หลังรัฐบาลไทยมีมาตรการเปิดท่องเที่ยวเต็มรูปแบบ วันนี้มาชมสนามบินกัน

28 ก.ย. 65 19:28 น. / ดู 1,276 ครั้ง / 1 ความเห็น / 0 ชอบจัง / แชร์
หลังจากที่เปิดประเทศกันมาตั้งแต่ช่วงกลางปี ทำให้ธุรกิจท่องเที่ยวกลับมาคึกคักกันมากขึ้นจนบางคนอาจจะหลงลืมกันไปว่า นักท่องเที่ยวเข้ามามาก แต่ทำไม? เศรษฐกิจด้านการท่องเที่ยวดูจะฝืดเคืองอย่างต่อเนื่อง
พอดีเพิ่งได้เดินทางไป ตปท.ในช่วงต้นเดือนกันยายนที่ผ่านมา ภาพที่เห็นได้ชัด ณ สนามบินสุวรรณภูมิคือนักท่องเที่ยวนั้นมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัดแต่ รู้กันมั้ยว่าไฟล์ทบินที่เห็นแน่นๆเต็มๆนั่นก็เพราะตารางการบินถูกตัดลงเกินครึ่งก็เลยทำให้นักท่องเที่ยวหนาแน่นในเที่ยวบินนั้น ส่วนร้านค้าภายในสนามบิน คนพลุกพล่านจริง แต่การซื้อน้อยลง อันนี้น่าจะเกิดมาจาก พฤติกรรมการประหยัดเงินของนักท่องเที่ยว รวมไปถึงกลุ่มนักท่องเที่ยวขาช๊อปอย่างนักท่องเที่ยวจากประเทศจีนนั้นยังไม่ได้เปิดประเทศ ทำให้กลุ่มนี้ไม่ได้เดินทางมาไทยนานเกือบ3 ปีเห็นจะได้ ภาพที่คุ้นชินกับวัฒนธรรมการซื้อของกลับไปฝากเพื่อน ญาติพี่น้อง หรือเหมาทั้งของกินของใช้ ทั้งแบรนด์เนมของนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้เลยแทบจะไม่ได้เห็นกันเลย



ความหวังของการท่องเที่ยวไทย  ภาครัฐต้องออก "มาตรการด้านการท่องเที่ยว" อย่ารอให้เรื่องโควิดนี้เลือนหายไป เพราะอย่าลืมว่าจบโควิดกันแล้ว เรายังเจอทั้งสงครามระหว่างยูเครนและรัสเซีย ทั้งเรื่องการตำต่ำของเศรษฐกิจทั่วโลกกันต่อ ความตึงเครียดนี้ก็อาจจะทำให้พฤติกรรมนักท่องเที่ยวหรือการจับจ่ายใช้สอยเปลี่ยนไปด้วย

รัฐควรมีนโยบายช่วยต่อลมหายใจให้กลุ่มธุรกิจท่องเที่ยวในระยะยาวให้ทุกอย่างฟื้นคืนชีพโดยเร็ว เพราะอย่าลืมว่าไม่ว่าธุรกิจยักใหญ่อย่างสายการบิน โรงแรม ดิวตี้ฟรี หรือแม้กระทั้งSME ร้านค้าเล็กในสนามบิน หรือโฮสเทลต่างๆ ที่ขาดสภาพคล่องมากว่า 3 ปี แบกรับหนี้ ที่เกิดจากการปิดประเทศ บางรายปิดตัวลง บางรายไล่พนักงานออก ตอนนี้กลับมาเปิดอย่างเต็มรูปแบบ กลุ่มนี้ก็คงต้องเหนื่อยกันหน่อย เพราะไหนจะต้องมีหนี้เก่าเป็นทุนเดิม แถมยังต้องใช้เงินเพื่อประชาสัมพันธ์ ออกโปรโมชั่นเพื่อให้ธุรกิจอยู่รอด ได้กำไรน้อยลงแต่ได้จำนวนมาก ก็เป็นอีกเทคนิคหนึ่ง


