สาวกคริปโตต้องรู้ ขุดคริปโตทำให้โลกร้อน

31 พ.ค. 65 11:11 น. / ดู 3,119 ครั้ง / 3 ความเห็น / 0 ชอบจัง / แชร์


คริปโตเคอร์เรนซี (Cryptocurrency) สินทรัพย์ดิจิทัลประเภทหนึ่งที่มีการรักษาความปลอดภัยด้วยการเข้ารหัส เป็นสื่อกลางการแลกเปลี่ยนเฉกเช่นเดียวกันกับสกุลเงินทั่วไป แตกต่างเพียงแค่คริปโตฯ ไม่สามารถจับต้องได้ โดยมีหลักการทำงานอยู่บนแทคโนโลยีบล็อกเชน (Blockchain) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีการเก็บข้อมูลด้วยการเข้ารหัสคอมพิวเตอร์ จากนั้นจะบันทึกข้อมูลลงในกล่อง (Block) และนำมาต่อกันเรื่อยๆ คล้ายสายโซ่ (Chain) จะไม่สามารถย้อนกลับได้ ทำให้ยากต่อการแก้ไข ปลอมแปลงหรือทำลาย บล็อกเชนจะประมวลผลและจัดเก็บข้อมูลแบบ "กระจายศูนย์" (Distributed Ledger Technology: DLT) ที่ปราศจากการควบคุมโดยตัวกลางอย่างธนาคารหรือรัฐบาล ดังนั้นธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับคริปโตฯ จึงมีความปลอดภัย โปร่งใส และน่าเชื่อถือ และแม้ว่าคริปโตฯ จะไม่สามารถนำมาชำระหนี้ตามกฎหมายได้เหมือนสกุลเงินอื่นทั่วไป แต่นักธุรกิจ ผู้ประกอบการ หรือแม้แต่ประชาชนกลับให้ความสนใจมากยิ่งขึ้น


การขุดคริปโตฯ ในแต่ละครั้งนั้น รู้หรือไม่ว่าเราจะต้องใช้ไฟฟ้าอย่างมหาศาล Bitcoin ใช้พลังงานมากที่สุดในปี 2020 และสร้างคาร์บอนไดออกไซด์มากถึง 59.9 ล้านตันในเวลาเพียงหนึ่งปี และเพื่อที่จะชดเชยคาร์บอนที่ปล่อยไป โลกเราจำเป็นต้องปลูกต้นไม้ถึง 299.6 ล้านต้น
ลำดับที่ 2 คือ Ethereum ใช้พลังงานในธุรกรรมแต่ละครั้ง 62.56 กิโลวัตต์ต่อชั่วโมง ซึ่งผลิตคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 42.5 กิโลกรัมต่อธุรกรรม ถึงแม้จะมีประสิทธิภาพที่ดีมากกว่า Bitcoin แต่มีการทำธุรกรรมต่อวันถึง 1.328 ล้านครั้ง ทำให้มีต้นทุนพลังงานที่สูงและก่อให้เกิดคาร์บอนไดออกไซด์ 16.6 ล้านตัน (ตัวเลขปี 2020) เราจะต้องปลูกต้นไม้ถึง 83.4 ล้านต้นเพื่อชดเชยการปล่อยคาร์บอนในครั้งนี้
ลำดับที่ 3 คือ Bitcoin Cash ผลิตคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 12.8 กิโลกรัมต่อธุรกรรม
ลำดับ 4 คือ Litecoin ผลิตคาร์บอนไดออกไซด์ 12.6 กิโลกรัมต่อธุรกรรม
ลำดับที่ 5 คือ Cardano ผลิตคาร์บอนไดออกไซด์ 372.7 กรัมต่อธุรกรรม
อัพเดตล่าสุด เมื่อเดือน มี.ค.2022 พบว่ามีคริปโต 18,465 สกุล โดยไม่นับคริปโตที่ "ตาย" ไปแล้วจำนวนมาก จะเหลือที่ใช้งานอยู่ประมาณ 10,363 สกุล ถือว่ายังมีมากอยู่ดี และมีผู้ใช้สกุลเงินคริปโตมากกว่า 300 ล้านคนทั่วโลก ด้วยเหตุนี้จึงมีการเรียกร้องให้นักลงทุนคริปโตจะต้องจ่ายภาษีสีเขียว เพื่อนำไปใช้แก้ปัญหาโลกร้อน เฉกเช่นเดียวกับการใช้รถยนต์บางประเทศต้องเสียภาษีเพิ่มเติม เนื่องจากทำการปล่อยมลพิษจำนวนมาก


