พื้นที่ กรมราชพัสดุ คืออะไร ใครรู้บ้าง

2 ก.ค. 66 14:55 น. / ดู 2,507 ครั้ง / 0 ความเห็น / 0 ชอบจัง / แชร์

จากเหตุการณ์ที่ทางด้านนายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สั่งการเร่งด่วน มอบหมายให้ ดร.ยุทธพล อังกินันทน์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นำกำลังเจ้าหน้าที่จากศูนย์ปฏิบัติการพิทักษ์ป่า (ศปก.พป.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งตรวจสอบเข้าดำเนินการขั้นเด็ดขาดกับเคปชาร์ค พูล วิลล่า รีสอร์ทชื่อดังที่เกาะเต่าจังหวัดสุราษฎร์ธานีนั้นว่าพื้นที่ก่อสร้างรีสอร์ทเป็นพื้นที่รุกล้ำหรือไมอย่างไร
โดยจากผลการตรวจสอบได้ข้อมูลว่าเป็นพื้นราชพัสดุทั้งเกาะ มีกรมธนารักษ์เป็นผู้ดูแล และ บริษัท เคปชาร์ค พูล วิลล่า จำกัด เป็นผู้ครอบครองอาคาร โดยไม่ได้มีการขออนุญาตก่อสร้างจากเทศบาลตำบลเกาะเต่า พื้นที่ครอบครองยังไม่ได้ดำเนินการเช่าที่ดินจากธนารักษ์ และอาคารที่พักไม่ได้มีการขออนุญาตให้ก่อสร้างอาคาร รวมถึงยังไม่ได้มีการจดแจ้งหรือได้รับใบอนุญาตแต่อย่างใด ซึ่งทางเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 สั่งห้ามมิให้บุคคลใช้หรือเข้าไปในส่วนใดๆ ของอาคาร ตั้งแต่วันที่ 22 มิถุนายน 2566 เป็นต้นไป ตามความผิดนั้นๆ
โดยจากข้อมูลที่หลายคนอาจยังไม่ทราบว่าที่ราชพัสดุ คืออะไร? และเป็นพื้นที่แบบไหน นั้น โดยจากข้อมูลราชพัสดุ หมายถึง อสังหาริมทรัพย์อันเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินทุกชนิด เว้นแต่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ดังต่อไปนี้
(1) ที่ดินรกร้างว่างเปล่าและที่ดินซึ่งมีผู้เวนคืนหรือทอดทิ้ง หรือกลับมาเป็นของแผ่นดินโดยประการอื่นตามกฎหมายที่ดิน
(2) อสังหาริมทรัพย์สำหรับพลเมืองใช้หรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์ของพลเมืองใช้ร่วมกัน เป็นต้นว่า ที่ชายตลิ่งทางน้ำ ทางหลวง ทะเลสาบ ส่วนอสังหาริมทรัพย์ของรัฐวิสาหกิจที่เป็นนิติบุคคล และขององค์การปกครองท้องถิ่นไม่ถือว่าเป็นที่ราชพัสดุ ที่ดินราชพัสดุมีมาตั้งแต่เมื่อใด ความเดิมเรื่องที่ราชพัสดุนั้นมิได้มีไว้เป็นที่แจ้งชัดโดยกฎหมายใดมีแต่เฉพาะพระบรมราชโองการรัชกาลที่ ๖ เมื่อวันที่  ๒๕ เดือนมีนาคม ๒๔๖๔ ที่ทรงวินิจฉัยคํากราบบังคมทูลของเหล่าเสนาบดีกระทรวงการคลังมหาสมบัติในขณะนั้นมีใจความว่า (ก) ที่ราชพัสดุเป็นทรัพย์คงพระคลังอย่างหนึ่ง (ข) มีคงกระทรวงมาแต่เดิม บ้างได้มาด้วยการเป็นที่หลวงหวงห้ามไว้ใช้ในราชการ บ้างด้วยการที่ราษฎรเวนคืนให้แก่หลวงบ้าง หรือได้รับหรือยึดจากเจ้าหน้าที่ภาษีนายอากรก็มี (ค) ทรัพย์นี้กระจัดกระจายอยู่ตามกระทรวงต่างๆ (ง) ให้กระทรวงพระคลังมหาสมบัติจัดการรวบรวมทรัพย์ จากกระทรวงต่างๆมาปกครองดูแลรักษาไว้แต่แห่งเดียว (จ) เมื่อกระทรวงใดจะใช้เพื่อราชการใดก็ให้ยืมไปโดยไม่ต้องเช่า(เมื่อเลิกใช้ให้ส่งคืนกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ) (ฉ) ที่แห่งใดยังมิได้ใช้ราชการ ให้กระทรวงพระคลังมหาสมบัตินําไปจัดประโยชน์หารายได้เข้าแผ่นดิน (ช) ที่ใดควรขายก็ให้ขายไปเคยมีการพิจารณาในทางกฎหมายว่าพระบรมโองการฯในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มีผลเป็นกฎหมายเพราะใช้บังคับแก่กระทรวงทบวงกรม เสมือนพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวงทบวงกรมในปัจจุบันที่กําหนดอำนาจหน้าที่ของกระทรวงต่างๆและโดยที่ไม่มีกฎหมายอื่นใดลบล้างพระบรมราชโองการนี้ แม้ปัจจุบันจะมีพระราชบัญญัติที่ราชพัสดุพ.ศ. ๒๕๑๘พระบรมราชโองการส่วนใดที่ไม่ขัดแย้งหรือที่พระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ. ๒๕๑๘ ยังไม่ได้กําหนดไว้ก็ยังมีผลใช้บังคับได้

สำหรับเหตุการณ์เกี่ยวกับการรุกล้ำพื้นที่ ที่เกิดขึ้นครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรกที่แรก ก่อนหน้านี้ในเรื่องปัญหาที่อยู่อาศัยหรือที่ทำมาหากินที่รุกล้ำเข้าไปก็เกิดขึ้นในหลายๆ พื้นที่เช่น จังหวัดระนอง ก็ได้ความช่วยเหลือของนายวราวุธ ศิลปอาชา
รมว.ทส เร่งเดินหน้าแก้ไขปัญหาที่ดินชุมชนเมืองระนอง พร้อมหาแนวทางเพิกถอนป่าคลองหัวเขียวและป่าคลองเกาะสุย (บางส่วน) ส่งมอบกรมธนารักษ์จัดสรรที่ดินทำกินให้พี่น้องประชาชนต่อไปจนสำเร็จไปแล้ว หรือ จะกรณีที่ดินอำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรรณบุรี โดยนายวราวุธ ศิลปอาชาถึงกับประกาศออกสื่อฟันไม่เลี้ยงเอาเรื่องนายทุนรุกป่าสุดท้ายก็แก้ไขปัญหาได้สำเร็จจนเกิดเป็นโมเดลการแก้ไขปัญหาพื้นที่รุกล้ำต่อไป
เลขไอพี : ไม่แสดง | ตั้งกระทู้โดย Windows 10

อ่านต่อ คุณอาจจะสนใจเนื้อหาเหล่านี้ (ความคิดเห็นกระทู้ อยู่ด้านล่าง)

ความคิดเห็น

ยังไม่มีความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

จะต้องเป็นสมาชิกจึงจะแสดงความคิดเห็นได้
เป็นสมาชิกอยู่แล้ว ลงชื่อเข้าใช้ระบบ
ยังไม่ได้เป็นสมาชิก สมัครสมาชิกใหม่
หรือจะลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google หรือ Facebook ก็ได้
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Facebook
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google