ที่กำลังคิดคือการสนับสนุนธุรกิจท่องเที่ยวจากรัฐที่ผ่านมานั้นเพียงพอหรือไม่? เพราะปัจจัยการท่องเที่ยวของเรา อยู่ที่ นนท.ต่างชาติมากกว่านักท่องเที่ยวในประเทศ จะทำอย่างไรให้พวกเค้าเข้ามาเที่ยวและใช้จ่ายกันอย่างเต็มรูปแบบ เพราะกลุ่ม นทท. สายเปย์อย่างจีนนั้นคงต้องรอคอยก็ยังไม่มีกำหนดว่าจีนจะเปิดประเทศอย่างเสรีได้อีกเมื่อไหร่

ส่วนตัวคิดว่าปัจจัยของการอยู่รอดของธุรกิจท่องเที่ยว คือ การช่วยเหลือเยียวยากลุ่มธุรกิจจากภาครัฐ เช่น ออกเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำระยะยาวเพื่อให้ธุรกิจนี้จะต่อลมหายใจกันอีกสักหน่อย หรือสนับสนุนโครงการในระยะยาวภายในด้วย ไม่ใช่แค่ PR ให้คนเข้ามาๆ อย่างเดียว แต่ธุรกิจภายในเองก็ยังร่อแร่เพราะขาดสภาพคล่องทั้งเงินทั้งคน

แต่ความหวังนี้ก็ดูจะริบหรี่เพราะภาครัฐยังไม่มีการพูดถึงโครงการประเภทนี้แต่อย่างไร มาช่วยกันลุ้นว่า ปลายปีนี้เราจะดึงนักท่องเที่ยวได้เยอะตามที่คาดหรือไม่ และ การเข้ามา"เยอะ" นั้น จะมีคุณภาพพอจะกระตุ้นเศรษฐกิจไทยได้หรือไม่






มาดูจำนวนนักท่องเที่ยว เดือนกรกฎาคม 2565 นักท่องเที่ยวจากทั่วโลก เดินทางเข้าไทย เป็นจำนวนทั้งสิ้น 1,124,227 คน โดยแบ่งเป็น
ASEAN 500,947  คน
Europe 198,872  คน
The  Americas  55,240    คน
South  Asia 128,897 คน
Oceania 40,623  คน
Middle  East 66,252  คน
Africa 5,461  คน
ที่มา: กองเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและกีฬา (ณ วันที่ 22 สิงหาคม 2565P)
https://www.mots.go.th/news/category/656

เห็นไหมว่าภาคการท่องเที่ยวยังเป็นฮีโร่ที่ช่วยพยุงเศรษฐกิจไทยไว้ โดยในสภาวะปกตินั้น รายได้จากการท่องเที่ยวของชาวไทยและต่างชาติในช่วงครึ่งแรกของปี 2562 มีบทบาทสำคัญถึง 17% ของ GDP และนอกจากนี้ภาคการท่องเที่ยวของไทยยังติดอันดับจากการจัดอันดับประเทศท่องเที่ยว โดย World Economic Forum ที่ประเทศไทยของเราติดอันดับ 31 จาก 140 ประเทศทั่วโลก และเป็นอับดับ 3 ของอาเซียนรองจากสิงคโปร์และมาเลเซีย
โดย สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) คงคาดการณ์อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (GDP) ของไทยในปี 65 ที่ 3.5% ตามที่เคยคาดการณ์ไว้ โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการฟื้นตัวของอุปสงค์ในประเทศและภาคการท่องเที่ยว ซึ่งตัวเลขนี้ยังห่างไกลจากตัวเลขในปี 62 เป็นอย่างมาก
เลขไอพี : ไม่แสดง | ตั้งกระทู้โดย MacOS

อ่านต่อ คุณอาจจะสนใจเนื้อหาเหล่านี้ (ความคิดเห็นกระทู้ อยู่ด้านล่าง)

ความคิดเห็น

#1 | Yvonne | 1 ต.ค. 65 00:03 น.

ไอพี: ไม่แสดง | โดย Windows 10

แสดงความคิดเห็น

จะต้องเป็นสมาชิกจึงจะแสดงความคิดเห็นได้
เป็นสมาชิกอยู่แล้ว ลงชื่อเข้าใช้ระบบ
ยังไม่ได้เป็นสมาชิก สมัครสมาชิกใหม่
หรือจะลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google หรือ Facebook ก็ได้
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Facebook
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google