9 ชิ้นส่วนแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่ควรรู้จัก

9 ธ.ค. 65 16:20 น. / ดู 16,715 ครั้ง / 3 ความเห็น / 0 ชอบจัง / แชร์

              ปัจจุบันเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับผลิตแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ หรือชิ้นส่วนแผงวงจรกำลังอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านเพื่อตอบรับกับชิ้นส่วนที่มีขนาดเล็กลง แต่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ขณะเดียวกันต้องเร่งให้ทันกับการขยายตัวของตลาด ซึ่งการจะเกิดโลกแห่งอิเล็กทรอนิกส์ได้ต้องมีปัจจัยหลากหลายอย่าง เราจะมาแนะนำเรื่อง "อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์" เป็นส่วนหนึ่งของปัจจัยเช่นกัน อุปกรณ์นั้นมีหลากหลาย เช่น มัลติมิเตอร์ แอมมิเตอร์ ตัวต้านทาน ตัวเก็บประจุ ไดโอด แผงวงจร เป็นต้น เรามีดูกันดีกว่า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรือชิ้นส่วนแผงวงจร มีอะไรบ้าง เรามาดูกันเลยโดยวันนี้เราจะยกตัวอย่าง 9 อย่างแล้วกัน พร้อมแล้วมาดูกันเลย
1. หัวแร้ง (Electric Soldering) เป็นอุปกรณ์ที่ละลายตะกั่วและเพิ่มความร้อนให้ทองแดง และขาอุปกรณ์ในลายวงจร เพื่อให้ตะกั่วละลายไหลเข้าไปในขาอุปกรณ์และให้ติดกับแผงวงจร นิยมใช้ในงานเชื่อมแผ่นวงจรอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เป็นส่วนใหญ่ และคำว่าหัวแร้งปืนนั้นมาจาก รูปลักษณ์ของมันที่มีด้ามจับเหมือนปืน และมีปุ่มเร่งความร้อนเหมือนไกปืนอีกด้วย ซึ่งลักษณะพิเศษที่มีปุ่มเร่งความร้อนนี้เอง จึงเป็นที่ชื่นชอบของคนที่ใช้งานเพราะเมื่อกดปุ่ม ก็สามารถทำค่าความร้อนได้เลย

2. มัลติมิเตอร์ (Mutimeter) เครื่องมือวัดทางไฟฟ้าที่สามารถวัดปริมาณไฟฟ้าได้หลากหลายชนิด เช่น แรงดัน, กระแส, ความต้านทานและสามารถใช้กับไฟกระแสตรง (DC) หรือไฟกระแสสลับ (AC) ได้ แหล่งพลังงานในการทำงานของมัลติมิเตอร์ในปัจจุบันนั้นได้มาจากแบตเตอรี่ขนาด AA หรือ AAA ทำให้อุปกรณ์มีขนาดเล็กและน้ำหนักเบาสามารถนำไปใช้งานในที่ต่างๆ ได้อย่างง่ายดาย การแสดงผลของมัลติมิเตอร์จะมีด้วยกัน 2 แบบ คือมัลติมิเตอร์แบบเข็ม(Analog Multimeter) และมัลติมิเตอร์แบบตัวเลข (Digital Multimeter)

3. แอมมิเตอร์ (Ammeter) เป็นเครื่องมือวัดที่ใช้วัดกระแสไฟฟ้าในวงจรไฟฟ้า โดยนำแอมมิเตอร์มาต่ออนุกรมกับวงจรไฟฟ้า ซึ่งสามารถวัดไฟฟ้ากระแสตรงได้

4. ตัวต้านทาน (Resistor) เป็นอุปกรณ์ทำหน้าที่ต้านทานการไหลของกระแสไฟฟ้าโดยใช้ได้ทั้งไฟฟ้ากระแสตรงและไฟฟ้ากระแสสลับ ถ้าความต้านทานมากกระแสไฟฟ้าก็จะไหลผ่านตัวต้านทานได้น้อย แต่ถ้าความต้านทานน้อยกระแสไฟฟ้าก็จะไหลผ่านตัวต้านทานได้มาก

