น้ำมันแพงหลบไป ชาวบ้านรวมตัวเป็นถุงพลาสติกเป็นน้ำมัน

11 พ.ค. 65 17:07 น. / ดู 2,665 ครั้ง / 2 ความเห็น / 0 ชอบจัง / แชร์
หลังจากที่มีการงดการลดใช้ถุงพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว  (single-use plastic) หรือถุงหูหิ้วแบบบางน้อยกว่า 100 ไมครอน ในห้างสรรพสินค้า ร้านสะดวกซื้อ ซุปเปอร์มาเก็ตต่างๆ ตั้งแต่ 1 ม.ค.63 ที่ผ่านมา เนื่องจากก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งในทางตรงและทางอ้อม โดยการดำเนินการตั้งแต่ครั้งนั้น ทำให้ปัจจุบันประเทศไทยสามารถลดจำนวนการใช้ถุงพลาสติกได้กว่า 14,349.6 ล้านใบ หรือคิดเป็น 81,531,818.2 กิโลกรัม

แม้ในปัจจุบันถุงพลาสติกยังคงมีการใช้อยู่ไม่น้อย แต่เพื่อเป็นการลดขยะจึงผุดไอเดียนี้ขึ้นมาคือ การนำถุงพลาสติกที่ใช้แล้วมาผลิตเป็นน้ำมันเบนซินและดีเซล โดยคุณแอ๊ด พีรดา ปฏิทัศน์ อดีตพนักงานไอทีเทคโนโลยีและสารสนเทศ ปัจจุบันเป็นประธานวิสาหกิจชุมชนแนวร่วมปฏิวัติขยะสุพรรณบุรี ที่นำโมเดลการผลิตน้ำมันด้วยถุงพลาสติกจากงานวิจัยภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่มีเป้าหมายเพื่อแก้ปัญหาขยะในชุมชน ซึ่งนำมาใช้ในชุมชนกว่า 3 ปีแล้ว โดยได้รับความร่วมมือจากชาวบ้านในการดำเนินการนี้ พลาสติกที่นำมาใช้ในการผลิตได้แก่ ถุงหูหิ้ว ถุงร้อน ถุงเย็น หลอดดูดน้ำ ถุงนมโรงเรียน ฯลฯ

ขั้นตอนในการดำเนินการ ดังนี้
1.นำพลาสติกมาผ่านเครื่องทำความร้อนเพื่อให้ยุบตัวลง
2.จากนั้นนำเข้าสู่เตาปฏิกรณ์ให้ความร้อน หลอมอัดอากาศเพื่อให้พลาสติกกลายเป็นของเหลว (แก๊ส) การผลิตน้ำมันที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ใช้การหลอมอัดอากาศเพื่อให้ได้แก๊สโดยไม่ใช้ออกซิเจนในกระบวนการ เพื่อไม่ให้เกิดคาร์บอนไดออกไซด์และคาร์บอนมอนนอกไซด์ (มลพิษ) ซึ่งเชื้อเพลิงที่ใช้ไม้ฟืนที่หาได้ในชุมชน
3.ผ่านกระบวนการควบแน่น เพื่อให้แก๊สกลายเป็นของเหลว (น้ำมัน) โดยใช้เวลา 3-4 ชม.
4.จากนั้นจะได้เป็นน้ำมันนั่นเอง
กระบวนการผลิตของที่วิสาหกิจชุมชนฯ สามารถผลิตน้ำมันได้วันละ 300 ลิตร โดยขยะพลาสติก 2 กิโลกรัมจะได้น้ำมัน 1 ลิตร เท่ากับว่าขยะพลาสติกจะลดลงถึง 600 กิโลกรัมต่อวัน และภายใน 1 ปีจะสามารถผลิตน้ำมันได้ถึง 109,500 ลิตร และลดขยะพลาสติกได้ถึง 219,000 กิโลกรัมต่อปี
ประโยชน์ที่ได้รับจากการดำเนินการในครั้งนี้
-ลดขยะพลาสติกในชุมชน แบ่งเบาภาระขององค์กรท้องถิ่นในการจัดการขยะ
-ชาวบ้านเกิดรายได้จากการนำขยะมาขาย
-ลดภาระค่าใช้จ่ายด้านน้ำมันไปได้ไม่น้อย
-ปลูกจิตสำนึกให้แก่เด็กๆ ชาวบ้าน ทำให้หันมาใส่ใจสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น จากการลงพื้นที่ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ การรับซื้อขยะ หรือโครงการขยะแลกไข่ไก่


น้ำมันที่ได้มีคุณภาพเทียบเท่ากับน้ำมันในท้องตลาด ที่สำคัญราคาถูกเพียงแค่ลิตรละ 20 บาทเท่านั้น เหนือสิ่งอื่นใดที่ได้มากกว่านั้นคือ การทำให้เด็กๆ ชาวบ้านในชุมชน เข้าใจในสิ่งแวดล้อม หันมาให้ความสำคัญกับภาวะโลกร้อนที่เกิดขึ้นจากขยะพลาสติกเหล่านี้ และกลายเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือโลกให้น่าอยู่ยิ่งขึ้น ลองคิดดูว่าหากเรามีโมเดลเหล่านี้ อย่างน้อยในทุกจังหวัดคงช่วยลดภาระค่าน้ำมันได้ไม่น้อยในวิกฤตน้ำมันแพงเช่นนี้ อีกทั้งปริมาณขยะก็ลดลง เป็นโมเดลที่น่าติดตามและสานต่อมากที่สุด
แก้ไขล่าสุด 11 พ.ค. 65 17:08 | เลขไอพี : ไม่แสดง | ตั้งกระทู้โดย MacOS

อ่านต่อ คุณอาจจะสนใจเนื้อหาเหล่านี้ (ความคิดเห็นกระทู้ อยู่ด้านล่าง)

ความคิดเห็น

#1 | Yvonne | 17 พ.ค. 65 23:44 น.

ดีอะ แบบนี้อยากให้มีการแยกขยะจริงจังเลย

ไอพี: ไม่แสดง | โดย Windows 10

#2 | sz455188 | 31 พ.ค. 65 11:08 น.

ไอพี: ไม่แสดง | โดย MacOS

แสดงความคิดเห็น

จะต้องเป็นสมาชิกจึงจะแสดงความคิดเห็นได้
เป็นสมาชิกอยู่แล้ว ลงชื่อเข้าใช้ระบบ
ยังไม่ได้เป็นสมาชิก สมัครสมาชิกใหม่
หรือจะลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google หรือ Facebook ก็ได้
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Facebook
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google