.
ด้านองค์กรด้านสิ่งแวดล้อมที่นำโดย Greenpeace USA คณะทำงานด้านสิ่งแวดล้อมและ Earthjustice ได้ยื่นความเห็นต่อทำเนียบขาวในเดือนนี้ โดยเรียกร้องให้รัฐบาลไบเดน ดำเนินการเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกี่ยวข้องกับสกุลเงินคริปโตที่ใช้ไฟฟ้าเป็นจำนวนมาก เช่น Bitcoin และผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ประเมินว่า การขุด Bitcoin ในปัจจุบันใช้ไฟฟ้ามากกว่าที่ชาวอเมริกันใช้ในการจ่ายไฟให้กับหลอดไฟและโทรทัศน์ในสหรัฐอเมริกาเสียอีก และยังมากกว่าไฟฟ้าที่ประเทศโปแลนด์และสวีเดนทั้งหมดใช้ในหนึ่งปี The Environmental Working Group (EWG) จึงชี้ว่า "การลดการปล่อยมลพิษจากการขุดคริปโตจะมีความสำคัญ หากเราต้องบรรลุเป้าหมายของฝ่ายบริหารในการต่อสู้กับวิกฤตสภาพภูมิอากาศ"



สำหรับประเทศไทยมีกลุ่มผู้ใช้คริปโตอยู่จำนวนมากด้วยเช่นกัน แต่อย่าลืมว่า พล.อ.ประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้ประกาศเจตนารมณ์ของประเทศไทย ในการประชุม Cop26 ไว้ว่า "ประเทศไทยจะยกระดับการแก้ปัญหาสภาพภูมิอากาศอย่างเต็มที่และด้วยทุกวิถีทาง เพื่อให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2050 และบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2065 หรือก่อนหน้านั้น ด้วยการสนับสนุนทางด้านการเงิน และเทคโนโลยี อย่างเต็มที่และเท่าเทียม รวมถึงการเสริมสร้างขีดความสามารถ จากความร่วมมือระหว่างประเทศและกลไกภายใต้กรอบอนุสัญญา ผมมั่นใจว่า ประเทศไทยจะสามารถยกระดับ NDC ของเราขึ้นเป็นร้อยละ 40 ได้ จะทำให้การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิของไทยเป็น 0 ได้ภายในปี 2050" เราคงต้องติดตามว่าต่อจากนี้ประเทศไทยจะมีมาตรการ หรือกฎหมายออกมาเพื่อควบคุมการขุดคริปโตหรือไม่อย่างไร
.
แก้ไขล่าสุด 31 พ.ค. 65 11:14 | เลขไอพี : ไม่แสดง | ตั้งกระทู้โดย MacOS

อ่านต่อ คุณอาจจะสนใจเนื้อหาเหล่านี้ (ความคิดเห็นกระทู้ อยู่ด้านล่าง)

ความคิดเห็น

#1 | Yvonne | 31 พ.ค. 65 15:47 น.

ไอพี: ไม่แสดง | โดย Windows 10

#2 | Phayom | 11 มิ.ย. 65 11:46 น.

ไอพี: ไม่แสดง | โดย Windows 10

#3 | sz463127 | 21 มิ.ย. 65 14:14 น.

ไอพี: ไม่แสดง | โดย Windows 10

แสดงความคิดเห็น

จะต้องเป็นสมาชิกจึงจะแสดงความคิดเห็นได้
เป็นสมาชิกอยู่แล้ว ลงชื่อเข้าใช้ระบบ
ยังไม่ได้เป็นสมาชิก สมัครสมาชิกใหม่
หรือจะลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google หรือ Facebook ก็ได้
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Facebook
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google