5. ตัวเก็บประจุ (Capacitor or Condenser) มีคุณสมบัติในการเก็บประจุไฟฟ้า ซึ่งเกิดจากการที่มีแผ่นโลหะสองแผ่นวางอยู่ใกล้ๆ กัน แต่ไม่แตะถึงกัน โดยมีแผ่นไดอิเล็กตริก ซึ่งมีลักษณะเป็นฉนวนกั้นอยู่ระหว่างแผ่นโลหะทั้งสองแผ่น

6. ไดโอด (Diode) ทำมาจากสารกึ่งตัวนำ มีขนาดเล็ก มีขั้วต่อออกมาใช้งาน 2 ขั้ว มีคุณสมบัติยอมให้กระแสไฟฟ้าผ่านได้ทางเดียวเมื่อป้อนแรงดันไฟฟ้าตรงขั้ว และจะไม่ยอมให้กระแสไฟฟ้าผ่านได้เมื่อป้อนแรงดันไฟฟ้ากลับขั้ว

7. ทรานซิสเตอร์ (Transistor)เป็นอุปกรณ์สารกึ่งตัวนำชนิด 3 ตอนต่อชนกัน โดยใช้สารกึ่งตัวนำชนิด P และชนิด N ทรานซิสเตอร์ต้องสร้างให้ตัวนำตอนกลางแคบที่สุด มีขาต่อออกมาใช้งาน 3 ขา

8. แผงทดลองวงจร (Project Board) เป็นพื้นที่ทดลองเสียบชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น สะดวก รวดเร็ว ก่อนนำไปใช้งานจริง โดยไม่ต้องอาศัยหัวแร้งในการบัดกรี

9. วงจรแผ่นพิมพ์ (Printed Circuit Boards) วงจรแผ่นพิมพ์หรือแผ่นปริ้นท์ เป็นแผ่นพลาสติกที่ผิวด้านหนึ่งถูกเคลือบด้วยแผ่นทองแดงบาง เพื่อใช้ทำลายพิมพ์วงจรและทำให้เกิดวงจรขึ้นมา ใช้เป็นลายตัวนำในการเชื่อมต่ออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เข้าด้วยกัน เกิดเป็นวงจรต่าง ๆ ตามต้องการ

                ทั้งนี้ชิ้นส่วนแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมดประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ มากมาย ชิ้นส่วนเหล่านี้จะทำงานร่วมกันเพื่อแก้ไขและจัดการกระแสไฟฟ้าและแรงดันไฟฟ้า เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ แผงวงจรทำหน้าที่เป็นกระดูกสันหลังเพื่อให้ทุกอย่างเชื่อมต่อกันได้ และรวมกันอยู่ในรูปแบบที่ใช้งานได้ง่ายขึ้นนั่นเอง

#ชิ้นส่วนแผงวงจร
เลขไอพี : ไม่แสดง | ตั้งกระทู้โดย Windows 10

อ่านต่อ คุณอาจจะสนใจเนื้อหาเหล่านี้ (ความคิดเห็นกระทู้ อยู่ด้านล่าง)

ความคิดเห็น

#2 | _uwu_ | 19 ธ.ค. 65 23:57 น.

ไอพี: ไม่แสดง | โดย Windows 10

#3 | sz463257 | 28 ธ.ค. 65 14:26 น.

ไอพี: ไม่แสดง | โดย Windows 10

แสดงความคิดเห็น

จะต้องเป็นสมาชิกจึงจะแสดงความคิดเห็นได้
เป็นสมาชิกอยู่แล้ว ลงชื่อเข้าใช้ระบบ
ยังไม่ได้เป็นสมาชิก สมัครสมาชิกใหม่
หรือจะลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google หรือ Facebook ก็ได้
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Facebook
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google