับเหรียญโปรยทานด้วยกระดาษสานั้นเป็นวิธีที่ง่ายที่สุด ในการทำเหรียญโปรยทานสำหรับการทำบุญ เนื่องจากไม่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์หรือฝีมือที่ชำนาญ มีเพียงแค่กระดาษสาที่ตัดขอบแล้วกับหนังยางก็สามารถนำมาพับห่อเหรียญโปรยทานได้เลย โดยปกติจะขายกระดาษสาโปรยทานพร้อมกับหนังยางให้แล้ว และสามารถหาซื้อได้ง่ายผ่าน Shopee , Lazada , Facebook , ตลาดออนไลน์
   
กระดาษสาสำหรับห่อเหรียญโปรยทานในท้องตลาดตอนนี้ เรียกได้ว่ามีสินค้าให้เลือกใช้กันอย่างหลากหลายและยังมีกระดาษห่อเหรียญแบบทำสำเร็จแล้วก็มีขายไม่ต้องมานั่งวัดขนาด นั่งตัดกระดาษให้เท่ากันเอง และยังสามารถหาซื้อได้ง่ายมากอีกด้วย ยกตัวอย่าง กระดาษสาห่อเหรียญโปรยทานของเรา 39supply เป็นกระดาษสาห่อเหรียญโปรยทานที่มีทั้งแบบแผ่นห่อใหญ่ปั๊มตัดขอบแล้ว และมีทั้งแบบโหล ให้ลูกค้าได้เลือกใช้กันตามความสะดวก ส่วนการพับกระดาษสาห่อเหรียญของเรา ก็ไม่ได้ยุ่งยากและไม่ได้ซับซ้อน มือใหม่หัดพับห่อเหรียญโปรยทานสามารถทำได้อย่างแน่นอน กระดาษสาห่อเหรียญของเรา จะปั๊มตัดขอบมาให้เรียบร้อยแล้ว และยังคละขอบตัดให้อีกด้วย ลูกค้าสั่งสินค้าของเราไปจะไม่ต้องตัดขอบเอง ไม่ต้องตัดกระดาษเองให้ยุ่งยากเลยค่ะ

   
เรามาดู วิธีพับเหรียญโปรยทานกระดาษสา กันเลยดีกว่าค่ะ ทางร้านเราแนะนำว่าในการห่อเหรียญหนึ่งเหรียญ ควรใช้กระดาษสา จำนวน3แผ่น ต่อการห่อหนึ่งเหรียญ จะออกมาสวยมากกว่าการใช้กระดาษสาเพียงแผ่นเดียว หรือถ้าใช้กระดาษสามากกว่า3แผ่นขึ้นไป กลีบดอกของกระดาษที่จะห่อเหรียญจะดูหนาเกินไปไม่สวยงาม ดังนั้นจำนวนที่พอดีและห่อเหรียญได้สวยกำลังพอดีคือ3แผ่นค่ะ ต่อไป เมื่อหยิบกระดาษออกมา3แผ่นแล้ว วางเหรียญลงไปตรงกึ่งกลาง ค่อยๆจับจีบกระดาษให้ขึ้นมาเป็นกลีบดอกแล้วใช้หนังยางรัด และจัดกลีบดอกให้บานออกตามความชอบได้เลยค่ะ


ซึ่งในเซทแบบแพ็คโหล กระดาษสาพับเหรียญโปรยทาน ทางเราได้แถมหนังยางสี ที่มีสีสันสดใสให้ด้วยในโหล กระดาษสาพับห่อเหรียญโปรยทานของเราเป็นกระดาษสาเทียมเนื้อกระดาษนิ่ม พับห่อเหรียญได้ง่าย มีสีสันและลายหลากหลายให้เลือกตามใจชอบ หากสนใจสินค้าของเรา กระดาษสาห่อเหรียญโปรยทาน เรามีทั้งกระดาษสาห่อเหรียญแบบแผ่นยังไม่ปั๊มตัดขอบ,แบบแผ่นปั๊มตัดขอบแล้วและแบบแพ็คโหลสามารถเข้ามาแวะชมสินค้าของเราได้ในเว็บ39supplyนี้เลยค่ะ




ขอบคุณบทความดีๆและรูปภาพจาก :  39SUPPLY :: กระดาษสาห่อเหรียญโปรยทาน 
https://www.39supply.com/blog/ก??.........??ยทาน/ 
เลขไอพี : ไม่แสดง | ตั้งกระทู้โดย Windows 10

อ่านต่อ คุณอาจจะสนใจเนื้อหาเหล่านี้ (ความคิดเห็นกระทู้ อยู่ด้านล่าง)

ความคิดเห็น

#2 | asider | 27 ก.ค. 66 15:34 น.

สาระดีๆ

ไอพี: ไม่แสดง | โดย Windows 10

#3 | sz467081 | 21 ส.ค. 66 14:52 น.

ดีค่ะชอบ

ไอพี: ไม่แสดง | โดย Windows 10

แสดงความคิดเห็น

จะต้องเป็นสมาชิกจึงจะแสดงความคิดเห็นได้
เป็นสมาชิกอยู่แล้ว ลงชื่อเข้าใช้ระบบ
ยังไม่ได้เป็นสมาชิก สมัครสมาชิกใหม่
หรือจะลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google หรือ Facebook ก็ได้
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Facebook
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google